ตัวอย่าง ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ นำเที่ยว

สำหรับขั้นตอนการจัดตั้งบริษัทนำเที่ยว (ตอนที่ 5 ) เป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้วค่ะ สำหรับการจัดตั้งบริษัทนำเที่ยวให้สมบูรณ์ ขั้นตอนนี้เป็นการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนิติบุคคล ซึ่งต้องนำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไปยื่นกับการท่องเที่ยวฯ  โดยให้ผู้ประกอบการ ดาวน์โหลด แบบ  สธก 2 จากเว็บไซต์การท่องเที่ยวฯ มาค่ะ ในเอกสาร สธก2 เป็นแบบคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนิติบุคคลและในเอกสารนี้จะมีคำอธิบายรายลเอียดและเอกสารต่าง ๆ เพื่อนำไปยื่นค่ะ โดยรายละเอียดคร่าว ๆ ตามนี้คะ

Show

เอกสารที่ต้องเตรียมไปยื่นขอใบอนุญาต มีดังนี้

1.แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวนิติบุคคล (สธก.2) กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท
2.หนังสือรับรองว่าบริษัทได้จดทะเบียนพร้อมวัตถุประสงค์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่เกิน 1 เดือน (กรรมการไทยเกินกึ่งหนึ่ง และกรรมการไทยเป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551) และที่อยู่สำนักงานสาขา

3.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ฉบับประชุมผู้ถือหุ้นปีปัจจุบัน รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์

4.หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2) รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์

5.ข้อบังคับของบริษัทหรือรายงานการประชุมตั้งบริษัท (ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นข้อบังคับของบริษัท) รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์

6.รายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์(หส.2)

7.สําเนาบัตรประชาชนของผู้มีอํานาจจัดการแทนและกรรมการทุกท่านพร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง กรณีมีกรรมการต่างชาติ แนบสําเนาพาสปอร์ตและสําเนาใบอนุญาตทํางานในประเทศไทย (Work Permit) พร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง

8.สําเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล หรือเอกสารสําคัญการเปลี่ยนชื่อ – สกุล ของกรรมการ/ผู้มีอํานาจจัดการแทนพร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง(ถ้ามี)

9.สําเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอํานาจจัดการแทนและกรรมการทุกท่านพร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง

10.รูปถ่ายด้านหน้าและด้านในสํานักงาน กรรมการ/ผู้มีอํานาจจัดการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท

  • รูปถ่ายด้านหน้าสำนักงาน  เห็นตัวอาคารทั้งหลัง โดยแสดงเลขที่ตั้งและป้ายชื่อสำนักงานชัดเจน จำนวน 2 รูป
  •   (ป้ายชื่อต้องเป็นภาษาไทยและมีลักษณะคงทนถาวร และรูปถ่ายแบบล้างอัดภาพสี ขนาด 4 X 6 นิ้ว )
  • รูปถ่ายด้านในสํานักงาน จํานวน 2 รูป (รูปถ่ายแบบล้างอัดภาพสี ขนาด 4 X 6 นิ้ว)

11. แผนที่ตั้งสำนักงาน กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท
12. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงาน
13. สําเนากรมธรรมประกันภัย ประกันอุบัติเหตุให้กับนักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้นําเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว โดยมีจํานวนเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพไมต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บ ไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทต่อคน และต้องมีอายุกรมธรรมไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว

14.หนังสือมอบอํานาจ สําเนาบัตรประชาชนของกรรมการ/ผู้มีอํานาจจัดการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสําเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ
15. เงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนําเที่ยว (เลือก ๑ แบบ)

–  กรณีเป็นหนังสือค้ำประกันธนาคาร (ตามแบบที่กําหนด)

–  กรณีเป็นเงินสด/แคชเชียรเช็ค สั่งจ่ายกรมการทองเที่ยว

อัตราค่าธรรมเนียมหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยว 

ทั่วไป รหัส 11/XXXX  หลักประกัน 200,000 บาท

นำเที่ยวจากต่างประเทศ   รหัส 14/XXXX  หลักประกัน 100,000 บาท

ในประเทศ   รหัส 12/XXXX  หลักประกัน   50,000 บาท
เฉพาะพื้นที่  รหัส 13/XXXX  หลักประกัน   10,000 บาท

16.ใบนําส่งหลักประกัน จํานวน ๒ แผ่น กรรมการ/ผู้มีอํานาจจัดการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราสําคัญ

17.ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ฉบับละ  2,000 บาท                                                18.ค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนําเที่ยวรายสองปี   ครั้งละ 1,000 บาท

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงเกี่ยวกับนโยบายส่วนบุคคลของเรา

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กระแสการท่องเที่ยวในประเทศไทยถือว่าอยู่ในช่วงขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หลายคนมีความคิดที่อยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจท่องเที่ยวเป็นของตัวเอง โดยอาจจะเป็นการตั้งโต๊ะทัวร์ การนำเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ รวมถึงการพาไปทัวร์ร้านอาหารดัง ๆ แต่ทั้งนี้ การจะประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ จะต้องมีการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวให้ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อมูลทั่วไปของธุรกิจนำเที่ยว

ธุรกิจนำเที่ยว คือ การนำนักท่องเที่ยวทั้งภายในและจากต่างประเทศ เดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงการเดินทางเพื่อจุดประสงค์อื่น โดยได้จัดให้มีบริการในการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น สถานที่พัก ร้านอาหาร ทริปทัวร์ต่าง ๆ รวมถึงการจัดให้มีมัคคุเทศก์นำทาง การจะทำธุรกิจนำเที่ยว ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวก่อน เพราะถ้าหากไม่มีใบอนุญาต ก็มีโทษสูงถึงขั้นทั้งจำและปรับได้

ประเภทของใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว มีด้วยกัน 4 ประเภท คือ

  1. ใบอนุญาตนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ สามารถประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ เฉพาะในจังหวัดที่จดทะเบียนและจังหวัดข้างเคียงเท่านั้น (เช่น จดที่เชียงใหม่ ก็จะนำเที่ยวได้แค่ที่เชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงที่ระบุเอาไว้) สามารถให้บริการได้เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น การจดทะเบียนประเภทนี้ จะต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 10,000 บาท ที่สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว จะได้เลขทะเบียนที่มีเลข 13/xxxxx นำหน้า (เหมาะสำหรับไกด์ท้องถิ่น หรือธุรกิจนำเที่ยวเล็ก ๆ)
  2. ใบอนุญาตนำเที่ยวในประเทศ (Domestic) สามารถประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ทุกที่ในประเทศไทย แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปต่างประเทศ สามารถให้บริการได้เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น การจดทะเบียนประเภทนี้ จะต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 50,000 บาท ที่สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว จะได้เลขทะเบียนที่มีเลข 12/xxxxx นำหน้า (เหมาะสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวเล็ก ๆ ในประเทศ เน้นนักท่องเที่ยวไทยเป็นหลัก)
  3. ใบอนุญาตนำเที่ยวแบบอินบาวด์ (Inbound) สามารถประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ทุกที่ในประเทศไทย แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปต่างประเทศ สามารถให้บริการได้เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเท่านั้น การจดทะเบียนประเภทนี้ จะต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 100,000 บาท ที่สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว จะได้เลขทะเบียนที่มีเลข 14/xxxxx นำหน้า (เหมาะสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวเล็ก ๆ เน้นการให้บริการชาวต่างชาติเป็นหลัก)
  4. ใบอนุญาตนำเที่ยวต่างประเทศ (Outbound) สามารถระกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ การจดทะเบียนประเภทนี้ จะต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 200,000 บาท ที่สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว จะได้เลขทะเบียนที่มีเลข 11/xxxxx นำหน้า (เหมาะสำหรับธุรกิจนำเที่ยวขนาดใหญ่ที่ให้บริการครบทุกความต้องการ)

ตัวอย่าง ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ นำเที่ยว

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

1. ทำไมถึงต้องวางเงินประกัน?

