การสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรมไทย

การสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรมไทย

ผลงานทัศนศิลป์ล้วนมีปรากฎอยู่ในแต่ละวัฒนธรรม  ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ขึ้นมาก็ล้วนแต่ต้องการตอบสนองความต้องการของสังคมทั้งสิ้น  สำหรับสังคมไทย  ผลงานทางด้านทัศนศิลป์มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์งานมีอยู่หลายปัจจัย  เช่นเดียวกับทัศนศิลป์สากลก็จะมีรูปแบบแตกต่างไปจากของไทย  และมีจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ที่มีบางด้านมีทั้งเหมือนและแตกต่างจากทัศนศิลป์ไทย  การเรียนรู้ทำความเข้าใจทัศนศิลป์ไทยและสากล  จะช่วยทำให้เราสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ระหว่างสองวัฒนธรรมได้
ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย  ผลงานทัศนศิลป์ของไทยที่สร้างขึ้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท  ได้แก่  วิจิตรศิลป์ หรือ ศิลปะแท้ คือ ผลงานจิตกรรม  ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม และประยุกต์ศิลป์  คือ การออกแบบตกต่าง และ แฟชั่น  ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ทั้งสองประเภท ได้แก่

การสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรมไทย
   1. แนวความคิกและปรัชญาความเชื่อ
   2. วัสดุและสิ่งแวดล้อม
   3. การรับอิทธิพลทางศิลปะ
   4. หน้าที่ใช้สอย
    สรุปได้ว่า  จุดประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย  เมื่อพิจารณาหลักฐานทางโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  และศิลปวัตถุที่ปรากฎตามภูมิภาคต่างๆส่วนใหญ่จะพบถึงความเกียวข้องเชื่อมโยงกัน ในเรื่องของความของความเชื่อ  ความศรัทธาทางศาสนาและประเพณี วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นเป็นปัจจัยหลัก  ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานโดยรวม
ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล  ศิลปะสากลเป็นศิลปะที่มีพื้นฐานมาจากศิลปะตะวันตก  มีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย  และแพร่หลายไปยังต่างชาติต่างๆ  ซึ่งผลงานทัศนศิลป์ที่สร้างกันขั้นมาในสมัยหลังๆส่วนใหญ่จะใช้แบบแผนตามแบบอย่างของศิลปะสากล  ในระยะแรกงานศิลปะแบบสากลจะใช้เป็นแบบเลียนแบบธรรมชาติและสิ่งใกล้ตัว  ระยะหลังในสมัยกรีกและโรมันมีบทบาท  จึงมีการพัฒนางานศิลปะรูปแบบต่างๆขึ้นมา
เปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากล
1.ทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย  จะคงไว้ในรูปของขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นศิลปะประจำชาติที่เราควรภาคภูมิใจ  โดยจะแบ่งเป็น 4 ช่วงใหญ่ๆ ดังนี้

การสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรมไทย

    - สมัยก่อนสุโขทัย
    - สมัยสุโขทัย
    - สมัยอยุธยา
    - สมัยรัตนโกสินทร์
2.ทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล  เป็นศิลปะที่มีการผสมผสานแนวความคิดตลอดจนรูปแบบต่างๆไว้อย่างกว้างขวาง  มีการใช้วัสดุ  อุปกรณ์ และวิธีการสร้างสรรค์ผลงานโดยอิสระ โดยแบ่งออกเป็น 3 สมัย

การสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรมไทย
   - สมัยโบราณ
   - สมัยกลาง
   - สมัยใหม่
   ดังนั้น  การที่จะเปรียบเทียบความแตกต่างของงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากลให้เห็นภาพอย่างละเอียดและมีความเด่นชัด  อาจเป็นไปได้ยากเนื่องจากมีเนื้อหาสาระและรายละเอียดมาก  ในระดับชั้นนี้คงต้องอาศัยการเปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนศิลป์ทั้งสองเป็นภาพรวม

ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ คืองานศิลปะที่ได้เริ่มทำก่อนกันมาก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการบันทึกเรื่องราวที่เรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยนับตั้งแต่ ยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 15,000-10,000 มานั้น มนุษย์ได้เขียนภาพสี และขูดขีดบนผนังถ้ำและเพิงผา เป็นภาพสัตว์ การล่าสัตว์และภาพลวดลายเรขาคณิต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงออกเกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวัน และแสดงความสามารถในการล่าสัตว์

ภาพเหล่านี้มักระบายด้วยถ่านไม้ และสีที่ผสมกับไขมันสัตว์ พบได้ทั่วไปในประเทศฝรั่งเศสและภาคเหนือของสเปน ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ ถ้ำลาสโกซ์ ในฝรั่งเศส ถ้ำอัลตามิรา ในสเปน งานศิลปะในยุคเก่าไม่มีเพียงแต่การเขียนภาพเท่านั้น ยังมีการปั้นรูปด้วยดินเหนียว หรือแกะสลักบนกระดูก เขาสัตว์ และงาช้าง

เรื่องราวที่นิยมทำกันได้แก่เรื่อง การล่าสัตว์ หรือบางก็มีรูปคน เป็นรูปสตรี ซึ่งอาจมีความหมายถึงการให้กำเนิดเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับชนเผ่า

ศิลปะยุคอียิปต์ (Egypt Art)

ศิลปะอียิปต์ ( 2650 ปีก่อน พ.ศ. – พ.ศ. 510) ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมส่วนมากจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะ

ศิลปะยุคคลาสสิก (Classical Art)

                ศิลปะยุคคลาสสิก (Classical Art)ศิลปะกรีก (500 ปีก่อน พ.ศ. – พ.ศ. 440) ชาวกรีกมีความเชื่อว่า “มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง” ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐาน ทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ และไม่มี ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธี ฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต์

ศิลปะโรมันโบราณ (Roman Art)

ศิลปะเคลติก (ภาษาอังกฤษ: Celtic art) เกี่ยวข้องกับชนที่เรียกว่า “เคลต์” ผู้พูดภาษา “ภาษากลุ่มเคลติก” ในทวีปยุโรป เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคกลางและต่อมา รวมทั้งงานของชนโบราณที่เราไม่ทราบภาษาพูดแต่มีวัฒนธรรมและลักษณะคล้ายคลึงที่ทำให้สรุปได้ว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับชนเค้ลท์ และยังรวมถึงยุคฟื้นฟูศิลปะเคลติกจนถึงปัจจุบันซึ่งชนเค้ลท์สมัยใหม่พยายามอนุรักษ์เพื่อความรักษาความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

ศิลปะเคลติก เป็นศิลปะตกแต่ง, หลีกเลี่ยงการใช้เส้นตรงและไม่ค่อยใช้ความสมมาตร และมิได้พยายามเลียนแบบธรรมชาติหรือจินตนิยมของธรรมชาติซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะคลาสสิก เท่าที่เข้าใจกันจะเป็นศิลปะที่ซับซ้อนไปด้วยสัญลักษณ์ มีลักษณะหลายแบบและมักจะผสมลักษณะของวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าไปด้วย ตัวอย่างที่เห็นคือการใช้ลายสอดประสานซ้อนบนและล่าง (over-and-under interlacing) ซึ่งนำมาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 6 หลังจากที่ลักษณะนี้เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วโดยชาวเจอร์มานิค

ศิลปะเคลติกแบ่งเป็นสามสมัย สมัยแรกเป็นศิลปะแผ่นดินใหญ่ยุโรปในสมัยยุคเหล็กซึ่งเกี่ยวกับศิลปะของวัฒนธรรมลาเทเนอ ซึ่งมีอิทธิพลมาจากศิลปะท้องถิ่น ศิลปะคลาสสิก และอาจจะมาจากศิลปะตะวันออกที่มาทางเมดิเตอร์เรเนียน สมัยที่สองเป็นสมัยยุคเหล็กในอังกฤษ และ ไอร์แลนด์ ซึ่งมีอิทธิพลมาจากศิลปะแผ่นดินใหญ่ยุโรปผสมกับศิลปะท้องถิ่นต่างๆ สมัยที่สามเป็นสมัยเคลติก “เรอเนซองส์” เมื่อต้นยุคกลางที่ไอร์แลนด์ และบางส่วนของอังกฤษหรือที่เรียกว่า “ศิลปะเกาะ” ซึ่งมาจากคำว่า “เกาะ” ในภาษาละติน สมัยที่สามเป็นรากฐานของ “ศิลปะเคลติกฟื้นฟู” ที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19

ศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนยุคแรก คือศิลปะที่สร้างโดยผู้นับถือคริสต์ศาสนาหรือโดยผู้ได้รับการอุปถัมภ์จากผู้นับถือคริสต์ศาสนาที่เริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 100 จนถึงราวปี ค.ศ. 500 ก่อนหน้าปี ค.ศ. 100 ไม่มีหลักฐานทางศิลปะที่หลงเหลือให้เห็นที่จะเรียกได้ว่าเป็นศิลปะหรือสถาปัตยกรรมของผู้นับถือคริสต์ศาสนาได้อย่างแท้จริง หลังจากปี ค.ศ. 500 ศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะของศิลปกรรมแบบไบแซนไทน์

ศิลปะไบแซนไทน์ หมายถึงศิลปะของรัฐที่นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ซึ่งอยู่ในระยะเวลาเดียวกับอาณาจักรไบแซนไทน์แต่มิได้เป็นอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ เช่น ประเทศบัลแกเรีย เซอร์เบีย หรือรุส รวมทั้งศิลปะของรัฐอาณาจักรเวนิส และราชอาณาจักรซิซิลี ศิลปะของผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันมักจะเรียกว่า ศิลปะหลังไบแซนไทน์ ศิลปะไบแซนไทน์บางลักษณะที่เริ่มจากอาณาจักรไบแซนไทน์โดยเฉพาะการเขียนภาพแบบที่เรียกว่า รูปสัญลักษณ์ (icon) และสถาปัตยกรรมการสร้างศาสนสถานยังคงทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศกรีซ ประเทศรัสเซีย และบางประเทศที่อยู่ในเครืออีสเติร์นออร์โธด็อกซ์

ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12] ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง

ศิลปะกอทิก (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาในการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอทิกนานาชาติ ศิลปะกอทิกนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะ[สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา] ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร

ศิลปะกอธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส) มหาวิหารนัวยง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารล็อง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารอามีแย็ง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์ (อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ) เป็นต้น มุขด้านตะวันออกของวิหาร Chartres Cathedral (ราว ค.ศ. 1145) รูปปั้นประกอบสถาปัตยกรรมนี้เป็นประติมากรรมศิลปะกอทิกตอนต้น ซึ่งแสดงวิวัฒนาการในรูปแบบเป็นแบบอย่างแก่ประติมากรรุ่นต่อมาศิลปะกอทิกเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า”กอธิค” เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัย