นักประพันธ์เพลงยุค คลาส สิ ก

เบโธเฟนได้เริ่มเรียนดนตรีอย่างจริงจังกับ คริสเตียน กอทท์ลอบ นีฟ (Christine Gottlob Neefe) ดังรูปที่ 2 ได้เริ่มงานด้านดนตรีในตาแหน่งนักออร์แกนประจำโบสถ์ นักเปียโนและนักไวโอลินในตำแหน่งผู้ช่วยของนีฟ และต่อมาได้รับตาแหน่งหัวหน้าวงของวงดนตรีในสานักของเจ้าเมืองบอนน์ เบโธเฟนเริ่มประพันธ์เพลงสาหรับเปียโนเมื่ออายุ 12 ปี และเมื่ออายุ 16 ปี เบโธเฟนเดินทางมากรุงเวียนนาเพื่อที่จะฝึกหัดดนตรีและเล่นดนตรีให้กับโมซาร์ท ซึ่งเมื่อโมซาร์ทฟังแล้วได้กล่าวว่า…. จงคอยดูเด็กคนนี้ให้ดี วันหนึ่งเขาจะดังก้องไปทั่วโลก (“Keep your eyes on him; somebody he will give the world something to talk about”) โมซาร์ทมีความชื่นชมในความสามารถทางด้านดนตรีของเบโธเฟน และยังกล่าวอีกว่าเบโธเฟนจะประสบความสาเร็จในโลกดนตรีต่อไป

หลังจากนั้นเบโธเฟนเดินทางกลับมายังเมืองบอนน์และทางานในเป็นนักออร์แกนและไวโอลิน ในขณะเดียวกันก็ประพันธ์เพลงไปด้วย จนกระทั่งอายุ 22 ปี เบโธเฟนย้ายมาอยู่ที่กรุงเวียนนาด้วยความตั้งใจที่จะหาชื่อเสียงในการเล่นดนตรีและประพันธ์เพลง เขามีโอกาสได้ศึกษาดนตรีกับ Franz Joseph Haydn, Johann Albrechtsberger (1736 – 1809), Johnn Schenk (1753 – 1836) และ Antonio Salieri (1750 – 1825) เบโธเฟนมีความตั้งใจที่จะมุ่งมั่นหาชื่อเสียงในการเล่นดนตรีและประพันธ์เพลงต่างๆ ตามความสามารถของเขาให้ดีที่สุด ซึ่งลักษณะงานดนตรีของเบโธเฟนเต็มไปด้วยลีลาและความรู้สึกที่ระบายออกอย่างรุนแรงและงดงาม เบโธเฟนได้ตระเวนแสดงดนตรีตามแนวของเขาจนทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วกรุงเวียนนา มีลูกศิษย์มาเรียนดนตรีกับเขามากขึ้น และด้วยความสามารถทางดนตรีของเบโธเฟน ทาให้ได้รับการอุปถัมภ์จากหมู่ชนชั้นสูงอยู่เรื่อยมา
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา เบโธเฟนหันไปมุ่งเอาดีทางด้านการประพันธ์ และเริ่มประพันธ์เพลงที่สะท้อนถึงความรู้สึกนึกคิดที่เต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างชัดเจน เพลงของเขาแสดงออกมาอย่างเสรีและแหวกแนว ไม่ตรงกับแบบแผนและกฏเกณฑ์ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า…. “เป็นนักดนตรีที่นอกแบบแผน ทาให้เกิดอันตรายต่อศิลปะทางดนตรี” แต่อย่างไรก็ตามผลงานก็ยังถูกซื้อและตีพิมพ์จาหน่ายหมดอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นไม่นานเบโธเฟนต้องประสบกับปัญหาเกี่ยวกับระบบการได้ยิน เขาเริ่มมีอาการไม่ได้ยินเป็นระยะ
จนกระทั้งปี ค.ศ. 1819 เบโธเฟนได้หยุดการแสดงคอนเสิร์ตในที่สาธารณะและเริ่มเก็บตัวอยู่ที่เมืองเฮลิเกนสตัดท์ (Heiligenstadt) แต่ด้วยความเป็นอัจฉริยะทางดนตรี เบโธเฟนตั้งปณิธานว่า… “ฉันจะไม่ยอมสยบให้แก่ความเคราะห์ร้ายเป็นอันขาด” เบโธเฟนตัดสินใจเดินทางกลับมากรุงเวียนนาและได้สร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีต่ออย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น Symphony no. 3 (Eroica) เป็นบทแรกที่เบโธเฟนใส่อารมณ์และความรู้สึกอย่างรุนแรง โดยละทิ้งหลักเกณฑ์ยุคคลาสสิค แนวเพลงของไฮเดินและโมซาร์ทโดยสิ้นเชิง นับว่าเป็นสัญลักษณ์ของบทเพลงยุคโรแมนติก

ในงานแสดงคอนเสิร์ตครั้ง Symphony no. 9 ปี ค.ศ. 1824 ณ กรุงเวียนนา เบโธเฟนทาหน้าที่กากับเพลงและควบคุมวงดนตรีด้วยตนเอง ดังรูปที่ 3 สร้างความประทับใจและได้รับเสียงปรบมืออย่างล้นหลามและนี่คือการปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนครั้งสุดท้ายของเขา  เบโธเฟนเสียชีวิตด้วยอายุเพียง 57 ปี แต่อย่างไรก็ตามผลงานของเบโธเฟนได้รับการยกย่องในเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีในรูปแบบใหม่จากยุคคลาสสิคมาสู่ยุคโรแมนติก ด้วยความตั้งใจและความเป็นอัจฉริยะทางด้านดนตรี เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล

นักประพันธ์เพลงยุค คลาส สิ ก

ลีลาการกำกับวงและอำนวยเพลง

ลักษณะและผลงานทางดนตรี
หลังจากประสบปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน เบโธเฟนได้หันมามุ่งมั่นในด้านการประพันธ์เพลงมากขึ้น เขามีแนวคิดและพัฒนาในการประพันธ์มาเรื่อยๆจนได้รูปแบบใหม่ คือยังคงใช้รูปแบบและเทคนิคของการประพันธ์เพลงในยุคคลาสสิค แต่ได้เพิ่มพลังความเข้มข้นลงไป ทาให้ดนตรีในสมัยที่ไฮเดินและโมซาร์ทประพันธ์ไว้เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบใหม่
ลักษณะงานของเบโธเฟน คือ การใช้จังหวะขัด (Syncopation) และการใช้เสียงที่ไม่กลมกลืน (Dissonance) ในการสร้างความตึงเครียดและความตื่นเต้นในบทเพลง มีการใช้ช่วงกว้างของเสียง (range) และความดัง-ค่อย (dynamic) มีมากกว่าในเพลงยุคก่อนๆ เมื่อดังจะดังมาก และเมื่อเบาจะเบาจนแทบไม่ได้ยิน หลายครั้งเบโธเฟนใช้ความเงียบทาให้เกิดความตึงเครียดด้วย ส่งผลให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกและอารมณ์มากกว่าดนตรียุคคลาสสิค นอกจากนี้สิ่งที่เบโธเฟนใช้เพื่อทาให้เพลงมีพลังขึ้นมา คือ การเน้นเสียง (Accent) และการใช้แนวคิดเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบจังหวะสั้นๆ ซ้าๆ ต่อเนื่องกันหลายๆ
ครั้ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Symphony no. 5 ในท่อนแรก เบโธเฟนยังใช้การประสานเสียงที่แตกต่างจากยุคคลาสสิคได้แก่ การใช้คอร์ดที่ไม่ใช่ Triad ขึ้นต้นบทเพลง เพื่อช่วยเพิ่มความมีพลัง ความหนักแน่นมากขึ้น ในการสร้างความตึงเครียดที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นเพลงเช่นนี้ ทาให้เพลงมีความยาวมากขึ้น เบโธเฟนจึงเป็นผู้ที่นารูปแบบคลาสลิคมาใช้ แต่ได้ขยายให้แต่ละตอนหรือบางตอนมีความยาวมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Symphony No. 3 ที่มีความยาวประมาณ 50 นาที ในขณะที่ซิมโฟนีในสมัยของไฮเดินและโมซาร์ทมักมีความยาวประมาณ 25 – 35 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ในช่วงปิดท้าย (Coda) ของสังคีตลักษณ์โซนาตา เบโธเฟนได้พัฒนาแนวความคิดส่วนนี้จนเป็นส่วนที่สาคัญ มีแนวทานองใหม่เกิดขึ้นเพื่อทาให้บทเพลงจบลงอย่างสมบูรณ์ และยิ่งไปกว่านี้รูปแบบที่เบโธเฟนได้พัฒนาขึ้นอีกอย่าง คือ สเกิร์ตโซ (Scherzo) โดยทั่วไปในยุคคลาสสิคท่อนนี้จะใช้มินูเอต ซึ่งเป็นลักษณะของเพลงเต้นรา ที่มีลักษณะเร็ว สดใส ไม่หนักแน่นจริงจัง แต่สเกิร์ตโซของเบโธเฟนจะมีความหนักแน่น มีพลัง จริงจังและสง่างาม สิ่งที่เบโธเฟนพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมพลังความเข้มข้น คือการเพิ่มเครื่องดนตรีแต่ละประเภทให้มากขึ้น วงออร์เคสตราในสมัยของเบโธเฟนจึงมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ทาให้บทเพลงมีเสียงดังมากกว่าแต่ก่อน แสดงพลังความรู้สึกได้มากกว่า

ผลงานของเบโธเฟนแบ่งได้เป็นสามระยะ ตามลักษณะดนตรีที่แตกต่างกัน ระยะแรก (1780 – 1802) ใช้รูปแบบการประพันธ์เพลงของดนตรียุคคลาสสิคอย่างเด่นชัด ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากไฮเดินและโมซาร์ท ระยะที่สอง (1802 – 1816) เบโธเฟนแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาอย่างเด่นชัด รูปแบบการประพันธ์มีการพัฒนาอย่างสง่างามมากขึ้น ความยาวในแต่ละส่วนแต่ละตอนมีมากกว่าเพลงในยุคแรก วงออร์เคสตราปรับปรุงเพิ่มจานวนเครื่องดนตรีให้มากขึ้น เพราะต้องการแสดงถึงความมีพลัง ความยิ่งใหญ่ ชัยชนะ การประสานเสียงโดยใช้คอร์แปลกๆ มากขึ้น จัดได้ว่าเป็นผลงานเพลงที่แตกต่างจากยุคคลาสสิคอย่างชัดเจน ระยะที่สาม (1816 – 1827) เป็นช่วงที่เบโธเฟนเปลี่ยนแนวการประพันธ์ไป เนื่องจากต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา ผลงานในช่วงท้ายมักจะแสดงออกถึงความเข้มแข็ง ไม่นุ่มนวลมากนักและหลายบทเพลงไม่เป็นที่รู้จัก ผลงานของเบโธเฟนประกอบด้วย ซิมโฟนี 9 บท เปียโนคอนแชร์โต 5 บท ไวโอลินคอนแชร์โต 1 บท โอเปรา 1 เรื่อง สติงควอเตท 16 บท เปียโนโซนาตา 32 บทและผลงานสาคัญอีกจานวนมาก นับว่าเบโธเฟนเป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างยุคคลาสสิคและยุคโรแมนติกเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง

ตัวอย่างบทเพลงของเบโธเฟน
เพลง  Symphony no.3 (Eroica)

ที่มา:
http://elearn-music.com/content/Lesson2.pdf

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart, Austria 1756 – 1791)

นักประพันธ์เพลงยุค คลาส สิ ก

ชีวประวัติ

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท ดังรูปที่ 1 กำเนิดในครอบครัวนักดนตรีที่เมืองซาลซ์บวร์ก (Salzburg) ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1756 และถึงแก่กรรมที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791
โมซาร์ทเรียนรู้ดนตรีได้อย่างรวดเร็ว และหูของเขาสามารถฟังเสียงดนตรีได้อย่างถูกต้องแม่นยา บิดาของโมซาร์ท เลโอโปลด์ โมซาร์ท (Leopard Mozart) เป็นนักแต่งเพลงและครูสอนดนตรี มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำสำนักของอาร์ชบิชอพที่ซาลซ์บวร์ก (Salzburg Archbishop) บิดาของโมซาร์ทได้ทุ่มเทเวลาฝึกฝนและวางรากฐานทางดนตรีให้กับโมซาร์ท ดังแสดงในรูปที่ 2

