วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 16.30 น. นายทวีป บุตรโพธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในพิธีเปิดงานประเพณีแห่ยักษ์คุอัตลักษณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี 2565 ที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน(หลังเก่า) อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ โดยมีนายศิริพันธ์ ขุ่มด้วง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ นางรัชชุมา บุตรโพธิ์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดอำนาจเจริญ หัวหน้าส่วนราชการ เหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมงาน ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) อย่างเคร่งครัด

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

จังหวัดอำนาจเจริญ ได้กำหนดจัดงานประเพณีแห่ยักษ์คุ ซึ่งมีเพียงหนึ่งเดียวในโลกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดอำนาจเจริญ ให้มีความโดดเด่นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอำนาจเจริญ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วย ขบวนแห่ยักษ์คุ การประกวดขบวนแห่ยักษ์ และธิดายักษ์ การแสดงแสงสีเสียง ตำนาน ยักษ์คุชานุมานมณฑล การแสดงศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมปั่นจักรยานชมเมืองเรื่องเล่าชานุมาน การแข่งขันตกปลานานาชาติกลางแม่น้ำโขง ณ.บริเวณแก่งหินขัน ต.โคกสาร อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ การประกวดรถจักรยานยนต์คลาสสิคยักษ์คุ กิจกรรมการแข่งขันวิ่งสามขา การแข่งขันกินจุ การประกวดเต้นส้มตำลีลา การเล่นเกมส์แจกของรางวัล การแสดงศิลปะพื้นบ้านราชินีหมอลำแห่งลำน้ำโขง(คุณแม่อังคนางค์ คุณไชย) การแสดงเริงร่าผ้าเมืองอำนาจกิจกรรมเดินแบบผ้าไทยพื้นถิ่นอำนาจเจริญ การประกวดธิดาชานุมาน ยักษ์แลน(เครื่องเล่น สวนสนุก)ร้านขายสินค้า และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

นอกจากนี้ ยังมีการออกร้านจำหน่าย OTOP ผลิตภัณฑ์ชุมชนของดีเมืองอำนาจ และหมู่บ้านยักษ์ ซึ่งจังหวัดอำนาจเจริญได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งนางสาวรักนิกร แสนทวีสุข ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดอำนาจเจริญ พร้อมด้วยผู้อำนวยการกลุ่มงาน พัฒนาการอำเภอ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ได้เข้าร่วมงานเพื่อเป็นเกียรติในงาน รวมถึงกำกับ ดูแล และสนับสนุนการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายด้วย

สำหรับตำนานยักษ์คุ อำนาจเจริญ จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่มาหลายชั่วอายุคน นับเป็นเวลากว่า 100 ปีของคำว่า ยักษ์คุ หรือ ยักษ์คุกเข่า นั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจในความสอดคล้องของเรื่องราว ท่าสีดา บ้านนาสีดา( ปัจจุบันเป็นท่าเรือข้ามแม่น้ำโขงไป สปป.ลาว ) ซึ่งนางสีดาแต่งกายรอพระลักษณ์ พระราม เพื่อเดินทางไปด้วยกัน และมียักษ์คุกเข่ารออยู่ด้วย โดยมีหลักฐานซากสลัก หักพัง ของปราสาทโบราณ “เฮือนหิน” เป็นสิ่งยืนยันเหลือไว้เป็นตำนาน ชีวิตวิถีเรียบง่าย ตามแบบของคนลุ่มน้ำโขง

