ผู้บริหารสถานศึกษา ภาษาอังกฤษ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทและศึกษาปัญหาแนวทางการแก้ปัญหาของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๗๗ คน และครูผู้สอน จำนวน ๑๑๙ คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ การทดสอบค่าที (Independent Samples t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ๑) ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน ๒) ด้านการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม ๓) ด้านสื่อการเรียนการสอน ๔) ด้านงบประมาณ และ ๕) ด้านการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ จำแนกตามสถานภาพ โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษา เห็นว่าด้านที่มีการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอนรองลงมา ด้านการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมและด้านที่มีการปฏิบัติต่ำที่สุด คือด้านการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน ส่วนครูผู้สอน เห็นว่าด้านที่มีการปฏิบัติสูงที่สุด คือ  ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอนรองลงมา ด้านการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมและด้านที่มีการปฏิบัติต่ำที่สุด คือด้านงบประมาณ

๒. การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสถานศึกษาขนาดเล็กและสถานศึกษาขนาดกลาง มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน      

๓. ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ คือแผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษไม่สอดคล้องกับหลักสูตร ขาดงบประมาณและสื่อการเรียนการสอน และไม่มีการศึกษาดูงานหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในต่างประเทศส่วนแนวทางการแก้ปัญหา คือ หลักสูตรควรยึดโครงสร้างหลักที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ จัดหางบประมาณและสื่อการเรียนการสอน และจัดโครงการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในต่างประเทศ


  1. Burapha University Research Report
  2. มหาวิทยาลัยบูรพา
  3. บทความวารสาร

กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3377

ชื่อเรื่อง:  การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ:  The development of english training program for school administrators in basic education under the Chonburi primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: 
สมุทร ชำนาญ
สมศักดิ์ ลิลา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ:  การฝึกอบรม
การพัฒนาหลักสูตร
ผู้บริหารสถานศึกษา
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่:  2557
บทคัดย่อ:  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้บริหารสถารศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตร 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม 3) การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม 4) การประเมินหลักสูตรฝึกอบรม และ 5) การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำนวน 30 คน โดยใช้การวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย หลักการวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เนื้อหา วิธีการฝึกอบรม สื่ออุปกรณ์ การวัดและประเมินผล เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย หน่วยที่ 1: ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน หน่วยที่ 2: การอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ หน่วยที่ 3: ภาษาอังกฤษในการประชุม หน่วยที่ 4: การเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยที่ 5: ภาษาอังกฤษสำหรับนำเสนองาน และผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ 2. ก่อนและหลังการฝึกอบรม ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือความสามารถดีขึ้น 3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 30 คน มีความสนใจในการฝึกทักษะการสื่อสาร ซักถาม แลกเปลี่ยนข้อมูล และให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดียิ่ง
URI:  http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3377
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: บทความวารสาร

รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

ภาษาอังกฤษของ ผู้อำนวยการโรงเรียน school director, school principal, headmaster? .. สรายุทธ กันหลง 6/8/2560
https://pantip.com/topic/36739191
มีเพื่อนสอนป.เอกทางการศึกษาโทร.มาถามว่าภาษาอังกฤษของผู้อำนวยการโรงเรียนใช้คำว่า school director หรือ director ใช่ไหม  ผมก็ตอบว่าในทางราชการหรือ สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ใช้คำว่า director แต่ในทางวิชาการงานวิจัยทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยใหญ่ๆของไทย ใช้คำว่า school principal หรือ principal

ในอมริกาเหนือคือสหรัฐฯและคานาดา และออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง ไอร์แลนด์ ใช้คำว่า school principal หรือ principal เช่นเดียวกับงานวิจัยระดับป.เอกทางการศึกษาของเขาที่ผมอ่านประจำ   ในอังกฤษใช้คำว่า headmaster หรือ headmistress

.. สรายุทธ  อาทิตย์ 6/8/2560 10.10 น.

บางส่วนอ้างอิงมาจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Head_teacher