นักประพันธ์เพลงยุค คลาส สิ ก

รูปที่ 2 Leopold (พ่อ) Nannerl (พี่สาว) และ Mozart

โมซาร์ทเริ่มบรรเลงไวโอลินและฮาร์ปซิคอร์ดตั้งแต่อายุ 6 ปี  ประพันธ์เพลงซิมโฟนีครั้งแรกอายุ 8 ปี เมื่ออายุ 11 ปีประพันธ์เพลงออราทอริโอ (Oratorio) และอายุ 12 ปีประพันธ์เพลงโอเปรา ความอัจฉริยะทางดนตรีของโมซาร์ททำให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรปในฐานะนักดนตรีและนักประพันธ์เพลง โมซาร์ทกับบิดาได้เดินทางไปแสดงดนตรีและผลงานต่อสาธารณชนในประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรีย ฮังการี อังกฤษ ฮอลแลนด์และอิตาลี ดังรูปที่ 2.12 แสดงเมืองที่โมซาร์ทเดินทางไปแสดงคอนเสิร์ตและผลงาน นอกจากนี้โมซาร์ทยังเปิดการแสดงดนตรีและผลงานต่อพระพักตร์กษัตริย์หลายพระองค์ เช่น เจ้าชายแห่งบาวาเรีย (the Elector of Bavaria) และพระเจ้าโยเซฟที่ 3 (Joseph 3) ที่มิวนิค, พระนางมาเรีย เทเรซา (Emperor Maria Theresa) ที่กรุงเวียนนา, พระเจ้าหลุยซ์ที่ 15 (Louis XV) ที่พระราชวังแวร์ซายด์ และพระเจ้าจอร์ชที่ 3 (George 3) ที่ลอนดอน และขุนนางชั้นสูงต่างๆมากมาย ในช่วงระหว่างการเดินทางแสดงคอนเสิร์ต โมซาร์ทได้มีโอกาสศึกษาและฝึกฝนดนตรีของประเทศต่างๆ อย่างหลากหลายจนมีรูปแบบของตัวเอง

ปี ค.ศ. 1771 โมซาร์ทเดินทางกลับมาที่เมืองซาลซ์บวร์ก ได้ทางานเป็นนักประพันธ์เพลงและนักไวโอลินของราชสำนักอาร์ชบิชอพที่ซาลซ์บวร์ก (Archship of Salzburg) แต่เนื่องจากโมซาร์ทเป็นคนที่มีอารมณ์ร้อนและมีความต้องการเพียงแต่การประพันธ์เพลงและแสดงดนตรีตามแบบของตนมากกว่าจะต้องทางานตามคำบัญชาจากเจ้านาย ทำให้โมซาร์ทประสบกับปัญหาในการปรับตัว ในที่สุดต้องมาดำเนินชีวิตด้วยตัวเอง
ปี ค.ศ. 1981 โมซาร์ทได้กลายเป็นนักดนตรีอิสระที่ดำเนินชีวิตในกรุงเวียนนา โดยไม่ขึ้นกับราชสำนัก โบสถ์หรือผู้อุปถัมภ์ใดๆ ซึ่งในยุคนี้เป็นยุคที่นักดนตรีต้องแสวงหาเจ้านายตามราชสำนัก ครอบครัวที่ร่ำรวยหรือโบสถ์เพื่อเป็นผู้อุปถัมภ์ แต่โมซาร์ทชอบการดาเนินชีวิตที่เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องรับใช้ใคร ในช่วงปีแรกในกรุงเวียนนา โมซาร์ทประสบความสาเร็จกับอาชีพนักดนตรีอิสระ โมซาร์ทเปิดงานแสดงดนตรีทั้งในราชสำนักและต่อสาธารณชน สอนดนตรีและประพันธ์เพลง รูปที่ 3 แสดงรูป St. Michael’s Square ในกรุงเวียนนา ซึ่งเป็นที่หนึ่งที่โมซาร์ทได้แสดงคอนเสิร์ต

นักประพันธ์เพลงยุค คลาส สิ ก

รูปที่ 3 St. Michael’s Square

ในระยะหลังความนิยมในตัวโมซาร์ทเริ่มลดลง ผลงานของโมซาร์ทไม่ได้รับความนิยมมากนัก อันเนื่องมาจากแนวคิดในการประพันธ์เพลงของโมซาร์ทที่ก้าวหน้าเกินยุค คือเป็นลักษณะบทเพลงของยุคโรแมนติก ที่เน้นการแสดงของอารมณ์และความรู้สึก จนผู้ฟังไม่สามารถเข้าใจในบทเพลงได้ ต้องฟัง
ซ้ำหลายครั้งถึงจะเข้าใจ เพื่อนได้เตือนและแนะนำให้โมซาร์ทแต่งเพลงสนองความต้องการของสังคมซึ่งจะเป็นประโยชน์สาหรับตัวโมซาร์ทเอง แต่โมซาร์ทไม่เคยรับฟังและยังคงประพันธ์เพลงตามความคิดความต้องการของตนเอง
ในช่วงบั้นปลายชีวิตของโมซาร์ท เขาป่วยหนักด้วยโรคไต โมซาร์ทได้รับการจ้างให้ประพันธ์ Comic opera คือ Die Zauberflote (the Magic Flute) เพื่อแสดงใน Viennese theater ทำให้เขาเริ่มต้นมีความมั่งคั่งอีกครั้ง บทประพันธ์ชิ้นสุดท้ายของโมซาร์ท คือ Requiem แมสแห่งความตาย ซึ่งประพันธ์ในช่วงที่ไม่สบาย โมซาร์ทเริ่มประพันธ์เพลงนี้ด้วยความรู้สึกว่าเป็นเพลงสาหรับความตายของตนเองและเสียชีวิตก่อนที่จะประพันธ์เพลงจบ รูปที่ 4 แสดงรูป อนุสรณ์โมซาร์ทในกรุงเวียนนา

นักประพันธ์เพลงยุค คลาส สิ ก

รูปที่ 4 อนุสรณ์โมซาร์ท

ลักษณะและผลงานทางดนตรี
บทเพลงของโมซาร์ทได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ เช่น จากการที่อยู่ในครอบครัวที่มีสภาพแวดล้อมด้วยดนตรี จากการที่ได้ศึกษาและมีประสบการณ์ในการเดินทางแสดงคอนเสิร์ตในประเทศต่างๆ จากลักษณะบทเพลงของผู้ประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่นไฮเดิน จากความอัจฉริยะทางดนตรีและจากความสาเร็จทางดนตรีขณะที่ยังเป็นเด็ก ทำให้ลักษณะงานของโมซาร์ทมีความไพเราะ สามารถถ่ายทอดถึงความสดใสสดชื่น ความน่ารักหรือความเศร้าไว้ในบทเพลง
ผลงานของโมซาร์ทจะเน้นแนวทำนองที่เด่นชัด ไพเราะน่าฟัง จนถูกกล่าวว่า “โมซาร์ทเป็นผู้ที่สามารถทำให้เครื่องดนตรีร้องเพลงได้” นั่นเป็นคากล่าวที่ทำให้เข้าใจได้อย่างชัดว่า โมซาร์ทเข้าใจดีถึงการประพันธ์ทำนองให้เหมาะกับการขับร้องเป็นอย่างยิ่ง บทร้องอันไพเราะจากโอเปราและผลงานประเภทการขับร้องจึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังและผู้ขับร้อง รูปแบบบทเพลงของโมซาร์ทมีการพัฒนาเพิ่มเติมให้น่าสนใจมากขึ้น แต่ก็ยังคงรักษารูปแบบและหลักการในการประพันธ์ไว้ ซึ่งจะสังเกตได้จากซิมโฟนีของโมซาร์ทมีแนวทำนองมากมายและในส่วนการพัฒนาทำนองหลักมักจะมีความยาวค่อนข้างมาก แต่สำหรับโซนาตาแล้ว โมซาร์ทใช้หลักแนวทำนองที่ไพเราะและชัดเจน และพัฒนาโดยใช้รูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้บทเพลงน่าสนใจ ความงดงามของบทเพลงที่โมซาร์ทประพันธ์มิได้อยู่เฉพาะที่แนวทำนองเท่านั้น หากแต่เกิดจากการผสมผสานอย่างกลมกลืนกันขององค์ประกอบของดนตรี การใช้การประสานเสียงที่ธรรมดาแต่มีความหมาย การคำนึงถึงสีสันของเสียงของเครื่องดนตรี ด้วยความสามารถในการเรียบเรียงเสียงประสานเพื่อวงออร์เคสตราทาให้โมซาร์ทประพันธ์แนวทำนองส่วนเชื่อมต่อระหว่างทำนองย่อยมากมายเพื่อให้เครื่องดนตรีในวงออร์เคสตราได้บรรเลงออกมาอย่างสมบูรณ์และมีสีสัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ในการประพันธ์ของโมซาร์ท
แนวคิดแห่งการประพันธ์ของโมซาร์ทมีความหลากหลายและพัฒนาตลอดเวลา ผลงานจึงมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ความสดใสเรียบง่ายเห็นได้ในผลงานช่วงแรก แต่หลายเพลงโอเปรา เช่น The Magic Flute ใช้บันไดเสียงไมเนอร์ทาให้ผู้ฟังได้สัมผัสความทุรนทุรายและเศร้าสร้อย บทเพลงของโมซาร์ทมักจะเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟัง ดังนั้นโมซาร์ทจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ของโลก

