องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง

  • การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร (Enterprise Risk Management) หมายถึง กระบวนการที่บุคลากรทั่วทั้งองค์กรได้มีส่วนร่วมในการคิด วิเคราะห์ และคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ หรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งการระบุแนวทางในการจัดการกับความเสี่ยงดังกล่าว ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือยอมรับได้ เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุในวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ตามกรอบวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร  

กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรนั้น สามารถสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายการบริหารจัดการ และการกำกับดูแลกิจการของแต่ละองค์กร โดยหากองค์กรมีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์องค์กร ทั้งในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน

องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง

  • การบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ซึ่งครอบคลุมแนวทางการกำหนดนโยบายการบริหารงาน การดำเนินงาน และการบริหารความเสี่ยง ดังนี้

1)    สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment)

สภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการกำหนดกรอบบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น วัฒนธรรมองค์กร นโยบายของผู้บริหาร แนวทางการปฏิบัติงานบุคลากร กระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ ระเบียบ เป็นต้น  สภาพแวดล้อมภายในองค์กรประกอบเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดทิศทางของกรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

2)    การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting)

องค์กรต้องพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยง ให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ เพื่อวางเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยงขององค์กรได้อย่างชัดเจน และเหมาะสม

3)    การบ่งชี้เหตุการณ์ (Event Identification)

เป็นการรวบรวมเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงาน ทั้งในส่วนของปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น นโยบายบริหารงาน บุคลากร การปฏิบัติงาน การเงิน ระบบสารสนเทศ ระเบียบ กฎหมาย ระบบบัญชี ภาษีอากร ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์และสถานการณ์นั้น เพื่อให้ผู้บริหารสามารถพิจารณากำหนดแนวทางและนโยบายในการจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

4)    การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

การประเมินความเสี่ยงเป็นการจำแนกและพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่มีอยู่ โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact) โดยสามารถประเมินความเสี่ยงได้ทั้งจากปัจจัยความเสี่ยงภายนอกและปัจจัยความเสี่ยงภายในองค์กร

5)    การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response)

เป็นการดำเนินการหลังจากที่องค์กรสามารถบ่งชี้ความเสี่ยงขององค์กร และประเมินความสำคัญของความเสี่ยงแล้ว โดยจะต้องนำความเสี่ยงไปดำเนินการตอบสนองด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพื่อลดความสูญเสียหรือโอกาสที่จะเกิดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้

6)    กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)

การกำหนดกิจกรรมและการปฏิบัติต่างๆ ที่กระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร เช่น การกำหนดกระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงให้กับบุคลากรภายในองค์กร  เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถจัดการกับความเสี่ยงนั้นได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

7)    สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)

องค์กรจะต้องมีระบบสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปพิจารณาดำเนินการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามกรอบ และขั้นตอนการปฏิบัติที่องค์กรกำหนด

8)    การติดตามประเมินผล (Monitoring)

องค์กรจะต้องมีการติดตามผล  เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินการว่ามีความเหมาะสมและสามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

แนวทาง/กรอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร

พฤษภาคม 15, 2009

จากครั้งที่แล้ว ผมได้พูดถึงเรื่องของกระบวนการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ซึ่งมีขั้นตอนค่อนข้างเยอะ แต่ผมก็ได้พยายามอธิบายในลักษณะเป็นขั้นเป็นตอนพร้อมรูปภาพประกอบในแต่ละขั้น คงทำให้หลายท่านพอจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ

สำหรับวันนี้ ผมจะกล่าวถึงเรื่ององค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (ERM – Enterprise Risk Management) ซึ่งเป็นแนวทางการบริหารความเสี่ยงตามหลักการของ COSO ที่ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ 8 ประการ ได้แก่

1. สภาพแวดล้อมภายใน – ฝ่ายบริหารต้องกำหนดปรัชญาเกี่ยวกับความเสี่ยงและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ขึ้นมา สภาพแวดล้อมภายในจะกำหนดพื้นฐานเพื่อใช้ในการวิธีการจัดการความเสี่ยงและควบคุม หลักสำคัญขององค์กรคือบุคลากรและสภาพแวดล้อมการทำงาน เช่น โครงสร้าง วัฒนธรรมการทำงาน เป็นต้น

2. การกำหนดวัตถุประสงค์ – ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ก่อน ฝ่ายบริหารจึงจะสามารถระบุสถานการณ์ที่อาจทำให้ไม่บรรลุผลสำเร็จได้ ERM จะสร้างความแน่ใจให้กับฝ่ายบริหารว่ามีกระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์และเลือกวัตถุประสงค์ที่สนับสนุนและสอดคล้องกับภารกิจ/วิสัยทัศน์และมีความเสี่ยงในระดับที่องค์กรยอมรับได้

3. การระบุสถานการณ์ – ปัจจัยในการระบุสถานการณ์ประกอบด้วย ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติและการบรรลุวัตถุประสงค์

4. การประเมินความเสี่ยง – การระบุความเสี่ยงเป็นพื้นฐานนำมาวิเคราะห์ว่าจะจัดการกับความเสี่ยงอย่างไร

5. การตอบสนองความเสี่ยง – ฝ่ายบริหารต้องเลือกวิธีการจัดการกับความเสี่ยงที่ประเมินได้ให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ วิธีการจัดการกับความเสี่ยงประกอบด้วย การหลีกเลี่ยง การยอมรับ การลดและการกระจายความเสี่ยง

6. กิจกรรมการควบคุม – เป็นนโยบายและวิธีการที่สร้างขึ้นมาและใช้ในการช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถจัดการกับความเสี่ยงที่อย่างมั่นใจ

7. ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร – มีการระบุ จัดการและสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องในรูปแบบและช่วงเวลาที่สามารถทำให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบได้ ข้อมูลสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นในทุกระดับขององค์กรในการระบุ ประเมิน และตอบสนองความเสี่ยง

8. การติดตาม – ต้องมีการติดตามดูแลกระบวนการ ERM ขององค์กร และดัดแปลงเท่าที่จำเป็น การติดตามดูแลต้องทำเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่อง แยกออกมาจากการประเมินผลกระบวนการ ERM หรือผสมผสานทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน

อธิบายไปครบทั้ง 8 ประการแล้ว เราไปดูแผนภาพของส่วนประกอบของ ERM ให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นกันครับ

องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง

องค์ประกอบของ ERM 8 ประการ

ความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์และองค์ประกอบของ ERM สามารถแสดงให้เห็นได้ใน 3 มิติ ในลักษณะของลูกเต๋าดังภาพ

องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง

ความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์และองค์ประกอบของ ERM

– วัตถุประสงค์ 4 ข้อที่แสดงในแนวตั้ง ได้แก่ กลยุทธ์ การดำเนินงาน การรายงาน และการปฏิบัติตาม
– องค์ประกอบ 8 ประการที่แสดงให้เห็นในแนวนอนและ
– องค์กรและหน่วยต่าง ๆ ขององค์กรจะบรรยายในมิติที่ 3

องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง
Leave a Comment » |
องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง
แนวทางการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร COSO-ERM Framework | ติดป้ายกำกับ: กรอบการบริหารความเสี่ยง, ความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์กับองค์ประกอบของ ERM, คู่มือการบริหารความเสี่ยง, องค์ประกอบของ ERM - Enterprise Risk Management, แนวทางการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร COSO-ERM Framework |
องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง
ลิงก์ถาวร
องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง
โพสต์โดย Metha Suvanasarn