การ แบ่ง การ แยก ตัวอย่าง พืช

การขยายพันธุ์พืช เป็นการเพิ่มปริมาณจำนวนต้นพืชให้มากขึ้น และยังคงรักษาคุณลักษณะเดิมไว้ ไม่ให้เปลี่ยนแปลง โดยใช้วิธีการต่างๆ โดยปกติแล้ว พืชจะสร้างเมล็ด หน่อ หางไหล หัว เหง้า หรือตา ออกมาเอง เป็นการสืบพันธุ์ของพืชตามธรรมชาติ

การขยายพันธุ์พืชต่างๆ มี 4 ลักษณะ คือ

1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือการเพาะเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของต้นไม้นั้นเอง ปัจจุบัน
ดังนี้มีการผสมพันธุ์ช่วยให้ได้ลูกผสมใหม่ๆ ขึ้นมา จึงทำให้เกิดพันธุ์ไม้แปลกๆ และมีคุณภาพดีกว่าที่ปล่อยให้พืชผสมเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ได้แก่ จำพวกไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งเป็นไม้ล้มลุกต่างๆ ส่วนไม้ยืนต้นและไม้พุ่มนั้น จะไม่นิยมเพาะด้วยเมล็ด เพราะจะเจริญเติบโตช้า นอกจากต้องการปริมาณมาก จึงขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ทั้งนี้ เมล็ดที่จะใช้ในการทำพันธุ์นั้น จะต้องเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สุด ไม่เก่า ไม่ลีบ ไม่แห้งจนเกินไป จึงจะได้ต้นไม้ที่สมบูรณ์

2.การขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือกอ เป็นการขยายพันธุ์ของพืชที่มีหน่อ หางไหล หัว เหง้า ซึ่งเป็นต้นที่อยู่ใต้ดิน มีวิธีทำดังนี้
1) ก่อนจะแยกหน่อออกจากลำต้น ให้เลือกหน่อที่แข็งแรง ที่มีใบประมาณ 2-3 ใบ ใช้น้ำรดให้ทั่วเสียก่อน เพื่อให้ดินอ่อนตัวลง แล้วใช้เสียมหรือมีดขุดแยกออกมา ให้ทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำ เมื่อตัดออกแล้ว เอาดินกลบโคนต้นแม่ให้เรียบร้อย
2) นำหน่อที่แยกออกมา ดูความสมบูรณ์ แล้วตัดแต่งให้สวย โดยเอาส่วนที่เน่าเปื่อย รากหรือใบที่ช้ำ ออกทิ้งไป แล้วนำไปปลูกลงในกระถาง หรือดินที่ได้เตรียมไว้ กดดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่มก่อน ถ้าปลูกลงในแปลง ต้องกำบังกันแดดให้จนกว่าต้นไม้จะตั้งตัวได้ ควรดูแลทุกวัน ถ้าอากาศร้อนมาก ควรรดน้ำให้สม่ำเสมอ
3) การแยกกอ เป็นพวกไม้ประเภทเฟิร์นต่างๆ ที่มีรากมาก รากมักจะลอยอยู่เหนือดิน ในการแยก ให้ขุดแยกออกเป็นกอย่อยๆ ตัดรากที่เสียทิ้ง แล้วจึงค่อยนำไปปลูก

3.การขยายพันธุ์โดยการตัดชำการขยายพันธุ์แบบนี้ กระทำได้ง่าย ให้ผลเร็ว และไม่กลายพันธุ์ ในการ ตัดชำนั้น จะต้องเตรียมดิน ภาชนะที่ตัดชำควรเป็นแบบเดียวกับการเพาะเมล็ด หรืออาจจะเป็นกระบะ หรือถุงพลาสติกก็ได้ ส่วนวัตถุที่ใช้ในการปักชำนั้น ให้ใช้ถ่านแกลบ ทรายหยาบ หรือ ดินผสมคลุกเค้าให้เข้ากัน มีวิธีตัดชำดังนี้
1) ใช้กิ่งหรือลำต้นตัดชำ  ใช้ได้กับพืชประเภทไม้ดอกไม้ประดับ
2) ใช้ใบตัดชำ ใช้ได้กับพืชประเภทพืชอวบน้ำ
3) ใช้รากตัดชำ ใช้ได้กับพืชประเภทมันเทศ