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

ส่วน ประเพณีแห่ยักษ์คุ ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา ณ.ริมฝั่งแม่น้ำโขง เขตประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอชานุมาน(หลังเก่า) มีปราสาทหิน และมียักษ์ตนหนึ่งมานั่งก้มลงกราบไว้บริเวณฝั่งเขตไทย รอยคุกเข่าและรอยนั่งเป็นบึงเล็กๆ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อชุมชนว่า บ้านยักษ์คุ “คุ” แปลว่า คุกเข่า ต่อมา เมื่อ 90 ปี ที่ผ่านมา ทางราชการของลาว ได้ส่งนักศึกษาเข้ามาศึกษาวิชาการในไทย เมื่อจบกลับประเทศ ในขณะนั้น เป็นเวลาที่ฝรั่งเศส เข้ายึดครองประเทศลาว บุคคลนี้จึงเกิดความไม่พอใจฝรั่งเศส จึงสร้างบ้านเรือนขึ้นที่บ้านยักษ์คุ และขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารและได้บรรดาศักดิ์เป็น “พระประจญจาตุรงค์” และตั้งชื่อชุมชนว่า “เมืองชานุมานมณฑล” ขึ้งตรงต่อมณฑลอุบลราชธานี

ยักษ์คุ เป็นความเชื่อตามตำนานปรัมปราชาวชานุมาน เกี่ยวกับเรื่องทศกัณฐ์ พระลักษณ์ พระราม อัตลักษณ์ท้องถิ่น ที่มีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย ยังมีหลักฐานปรากฏบริเวณริมแม่น้ำโขง อ.ชานุมาน เป็นบ่อน้ำ 3 บ่อ เชื่อกันว่า เกิดจากการกระทำของยักษ์คุ หรือ ยักษ์อยู่ในท่านั่งคุกเข่า จนกลายเป็นวัฒนธรรม โดดเด่นของจังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว ร่วมค้นหาและศึกษาประวัติศาสตร์ ตำนานความเป็นมาของยักษ์คุ หนึ่งเดียวในโลก ที่จังหวัดอำนาจเจริญ ในงานประเพณีแห่ยักษ์คุอัตลักษณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี 2565 ในระหว่างวันที่ 1 – 3 เมษายน 2565 ณ.หน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน(หลังเก่า) อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ

หน้าแรก

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

ข่าวสาร

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

ภาพกิจกรรม

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

พิธีเปิดโครงการสืบสาน ผ้าไทยร่วมสมัยอำนาจเจริญ ภายใต้โครงการเทศกาลศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 15 มีนาคม 2564 สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ จัดพิธีเปิดโครงการสืบสานผ้าไทยร่วมสมัยอำนาจเจริญ ภายใต้โครงการเทศกาลศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีนายราเมศ ลิ่มสกุล วัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นเกียรติภายในงาน สำหรับกิจกรรมหลักของโครงการในปีนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบและตัดเย็บผ้าไทยร่วมสมัย ให้แก่ตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 ราย จากทั้ง 7 อำเภอของ จังหวัดอำนาจเจริญ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมเฮือนฝ้ายคำ โรงแรมฝ้ายขิด ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

วัฒนธรรม ใน จังหวัดอำนาจเจริญ

จังหวัดอำนาจเจริญมีลักษณะทางวัฒนธรรมอย่างไร

ชาวอำนาจเจริญมีวิถีชีวิตอยู่บนพื้นฐานของประเพณี อันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอีสานทั่วไป คือ มีฮีตสิบสอง คองสิบสี่ หมายถึงประเพณีสิบสองเดือนที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน คำว่า “ฮีต” มาจากคำว่า “จารีต” ส่วนมากมักจะเป็นงานบุญที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเป็นหลัก เช่น งานบุญกฐิน งานบุญบั้งไฟ งานบุญข้าวจี่ งานบุญเดือนสิบ ...

จังหวัดอำนาจเจริญมีประเพณีอะไรบ้าง

ชาวอำนาจเจริญมีวิถีชีวิตอยู่บนพื้นฐานของประเพณี อันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอีสานทั่วไป คือมี ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ หมายถึงประเพณีสิบสองเดือนที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน คำว่า "ฮีต" มาจากคำว่า "จารีต" ส่วนมากมักจะเป็นงานบุญที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเป็นหลัก เช่น งานบุญกฐิน งานบุญบั้งไฟ งานบุญข้าวจี่ งานบุญเดือนสิบ ...