ไกล่เกลี่ยหนี้ กรมบังคับคดี

“การบังคับคดี”

                กรมบังคับคดีมีภารกิจในการให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชี การวางทรัพย์ และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะมีความเกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนได้เข้าใจในสิทธิของตนเองด้านการบังคับคดี ทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายด้านการบังคับคดีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเข้าถึงบริการต่างๆของกรมบังคับคดี โดยกรมบังคับคดีมีบริการด้านต่างๆ ดังนี้

                บริการด้านการสร้างการรับรู้

  1. การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายกู้ยืม ค้ำประกัน จำนำ จำนอง ขายฝาก วางทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน
  2. การให้ความรู้เรื่องการเสริมสร้างสุขภาพทางการเงิน
  3. การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  4. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรมบังคับคดี เช่น พระราชบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย ฯลฯ

                บริการด้านการให้ความช่วยเหลือ

  1. การให้คำปรึกษากฎหมายด้านการบังคับคดี และธุรกิจ SMEs
  2. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ หนี้ครัวเรือน หนี้รายย่อย หนี้บัตรเครดิต หนี้ SMEs หนี้ กยศ. และหนี้เกษตรกร
  3. การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs (SME Support & Rescue Center)

                บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. LED Property Application ระบบค้นหาทรัพย์ขายทอดตลาด
  2. LED Property Plus Application ระบบค้นหาทรัพย์ขายทอดตลาดแนวเขตรถไฟฟ้า
  3. ระบบการตรวจสอบข้อมูลการอายัดเงินในคดี (LED Debt Info Mobile Application)
  4. ระบบการตรวจสอบบุคคลล้มละลาย (LED ABC Application Bankruptcy Checking Application)
  5. ระบบการประมูลขายทอดตลาดทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Offering Auction)
  6. ระบบยื่นคำร้องผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filling)
  7. ระบบการจ่ายเงินให้คู่ความและผู้มีส่วนได้เสียทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment)
  8. ระบบการวางเงินประกันด้วยบัตรเดบิต/เครดิต (EDC payment)
  9. ระบบนัดล่วงหน้า
  10. ระบบการถ่ายทอดสดการขายทอดตลาด (App LED Live Streaming)
  11. บริการข้อมูลข่าวสารผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ โดยการสแกน QR Code
  12. การสร้างฐานข้อมูลลูกหนี้ล้มละลาย
  13. การเผยแพร่รายชื่อบุคคลล้มละลายเพื่อป้องกันการทำธุรกรรมต่างๆ

                บริการด้านอำนวยความยุติธรรมลดความเหลื่อมล้ำ

  1. การเร่งรัดผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ได้แก่ การขายทอดตลาดวันเสาร์ มหกรรมการขายทอดตลาด การค้นหาทรัพย์ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน และรายงานผลการขายทอดตลาดทรัพย์สิน
  2. การบังคับโทษปรับคดียาเสพติด (Fast Track)
  3. การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎ ระเบียบ และคำสั่งด้านการบังคับคดี

การบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

  1. การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน

                - กรมบังคับคดี ได้บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน ในมิติที่ 3 การลดภาระหนี้นอกระบบด้วยการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ โดยกรมบังคับคดีได้กำกับติดตามให้ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ ที่เป็นอนุกรรมการไกล่เกลี่ยและประนอมหนี้ในคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำจังหวัดให้ความร่วมมือและให้ข้อมูลกับคณะอนุกรรมการฯ อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ

  1. เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ เพื่อเป็นสื่อกลางในการทำงานกับประชาชน
  2. การร่วมมือกับธนาคารของรัฐ ในการส่งเสริมศักยภาพให้กับลูกหนี้ชั้นบังคับคดี เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ธนาคารออมสิน

  1. ให้คำปรึกษากฎหมายด้านการบังคับคดีและรับเรื่องร้องเรียนร่วมกับ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

                - การออกบูธประชาสัมพันธ์

                - ลงพื้นที่ให้ความรู้ในชุมชนหรืออกหน่วยร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

“การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี”

                การไกล่เกลี่ย หมายถึง วิธีการระงับหรือยุติข้อพิพาทโดยมีบุคคลที่สามเรียกว่า “ผู้ไกล่เกลี่ย” ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือเสนอแนะแนวทาง และเป็นสื่อกลางให้คู่กรณีหาทางออกของข้อพิพาทร่วมกัน โดยผู้ ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจในการกำหนดข้อตกลงให้แก่คู่กรณี การจะตกลงหรือไม่เป็นการตัดสินใจของคู่กรณีเอง

                ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกรมบังคับคดี

                มีหน้าที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ทั้งก่อนการบังคับคดีและภายหลังจากที่มีการบังคับคดีแล้ว โดยผู้สนใจสามารถยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยได้ที่กรมบังคับคดีและสำนักงานบังคับคดีทุกสาขาทั่วประเทศ

                ผลดีของการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี

  1. รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก
  2. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
  3. เป็นที่ยุติโดยการตัดสินใจของคู่กรณีเอง
  4. ข้อยุติที่ได้นั้นมีความเหมาะสมกับคู่กรณีเป็นความลับ
  5. ข้อตกลงระหว่างคู่กรณีสามารถบังคับได้
  6. รักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้หรือก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในระยะยาว
  7. มีความยืดหยุ่น
  8. ยังคงสิทธิในการบังคับคดี

               ขั้นตอนการไกล่เกลี่ย

                                ขั้นตอนที่ 1   คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดียื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ย

                                ขั้นตอนที่ 2   เจ้าพนักงานผู้รับคำร้องอธิบายขั้นตอนการบังคับคดีและวิธีการไกล่เกลี่ย ให้คำแนะนำชี้แนะแนวทางในการแก้ปัญหาเบื้องต้นให้กับผู้ร้อง

                                ขั้นตอนที่ 3   กำหนดวันนัดไกล่เกลี่ย

                                ขั้นตอนที่ 4   มีหนังสือแจ้งวันเวลานัดไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีทราบ

                                ขั้นตอนที่ 5   มาทำการไกล่เกลี่ยตามกำหนดนัด

                เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ย

  1. คำร้องขอไกล่เกลี่ย
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณียื่นแทนผู้อื่น)
  4. สำเนาคำพิพากษาหรือหมายบังคับคดี
  5. เอกสารประกอบอื่นๆ (หากมี) เช่น สำเนาราบงานการยึดหรืออายัดทรัพย์ ประกาศขับไล่ ประกาศขายทอดตลาด ฯลฯ

                ผู้ร้องขอไกล่เกลี่ยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น

ติดต่อกรมบังคับคดี
เว็บไซต์ www.led.go.th   
โทร. 0 2881 4999

กรมบังคับคดี ไกล่เกลี่ยได้ไหม

ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกรมบังคับคดี มีหน้าที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ทั้งก่อนการบังคับคดีและภายหลังจากที่มีการบังคับคดีแล้ว โดยผู้สนใจสามารถยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยได้ที่กรมบังคับคดีและสำนักงานบังคับคดีทุกสาขาทั่วประเทศ

มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ 2565 กี่โมง

31 ส.ค. 2565 เวลา 13.00 น. ที่ กระทรวงยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม แถลงข่าวการจัดงาน มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน และหนี้ SMEs ที่จะจัดที่อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 5 เมืองทองธานี ในวันที่ 8-11 ก.ย. 2565 พร้อมด้วย นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม

ถ้า โดน หนังสือ บังคับคดี ต้องทำไง

กรณีนี้ ให้ท่านรีบติดต่อกับทางกรมบังคับคดีหรือเจ้าหนี้ เพื่อขอเจรจาต่อลองว่าจะนำเงินมาชำระหนี้แทนการยึดทรัพย์สินขายทอดตลาด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องสูญเสียทรัพย์สินไป ก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่ว่าฝ่ายเจ้าหนี้จะยินยอมให้เจรจาหรือไม่ 2. จะสามารถขอให้เจ้าหนี้ลดหนี้หรือขอผ่อนชำระได้หรือไม่นั้น

กรมบังคับคดีใช้เวลากี่วัน

เมื่อคดีถึงที่สุด คู่ความที่ชนะคดีก็ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา เช่น ศาลสั่งให้โจทก์ ชนะคดีในคดีละเมิดเรียกสินไหมทดแทน โจทก์ก็ต้องส่งคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 30 วันหรือ 45 วัน ในกรณีรับหมายบังคับคดีก็จะใช้ระยะเวลา 30 วันนับแต่วันปิดหมายคำบังคับ หรือ ถ้าปิดหมายคำบังคับ จะ ...