ทำบัตรประชาชนเขตบางเขนต้องจองคิวไหม

สำนักงานเขต 50 แห่ง คุมเข้มโควิด เปิดทำบัตรประชาชนวันละ 60 คน โดยจองคิวผ่านออนไลน์ 30 คน และ Walk-in 30 คน หยุดพักเวลา 12.00-13.00 น.เพื่อทำความสะอาดตามมาตรการป้องกันโควิด-19

วันนี้ (3 ก.ย.2564) นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร แจ้งว่าด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความรุนแรง ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจำนวนข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดยฝ่ายทะเบียนและฝ่ายปกครองทั้ง 50 สำนักงานเขต ยังคงเปิดให้บริการประชาชน จึงมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด จึงให้ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขต ดำเนินการดังนี้

ในวันราชการปกติ (วันจันทร์ - วันศุกร์) เวลา 08.00-16.00 น. 

งานทะเบียน - ด้านงานทะเบียนราษฎร ให้บริการเฉพาะการรับแจ้งเกิด - ตาย และให้บริการตรวจ คัด และรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร

งานทะเบียนทั่วไป -ให้บริการตรวจคัดและรับรองเอกสารเกี่ยวกับงานทะเบียนทั่วไป

งานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน -ให้บริการด้านบัตรประจำตัวประชาชนทุกกรณี โดยกำหนดจำนวนผู้รับบริการ 60 คนต่อวัน แบ่งเป็นผู้รับบริการด้วยระบบจองคิวออนไลน์ (BMAQ) จำนวน 30 คน และผู้รับบริการที่ไม่ได้มีการนัดหมายล่วงหน้า (Walk-in) จำนวน 30 คน

ส่วนในวันหยุดราชการ (วันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 08.00-16.00 น.ให้บริการเฉพาะรับแจ้งเกิด - ตาย งดจัดทำ หรือปรับปรุงทะเบียนประวัติบุคคล ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ) และงานทะเบียนแก่แรงงานต่างด้าวในทุกกรณี (ยกเว้นการแจ้งเกิดกรณีปกติ และการแจ้งตาย)

ในกรณีที่ประชาชนมีความจำเป็นเร่งด่วน ต้องใช้เอกสารหลักฐานทางการทะเบียน ให้พิจารณาดำเนินการเป็นกรณี ๆ ไป และหยุดพักกลางวัน เวลา 12.00-13.00 น. เพื่อทำความสะอาดพื้นที่ ตามมาตรการป้องกันโควิด-19

ทำบัตรประชาชนเขตบางเขนต้องจองคิวไหม

ขณะนี้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (สยป.) กรุงเทพมหานคร ได้จัดทำแอปพลิเคชัน BMAQ ตามโครงการ “บริการทันใจ นัดหมายทันเวลา” เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการใช้บริการที่สำนักงานเขต ทั้งงานทะเบียน หรือการขออนุญาตต่างๆจากสำนักงานเขต

โดยประชาชนสามารถจองคิวออนไลน์ หรือจองคิวใช้บริการล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว ช่วยให้ประชาชนวางแผนการเดินทาง หรือลดเวลาการรอใช้บริการต่างๆได้

“รายงานวันจันทร์” ได้ไปพูดคุยกับ รอง ผอ.สยป. พีระพงศ์ ศิริเกษม ถึงที่มาของการจัดทำแอปพลิเคชันนี้

---------------------

ถาม-แอปพลิเคชัน BMAQ เกิดขึ้นได้อย่างไร

พีระพงศ์ - จากปัญหาการรอคิวใช้บริการที่สำนักงานเขต และข้อจำกัดเรื่องเวลาทำการของหน่วยงานราชการ ซึ่งเปิดทำการระหว่าง 08.00-16.00 น. ซึ่งแต่ละเขตมีการคำนวณหรือประมาณการไว้ว่าระหว่างเปิดทำการนั้น สามารถให้บริการประชาชนได้ประมาณ 175 คิวต่อวัน จะถึงเวลา 16.00 น. พอดี

แต่ยังพบว่ามีประชาชนมาเกินจำนวนที่มีการคาดการณ์ไว้ บางรายอาจจะต้องกลับบ้านแล้วกลับมาที่เขตใหม่ในวันถัดไป ทำให้เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง กรุงเทพมหานคร โดย สยป.จึงคิดจัดทำแอปพลิเคชันสำหรับการจองคิวออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนสามารถวางแผนการเดินทางได้ เป็นการอำนวยความสะดวกประชาชน ไม่ต้องมานั่งรอคิว หรือหาที่จอดรถ