เพราะเงินประกันที่นำมาวางนั้น จะถูกนำมาใช้หากเกิดความผิดพลาด ความเสียหายจนเป็นเหตุให้ถูกฟ้องร้องจากนักท่องเที่ยว ถ้าหากว่าสิ้นสุดการฟ้องร้อง แล้วบริษัทไม่ได้ชดใช้ให้กับนักท่องเที่ยวตามที่กฎหมายกำหนด สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่เป็นฝ่ายเก็บเงินหลักประกันไว้ จะเป็นผู้นำเงินประกันนั้น ๆ มาชดใช้ให้กับนักท่องเที่ยวแทน

2. การต่อใบอนุญาต

จะต้องทำการต่อใบอนุญาตทุก ๆ 2 ปี เพื่อรักษาสถานภาพใบอนุญาตประกอบธุรกิจท่องเที่ยวไว้อยู่เสมอ (ถึงแม้ว่าจะหยุดทำกิจการไปชั่วคราวก็ตาม) โดยค่าธรรมเนียมในการขอต่อใบอนุญาต มีราคา 1,000 บาท ดังนั้นผู้ที่ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว จึงควรต่อใบอนุญาตตามกำหนดเสมอ เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง

3. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว และใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ไม่เหมือนกัน

ถ้าหากว่าทำธุรกิจ โดยที่ไม่ได้เป็นผู้นำเที่ยว หรือเป็นมัคคุเทศก์เอง ก็สามารถใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวอย่างเดียวได้ แล้วจ้างมัคคุเทศก์ที่มีบัตรอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์อย่างถูกต้องให้ทำหน้าที่แทน แต่ถ้าเป็นผู้นำแขกไปท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ ก็จะต้องมีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ (บัตรไกด์) ควบคู่ไปด้วย มิเช่นนั้นอาจจะถูกจำคุกหรือถูกปรับเนื่องจากมีการกระทำผิดทางกฎหมาย ดังนั้นหากประกอบธุรกิจนำเที่ยวในลักษณะแบบนี้ ก็ควรขอใบอนุญาตทั้งการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและการเป็นมัคคุเทศก์ควบคู่กันไปด้วย

4. หากต้องการขายทัวร์ในอินเตอร์เน็ต

จะต้องขอใบอนุญาตนำเที่ยวแบบอินบาวด์ (ประเภทที่ 3) ขึ้นไปเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีความตั้งใจที่จะขายทัวร์ให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทย แต่การขอใบอนุญาตนำเที่ยวในประเทศ (Domestic) จะสามารถขายได้แบบตั้งโต๊ะเท่านั้น ไม่สามารถขายผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้

บทลงโทษกรณีไม่ได้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

กรณีที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่มีใบอนุญาต จะมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 คือ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท ในรายที่มีการกระทำผิดพรบ.บางมาตรา เช่น มาตรา 30 ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะเรียกเก็บค่าบริการอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ตามคำโฆษณาหรือที่ตกลงกันล่วงหน้าไม่ได้ หากฝ่าฝืนอาจมีโทษถึงขั้นพักใบอนุญาต หรืออาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ ส่วนกรณีที่กระทำการเป็นมัคคุเทศก์ โดยที่ไม่มีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ จะมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 คือ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องให้ความใส่ใจ ไม่ควรละเลยเป็นอันขาด เพราะหากไม่มีใบอนุญาตก็ไม่สามารถประกอบธุรกิจได้ และหากฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษด้วยการจำคุกและปรับ ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่น้อย ดังนั้นควรขอใบอนุญาติให้เรียบร้อยก่อนจะดีที่สุด

การจดทะเบียนการจัดตั้งบริษัทนำเที่ยวต้องขออนุญาตอย่างไร

ขั้นตอนการ ขอหนังสือรับรองการจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยว.
ไปติดต่อที่สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ... .
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ต้องไปด้วยตนเองไม่สามารถมอบอำนาจได้ เพื่อไปสัมภาษณ์.
เอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วย คือ ... .
เมื่อไปยื่นแล้วต้องรอเอกสาร 15-20 วัน ที่จะได้หนังสือรับรองการจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยว.

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ข้อ ๑ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว แบ่งเป็นสี่ประเภท ดังต่อไปนี้ (๑) ประเภทเฉพาะพื้นที่ สําหรับการประกอบธุรกิจนําเที่ยวในจังหวัดหนึ่งจังหวัดใดและจังหวัด ที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดนั้น (๒) ประเภทในประเทศ สําหรับการประกอบธุรกิจนําเที่ยวภายในราชอาณาจักร (๓) ประเภทนําเที่ยวจากต่างประเทศ สําหรับการประกอบธุรกิจนํา ...

ผู้ขอรับใบอนุญาติประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

มีสัญชาติไทย และอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ ต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ที่ไหน

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เชิญชวนผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ www.tourism.go.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง