หน้าที่ของ สำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดิน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

หน้าที่ของ สำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดิน

โดย...  สมัชชา หุ่นสาระ

 

 

 

          “ประจักษ์ บุญยัง"  ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินแห่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวถึงภารกิจในการนำทัพสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) เพื่อป้องกันและปราบปรามการใช้เงินแผ่นดินในทาง มิชอบ

 

 

          บทบาทหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2561 มีอะไร?


          บทบาทของสตง.มีลักษณะคล้ายเดิมเมื่อเทียบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 โดยสตง.ยังคงมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล รวมไปถึงการจัดเก็บรายได้ว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณว่าเป็นไปโดยคุ้มค่า เกิดผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพหรือไม่

 

 

 

หน้าที่ของ สำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดิน

 


          และยังไม่นับรวมถึงหน้าที่อันสำคัญในการตรวจสอบบัญชีภาครัฐซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้ส่วนราชการต่างๆ ต้องส่งรายงานการเงินให้แก่สตง. เพื่อตรวจสอบและให้ความเห็นภายใน 180 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งถือเป็นภารกิจที่ท้าทายเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในการที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างยิ่ง


          นอกจากนี้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2561 มาตรา 8 ยังได้กำหนดให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินสามารถเสนอผลการตรวจสอบการกระทําที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงิน การคลังของรัฐและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังของรัฐอย่างร้ายแรง ต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อพิจารณาร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อปรึกษาหารือร่วมกัน หากมีมติเห็นพ้องกับผลการตรวจสอบที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเสนอด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการที่ลงคะแนน ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประธานกรรมการการเลือกตั้งและประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะร่วมกันลงนามในหนังสือเพื่อแจ้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบโดยไม่ชักช้า และให้เปิดเผยผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อประชาชนเพื่อทราบด้วย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการระงับหรือยับยั้งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐ

 

 

 

หน้าที่ของ สำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดิน

 



          พันธกิจใหม่ในสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการต่างๆ ให้รักษาวินัยการเงินและการคลังนั้นมีอะไรบ้าง?

ใครมีหน้าที่ตรวจ สตง

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน กำกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน และสั่งลงโทษทางปกครองกรณีมีการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงิน ...

สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีกี่ที่

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 1. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 2. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 3. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 4.

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ค.ต.ง.) มีหน้าที่อะไร (ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๐ และ มาตรา ๒๕๓)

มาตรา ๒๔๐ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) วางนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (๒) กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน (๓) กำกับการตรวจเงินแผ่นดินให้เป็นไปตาม (๑) และ (๒) และกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ

กรมตรวจเงินแผ่นดินเกิดขึ้นเมื่อใด

ระบบการตรวจเงินแผ่นดินของไทยมีมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๑๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดองค์กรมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน มีหลักการและวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ ควบคุม การใช้จ่ายเงินแผ่นดินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อมิให้เงินแผ่นดินรั่วไหล โดยในรัฐธรรมนูญแห่งราช ...