4.การตอน เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่ง ที่ทำให้กิ่ง หรือต้นพืชเกิดราก ขณะที่ติดอยู่กับต้นแม่ เมื่อตัดไปปลูก จะได้ต้นพืชใหม่ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ แต่มีข้อเสียคือ ระบบรากของพืชไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากไม่มีระบบรากแก้ว

พืชไร่ หมายถึง กลุ่มพืชที่มีลักษณะต้องการน้ำน้อย ทนความแห้งแล้งสูง ไม่ต้องการความพิถีพิถันในการปลูก และการดูแลรักษา มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว เป็นทั้งพืชล้มลุกปีเดียวหรือนานหลายปี มักปลูกในพื้นที่มากเป็นแปลงขนาดใหญ่ ทั้งนี้ มีกลุ่มพืชไร่บางสายพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่ลุ่ม และต้องการน้ำมาก เช่น ข้าว

พืชไร่แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ดังนี้

1. ธัญพืช

หมายถึง พืชตระกลูหญ่าที่ใช้เมล็ดเป็นอาหาร เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เป็นต้น

2. พืชน้ำมัน

หมายถึง พืชที่สามารถนำผลผลิตมาสกัดหรือแปรรูปเป็นน้ำมัน เพื่อนำไปเป็นอาหารหรือนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ พืชน้ำมันที่สำคัญ เช่น ถั่วเหลือง ละหุ่ง งา ถั่วลิสง ทานตะวัน เป็นต้น

3. พืชน้ำตาล

หมายถึง พืชที่สามารถนำมาสกัดหรือแปรรูปเป็นน้ำตาลเพื่อใช้เป็นอาหารหรือเป็นประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ พืชน้ำตาลที่สำคัญ เช่น อ้อย บีท เป็นต้น

4. พืชเส้นใย

หมายถึง พืชที่ให้ผลผลิตเป็นเส้นใย ที่นำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ปอ ฝ้าย ป่านศรนารายณ์ เป็นต้น

5. พืชหัว

หมายถึง พืชที่ใช้ประโยชน์จากหัวที่เก็บสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน เช่น มันสำปะหลัง มันฝรั่ง มันเทศ มันแกว เผือก เป็นต้น

6. พืชอาหารสัตว์

หมายถึง พืชที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ เช่น หญ้า ข้าวโพด เป็นต้น

ตัวอย่างพืชจำแนกตามการใช้ประโยชน์ ได้ดังนี้

1. พืชให้ผล และเมล็ด

พืชให้ผล
  • แตงโม
  • แตงลายหรือแตงช้าง
  • แคนตาลูป
พืชให้เมล็ด
  • ข้าวหอมมะลิ
  • ข้าวฟ่าง
  • ข้าวบาเลย์
  • ข้าวสาลี
  • ข้าวโอ๊ต
  • ข้าวโพด
  • ทานตะวัน
  • ถั่วเขียว
  • ถั่วเหลือง
  • ถั่วดำ
  • ถั่วแดง
  • ถั่วขาว
  • งาขาว
  • งาดำ
  • กาแฟ

2. พืชให้หัว

  • มันสำปะหลัง
  • ถั่วลิสง
  • มันแกว
  • มันแดง
  • มันฝรั่ง

3. พืชให้ความหวาน พลังงาน และน้ำมัน

  • อ้อย
  • ปาล์ม
  • สบู่ดำ
  • ละหุ่ง

4. พืชใช้ใบ

  • ชา
  • ยาสูบ

5. พืชใช้เส้นใย

  • ปอ
  • ฝ้าย

6. พืชใช้ทำอาหารสัตว์

กลุ่มพืชตระกูลหญ้า
  • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
  • หญ้าขน
  • หญ้ารูซี่
  • หญ้าเนเปียร์
  • หญ้ากินนี
  • หญ้าบัฟเฟล
  • หญ้าแพงโกลา
กลุ่มพืชตระกูลถั่ว
  • ถั่วเหลือง

พืชไร่แบ่งตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์

1. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

มักเป็นพืชตระกูลหญ้า ลำต้นเป็นข้อ ปล้อง ใบแตกตามข้อ ก้านใบหุ้มรอบลำต้น ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบทิ้งดิ่ง ผลผลิตมักเป็นผล และเมล็ด เช่น ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น

2. พืชใบเลี้ยงคู่

มักเป็นพืชตระกูลถั่ว ลำต้นแตกกิ่งแขนงเป็นทรงพุ่มหรือเลื้อยตามพื้นดิน ใบมีลักษณะป้อม สั้น รูปทรงต่างๆ มีมากกว่า 1 ใบ ใน 1 ก้านใบ ผลผลิตมักเป็นผล และเมล็ด เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น

พืชไร่แบ่งตามลักษณะพื้นที่เพาะปลูก

1. ประเภทปลูกในพื้นที่ดอน

เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบสูงหรือพื้นที่ลาดชัน หน้าดินแห้ง และมีความชื้นน้อย มักเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย ไม่ชอบน้ำท่วมขัง อาศัยเพียงน้ำฝนตามฤดูกาลก็สามารถให้ผลผลิตได้ ส่วนมากเป็นพืชที่เก็บผลผลิตในปีเดียว มักปลูกในต้นฤดูฝน และเก็บเกี่ยวในช่วงต้นฤดูหนาว ส่วนมากเป็นพืชตระกูลหญ้า ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี งา เป็นต้น

2. ประเภทปลูกในพื้นที่ราบลุ่ม

เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบทั่วไป หน้าดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ มักเป็นพืชที่ต้องการน้ำปานกลาง และต้องการความชุ่มชื้นตลอดการเติบโต จำเป็นต้องอาศัยระบบน้ำจากแหล่งอื่นช่วยเสริมนอกเหนือจากน้ำฝนตามฤดูกาล มักปลูกตลอดทั้งปี แต่จะเติบโต และให้ผลผลิตดีเมื่อปลูกในต้นฤดูฝน พืชกลุ่มนี้ส่วนมากจะเป็นพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น และมีพืชตระกูลหญ้าบ้าง ได้แก่ ข้าวโพด เป็นต้น

3. ประเภทปลูกในพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขัง

เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่น้ำท่วมขัง เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก อาศัยน้ำจากน้ำฝน และน้ำจากระบบชลประทาน มักปลูกตลอดทั้งปีตามชนิดพันธุ์ที่เหมาะสม พืชในกลุ่มนี้มีเพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว เป็นต้น

การเพาะปลูกพืชไร่

การเตรียมแปลงปลูกพืชไร่

การปลูกพืชไร่มักใช้พื้นที่ปลูกจำนวนมาก และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดอน และพื้นที่ราบลุ่มที่ต้องมีการไถพรวนดิน และตากดินพร้อมกำจัดวัชพืช ตั้งแต่ 1 ครั้ง ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพดิน และปริมาณวัชพืชที่ขึ้นปกคลุม การเตรียมแปลงทุกครั้งจะใช้วิธีการหว่านปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีรองพื้นทั่วทั้งแปลงหรือหว่านโรยตามร่องในแนวปลูก

วิธีการปลูกพืชไร่นิยมใช้ 3 วิธี คือ

  • การหว่านเมล็ด ด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ทั่วทั้งแปลง พืชในกลุ่มนี้มักมีลำต้นขึ้นตรงไม่แตกแขนงเป็นทรงพุ่มจึงไม่จำเป็นมากสำหรับระยะห่างระหว่างต้น เช่น การปลูกข้าว ข้าวฟ่าง ทานตะวัน เป็นต้น
  • การหยอดเมล็ด เป็นวิธีการหยอดเมล็ดใส่หลุม และกลบหน้าดินเล็กน้อยเพื่อให้มีระยะห่างระหว่างต้นหรือกอเหมาะสม พืชในกลุ่มนี้เมื่อเติบโตมักแตกเป็นทรงพุ่มหรือเป็นเถาเลื้อยตามดินจึงมีความจำเป็นต้อมีระยะห่างที่เหมาะสม เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็นต้น
  • การปักชำกิ่ง

การเก็บเกี่ยวพืชไร่

พืชไร่มักมีอายุการเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 45 วัน ถึง 1 ปีเศษๆ ด้วยการใช้เครื่องจักรหรือแรงงานคน