ใน ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลควร ดำเนิน นโยบาย งบประมาณ แผ่นดิน แบบ ใด

งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง แผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ แหล่งที่มาของรายรับรายจ่ายของรัฐบาลในระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติถือเอาระยะเวลา 1 ปี คือ เริ่มจาก 1 ตุลาคม ไปสิ้นสุดที่ 30 กันยายนของปีถัดไป
       สำนักงบประมาณเป็นหน่วยราชการที่รับผิดชอบจัดทำงบประมาณประจำปี โดยจะรวบรวมโครงการและรายจ่ายด้านต่าง ๆ ของหน่วยราชการทุกหน่วยงานรวมทั้งภาครัฐวิสาหกิจทั้งหมด เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากรัฐสภา และประกาศใช้ต่อไป
ลักษณะของงบประมาณ
       งบประมาณของรัฐบาลมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งด้านรายรับและรายจ่าย ผลกระทบจะมากน้อยและอยู่ในลักษณะใดขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งบประมาณของรัฐบาล ซึ่งมี3 ลักษณะ คือ
       1) งบประมาณสมดุล หมายถึง การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายเท่ากับรายได้พอดี งบประมาณสมดุลจะมีข้อขำกัด ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะเงินฝืด อัตราการว่างงานสูง การดำเนินนโยบายงบประมาณสมดุลจะไม่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เพราะการใช้จ่ายของรัฐบาลถูกกำหนดโดยรายได้ ดังนั้นนโยบายงบประมาณสมดุล จึงเป็นนโยบายที่ไม่ยืดหยุ่นไม่สามารถปรับได้คล่องตัวเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
       2) งบประมาณขาดดุล หมายถึง การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายมากกว่ารายได้ และจำเป็นต้องนำรายรับจากเงินกู้หรือเงินคงคลังมาชดเชยการขาดดุล ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์มีแนวคิดว่า การที่รายจ่ายสูงกกว่ารายได้ และรัฐบาลก่อหนี้สาธารณะมาใช้จ่ายนั้นไม่ใช้สิ่งที่เสียหาย ถ้าเงินที่กู้มาถูกใช้ในทิศทางเพื่อการเพิ่มผลผลิต การเพิ่มการลงทุน และการจ้างงาน
       3) งบประมาณเกินดุล หมายถึง การที่รัฐบาลใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ที่จัดเก็บได้ ทำให้มีเงินเหลือเข้าเป็นเงินคงคลังเพิ่มขึ้น
หนี้สาธารณะ
      ในประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่งบประมาณของรัฐบาลจะขาดดุบ เนื่องจากระดับรายได้ของประชาชนต่ำ มีการหลีกเลี่ยงภาษีอากร จึงมีผลให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรได้น้อย ในขณะเดียวกันรัฐบาลพยายามเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการปรับโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้รายจ่ายด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงจำเป็นต้องก่อหนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะอาจจำแนกตามแหล่งเงินกู้ได้ดังนี้
1. หนี้ภายในประเทศ
หนี้ภายในประเทศ หมายถึง หนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารพาณิชย์ สถาบันทางการเงินประเภทต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป วิธีการก่อหนี้สาธารณะภายในประเทศนั้น รัฐบาลจะจำหน่ายพันธบัตรซึ่งเป็นเงินกู้ระยะยาว หรือจำหน่ายตั๋วคลังซึ่งเป็นการกู้ระยะสั้น
2. หนี้ต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศ หมายถึง หนี้สาธารณะที่เกิดจากรัฐบาลกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอกประเทศ เพื่อนำมาสนับสนุนการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือค้ำประกันเงินก็ของรัฐวิสาหกิจ แหล่งเงินกู้ต่างประเทศที่สำคัญ คือ ธนาคารโลก กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งประเทศญี่ปุ่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย และตลาดการเงิน เป็นต้น
      การก่อหนี้สาธารณะอาจเกิดผลดีในด้าน การนำเงินไปใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต จะทำให้อัตราการพัฒนาเศรษฐกิจรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ ในกรณีหนี้ภายในประเทศ ถ้ารัฐบาลกู้ยืมเงินลงทุนของภาคเอกชน จะเกิดผลกระทบต่ออุปสงค์รวม ทำให้ระดับรายได้ประชาชาติและการว่าจ้างทำงานลดลง ส่วนหนี้ต่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อเงินที่ไหลออกนอกประเทศ เนื่องจากการชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้แก่ต่างประเทศ
      กล่าวโดยสรุป รัฐบาลต้องใช้จ่ายรายได้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการแจกจ่ายรายได้ ต้องมีการวางแผน และดำเนินการอย่างเป็นระบบ ดังนั้นจึงมีการทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณจากหน่วยงานที่มีความจำเป็นและต้องการรายได้เพื่อนำไปใช้จ่ายตามแผนของรัฐบาลที่วางไว้

งบประมาณแผ่นดินไทยในช่วงภาวะเศรษฐกิจหดตัวควรใช้นโยบายแบบใด

1 นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy) คือ นโยบายการคลังที่ ใช้การเพิ่มงบประมาณรายจ่าย และลดอัตราภาษี หรือ “การใช้งบประมาณขาดดุล” โดยรัฐจะ ใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัวในกรณีที่ “เศรษฐกิจตกตํ่า” หรือมีปัญหา “การว่างงาน จํานวนมาก”

ในภาวะใดที่รัฐบาลมักจะใช้งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล

คือ นโยบายการคลัง ที่ 1. เพิ่มรายจ่ายของภาครัฐบาล 2. ลดอัตราภาษี 3. ใช้งบประมาณแบบขาดดุล ใช้เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต ่า สินค้าและบริการของผู้ผลิตขายไม่ออกระดับการว่างงานภายในประเทศสูง

รัฐบาลมีวัตถุประสงค์อย่างไร จึงต้องจัดทำงบประมาณขาดดุล

ทั้งนี้กระทรวงการคลังรายงานว่าการจัดทำงบประมาณในระยะปานกลางมีความจำเป็น โดยต้องทำนโยบายการคลังแบบขยายตัวผ่านการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 ที่กระทบเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตประชาชน ซึ่งผลต่อเนื่องถึงภาคการคลังทำให้เกิดภาระที่สะสมต่อภาคการคลัง

รัฐบาลจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลเมื่อเกิดกรณีใด

การขาดดุลงบประมาณ ก็เหมือนคนที่มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ และหากปล่อยให้เรื้อรังยาวนานก็เข้าข่ายมีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ ซึ่งจะมีผล กระทบต่อความเชื่อมั่นได้ แต่สาเหตุหนึ่งของการจัดทำงบประมาณขาดดุลเอง ก็เพราะข้อจำกัดของการจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่ไม่สามารถเพิ่มอัตราภาษีได้เลย รวมถึงจำนวนคนที่เข้าระบบเสียภาษีของไทยยังน้อย