ผลงานของโมซาร์ทมีจานวนมากกว่า 500 บทประพันธ์ ปี ค.ศ. 1862 ลุควิก ฟอน เคอเชล (Ludwig von Koechel) นักพฤกษศาสคร์มีใจรักดนตรี ได้เก็บรวบรวมและจัดเรียงลาดับผลงานของโมซาร์ท โดยใช้ระบบเตอเชล โดยใช้ตัวย่อว่า K. ผลงานของโมซาร์ทประกอบด้วย โอเปรา 18 เรื่อง ซิมโฟนี 49 บทแต่เป็นที่รู้จัก 41 บท เปียโนคอนแชร์โต 25 บท ไวโอลินคอนแชร์โต 5 บท คอนแชร์โตสาหรับเครื่องดนตรีอื่นๆ อีกจานวนหนึ่ง สติงควอเต็ทและแชมเบอร์มิวสิคประเภทอื่นๆ อีกกว่า 30 บท ผลงานสาหรับเปียโนและไวโอลิน ทั้งประเภทโซนาตาและอื่นๆ อีกจานวนหนึ่ง รวมทั้งเพลงร้องและเพลงเกี่ยวกับศาสนาด้วย

ตัวอย่างผลงานของโมซาร์ท
เพลง Die Zauberflote (the Magic Flute)

ที่มา:
http://elearn-music.com/content/Lesson2.pdf

ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn, Austria 1732 – 1809)

นักประพันธ์เพลงยุค คลาส สิ ก

ชีวประวัติ

ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน  กำเนิดในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1732 และถึงแก่กรรมที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1809

ไฮเดินศึกษาทางด้านดนตรีครั้งแรกด้วยวัย 5 ขวบ ดังรูปที่ 1.1 โดยการเป็นนักร้องประสานเสียงของโบสถ์เซนต์สตีเฟน (St. Stephen’s cathedral) ในกรุงเวียนนา  ดังรูปที่ 1.2  ด้วยความรักในดนตรี ไฮเดินพยายามเรียนรู้ดนตรีด้วยตนเองและหารายได้โดยการร้องเพลง สอนดนตรี บรรเลงไวโอลินและฮาร์ปซิคอร์ด (Harpsichord) กับวงดนตรีตามท้องถนนของกรุงเวียนนา ไฮเดินได้เริ่มประพันธ์เพลงสติงควอเต็ทและซิมโฟนี และได้เป็นผู้นาวงออร์เคสตราของเคานต์มอร์ซิน (Morzin of Bohemia) ทำให้ไฮเดินมีชื่อเสียงขึ้นเรื่อยๆ

นักประพันธ์เพลงยุค คลาส สิ ก

รูปที่ 1.1 ไฮเดินวัยเด็ก

นักประพันธ์เพลงยุค คลาส สิ ก

รูปที่ 1.2 โบสถ์เซนต์สตีเฟน

นักประพันธ์เพลงยุค คลาส สิ ก

รูปที่ 1.3 Esterhazy Palace

ในปี ค.ศ. 1761 ไฮเดินได้เป็นนักดนตรีประจำในตำแหน่งผู้ควบคุมวงดนตรีในสำนักของตระกูลอีสเตอร์ฮาซี (Esterhazy) ดังรูปที่ 1.3  ซึ่งเป็นตระกูลเจ้านายชั้นสูงและมีอำนาจที่สุดในฮังการี ทาให้ไฮเดินพบกับความมั่นคงในชีวิตการทำงาน หน้าที่หลักของไฮเดินคือการประพันธ์เพลงและควบคุมวงดนตรีของสำนัก ตลอดการทำงานเกือบ 30 ปีในตระกูลอีสเตอร์ฮาซี ไฮเดินผลิตผลงานต่างๆ ออกมามากมาย เช่น ซิมโฟนี 60 บท สติงควอเตท 40 บท อุปรากร 11 เรื่องและยังมีบทเพลงอื่นๆ อีกหลายร้อยบทเพลง ผลงานของไฮเดินถูกนำมาแสดงในคอนเสิร์ตฮอลล์ของราชสำนัก  และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วยุโรป ทำให้วงดนตรีของตระกูลอีสเตอร์ฮาซี มีชื่อเสียงโด่งดังไปด้วย ไฮเดินเดินทางไปแสดงคอนเสิร์ตที่กรุงเวียนนาในปี ค.ศ. 1781 และได้พบกับโมซาร์ท โมซาร์ทมีความชื่นชมและนับถือในผลงานของไฮเดินมานาน และไฮเดินรู้สึกนับถือความเป็นอัจฉริยะทางดนตรีของโมซาร์ท ทำให้เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกัน
จนปี ค.ศ. 1790 ไฮเดินได้ออกจากตระกูลอีสเตอร์ฮาซี เดินทางไปยังกรุงเวียนนาและเดินทางต่อไปที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่ๆไฮเดินได้เปิดการแสดงคอนเสิร์ต สอนดนตรีและประพันธ์เพลงออราทอริโอ (Oratorio) ในสไตล์ของฮันเดิล (Handel) และเพลงชุด London Symphonies โดยการสนับสนุนของ Johann Peter Salomon จนมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไฮเดินเดินทางกลับไปทำงานที่ตระกูลอีสเตอร์ฮาซี อีกครั้งในปี ค.ศ. 1795 และ ค.ศ. 1808 ไฮเดินเดินไปที่กรุงเวียนนาและได้เปิดการแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยบทเพลง Mass in B flat, the Creation ทีคอนเสิร์ตฮอลล์ของ University of Vienna  และได้เสียชีวิตอย่างสงบในปี ค.ศ. 1809 ในขณะที่กองทัพฝรั่งเศสภายใต้การนาของนโปเลียนกำลังเข้ายึดครองกรุงเวียนนา

ลักษณะและผลงานทางดนตรี
ไฮเดินถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกดนตรีในยุคสมัยคลาสลิค และยังเป็นผู้พัฒนารูปแบบดนตรีประเภทซิมโฟนี (Symphony) และสติงควอเต็ท (String Quartet) ให้มีแบบแผนจนถึงปัจจุบัน จนได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งซิมโฟนีและสติงควอเต็ท (Father of the Symphony and String Quartet)”ไฮเดินได้ขยายโครงสร้างของวงออร์เคสตราจนได้รูปแบบที่ลงตัว จากการทดลองจัดวงโดยการเพิ่มเครื่องดนตรีเข้าไปครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ได้วงออร์เคสตราที่สมบูรณ์แบบเพื่อการบรรเลงซิมโฟนีได้อย่างดีในที่สุด นอกจากนั้นไฮเดินยังได้ประพันธ์บทเพลงสาหรับสติงควอเต็ทและจัดวางโครงสร้างของเครื่องดนตรี ทั้งยังได้ออกแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก จนได้รับการยอมรับและเป็นบทเพลงที่นิยมบทเพลงหนึ่งในยุคคลาสสิค
นอกจากนี้การประพันธ์ที่เน้นแนวทำนองเด่นชัด มีความไพเราะ อันเป็นลักษณะเฉพาะของดนตรียุคของไฮเดิน และการเพิ่มพลังการประสานเสียง ทำให้บทเพลงบรรเลงโดยเครื่องดนตรีสามารถถ่ายทอดและสื่อความรู้สึกได้อย่างเต็มเปี่ยมซึ่งไม่มีผู้ประพันธ์เพลงคนใดทำมาก่อน ไฮเดินนาเสนอแนวคิดในเรื่องการพัฒนาทำนองหลักซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังอันแท้จริงของโสตศิลป์ในรูปแบบของการแปรทำนองหลัก (Variation) ในโครงสร้างของซิมโฟนี ทำให้บทเพลงมีความหมายน่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม การประพันธ์ซิมโฟนีในช่วงแรกของไฮเดิน มีลักษณะเป็นเพลงประเภทเซเรอเนด (Serenade) หรือดิเวอร์ทิเมนโต (Divertimento) คือเพลงหลายท่อนคล้ายเพลงชุดธรรมดาๆ เท่านั้น ต่อมาไฮเดินได้พัฒนาการประพันธ์ซิมโฟนีจนได้แนวคิดว่าการประพันธ์ซิมโฟนีประกอบด้วย 4 ท่อน ท่อนแรกมีลีลาจังหวะเร็ว มีแนวทานองหลักสองทานอง ท่อนที่สองมีลีลาจังหวะช้า เน้นการนาเสนอทานองที่เต็มไปด้วยความรู้สึก ท่อนที่สามมีลีลาจังหวะเร็ว เน้นความสนุก ร่าเริงในจังหวะเต้นรามินูเอต (Minuet) และท่อนสุดท้ายมีลีลาจังหวะเร็ว เน้นชีวิตชีวา การสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกของซิมโฟนีที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน
ลักษณะดนตรีของไฮเดินเน้นการใช้ลักษณะของเสียงคือความดัง-ค่อย และการแปรแนวทำนองหลัก ไฮเดินนิยมแต่งทานองหลักเพียงสั้นๆ และเล่นซ้าโดยใช้เครื่องดนตรีต่างชนิดกันเพื่อให้เกิดสีสันในบทเพลง ดังนั้นบทเพลงของไฮเดินส่วนใหญ่จะได้ยินทำนองหลักตลอดทั้งบทเพลง ไฮเดินได้พัฒนาและแปรทานองหลักโดยใช้วิธีการเปลี่ยนเนื้อผิวของบทเพลง (Texture), จังหวะ (Rhythm), ความดัง-ค่อย (Dynamic) และ การเรียบเรียงเสียงของวงดนตรี (Orchestration) นอกจากนั้นไฮเดินจะนิยมแต่งเสียงประสานที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกอย่างเด่นชัด จังหวะที่เปลี่ยนแปลงเสมอ เน้นความดัง-ค่อย มีการสอดประสานแนวทานอง และมีรูปแบบที่มีอยู่ในหลักเกณฑ์ ไฮเดินมักจะทำให้บทเพลงมีความน่าสนใจจากบทนาที่คาดไม่ถึง ไฮเดินจะใช้ความแตกต่างเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกตื่นเต้นอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ดนตรีของไฮเดินมีลักษณะเป็นของตนเองอย่างแท้จริง บทเพลงจานวนมากของไฮเดินมักจะมีชื่อเฉพาะซึ่งเป็นชื่อที่ผู้อื่นตั้งให้ และใช้เรียกกันต่อๆ มา ทั้งนี้เนื่องมาจากลักษณะบางตอนในบทเพลงมีสาเนียงหรือทำนองที่ทำให้ผู้ฟังคิดถึงบางสิ่งบางอย่างซึ่งง่ายแก่การจำ

ไฮเดินเป็นผู้ประพันธ์ที่ผลิตผลงานออกมาตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ เขาเป็นคนหนึ่งในนักประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคคลาสสิค ไฮเดินมีผลงานทางดนตรีเป็นจำนวนมาก ได้แก่ซิมโฟนี 104 บท สติงควอเต็ท 68 บท คอนแชร์โตสาหรับเครื่องดนตรีต่างๆ รวม 10 บท เปียโนโซนาตา 50 บท โอเปรา 15 เรื่อง แมส 12 บท เป็นต้น