แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง

สวัสดีเพื่อนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกคน หลังจากผ่านมรสุมความยากของบทเรียนเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิงกันไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราต้องมาทำข้อสอบวัดระดับความเข้าใจกันสักหน่อย สูดหายใจลึก ๆ แล้วไปทำพร้อมกันเลย

เพื่อน ๆ สามารถดูวิดีโอการสอนเรื่องอิเหนาแบบจัดเต็มได้ที่แอปพลิเคชัน StartDee ดาวน์โหลดที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย

แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง

1. จุดประสงค์ในการแต่งเรื่องอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง  คืออะไร
  1.   เพื่อใช้สำหรับแสดงละครนอก
  2.   เพื่อใช้สำหรับแสดงละครใน
  3.   เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางภาษา
  4.   เพื่อให้ความรู้กับประชาชนในการสู้รบ
  5.   เพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่  ๒

ตอบ  2. เพื่อใช้สำหรับแสดงละครใน เพราะใช้ในการแสดงในวัง และผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน

 

2. ลักษณะคำประพันธ์ในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง  คือข้อใด

  1. กลอนนิทาน
  2. กลอนสุภาพ
  3. กลอนเสภา
  4. กลอนบทละคร
  5. กลอนดอกสร้อย

ตอบ  4. กลอนบทละคร  เพราะใช้สำหรับการแสดงละครใน  ขึ้นวรรคแรกด้วยคำว่า  เมื่อนั้น บัดนั้น   มาจะกล่าวบทไป

 

3. ตัวละครตัวใดไม่ได้อยู่ในราชวงศ์อสัญแดหวา

  1.   ท้าวกุเรปัน
  2.   ท้าวดาหา
  3.   ท้าวกะหมังกุหนิง
  4.   อิเหนา
  5.   บุษบา

ตอบ  3. ท้าวกะหมังกุหนิง เพราะเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์กะหมังกุหนิง

 

     “...แต่การศึกครั้งนี้ไม่ควรเป็น       เกิดเข็ญเพราะลูกอัปลักษณ์

  จะมีคู่ผู้ชายก็ไม่รัก                     จึงหักให้สาสมใจ...”

4. บทร้อยกรองนี้ผู้กล่าวมีความประสงค์ใด
  1. ระบายความน้อยใจ
  2. อ้อนวอนขอความเห็นใจ
  3. ตัดพ้อต่อว่าให้เห็นว่าแค้นใจ
  4. ประชดประชันด้วยความเจ็บปวด
  5. เยาะเย้ยอีกฝ่ายให้เจ็บใจ

ตอบ  4. ประชดประชันด้วยความเจ็บปวด เป็นคำพูดของท้าวดาหาที่ประชดอิเหนาที่ไม่มาแต่งงานกับบุษบา

 

5. ข้อใดเป็นทรรศนะเกี่ยวกับผู้หญิงที่ไม่ได้สะท้อนจากเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

  1. ผู้หญิงงามเป็นชนวนของสงคราม
  2. ผู้หญิงที่แย่งสามีผู้อื่นเป็นที่น่ารังเกียจ
  3. ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเป็นสมบัติของสามี
  4. ผู้หญิงที่เป็นม่ายขันหมากย่อมได้รับความอับอาย
  5. ผู้หญิงที่ดีต้องเชื่อฟังคำสั่งของพ่อแม่

ตอบ  3. ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเป็นสมบัติของสามี ไม่ปรากฏในตอนดังกล่าว

 

6. เหตุใดบทละครเรื่อง อิเหนา จึงได้รับการ ยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งกลอนบทละครรำ

  1. ใช้ภาษาสละสลวย เสริมจินตนาการ
  2. แฝงคุณค่าด้านคุณธรรมและจริยธรรม
  3. เนื้อหาสอดคล้องกับการแสดงนาฏศิลป์
  4. การดำเนินเรื่องดีเด่น
  5. ถูกทุกข้อ

ตอบ  5. ถูกทุกข้อ ด้วยเหตุผลหลายข้อประกอบกัน

 

7. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับละครใน

  1. ผู้แสดงล้วนเป็นผู้หญิง
  2. ผู้แสดงมีทั้งนางใน และชาวบ้าน
  3. ผู้แสดงเป็นชายและหญิงที่อยู่ในพระราชวัง
  4. เป็นการแสดงที่ให้ประชาชนเข้ามาชมภายในพระราชวัง
  5. เป็นละครที่แสดงในวงจำกัดเท่านั้น

ตอบ  1. ผู้แสดงล้วนเป็นผู้หญิง  เป็นนิยามที่สำคัญของละครใน

 

8. “...ถึงว่ากษัตริย์ทั้งสี่กรุง       จะมาช่วยรบพุ่งเป็นศึกใหญ่...” 

ข้อใดไม่ตรงความหมายกับคำที่พิมพ์ ตัวหนา

  1. ดาหา           
  2. มะเดหวี
  3. กาหลัง        
  4. สิงหัดส่าหรี
  5. กุเรปัน

ตอบ  2. มะเดวี เป็นชื่อตำแหน่งตามลำดับ มเหสีลำดับที่ 2 ของกษัตริย์ชวา

นอกจากข้อสอบเรื่องอิเหนาแล้ว StartDee ยังมีข้อสอบภาษาไทยอีกเยอะในบล็อกของเรา อย่างเช่น ข้อสอบภาษาไทย เรื่อง การใช้คำราชาศัพท์ นอกจากนั้น เพื่อน ๆ ยังอ่านวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ ได้อีกนะ คลิกเลือกที่ลิสต์ด้านล่างได้เลย

ใบกิจกรรมอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง ๑
ใบกิจกรรมอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง ๑ เลือกคำตอบจากตัวเลือกที่กำหนดให้ถูกต้อง (ใช้ข้อมูลจากหนังสือวรรณคดี หน้า ๑๙-๒๒)
 ID: 2112117
Language: Thai
School subject: ภาษาไทย
Grade/level: ม.4
Age: 16-16
Main content: ใบกิจกรรมอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง ๑
Other contents: ใบกิจกรรมอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง ๑

แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง
 Add to my workbooks (8)
แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง
 Download file pdf
แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง
 Embed in my website or blog
แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง
 Add to Google Classroom
แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง
 Add to Microsoft Teams
แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง
 Share through Whatsapp

Link to this worksheet:  Copy
แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง

aroonkratae


แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง

What do you want to do?

แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง
แบบฝึกหัด เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะ ห มังกุ ห นิง
Check my answersEmail my answers to my teacher

Enter your full name:

Group/level:

School subject:

Enter your teacher's email or key code:

Cancel

Please allow access to the microphone
Look at the top of your web browser. If you see a message asking for permission to access the microphone, please allow.

Close