ผล เสีย ของการ จดทะเบียน สมรสซ้อน

ผล เสีย ของการ จดทะเบียน สมรสซ้อน

กอดทะเบียนสมรสเอาไว้ นี่คือ 12 ประโยชน์ของทะเบียนสมรส

การแต่งงานเป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจตรงกันว่าเป็นการเริ่มต้นชีวิตคู่ที่จะร่วมสุขและทุกข์ และสิ่งหนึ่งที่คู่แต่งงานควรทำคือการจดทะเบียนสมรส ซึ่งเป็นการการันตีการแต่งงานที่ถูกต้องและมีสิทธิ์ที่ควรจะได้รับตามกฎหมาย ไม่ใช่แค่ในบ้านเราเท่านั้นค่ะที่ให้ความสำคัญกับทะเบียนสมรส ในต่างประเทศก็ให้ความสำคัญกับทะเบียนสมรสมากเช่นกัน

การใช้ชีวิตคู่ในปัจจุบัน การจดทะเบียนสมรสยังถือว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย แม้ว่าบางคนจะเลือกใช้ชีวิตคู่แบบหนุ่มสาวสมัยใหม่คือแต่งงานหรืออยู่ด้วยกันแต่ไม่จดทะเบียนสมรส ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน แต่ทราบไหมคะว่าทะเบียนสมรสที่มีนั้น ไม่ใช่แค่ใบการันตีว่าเขาหรือเธอคือคู่ชีวิตที่มีสิทธิ์ตามกฎหมายเท่านั้น แต่ทะเบียนสมรสยังมีผลดีต่อชีวิตคู่ และทายาท รวมถึงการเรียกร้องสิทธิ์หากเกิดเรื่องไม่คาดคิดกับคู่สามีภรรยาด้วย

ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายและให้สิทธิ์กับผู้ถือที่เป็นสามีภรรยาหลายประการค่ะ แต่ถ้าเราจะพูดลึกถึงเนื้อหาของกฎหมายการแต่งงานคงจะเยอะและเข้าใจกันยากค่ะ วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความสำคัญของการจดทะเบียนสมรส ใบทะเบียนสมรสกันดูก่อนค่ะ

ทะเบียนสมรสสำคัญอย่างไร

การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสมีความสำคัญต่อคู่แต่งงาน สามีภรรยา เพราะเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ใช้สำหรับยืนยันความสัมพันธ์และเป็นหลักฐานที่ใช้สำหรับการยืนยันสิทธิ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา เช่น การรับรองบุตร ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับสิทธิ์ต่างๆ ตามกฎหมาย การแบ่งสินสมรส การฟ้องหย่าในกรณีสามีหรือภรรยามีชู้ เป็นต้น

การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรส อาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสามีภรรยาบางคู่ ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น คู่สามีภรรยาที่ทำธุรกิจ หรือนักการเมือง ซึ่งการจดทะเบียนสมรสทำให้ต้องมีการตรวจสอบทางบัญชีการเงินของทั้งสามีภรรยา เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจเกิดการฟ้องร้องได้ การแต่งงานแบบนี้จึงอาจไม่มีทะเบียนสมรสโดยความยินยอมและตกลงของสามีภรรยาเอง แต่ในขณะเดียวกันการแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้สามี หรือภรรยาโอนทรัพย์สินของตัวเองไปยังบัญชีของอีกฝ่ายเพื่อเลี่ยงการตรวจสอบหรือการเสียภาษีได้เช่นกัน

ประโยชน์ของทะเบียนสมรส

อย่างที่เกรินไปตั้งแต่แรกว่าประโยชน์หรือสิทธิ์ตามกฎหมายของการจดทะเบียนสมรส หรือใบทะเบียนสมรสมีเยอะมาก แต่เราลองทราบคร่าวๆ เฉพาะในส่วนที่มักจะได้ยินหรือได้รับผลกระทบเป็นหลักกันก่อนค่ะ

  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน นั่นหมายความว่าสามีจะหาเลี้ยงภรรยา หรือภรรยาจะหาเลี้ยงสามี หรือจะช่วยดูแลกันและกันก็ได้

  2. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของสามี หรือจะไม่ใช้ก็ได้

  3. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ (ถ้าอยากถือสัญชาติไทย)

  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส)

  2. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน

  3. การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือ การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน

  4. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้ เช่น สามีโดนรถชน ภรรยาสามารถเรียกค่าเสียหายถึงชีวิตกับผู้ขับรถชนได้

  5. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้อย่างออกหน้าออกตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเอง และเรียกค่าเสียหายได้จากชู้ด้วย

  6. การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้ว)