อีกทั้งยังเป็นการลดกระดาษ เพราะเมื่อจองคิวออนไลน์ จะใช้เพียงคิวอาร์โค้ดในโทรศัพท์สแกนรับคิวโดยไม่ต้องรับคิวที่เป็นกระดาษ

ถาม-ในแอปพลิเคชัน BMAQ มีบริการอะไรบ้าง

พีระพงศ์ - แอปฯมี 2 กรณี คือ 1.รับบัตรคิวเพื่อทำการในวันนั้นๆ โดยบริการนี้จะแสดงสำนักงานเขตที่อยู่ใกล้และจำนวนรอคิวแต่ละเขต พร้อมแจ้งเอกสาร หลักฐานที่ต้องใช้ มีระบบแจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงคิว

และ 2.บริการจองคิวล่วงหน้า ซึ่งจองล่วงหน้าได้ 1-10 วัน ระบบจะมีการแจ้งเอกสาร หลักฐานที่ต้องใช้ มีระบบแจ้งเตือนเมื่อถึงวันที่นัดหมายและใกล้ถึงคิว ส่วนนี้สามารถช่วยให้ประชาชนบริหารเวลาได้ดี ทั้งนี้ บริการจองคิวออนไลน์จะไม่กระทบต่อประชาชนที่เดินทางไปที่เขตเองโดยไม่ได้ใช้แอปพลิเคชันนี้ โดยระบบจะกำหนดให้สามารถจองคิวออนไลน์ได้ชั่วโมงละ 5 คิว

อย่างไรก็ตาม นอกจากแอปพลิเคชันนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกประชาชนแล้ว ผู้บริหาร กทม.จะสามารถตรวจสอบ หรือ ดูข้อมูลการให้บริการของเจ้าหน้าที่ได้ด้วย เพราะในระบบจะแสดงข้อมูลการประเมินความพึงพอใจต่อผู้ให้บริการ ในอนาคต กทม.คาดหวังให้ประชาชนร้อยละ 80 ใช้บริการจองคิวออนไลน์เพื่อความสะดวกของประชาชน

ถาม-จะมีการต่อยอด หรือพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ต่ออย่างไรบ้าง

พีระพงศ์ - อนาคต สยป.จะพัฒนาแอปพลิเคชัน ให้สามารถจองคิวรับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กทม. ทั้ง 68 แห่ง และจะพัฒนาให้สามารถจองคิวรับบริการได้มากกว่า 1 บริการ ปัจจุบันจองได้คิวละ 1 บริการ.

ทำบัตรประชาชนเขตบางเขนต้องจองคิวไหม

การทำบัตรประชาชน

หลักฐานที่นำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ 

1. สำเนาทะเบียนบ้าน

2. สูติบัตรหรือหลักฐานอื่นที่มีรูปถ่าย

ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ หรือ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง ฯลฯ เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกับ ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน

3. หากไม่มีหลักฐานตาม (ข้อ 2.) ให้เจ้าบ้านหรือผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ไปรับรองด้วย

4. กรณีบิดาและมารดา เป็นบุคคลต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าว ของบิดาและมารดามาแสดงด้วย

ทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก

ผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 15 ปี บริบูรณ์ ต้องทำบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่อายุครบ 15 บริบูรณ์ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากพ้นกำหนด จะเสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท

กรณีบัตรเดิมหมดอายุ

บัตรมีอายุใช้ได้ 6 ปี เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ ให้ทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท

การนับวันบัตรหมดอายุ กรณีขอทำบัตรก่อนบัตรเดิมจะหมดอายุ หากผู้ถือบัตรประสงค์จะขอทำบัตรใหม่ก่อนบัตรเดิมหมดอายุ ก็สามารถทำได้ภายใน 60 วัน โดยให้ถือเอาวันครบรอบวันเกิดเป็นเกณฑ์ ไม่ว่าจะระบุในบัตรไว้แล้วว่าบัตรหมดอายุวันใดก็ตาม

กรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย เมื่อบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย ให้แจ้การหายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักทะเบียน ที่จะทำบัตรใหม่ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหายหรือถูกทำลาย โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด หากพ้นกำหนด จะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท