ตัวอย่าง โฆษณาสินค้า วิชาภาษาไทย

    การโฆษณาหมายถึง การให้ข้อมูลข่าวสาร เป็นการสื่อสารจูงใจผ่านสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ เพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย มีพฤติกรรมคล้อยตามเนื้อหาสารที่โฆษณา  อันเอื้ออำนวยให้มีการซื้อหรือใช้สินค้าและบริการตลอดจนชักนำให้ปฏิบัติตามแนวความคิดต่าง ๆ ทั้งนี้ขอให้ผู้โฆษณาหรือผู้อุปถัมภ์จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสื่อนั้น ๆ

ตัวอย่าง โฆษณาสินค้า วิชาภาษาไทย

    ลักษณะของการโฆษณา

    1. การโฆษณาเป็นการสื่อสารจูงใจ  มีวัตถุประสงค์เพื่อการจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการซื้อโดยวิธีการพูด  การเขียนหรือการสื่อความหมายใด ๆ   ที่มีผลให้ผู้บริโภคเป้าหมาย คิดคล้อยตาม  กระทำตามหรือเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมไปตามที่ผู้โฆษณาต้องการ 
     
     2. การโฆษณาเป็นการจูงใจด้วยเหตุผลจริงและเหตุผลสมมติ  หมายถึง การจูงใจโดยบอกคุณสมบัติที่ เป็นประโยชน์ของผลิตภัณฑ์  และการจูงใจโดยใช้หลักการตอบสนองความต้องการด้านจิตวิทยา

     3. การโฆษณาเป็นการนำเสนอ สื่อสารผ่านสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ  ซึ่งสามารถเผยแพร่ข่าวสาร เกี่ยวกับสินค้าและบริการในระยะกว้างไกลได้สะดวก รวดเร็วที่สุด ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย อย่างกว้างขวาง ไปสู่มวลชนอย่างรวดเร็ว เข้าถึงพร้อมกันและทั่วถึง

     4. การโฆษณาเป็นการเสนอขายความคิด  สินค้า  และบริการ  โดยใช้วิธีการจูงใจให้ผู้บริโภค เกิดความพอใจเกิดทัศนคติที่ดี  อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการซื้อสินค้า หรือบริการที่เสนอขาย 

      5. การโฆษณาต้องระบุผู้สนับสนุนหรือตัวผู้โฆษณา  ซึ่งมีผลความเชื่อถือของผู้บริโภค 
ของผู้บริโภค สร้างความเชื่อมั่นและแสดงให้เห็นว่า เป็นการโฆษณาสินค้า(advertising)มิใช่ เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) 
        
       6. การโฆษณาต้องจ่ายค่าตอบแทนในการโฆษณาในสื่อต่าง ๆ   เช่น  วิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  หนังสือพิมพ์  วารสารและนิตยสาร  เป็นต้น  ดังนั้นผู้โฆษณาจะต้องมีงบประมาณ เพื่อการโฆษณาสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ด้วย

องค์ประกอบของโฆษณา

องค์ประกอบของการโฆษณาจำแนกออกเป็น  4  ประการ  ได้แก่

1. ผู้โฆษณา (advertiser)

      

คือ  เจ้าของสินค้า  เจ้าของบริการ  ซึ่งจะต้องประสานกับงานด้านการตลาดของหน่วยงานนั้น โฆษณาทุกชิ้นจะต้องปรากฏตัวผู้โฆษณาให้ชัดเจน  และผู้โฆษณาจะต้องรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายใน การโฆษณาทั้งหมด

2. สิ่งโฆษณา (advertisement)

      

คือ  โฆษณาที่ทำสำเร็จรูปแล้ว  หรือสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยข้อความ รูปภาพซึ่งจะสื่อ ถึงสินค้าหรือบริการ ที่เห็นอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์  นิตยสาร  รวมถึงภาพยนตร์โฆษณา ทางโทรทัศน์และบทโฆษณาทางวิทยุ  เป็นต้น

3. สื่อโฆษณา (advertising)

    คือ สื่อที่ผู้โฆษณาเลือกใช้ในการเผยแพร่งานโฆษณาไปยังกลุ่มบริโภคเป้าหมาย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ  หนังสือพิมพ์  เป็นต้น สื่อโฆษณาเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำโฆษณาไปยังกลุ่มผู้บริโภค  สื่อโฆษณาแบ่ง เป็นประเภทต่าง ๆ  ตามความเหมาะสมของสินค้าที่ต้องการนำเสนอ  นักโฆษณาแบ่งสื่อโฆษณาเป็น  3  ประเภท  คือ

