อาหาร ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ppt

         ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาหารเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลกับความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งหากเราหวังพึ่งพาแต่ยารักษา นาน ๆ เข้ายาเหล่านี้มักมีผลเสียข้างเคียงกับร่างกายได้ แต่หากเราหันมาปรับเปลี่ยนการกินอาหารและไลฟ์สไตล์ จะสามารถช่วยควบคุมความดันให้ลดลง อาจทำให้แพทย์สั่งลดยาให้น้อยลงหรืออาจจะไม่ต้องกินยาอีกเลยก็ได้ แถมอาหารที่ดียังช่วยเพิ่มสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย

คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ from Utai Sukviwatsirikul

ความดันโลหิตสูง หมายถึง แรงดันที่อยู่ในระบบหลอดเลือด เกิดจากการที่หัวใจต้องสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การวัดความดันโลหิต จึงเป็นการวัดการทำงานของหัวใจและแรงดันในหลอดเลือด ค่าที่วัดได้จะมี 2 ค่า คือ

ค่าความดันสูงสุด เป็นค่าที่เกิดขณะที่หัวใจห้องซ้ายมายังหลอดเลือดแดงใหญ่เรียกว่า “ความดันโลหิตตัวบน”

ค่าความดันต่ำสุด เป็นค่าที่เกิดขณะที่หัวใจคลายตัว ให้เลือดที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่หัวใจห้องขวา เรียกว่า “ค่าความดันโลหิต ตัวล่าง”

ค่าความดันทั้งสองตัวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

ตามเพศ, ภาวะการเจ็บป่วย, อายุ, ความเครียด, เชื้อชาติ, น้ำหนัก

ค่าความดันที่ถือว่าเป็นปกติ 120 / 180 มิลลิเมตร / ปรอท ถ้าความดันสูงกว่า 160 / 95 มิลลิเมตร / ปรอท จัดว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

1. จำกัดปริมาณเกลือที่รับประทาน

2. จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 30 มิลลิลิตร ในผู้ชาย และไม่เกิน 15 มิลลิลิตรในผู้หญิง

- เบียร์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 360 มิลลิลิตร

- ไวน์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 120 มิลลิลิตร

- วิสกี้ (80%) มีปริมาณแอลกอฮอล์ 45 มิลลิลิตร

3. ควบคุมน้ำหนักตัวโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยเพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้และอาหารไขมันต่ำ