คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราช

คลิปแชร์ว่อนเน็ต แนะนำวิธีฆ่าไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย อ้างเป็น คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล “อาจารย์เจษฎา” ลั่นอย่าเชื่อ เป็นใครไม่รู้

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพจเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ เรื่อง ชายในคลิปนี้ ไม่ใช่คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยระบุว่า

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราช

มีการแชร์คลิปวีดีโอของผู้ชายคนหนึ่ง ที่ออกมาแนะนำวิธีการฆ่าไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย โดยการให้กินยาสมุนไพรหลายอย่าง รวมถึงพ่นคอด้วยยาสเปรย์ พร้อมทั้งมีแคปชั่นประกอบว่า คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แจ้งวิธีฆ่าไวรัส covid19 ด้วยตัวเอง !?

คลิปวีดีโอนี้ เผยแพร่กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ที่ต่อต้านวัคซีน ด้วยความเชื่อว่าใช้วิธีการดังกล่าวก็สามารถจะรอดพ้นจากโรคโควิดได้ โดยไม่ต้องฉีดวัคซีน

อาจารย์เจษฎา เตือนไม่ใช่คณบดีศิริราช

อย่างแรกเลย ชายที่อยู่ในคลิปนั้น เป็นใครก็ไม่รู้ครับ และไม่ใช่ อาจารย์หมอประสิทธิ์ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล อย่างแน่นอน ! ไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อถือเขาแต่อย่างไร

อย่างที่สองคือ ยาที่เขาเอามาแนะนำแต่ละตัวนั้น ก็ไม่ได้การันตีว่า จะป้องกันการติดเชื้อโรคโควิดได้ หรือทำให้ฆ่าเชื้อไวรัสจนหายได้จริง ส่วนใหญ่เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากโควิด มากกว่าที่จะรักษาโดยตรงครับ

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราช

ตัวอย่างเช่น

  • ยาพ่นคอผสมโพรโพลิซ ซึ่งเป็นสารสกัดจากรังผึ้ง และมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการอักเสบ รวมทั้งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ แต่ก็ไม่ได้ถูกระบุทางการแพทย์ว่า นำมาใช้ฆ่าเชื้อไวรัสโควิดได้
  • ยาฟ้าทะลายโจร และยาสมุนไพรอีกยี่ห้อหนึ่ง ก็มีคุณสมบัติในการลดไข้ตัวร้อน ลดอาการหวัด ตามแนวสมุนไพรไทย ใช้ตามความจำเป็น เช่น เมื่อติดเชื้อแล้ว และไม่สามารถหายาต้านไวรัสทานได้ (ห้ามกินร่วมกัน เพราะจะมีผลเสียต่อร่างกายได้)
  • ยาอมผสมซิงค์ ซึ่งซิงค์มีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่ไม่ได้สามารถจะฆ่าไวรัสในร่างกายได้อย่างที่อ้าง

จุดเดียวในคลิปนี้ ที่ยังพอรับได้คือ เขาก็ส่งเสริมให้ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลานะครับ

เรียกได้ว่า ถ้าเชื่อตามวีดีโอนี้อย่างเดียว ก็คงเหมือนกับฟังโฆษณาขายยา ไปเรื่อยๆนั่นเอง และจริงๆ แล้ว เครื่องมือที่ดีที่สุดในการป้องกันร่างกายเรามา ไม่ให้ป่วยหนักจากไวรัสโรคโควิด ก็ยังคงเป็นการ ฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงเพียงพอ อยู่ดีครับ

วันที่ 17 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมแซฟไฟร์ 105 อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม จ.นนทบุรี คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Conference) ในการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 21 ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ภายใต้หัวข้อ “Enhancing Trust in Healthcare”

ศ.ดร. นพ. ประสิทธิ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การสร้างความไว้วางใจ หรือ Trust จะต้องใช้เวลาในการสะสม จุดเริ่มต้นของการสร้างความไว้วางใจต้องเริ่มจากการไว้วางใจตนเอง หรือ Self Trust ที่ทุกคนสามารถสร้างได้และทำให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องมีความมั่นคงในความซื่อสัตย์และความซื่อตรงที่ตนมีต่อตนเอง โดยพฤติกรรมเด่นที่เราสังเกตุได้จากผู้ที่มีความไว้วางใจตนเอง คือการพูดจาที่มีพลัง พูดจากใจ การเรียนรู้จากความล้มเหลวหรือความสำเร็จถือเป็นสิ่งที่สร้าง Self Trust ให้แข็งแกร่งมากขึ้นด้วย เมื่อทุกคนไว้วางใจในตนเองแล้ว ในที่ทำงานก็สามารถสร้างความไว้วางใจให้ทีมงานได้