3.1 สื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์ (print Media) 

เป็นการโฆษณาโดยใช้ตัวหนังสือเป็นตัวกลางถ่ายทอดความคิดไปสู่ประชาชน  ได้แก่  หนังสือพิมพ์รายวัน  หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์  นิตยสาร  ใบปลิว  แผ่นพับ  โปสเตอร์  คู่มือการใช้สินค้า  แบบตัวอย่างสินค้า (catalogs)  เป็นต้น

ตัวอย่าง โฆษณาสินค้า วิชาภาษาไทย

3.2 สื่อโฆษณาประเภทกระจายเสียงและแพร่ภาพ ( broadcasting media)

เป็นการโฆษณาโดยใช้เสียง  ภาพ หรือตัวอักษร  ได้แก่  เสียงตามสาย วิทยุ  และโทรทัศน์ เป็นต้น

  

ตัวอย่าง โฆษณาสินค้า วิชาภาษาไทย

3.3 สื่อโฆษณาประเภทอื่น ๆ

      หมายถึง  สื่อโฆษณาอื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อที่กล่าวแล้วข้างต้น  เช่น  ภาพยนตร์   อินเทอร์เนต   สื่อที่ใช้โฆษณาที่จุดขาย  รวมถึงสื่อโฆษณา นอกสถานที่   เช่น  ป้ายโฆษณา  ที่ติดรถโดยสาร ประจำทางหรือรถแท็กซี่  ป้ายราคาสินค้า  ธงราว  แผ่นป้ายต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้ตามอาคารสูง ๆ หรือตามสี่แยก  ป้ายโฆษณาที่ป้ายรถประจำทาง  หรือติดไว้ ณ ที่พักผู้โดยสาร  ป้ายโฆษณารอบ ๆ สนามกีฬาเมื่อมีการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ ๆ เป็นต้น 

ตัวอย่าง โฆษณาสินค้า วิชาภาษาไทย

4. กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย (consumer)

     

บุคคลทั่วไปที่รับสารเกี่ยวกับงานโฆษณา  ซึ่งหากเกิดความรู้สึกถูกใจ  ชื่นชมหรือชอบสินค้าหรือบริการ  จะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการได้  ในทางโฆษณากลุ่มผู้บริโภค เป้าหมายจะหมายรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือบริการ

การใช้ภาษาในการโฆษณา

     การโฆษณา มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาที่ดึงดูดความสนใจของคนอ่านคนฟัง นักโฆษณาจึงมักคิดค้นถ้อยคำ สำนวนภาษาแปลก ๆ ใหม่ ๆ นำมาโฆษณาอยู่เสมอ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนซื้อ ในขณะเดียวกันการโฆษณาต้องใช้ภาษาที่ง่าย ๆ กะทัดรัด ได้ใจความชัดเจนดี น่าสนใจ ให้ทันเหตุการณ์ รวดเร็ว มีเสียงสัมผัสคล้องจอง จดจำได้ง่ายด้วย จึงมีถ้อยคำเกิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ 

                วิเศษ  ชาญประโคน (2550, หน้า 48-50)  กล่าวถึงภาษาโฆษณาไว้สรุปได้ดังนี้  
ภาษาโฆษณาเป็นภาษาที่มุ่งโน้มน้าวจิตใจให้ผู้รับสารเปลี่ยนความคิด  และเกิดการกระทำตาม  ลักษณะของภาษาจึงมีสีสัน เน้นอารมณ์ด้วยการใช้ภาษาต่างระดับในข้อความเดียวกัน  ส่วนมากเป็นภาษาทางการกับกึ่งทางการ  ภาษาโฆษณามีลักษณะดังนี้


           1.เรียกร้องตวามสนใจ

   คือเลือกใช้ภาษาที่ง่าย สุภาพ กระตุ้นความรู้สึกของลูกค้า 

          2.ให้ความกระจ่างแก่ลูกค้า  

   เป็นการใช้ภาษาที่ง่ายชัดเจนในการกล่าวถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ

          3.ให้ความมั่นใจ

    เป็นการอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