เศรษฐศาสตร์กับการบริหารธุรกิจ

เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น การเลือกการผลิต การบริโภค การดำรงชีพ และการปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆที่อยู่ในสังคมเดียวกันหรือต่างกัน ดังนั้นเศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์ที่มี ผลมาจากการอยู่รวมกันในสังคมและมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ซึ่งในการศึกษาและการแก้ไข ปัญหาต่างๆ ตลอดจนการจัดระเบียบวิธีที่เกี่ยวกับมนุษย์จำเป็นที่วิชาเศรษฐศาสตร์ต้องไปเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับวิชาอื่นๆในสังคมศาสตร์ เช่น การบริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ และอื่นๆ

เศรษฐศาสตร์กับการบริหารธุรกิจ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์นั้นส่วนหนึ่งจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ผลิต เช่น การศึกษาทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิตและตลาด ฯลฯ จะเห็นได้ว่าแต่ละหัวข้อจะมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นกล่าวได้ว่าการบริหารธุรกิจส่วนหนึ่งเป็นการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ ให้ได้รับกำไรสูงสุดและธุรกิจเจริญเติบโตก้าวหน้า

เศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันในแง่ที่ว่าแต่ละประเทศจะไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรืองได้หากประเทศไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง เนื่องจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่มีความมั่นใจจึงชะลอการลงทุน ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ในทางกลับกัน หากนักลงทุนมีความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมือง การลงทุนจะเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าปัญหาการเมืองกับปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาควบคู่กันไม่สามารถแยกจากกันได้ กล่าวคือ จะต้องพัฒนาไปพร้อมๆกันประเทศจึงจะมีการพัฒนาอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ

เศรษฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม และส่วนหนึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนั้นหากนักกฎหมายมีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ย่อมจะเป็นผลดีต่อการตราหรือออกใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศ ในทำนองเดียวกัน เนื่องจากกฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์เองจำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้วย ทั้งนี้ เพื่อการใช้กฎหมายในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจจะได้เป็นไปตามที่มุ่งหวัง

เศรษฐศาสตร์กับประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งส่วนหนึ่งสามารถใช้เป็นบทเรียนหรือเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาและแก้ปัญหาเศรษฐกิจ อย่างน้อยที่สุดประวัติศาสตร์จะเป็นกระจกที่สะท้อนให้เห็นถึงลำดับของเหตุการณ์ในอดีตที่ เกิดขึ้น ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อทุกสาขาวิชา รวมทั้งวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วย ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันได้มีการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของการเรียนการสอนทางด้านเศรษฐศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย

เศรษฐศาสตร์กับจิตวิทยา เนื่องจากวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านจิตวิทยาจึงมีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เพราะต่างก็ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การจะอธิบายปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เช่น การเลือกบริโภคสินค้าของผู้ซื้อ ถ้ามีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาของมนุษย์ย่อมช่วยให้เข้าใจการกระทำบางอย่างของมนุษย์ได้ ในเวลาเดียวกัน นักจิตวิทยาอาจนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้

เศรษฐศาสตร์กับคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษากันอยู่ในปัจจุบันคือการศึกษาเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องอาศัยคณิตศาสตร์และสถิติเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆหรือเพื่ออธิบาย ความสัมพันธ์ของตัวแปรทางเศรษฐกิจเหล่านั้น

กล่าวโดยสรุป เศรษฐศาสตร์มิใช่วิชาเอกเทศ ผู้ที่จะศึกษาเศรษฐศาสตร์ได้ดีและสามารถนำ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ให้เกิดผลจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจศาสตร์อื่นๆด้วย แต่ก็มิได้ หมายความว่าจะต้องศึกษาศาสตร์ทุกแขนงโดยละเอียด เพราะอาจเป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะทำได้ การศึกษา ศาสตร์อื่นๆเฉพาะในแง่ที่มีความสัมพันธ์กับเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจวิชาเศรษฐศาสตร์ได้ดีขึ้น