โดยการพูดความจริง ถูกคือถูก พลาดคือพลาด วิธีนี้จะทำให้คนในองค์กรไว้ใจซึ่งกันและกัน เพราะทุกคนพูดเรื่องจริง การเคารพ ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน การเข้าใจเพื่อนร่วมงาน ว่าเขากำลังประสบปัญหาอะไร เข้าใจในสถานการณ์ ทั้งวิถีชีวิต และการทำงาน การเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมงาน ความปลอดภัยในสัมพันธ์ภาพความโปร่งใสในความสัมพันธ์ เมื่อใดที่ผู้ที่เราทำงานด้วยมีปัญหา เราให้เวลา มาหารือแก้ไข ปัญหาร่วมกันและสุดท้ายคือความจริงใจในความสัมพันธ์ ซึ่งเมื่อเกิดความไว้วางใจของผู้ปฎิบัติงานในองค์กร ก็จะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ เมื่อใดที่โรงพยาบาลประสบความสำเร็จ หน่วยงานหรือกระทรวงที่ดูแลโรงพยาบาลก็เกิดความไว้วางต่อโรงพยาบาลและสังคมก็ไว้วางใจในระบบบริการสุขภาพและระบบของโรงพยาบาล

ดังนั้นการที่เราสื่อกับคนไข้ให้ได้รับทราบอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นในเรื่องที่ไม่ถูกต้องในโรงพยาบาล ถ้าเรามีการสื่อให้คนไข้ทราบถึงกระบวนการแก้ไข ป้องกัน อันนี้จะเป็นการสร้าง Trust ให้เกิดขึ้น แต่ถ้าเราไม่เปิดเผยแล้วสังคมไปทราบทีหลังจะทำให้เกิดการระแวง ไม่ไว้วางใจ ก็จะทำให้สิ่งที่สะสมมาเป็น 10 ปี พังทลายลงภายในเสี้ยววินาที และในบางครั้งอาจจะไม่กลับมาอีกเลย จะทำอะไรก็มีคนจับผิด และไม่ไว้วางใจ มันจะทำให้เราสร้างขึ้นใหม่ได้ยากกว่าเดิม เพราะคนไม่ไว้วางใจแล้ว เมื่อไหร่ Trust ไม่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่เกิดกับ โรงพยาบาลอย่างเดียว แต่มันกระทบต่อระบบบริการสุขภาพ และระบบของประเทศให้แย่ลงด้วย

ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล เห็นชอบ “ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล” ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คนใหม่


ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2565 ให้ดำรงตำแหน่ง “คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล” คนใหม่ แทน ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคนปัจจุบัน ที่จะหมดวาระในวันที่ 30 ก.ย. 2565

อย่างไรก็ดี ถัดจากนี้จะต้องรอให้ ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามก่อน ทางมหาวิทยาลัยจึงจะเผยแพร่มติดังกล่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

ศิริราช ชื่อใคร

ในระยะแรกคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาล ได้จัดสร้างเรือนพักผู้ป่วยขึ้น 6 หลัง และเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด และพระราชทานนามว่า “โรงศิริราชพยาบาล” เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ หรือที่ประชาชนขณะนั้นนิยมเรียกว่า “โรงพยาบาล ...

รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ สังกัดอะไร

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ ภายใต้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยเน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว การบริการที่สะดวกรวดเร็วเช่นเดียวกับโรงพยาบาลเอกชน ในอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล ซึ่งเป็นอีกทางเลือกของผู้ป่วยที่ต้องการความสะดวก และพร้อมที่จะรับภาระค่าบริการด้วยตนเอง ...

ใครเป็นเจ้าของโรงพยาบาลศิริราช

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

SI คือคณะอะไร

SI : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล SS : วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา TT : หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล