การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการ เรียน วิทยาศาสตร์ โดยใช้

Article Sidebar

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการ เรียน วิทยาศาสตร์ โดยใช้

Main Article Content

พิมชนก เจริญชีพ

วิทัศน์ ฝักเจริญผล

2 คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ไพรัชน์ จารุจิระวงศ์

โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม จังหวัดกาญจนบุรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการใช้แบบจำลอง (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการใช้แบบจำลอง หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการใช้แบบจำลอง เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ปีการศึกษา 2563 จำนวนนักเรียน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการใช้แบบจำลอง (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการใช้แบบจำลอง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติอ้างอิงค่าที (t-test) แบบ Dependent sample t-test และแบบ One sample t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการใช้แบบจำลอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการใช้แบบจำลอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการใช้แบบจำลอง เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด อยู่ในระดับมาก


The purposes of this research were 1) to compare the learning achievement before and after learning by using Inquiry-based learning (5Es) and Model in the topic of circulatory system, 2) to compare the learning achievement after learning by using Inquiry-based learning (5Es) and Model in the topic of circulatory system with the 70-percent criterion and 3) to study students’ satisfaction upon using Inquiry-based learning (5Es) and Model in the topic of circulatory system. The samples were obtained by purposive sampling of 36 8th grade students studying in the first semester of academic year 2020 at Thamakawitthayakom School. The research instrument consisted of 1) lesson plans using Inquiry-based learning (5Es) and Model in the topic of circulatory system, 2) achievement tests in the topic of circulatory system and 3) satisfaction questionnaire. The data of this study were analyzed by using Mean, Standard Deviation, t-test for Dependent sample and t-test for One sample. The results of the research were as follows:

1) Learning achievement of students after used Inquiry-based learning (5Es) and Model in the topic of circulatory system was higher than before used with statistical significance at the .05 level.

2) Learning achievement of students after used Inquiry-based learning (5Es) and Model in the topic of circulatory system was higher than 70-percent criterion with statistical significance at the .05 level.

3) The students were satisfied learning by using Inquiry-based learning (5Es) and Model in the topic of circulatory system in the high level.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

เจริญชีพ, พิมชนก; ฝักเจริญผล, วิทัศน์; จารุจิระวงศ์, ไพรัชน์. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เรื่องระบบหมุนเวียนเลือด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการใช้แบบจำลอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 |. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, [S.l.], v. 5, n. 1, p. 26-39, may 2021. ISSN 2697-4061. Available at: <https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jehds/article/view/4186>. Date accessed: 26 nov. 2022.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวง ศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.

ซูฟูวัน เจะแต. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนบ้านลาด (2563). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2561-2563 โรงเรียนบ้านลาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1. หนองบัวลำภู:โรงเรียนบ้านลาด.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2555). คู่มือปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้สู่ห้องเรียนแห่งคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภานุวัฒน์ พันชนกกุล. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียน รู้แบบโครงงานเป็นฐาน ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มารียะห์ มะเซ็ง. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2548). การวัดผลและการสร้างแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพฯ: บริษัท สาฮะแอนด์ซันพริ้นติ้ง จำกัด.

ลุฏฟี ดอเลาะ. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วราลี สิริปิยธรรม. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิไลพร พรหมศรี. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การสอนแบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

สุนัสดา สำราญ. (2552). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.