             ๕. เศรษฐศาสตร์กับจิตวิทยา : จิตวิทยาถือได้ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกที่มีผลต่อทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ นักเศรษฐศาสตร์สามารถที่จะนำเอาความรู้และความเข้าใจในพฤติกรรมดังกล่าวไปต่อยอดและใช้ในการอธิบายขยายความในกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เมื่อราคาสินค้าลดต่ำลงจะทำให้พฤติกรรมการซื้อของคนส่วนใหญ่เพิ่มมากขึ้น จะพึงสังเกตได้จากหากมีมหกรรมสินค้าดีราคาถูกแล้วหละก็คลื่นมหาชนจะหลังไหลมาจากทั่วสารทิศ หรือในกรณีที่เมื่อผู้บริโภคมีรายได้สูงขึ้น ส่วนใหญ่ก็มักจะมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น เกี่ยวเนื่องจากต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของตัวเองให้ทัดเทียมกับบุคคลอื่น ๆ ในสังคม

               วิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อนำมาผลิตสินค้าและบริการให้ได้มากที่สุด เพื่อนำมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีมาช้านานแล้วตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 โดยสอดแทรกอยู่ในความเชื่อถือและปรัชญา ต่อมาจึงได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนรู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นหลักการที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันอยู่อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภค ผู้ผลิต และรัฐบาล เศรษฐศาสตร์มี 2 แขนง ได้แก่ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งเป็นการศึกษาถึงระบบเศรษฐกิจส่วนย่อยๆแต่ละบุคคล เช่น การผลิต การจำหน่าย การซื้อขายแลกเปลี่ยนในแต่ละวัน และเศรษฐศาสตร์มหภาค ซึ่งเป็นการศึกษาถึงระบบเศรษฐกิจส่วนรวมระดับประเทศ เช่น การศึกษารายได้ประชาชาติ คือศึกษาถึงรายได้ของประชาชนทั่วประเทศ หรือ ศึกษาถึงภาวะการลงทุน การว่างงาน ภาวะการเงินต่าง ๆ นอกจากนั้นเศรษฐศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น ๆ เช่น บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ จิตวิทยา ดังนั้น การศึกษาเศรษฐศาสตร์จึงทำให้เข้าใจถึงระบบเศรษฐกิจ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตสินค้า เพื่อนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด

เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับการบริหารธุรกิจอย่างไร

2. เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับการบริหารธุรกิจอย่างมาก เพราะในการตัดสินใจของนักธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการเลือกโครงการลงทุน การกำหนดปริมาณการผลิตและกำหนดราคาสินค้า จำเป็นต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์เข้าช่วยในการตัดสินใจ รวมทั้งต้องเข้าใจถึงระบบเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจ เพราะจะมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรง

เศรษฐศาสตร์กับการบริหารธุรกิจต่างกันอย่างไร

1. ลักษณะสำคัญและเป้าหมาย เศรษฐศาสตร์เป็นองค์ความรู็ที่ว่าด้วยเรื่องการจัดสรรทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมโดยรวม ส่วนบริหารธุรกิจเป็นองค์ความรู้ที่ว่าด้วยเรื่องการจัดองค์กรและการบริหาร เพื่อให้หน่วยธุรกิจมีผลกำไรสูงสุด

เศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจแตกต่างกันอย่างไร

เศรษฐศาสตร์ ต่างกับเศรษฐกิจ อย่างไร เศรษฐกิจเป็นตัวกิจกรรมที่ เกี่ยวกับการผลิต การบริโภค การ ซื้อขายแลกเปลี่ยน การกระจาย สินค้าและบริการต่าง ๆ ของ คนที่อยู่ร่วมกันในสังคม ส่วน เศรษฐศาสตร์เป็นแขนงวิชาที่ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของ

วิชาเศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์อย่างไร

เศรษฐศาสตร์ (Economics) หมายถึง แขนงวิชาหนึ่งทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาถึงการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อสนองความต้องการอย่างไม่มีจำกัดของมนุษย์ สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ประโยชน์ได้หลายทาง มาใช้ผลิตสินค้าและบริการอย่างประหยัดที่สุด หรืออย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อให้ ...