การใช้ทรัพยากรอย่าง คุ้ม ค่า ในชีวิตประจำวัน ป. 3

ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตมนุษย์ถ้าเราใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปหรือใช้อย่างไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาได้ดังนั้นเราจึงควรร่วมใจกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่า การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่ามีแนวปฏิบัติที่เรียกว่าหลัก 3  R ดังนี้

1) ลดการใช้ (Reduce) การลดการใช้ทรัพยากร หมายถึง การลดปริมาณการใช้ทรัพยากรให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมหรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น การปิดน้ำและไฟเมื่อไม่ใช้งาน ซึ่งเป็นการลดการใช้เชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นต้น                                                                               2) การนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ(Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่งโดยไม่ผ่านการแปรรูป เช่น การนำถุงพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เป็นต้น                                                                                                                                        3) การผลิตขึ้นใช้ใหม่(Recycle) การผลิตขึ้นใหม่ เป็นการนำวัสดุที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ เพื่อให้ได้ของใหม่ซึ่งอาจเหมือนเดิมหรือไม่เหมือนเดิม วัสดุที่สามารถนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้ เช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก เป็นต้นการลดการใช้   ทรัพยากรธรรมชาติ

การใช้ทรัพยากรอย่าง คุ้ม ค่า ในชีวิตประจำวัน ป. 3

ทรัพยากร หมายถึง สิ่งของต่างๆ ที่มีค่าและมีประโยชน์ ต่อมนุษย์  

สิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต  สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันบางอย่างเมื่อใช้แล้วก็หมดไป แต่สิ่งของเครื่องใช้บางอย่างสามารถใช้ร่วมกับผู้อื่น ได้

สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประวัน มีทั้งของใช้ส่วนตัว และใช้ส่วนรวม 

สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว  เช่น   ดินสอ  แก้วน้ำ  แปรงฟัน

สิ่งของเครื่องใช้ส่วนรวม  เช่น   โต๊ะ  เก้าอี้   ไม้กวาด

          สิ่งของเครื่องใช้ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตของเรา บางอย่างใช้แล้วก็หมดไป ดังนั้นนักเรียนควรใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยกันรักษาทรัพยากรบนโลกนี้ให้มีใช้ได้ยาวนาน

  หลักของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

 1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้

3) การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก

4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น

5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น

6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า