  7. การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้

  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น ภรรยาโดนกระชากกระเป๋า สามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้ หรือ สามีโดนคนพูดจาหมิ่นประมาทว่าร้าย ภรรยาก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทฝ่ายตรงข้ามแทนสามีได้
ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายนานแค่ไหน อายุของทะเบียนสมรส

การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทะเบียนสมรสก็จะมีผลทางกฎหมายหรือมีอายุยาวตลอดไปจนกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่า ซึ่งการจดทะเบียนหย่าก็เป็นไปตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย หรือถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องมีการฟ้องหย่าโดยให้ศาลเป็นผู้พิจารณา เพื่อใช้เหตุผลและหลักฐานต่างๆ ประกอบ รวมถึงการหาข้อตกลงต่างๆ เช่น การแบ่งสินสมรส สิทธิ์การดูแลบุตร ค่าเลี้ยงดู เป็นต้น

การจดทะเบียนสมรสซ้อน

ตามกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นผิดกฎหมาย และไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย เช่น หนุ่มเอจดทะเบียนสมรสกับสาวบี แล้วอีกไม่นานหนุ่มเอก็ไปจดทะเบียนสมรสกับสาวซี แบบนี้เรียกว่าจดทะเบียนสมรสซ้อน ซึ่งกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสครั้งหลังเป็นโมฆะ หากการจดทะเบียนสมรสครั้งแรกยังไม่มีการจดทะเบียนหย่าที่สมบูรณ์ และภรรยาที่จดทะเบียนสมรสซ้อนจะไม่มีรับสิทธิ์ตามกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น

ในขณะเดียวกัน ถ้าหนุ่มเอลักไก่ด้วยการจดทะเบียนสมรสไว้กับสาวทั้งสองคน แต่อยู่ๆ หนุ่มเอจดทะเบียนหย่ากับสาวบี แล้วไปอยู่กับสาวซี กฎหมายก็ไม่ให้สิทธิ์เช่นกัน เพราะถือว่าหนุ่มเอและสาวซีจดทะเบียนสมรสซ้อนในช่วงที่ยังมีการจดทะเบียนสมรสตัวจริงอยู่

พอจะทราบความสำคัญและประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรสหรือใบทะเบียนสมรสกันแล้วนะคะ ใครที่กำลังจะแต่งงาน หรือแต่งงานไปแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลองกลับมาทบทวนกันอีกครั้งค่ะว่าจริงๆ แล้วการจดทะเบียนสมรสดีกับเราหรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและเหตุผลของแต่ละคนและแต่ละคู่สามีภรรยานะคะ เพราะอย่างไรแล้วคู่ชีวิตที่อยู่กับด้วยความรักและความเข้าใจคือสิ่งสำคัญที่สุดค่ะ

 

ผล เสีย ของการ จดทะเบียน สมรสซ้อน

ภาพใบทะเบียนสมรสจาก : https://pantip.com/topic/37837985

ผล เสีย ของการ จดทะเบียน สมรสซ้อน

จดทะเบียนสมรสซ้อนมีความผิดอย่างไร

มาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ กำหนดเงื่อนไขห้ามชายหรือหญิงทำการสมรสขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ซึ่งเป็นหลักการของกฎหมายครอบครัวที่กำหนดให้มีคู่สมรสได้เพียงคนเดียว หากทำการสมรสซ้อนหรือสมรสขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว การสมรสนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495.

ข้อใดคือผลของการสมรสซ้อน

การสมรสซ้อน มีผลอย่างไร? การจดทะเบียนสมรสซ้อนถือว่าเป็น “โมฆะ” และการจดทะเบียนสมรสซ้อนถือว่าไม่ได้มีการจดทะเบียน (โมฆะ) ไม่มีผลตามกฎหมาย

จดทะเบียนสมรสมีผลเสียอะไรบ้าง

ข้อเสีย จดทะเบียนสมรสแล้ว ไม่ว่าจะ เงินก้อน หรือ หนี้สิน ทั้งสามีภรรยาต้องร่วมกันรับผิดชอบ รวมทั้งเรื่องอื่นๆ เจ้าสาวที่มีชื่อเป็นหุ้นส่วนในหลายๆ บริษัท การทำธุรกรรมต่าง ๆ จะยุ่งยากมากขึ้น และต้องยุ่งยาก เปลี่ยนข้อมูลทางนิติกรรม ทั้งเปลี่ยน Passport เปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวต่างๆ

แยกกันอยู่นานแค่ไหนถึงจะถือว่าหย่าโดยปริยาย

ตามกฎหมายของประเทศไทยหากคู่สมรสแยกกันอยู่กันเป็นเวลาเกินกว่า 3 ปีแล้วคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องหย่าได้