มารยาทการสนทนา กับผู้อื่น ป 6

มารยาทในการพูด

การพูดมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดประกอบกับกิจการงานใดหรือคบหา สมาคมกับผู้ใด ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงาน การคบหาสมาคมกับผู้อื่นตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคม ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้น การพูดมีความสำคัญต่อตนเอง เพราะถ้าผู้พูดมีศิลปะในการพูดก็จะเป็นคุณแก่ตนเอง ส่วนในด้านสังคมนั้น เนื่องจากเราต้องคบหาสมาคมและพึ่งพาอาศัยกัน การที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่ “พูดดี” คือพูดไพเราะน่าฟังและพูดถูกต้องด้วย

มารยาทในการพูด

การพูดของคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ รู้จักกาลเวลา และที่สำคัญต้องคำนึงถึงมารยาทที่ดีในการพูดด้วย
มารยาทในการพูดแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล

2. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล มีดังนี้

1. เรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน
2. ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป ควรฟังในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด ไม่สอดแทรกเมื่อเขาพูดยังไม่จบ
3. พูดตรงประเด็น อาจออกนอกเรื่องบ้างพอผ่อนคลายอารมณ์
4. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่บังคับให้ผู้อื่นเชื่อหรือคิดเหมือนตน

มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ

การพูดในที่สาธารณะต้องรักษามารยาทให้มากกว่าการพูดระหว่างบุคคล เพราะการพูดในที่สาธารณะนั้นย่อมมีผู้ฟังซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ กัน มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ และพื้นฐานความรู้ ความสนใจและรสนิยมต่างกันไปมารยาทในการพูดระหว่างบุคคลอาจนำมาใช้ได้และควรปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้

1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะแก่โอกาสและสถานที่
2. มาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย
3. ก่อนพูดควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังตามธรรมเนียมนิยม
4. ไม่แสดงกิริยาอาการอันไม่สมควรต่อหน้าที่ประชุม
5. ใช้คำพูดที่ให้เกียรติแก่ผู้ฟังเสมอ
6. ไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นในที่ประชุม
7. ไม่พูดหยาบโลนหรือตลกคะนอง
8. พูดให้ดังพอได้ยินทั่วกันและไม่พูดเกินเวลาที่กำหนด

“มารยาทเป็นเรื่องสำคัญ”

ข้อควรคำนึงในการสื่อสารด้วยการพูด
การพูดให้เหมาะสมกับบุคคล : ต้องวิเคราะห์ในเรื่องต่อไปนี้ คือ วัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ความสนใจพิเศษเพื่อเตรียมเรื่องที่จะพูดได้อย่างเหมาะสม
การพูดให้เหมาะกับกาลเทศะ : ควรพิจารณาว่าจะพูดในโอกาสใด การพูดนั้นเป็นทางการมากน้อยแค่ไหน
การพูดให้ผู้อื่นเข้าใจตรงตามความประสงค์ : ควรใช้ภาษาบ่งบอกความต้องการหรือความมุ่งหมายให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการตีความหลายแง่หลายมุม

การพูดที่ดีไม่ว่าจะเป็นการพูดในโอกาสใด หรือประเภทใด ผู้พูดต้องคำนึงถึงมารยาทในการพูด ซึ่งจะมีส่วนส่งเสริมให้ผู้พูดได้รับการชื่นชมจากผู้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการพูด มารยาทที่สำคัญของการพูดสรุป ได้ดังนี้

  1. ท่าทางในการยืน นั่ง ควรสง่าผ่าเผย การใช้ท่าทางประกอบการพูดก็มีความสำคัญ เช่น การใช้มือ นิ้ว จะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายยิ่งขึ้น
  2. ต้องรักษามารยาทการพูดให้เคร่งครัดในเรื่องเวลาในการพูด พูดตรงเวลาและจบทันเวลา
  3. พูดเรื่องใกล้ตัวให้ทุกคนรู้เรื่อง เป็นเรื่องสนุกสนานแต่มีสาระ และพูดด้วยท่าทางและกิริยานุ่มนวล เวลาพูดต้องสบตาผู้ฟังด้วย
  4. ไม่ควรพูดเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา การเมือง โดยไม่จำเป็น และไม่ควรพูดแต่เรื่องของตัวเอง
  5. ไม่พูดคำหยาบ นินทาผู้อื่น ไม่พูดแซงขณะผู้อื่นพูดอยู่ และไม่ชี้หน้าคู่สนทนา
  6. พูดด้วยวาจาสุภาพ แสดงหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
  7. ไม่พูดอวดตนข่มผู้อื่น และยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเป็นสำคัญ
  8. ไม่กล่าววาจาเสียดแทง ก้าวร้าวหรือพูดขัดคอบุคคลอื่น ควรใช้วิธีที่สุภาพเมื่อต้องการแสดงความคิดเห็น
  9. รักษาอารมณ์ในขณะพูดให้เป็นปกติ
  10. ไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาพูด
  11. หากนำคำกล่าวของบุคคลอื่นมากล่าว ต้องระบุนามหรือแหล่งที่มาเป็นการให้เกียรติบุคคลที่กล่าวถึง
  12. หากพูดในขณะที่ผู้อื่นยังพูดไม่จบ ควรกล่าวคำขอโทษ
  13. ไม่พูดคุยกันข้ามศีรษะผู้อื่น
  14. ออกเสียงพูดให้ชัดเจน ดังพอประมาณ อย่าตะโกนหรือพูดค่อยเกินไป
  15. สีหน้า ท่าทางยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด

หลักการของการพูด

มีผู้ให้หลักเกณฑ์ไว้หลายแบบด้วยกัน แต่ก็มีแนวคล้าย ๆ กันแต่จะขอยกแนวทางอย่างย่อ ๆ มาให้พิจารณาเป็นหลักยึด ดังต่อไปนี้

หลักสิบประการของสมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

  1. จงเตรียมพร้อม
  2. จงเชื่อมั่นในตัวเอง
  3. จงปรากฏตัวอย่างสง่าผ่าเผย
  4. จงพูดโดยใช้เสียงอันเป็นธรรมชาติ
  5. จงใช้ท่าทางประกอบการพูดให้พอเหมาะ
  6. จงใช้สายตาให้เป็นผลดีต่อการพูด
  7. จงใช้ภาษาที่ง่ายและสุภาพ
  8. จงใช้อารมณ์ขัน
  9. จงจริงใจ
  10. จงหมั่นฝึกหัด

ของฝาก

จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นมึงกู
คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก “สุภาษิตสอนหญิง”

เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา
จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก “พระอภัยมณี”

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับเข้ามาสู่เนื้อหาสาระดี ๆ อีกครั้ง โดยวันนี้จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับมารยาทในการพูด และจะต่อจากเนื้อหาเมื่อครั้งที่แล้วอย่างเรื่องมารยาทในการฟัง ซึ่งถือเป็นบทเรียนที่มีประโยชน์มาก ๆ เมื่อเราต้องไปพูดต่อหน้าที่สาธารณะ หรือพูดคุยสนทนากับเพื่อน ๆ คุณครู พ่อแม่ของเรา เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ เราก็ควรเรียนรู้มารยาทที่ดีในการพูดไปด้วย
ถ้าน้อง ๆ ทุกคนพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้จะมีเนื้อหาอะไรมาฝากกันบ้าง

มารยาทการสนทนา กับผู้อื่น ป 6

การพูด คือ อะไร

การพูดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร เพื่อบ่งบอกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง ผ่านการใช้อวัยวะอย่างกล่องเสียง และปาก เพื่อเปล่งเสียงพูดออกมา การพูดจะมีตัวกลางคือ ภาษา ซึ่งเป็นตัวสื่อความหมายออกในรูปแบบของน้ำเสียง หรือถ้อยคำ การพูดจึงถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะที่มนุษย์สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน เลียนแบบ หรือถ่ายทอดให้สู่รุ่นต่อ ๆ ไปได้

มารยาทการสนทนา กับผู้อื่น ป 6

จุดมุ่งหมายของการพูด

1.การพูดเพื่อให้ความรู้ 

เป็นการพูดเพื่อให้สาระความรู้ เป็นการพูดที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ฟัง เช่น การนำเสนอรายงานที่เราไปสืบค้นมาให้เพื่อนฟัง การที่คุณครูสอนในห้องเรียน หรือการที่เราพูดให้ความรู้บางอย่างกับผู้อื่นก็เช่นกัน

2.การพูดเพื่อให้ความบันเทิง

สำหรับจุดมุ่งหมายนี้เป็นการพูดที่เน้นความเพลิดเพลิน สนุกสนาน อย่างเรื่องตลกขบขันต่าง ๆ ซึ่งจะไม่ต้องใช้หลักการอะไรมาก หรือไม่ต้องใช้การเตรียมตัวก่อนพูด เช่น การพูดเรื่องตลกให้เพื่อน ๆ ฟัง การเล่าเรื่องผี เล่าเรื่องที่เราประสบพบเจอมาให้คนที่เรารู้จักฟัง ผู้ฟังก็จะได้รู้สึกสนุก ตื่นเต้นไปกับเรื่องที่เราพูดไปด้วย

3.การพูดเพื่อความจรรโลงใจ 

ต่อมาเป็นการพูดเพื่อทำให้ผู้ฟังได้คติเตือนใจ ได้แนวทางในการใช้ชีวิต พูดเพื่อให้คนฟังมีจิตใจที่สูงขึ้นอยากกระทำแต่ความดี  เช่น การพูดสุนทรพจน์ การขับเสภา หรือการเล่านิทานสอนใจ ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังได้รับข้อคิดจากเรื่องที่ฟังด้วย

4.การพูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจ

สำหรับจุดมุ่งหมายในการพูดข้อนี้ถือว่าเป็นความสามารถเฉพาะบุคคลก็ว่าได้ เพราะเป็นการพูดที่ต้องมีหลักการ มีแหล่งข้อมูล
ผู้พูดต้องมีความน่าเชื่อถือพอสมควร การพูดในลักษณะนี้จะต้องพูดเพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของผู้ฟังให้คล้อยตามเรา
เช่น การพูดโต้วาที การพูดชักชวนเพื่อให้ทำบางสิ่งบางอย่างตามที่เราต้องการ การพูดเชิญชวน รณรงค์ หรือที่เราจะเห็นการพูดเพื่อโฆษณาสรรพคุณของสินค้าให้คนสนใจอยากจะซื้อตาม

มารยาทการสนทนา กับผู้อื่น ป 6

มารยาทในการพูด

1.มารยาทการพูดระหว่างบุคคล

การพูดระหว่างบุุคคล หมายถึง การที่คนสองคนพูดคุยกัน หรือการสนทนากันภายในกลุ่ม ซึ่งจะมีมารยาทในวงสนทนาที่เราต้องเรียนรู้ เพื่อไม่เป็นการทำให้ผู้ฟังของเรารู้สึกไม่ดี หรือไม่สบายใจได้ โดยจะมีมารยาทที่เราควรรู้ ดังนี้

  • ผู้พูด และผู้ฟังต้องมีความพึงพอใจในเรื่องที่จะพูดร่วมกัน

มารยาทในข้อแรกคือการที่เรากับคู่สนทนาจะต้องมีความพึงพอใจในเรื่องที่จะพูดร่วมกัน เพราะถ้าเราพูดเรื่องที่ตนเองอยากพูดอยู่ฝ่ายเดียวโดยไม่สนใจอีกฝ่ายก็จะดูเป็นการเสียมารยาท เช่น ถ้าเราอยากพูดถึงหนังที่เราเพิ่งจะไปดูมา แต่เพื่อนของเราเป็นคนที่ไม่ชอบดูหนังเราก็อาจจะหลีกเลี่ยงเรื่องนี้ แล้วเปลี่ยนไปคุยเรื่องที่เรา และเพื่อนสนใจร่วมกันจะดีกว่า

  • เปลี่ยนจากสถานะผู้พูด มาเป็นผู้ฟังบ้าง

หลังจากที่เราได้เรื่องที่จะพูดคุยร่วมกันแล้ว มารยาทข้อต่อมาที่ควรทำ คือ การเปลี่ยนเป็นคนฟังบ้าง เราไม่ควรพูดเรื่องของตัวเองมากจนเกินไป หรือพูดเรื่องนั้นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ควรเว้นจังหวะให้เพื่อนของเราได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนั้นด้วย และเราก็ต้องรับฟังอย่างตั้งใจเช่นกัน

  • เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

เมื่อเราได้รับบทเป็นผู้ฟังแล้วสิ่งที่ต้องทำคือ การเคารพความคิดเห็นของผู้ที่คุยกับเราด้วย เช่น ถ้าเรากับเพื่อน ๆ กำลังพูดคุยกันเรื่องวิชาที่เรารู้สึกว่าเรียนยาก หรือเรียนง่าย แล้วมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เราก็ต้องเคารพความคิดเห็นของเพื่อน และไม่ควรไปบังคับให้เพื่อนคิด หรือรู้สึกเหมือนกับเราอยู่ฝ่ายเดียว

  • ไม่พูดออกนอกเรื่อง หรือนอกประเด็น

มารยาทข้อต่อมาเราควรจะพูดให้ตรงประเด็น หรือพูดให้สอดคล้องกับหัวข้อที่เรากำลังคุยกันอยู่  เช่น ถ้าเพื่อน ๆ ของเรากำลังพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการไปทัศนศึกษา แต่เรากลับพูดออกนอกเรื่องก็อาจจะทำให้เพื่อน ของเรารู้สึกไม่พอใจ หรือหลุดออกจากประเด็นที่คุยกันอยู่ก็เป็นได้

  • ไม่พูดแทรกในระหว่างที่คนอื่นกำลังพูด

มารยาทข้อนี้เป็นสิ่งที่ควรมี และพึงปฏิบัติทั้งการพูด และการฟัง เพราะถ้าเราพูดแทรกขึ้นมาในขณะที่อีกฝ่ายยังพูดไม่จบ จะถือว่าเสียมารยาทมาก ๆ และอาจทำให้ผู้ที่กำลังพูดอยู่เสียสมาธิจนไม่สามารถพูดต่อได้ ดังนั้น เราควรรอให้อีกฝ่ายพูดจบแล้วเราจึงค่อยพูดขึ้นมาแทน

2. มารยาทการพูดในที่สาธารณะ

สำหรับการพูดในที่สาธารณะจำเป็นที่จะต้องรักษามารยาทให้มากกว่าการพูดระหว่างบุคคล เนื่องจากเป็นการพูดในสถานที่ที่เปิดกว้าง มีผู้ฟังที่แตกต่างกันทั้งทางอายุ ระดับการศึกษา ไปจนถึงมีความรู้ ความเข้าในเรื่องที่เราจะพูดไม่เท่ากัน โดยจะมีมารยาทที่เราควรรู้ ดังนี้

  • การแต่งกายให้สุภาพ ถูกกาลเทศะ

เมื่อเราต้องไปพูดตามสถานที่ต่าง ๆ นอกจากที่เราจะต้องศึกษากฎระเบียบ หรือข้อปฏิบัติของสถานที่นั้น ๆ แล้ว ก็ยังต้องศึกษาลักษณะของงานที่เราจะไปพูด เพื่อจะได้แต่งตัวตามรูปแบบงาน ตามความเหมาะสมของสถานที่ หรือเหมาะสมกับช่วงเวลาที่พูดด้วย

  • ควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังก่อนจะเริ่มพูด

การเริ่มกล่าวทักทายผู้ฟัง หรือเกริ่นนำผู้ฟังเข้าสู่เรื่องที่เรากำลังจะพูดนั้นนับว่าเป็นมารยาทสากลที่ผู้พูดควรจดจำ และปฏิบัติทุกครั้ง เช่น เวลาที่เราจะนำเสนองานหน้าชั้นเรียนเราควรยกมือไหว้คุณครู สวัสดีเพื่อน ๆ หรือเรามักจะได้ยินคำกล่าวตอนเริ่มนำเสนอรายงานว่า เรียนคุณครูที่เคารพ และสวัสดีเพื่อน ๆ ที่น่ารักทุกคน ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้อง และแสดงถึงมารยาทที่ดี

  • พูดให้พอดีกับเวลาที่กำหนด

เมื่อเราต้องพูดในงานที่มีระยะเวลากำหนดไว้ เราควรจะฝึกซ้อม และพยายามพูดเนื้อหาของเราให้พอดีกับเวลาที่กำหนด เป็นข้อที่สำคัญมากเมื่อเราต้องไปพูดในงานที่มีคนอื่นรอพูดต่อจากเรา หรือมีพิธีการอื่น ๆ ทีต้องดำเนินไปตามเวลา ถ้าเราพูดเลยเวลาที่กำหนดก็จะไปกระทบกับเวลาของผู้อื่นด้วย

  • ไม่พูดพาดพิงถึงบุคคลอื่น

มารยาทในการพูดข้อต่อมา เวลาที่เรากำลังพูดเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่เราไม่ควรกล่าวพาดพิง หรือกล่าวถึงเรื่องของผู้อื่น เพราะจะถือเป็นการไม่ให้เกียรติบุคคลที่เรากำลังกล่าวถึง

  • อย่าแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ

พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้พูดในที่นี้จะหมายถึง การกระทำที่จะส่งผลให้คนฟังรู้สึกไม่ดี หรือไม่พอใจกับสิ่งที่เรากำลังทำ เช่น การตะโกนใส่ผู้ฟัง  การแสดงท่าทางไม่พอใจกับเรื่องที่กำลังพูด หรือด่าทอผู้ฟังขณะที่พูด เพราะเป็นพฤติกรรมไม่สุภาพ และไม่สมควรทำอย่างยิ่งเมื่อต้องออกไปพูดต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก

  • ไม่พูดคำหยาบคาย หรือพูดจาไม่สุภาพ

มารยาทข้อนี้ก็สำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ๆ เลย นั่นคือการควรควบคุมถ้อยคำ หรือสำนวนที่เราจะใช้พูดต่อหน้าที่สาธารณะไม่ให้มีคำหยาบคาย หรือคำพูดที่ไม่สุภาพ เพราะจะทำให้คนที่ฟังรู้สึกไม่ดี และทำให้เรื่องที่เราพูดดูไม่น่าฟังขึ้นมาทันที

มารยาทการสนทนา กับผู้อื่น ป 6