แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ ทอแรนซ์

การศึกษาเรื่องการสร้างแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศศึกษากระบวนการสร้างเกณฑ์การวัดความคิดสร้างสรรค์ และสร้างแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยการใช้กิจกรรมศิลปะเป็นสื่อ หรือเครื่องมือในการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยมีขอบเขตเพื่อศึกษาพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์สำหรับบุคคลทุกประเภท ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ตามขอบเขตการศึกษาดังนี้ ระยะที่ 1 คือ การสร้างและการใช้แบบทดสอบ รวมถึงการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ระยะที่ 2 -3  คือ การปรับปรุงแบบทดสอบ การปรับปรุงเกณฑ์ให้คะแนน และการปรับปรุงกิจกรรม ระยะที่ 4-5 คือการศึกษาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบและเกณฑ์การให้คะแนน

กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ประกอบด้วยบุคคล 5 ประเภท คือ คนพิการ คนไม่พิการ และอัจฉริยะ สำหรับคนพิการ ประกอบด้วย ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว และ ผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งพิจารณาคัดเลือกจากการแบ่งกระจายตามประเภทความบกพร่อง เพศ สถาบัน และภูมิภาคทั่วประเทศ

ขั้นตอนการดำเนินการสร้างแบบทดสอบ ศึกษาจากแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของ ดร. อี. พอล. ทอร์แรนซ์ (Torrance test of Creative Thinking Figural Forum A. ) และจัดแบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ด้าน คือ ความคิดริเริ่ม ความยืดหยุ่นในการคิด ความคล่องแคล่วในการคิด และความละเอียดลออ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของบุคคลทุกประเภทและบุคคลที่มี IQ ทุกระดับ ซึ่งได้ออกแบบทดสอบเป็น 2 ส่วน คือ แบบทดสอบส่วนที่ 1 “การแต่งเติมภาพตามจินตนาการ” และแบบทดสอบส่วนที่ 2 “การจิตนาการตามสัมผัส”

การวิเคราะห์และการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้ระยะเวลาเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา โดยการจัดกิจกรรมค่ายศิลปะ “Art for All” เพื่อให้เยาวชนทั้งไม่พิการและพิการทุกประเภท ได้มีโอกาสใช้ชีวิต สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และทำกิจกรรมร่วมกันอย่างเพลิดเพลิน เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้แสดงความคิดอย่างอิสระ ส่งเสริมให้รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งผลปรากฏว่าเยาวชนทุกคนมีพัฒนาการด้านความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ควบคู่ไปกับพัฒนาการด้านจิตใจ และคุณธรรม

การวิจัยเรื่องการสร้างแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นวิธีการที่เป็นหนทางเลือกใหม่หรือเครื่องมือในการดึงศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์ หรือความสามารถพิเศษที่มีอยู่ของบุคคลทุกประเภทให้ปรากฏอย่างเด่นชัด เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการทรัพยากรมนุษย์ของชาติในอนาคต

The pur pose of this stud y is to examine the process of developing criteria forassessing creative thinking and , through the medium of art activities, to construct a testofcreative thinking or an instrument for physical , emotional and social development.Construction of the test, which is intended to assess the development of creative thinking skills in fill types of peo ple, is divided into five stages. Stage 1 is pre paring andad ministering the test, and determining criteria for assigning points; stages and 2 and 3 are revising the test and the criteria for assigning points, and improving activities; stages 4 and 5 are assessing the reliability of the test instrument and the criteria for assigning points.

The stud y' s target group consists of both disabled and non-disabled persons.The disabled persons, who include the hearing, the vision, the motor and the intellectuallyimpaired, are selected on the basis of their type of impairment, their gender, the institution and the region of the country.

The Torrance Test of Creative Thinking Figural Form A, created by Dr. E.Paul Torrance, served as a model for the construction of the test of creative thinking,which divides creative thinking into four elements: originality, flexibilit y, fluency andelaboration. The test, which also takes into consideration the type of subject testedand the subject' s IQ, consists of two parts. Part 1 tests creative thinking throughpictures, and Part 2 tests tactile imagination.

Data collection and analysis began in 1999, the year in which the first Art forAll camp was held . The camp affords disabled and non-disabled youth the opportunit yto create art and share in a range of enjoyable activities that develop their creativethinking skills and promote an atmosphere of mutual caring and support. Findingsshow that young peo ple who partici pate in the Art for All project become more skilledat creating art and develop greater moral and ethical awareness.

Research into the construction of a test of creative thinking, therefore, representsa new approach to search creative thinking capabilities. By identifying the special giftswithin each individual, it also contributes to the development of the country's humanresources in the future.


  1. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi
  2. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (Faculty of Technical Education)
  3. วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2543

Title:  การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Other Titles:  Development of art activities sets for grade 4 students: an application of torrance's throry of creativities
Authors: 
Keywords:  ชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
application of torrance’s theory of creativities
grade 4
Issue Date:  2555
Abstract:  การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎี ความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมศิลปะ ตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากร คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลาดแค ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2555 จานวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิด สร้างสรรค์ของทอแรนซ์สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ด้วยรูปภาพแบบ A ของทอแรนซ์ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ความพึงพอใจโดย หาค่าพารามิเตอร์ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้ t-test Dependent Samples ผลการศึกษาพบว่า 1) การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ค่าประสิทธิภาพ 86.62/89.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียน สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this research were to 1) develop an art activity set for Grade 4 students based on Torrance’s theory of Creativity 2) search into students’ achievement before and after the employment of the series of art activities, and 3) explore students’ satisfaction towards the use of the designed activities. Samples were 18 students studying in Grade 4 at Banladkae School. The research instruments were the series of art activities based on Torrance’s theory of Creativity, a students’ achievement test, a creativity test in the form of pictures based on Torrance’s theory, and a students’ satisfaction survey. It was found that the effectiveness of the art activity set was higher than the standard sets. The post-test scores were significantly higher than the post-test scores at .05. The students’ satisfaction towards the art activities was at the ‘high’ level.
Description:  การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
URI:  http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2543
Appears in Collections: วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:

FileDescriptionSizeFormat 
RMUTT-142355.pdf การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 18.24 MB Adobe PDF View/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.