องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

1. โครงสร้างของระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์
1.1 โครงสร้างของระบบสืบพันธุ์เพศชาย (reproduction anatomy of the human male)
ได้แก่ส่วนที่อยู่ด้านนอก คือถุงอัณฑะ (scrotum) เพนิส (penis) และส่วนที่อยู่ด้านในได้แก่ อัณฑะ
(testes) ต่อม (accessory glands) และท่อต่าง ๆ (associate ducts)

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

ภาพที่ 4 แสดงอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

ภาพที่ 5 แสดงส่วนประกอบขององคชาติ และอัณฑะ

ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc

อัณฑะเป็นโครงสร้างที่เจริญและพัฒนาอยู่ในช่องท้องของทารก ก่อนคลอดประมาณ 2 เดือน อัณฑะจะ
ถูกดันจากช่องท้องให้เข้าไปอยู่ในถุงอัณฑะนอกร่างกาย เนื่องจากภายในช่องท้องมีอุณหภูมิไม่เหมาะสม
ต่อการเจริญและพัฒนาของสเปิร์ม ในกรณีที่อัณฑะออกมาไม่ได้ ในที่สุดชายคนนั้นจะเป็นหมัน ถุงอัณฑะ
มีลักษณะยื่นออกมานอกช่องท้องและมีช่องทางติดต่อกับช่องท้อง เรียกว่าช่องอินกวัยนอล (inguinal
canals) ซึ่งเป็นช่องที่ค่อนข้างเปราะบาง การยกของหนักเกินไปอาจมีผลท าให้เยื่อที่คลุมอยู่ฉีกขาด ทำให้
ลำไส้บางส่วนไหลไปอุดบริเวณปากถุงอัณฑะ ซึ่งเรียกอาการที่เกิดขึ้นว่า ไส้เลื่อน (inguinal hernia)
ภาพที่ 5 แสดงส่วนประกอบขององคชาติ และอัณฑะ
ภายในอัณฑะประกอบด้วยท่อขนาดเล็กม้วนขดอยู่ภายในเรียกว่า ท่อเซมินิเฟอรัสทิวบูล
(seminiferous tubules) ท าหน้าที่สร้างสเปิร์ม ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์
หรือสเปอร์มโทเจีนีซิส(spermatogenesis)

1.1.1 เสปอร์มาโทจีนีซีส (spermatogenesis) เป็นกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เมื่อ
เพศชายเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยเริ่มต้นจากเซลล์ที่เรียกว่า เสปอร์มาโทโกเนีย (spermatogonia) เจริญ
และพัฒนาไปเป็น เสปอร์มาโทไซต์ ขันที่หนึ่ง (primary spermatocyte) จากนั้นสเปอร์มาโทไซต์ขั้นที่
หนึ่งจะเข้าสู่กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส (meiosis) เป็นระยะไมโอซีส
ขั้นแรก (meiosis I) ได้เซลล์ใหม่เรียกว่า เสปอร์มาโทไซต์ ขั้นที่สอง (secondary spermatocyte) จาก
นั้นสเปอร์มาโทไซต์ขั้นที่สอง จะแบ่งเซลล์ต่อไปในระยะ ไมโอซีส ขั้นที่สอง (meiosis II) ได้ เซลล์สเปอร์
มาทิด (spermatid) ในการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์แต่ละครั้งนั้น เสปอร์มาโทไซต์ ขั้นที่หนึ่ง 1 เซลล์ เมื่อแบ่ง
แล้วจะได้เสปอร์มาทิด 4 เซลล์ แต่ละเซลล์จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เซลล์สเปิร์ม ต่อไป

1.1.2 สเปิร์ม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หัว (head) คอ และล าตัว (midpiece) หาง
(flagellum) โดยส่วนหัวภายในบรรจุไว้ด้วยนิวเคลียสและปลายสุดของหัวถูกห่อหุ้มไว้ด้วย อะโครโซม
(acrosome) ซึ่งบรรจุเอนไซม์ส าหรับเข้าเจาะไข่ อะโครโซมนั้น ถูกเปลี่ยนมาจากกอลจิคอมแพล็กซ์

(Golgi complex) ส่วนคอและล าตัว ส่วนนี้ตรงกลางมีแกนเรียกว่า แอกเซียลฟิลาเมนต์ (axial
filament) ตรงคอมีเซนโทรโซม 2 อัน ถูกพันด้วยไมโทคอนเดรีย (mitochondria) แบบเกลียว และเป็น
แหล่งให้พลังงานส าหรับการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม ส่วนแกนมีเยื่อหุ้มไว้ ส่วนหางคือส่วนของ แอกเซียลฟิ
ลาเมนต์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม มีหน้าที่ส าหรับการเคลื่อนที่

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

ภาพที่6 กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย
ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc

ภายในท่อเซมินิเฟอรัสทิวบูลนอกจากจะมีเซลล์ที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีเซลล์อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า เซลล์เซอร์
โทริ (Sartori cells) ท าหน้าที่เป็นเซลล์พี่เลี้ยงให้กับสเปิร์ม และระหว่างที่สเปอร์มาทิดเจริญไปเป็นสเปิร์ม
เซลล์เหล่านี้ยังท าหน้าที่กินเศษซากส่วนที่เหลือของไซโทพลาสซึมของสเปอร์มาทิดโดยวิธีการฟาโกไซต์
(phagocyte)
นอกจากนั้นภายในอัณฑะยังมีเซลล์ที่เจริญอยู่ภายนอกท่อเซมินิเฟอรัส ทิวบูลเรียกว่า เซลล์เลย์
ดิก(Leydig cells) หรือเซลล์อินเตอร์สติเซียล(interstitial cells) เซลล์ชนิดนี่ท าหน้าที่เป็นที่ผลิตฮอร์โมน
เพศชาย ที่ส าคัญคือ เทสโทสเตอโรน (testosterone) และแอนโดรเจนชนิดอื่น ๆ(androgen)
ในเพศชาย สเปอร์มาโทโกเนียแบ่งเซลล์เพิ่มจ านวนตลอดวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งส่วนหนึ่งจะส ารองไว้
เพื่อทวีจ านวนต่อไป และอีกส่วนหนึ่งเจริญไปเป็นตัวอสุจิ ดังนั้นจึงสร้างอสุจิได้ตลอดอายุที่ร่างกายยัง
สมบูรณ์และฮอร์โมนเพศยังหลั่งตามปกติ ตัวอสุจิที่ถูกสร้างขึ้นในหลอดผลิตตัวอสุจิที่ขดม้วนอยู่ในพู
อัณฑะแล้วผ่านออกทางปลายหลอดที่ค่อนข้างตรง(tubules rectus) หลายอันซึ่งรวมกันเป็นเรที เททิส
(rete testis) ซึ่งยังเป็นโครงสร้างอยู่ภายในลูกอัณฑะ จากนั้นตัวอสุจิเคลื่อนที่เข้าสู่ท่อน า

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

ภาพที่ 7 โครงสร้างของสเปิร์ม และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc

อสุจิเล็ก ๆ (ductus efferent) แล้วรวมเข้าท่อน าอสุจิที่ซึ่งขดไปมา (dustups epididymis) และต่อไป
ยังท่อน าอสุจิใหญ่(ductus deferens) บริเวณส่วนท้ายของท่ออสุจิใหญ่จะขยายออกเป็นถุงที่เรียกว่า

เซมินัลเวสิเคิล (seminal vesicle) ถุงนี้สร้างน้ าเมือกส าหรับเป็นอาหารและให้ตัวอสุจิลอยตัวอยู่ ส่วน
ท้ายสุดของท่อในองคชาติ (penis) เรียกท่อฉีดน้ าอสุจิ (ejaculatory duct) มีกล้ามเนื้อแข็งแรง ดังนั้น
เมื่อหดตัวจะดันให้ตัวอสุจิและน้ าเมือกเรียกว่า น้ าอสุจิ (semen) ผ่านไปในท่อขององคชาต
(urethra)และออกสู่ภายนอกตรงปลายองคชาติ บริเวณท่อที่ตัวอสุจิผ่านไปก่อนถึงองคชาตจะมีต่อมต่าง
ๆเช่น ต่อมลูกหมาก (prostate gland) ต่อมคาวเปอร์ (Cowper’ gland)หรือต่อมบัลโบยูรีทรัล
(bulbourethral glands) เป็นต้น ท าหน้าที่สร้างน้ าเมือกส าหรับเป็นอาหารและให้ตัวอสุจิลอยอยู่
จะเห็นได้ว่าในระบบสืบพันธุ์เพศชายมีต่อมชนิดต่าง ๆท าหน้าที่หลั่งของเหลวเข้าร่วมกับสเปิร์ม
ได้เป็น semen ซึ่งในการหลั่งแต่ละครั้ง semen มีปริมาตรประมาณ 3.5 มิลลิลิตร และประกอบด้วย
สเปิร์มประมาณ 400 ล้านเซลล์ ต่อมต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่

1) ต่อมเซมินัลเวสิเคิล(seminal vesicle) มี 1 คู่ท าหน้าที่หลั่งของเหลวที่เป็นเมือก
เหนียว(mucus), กรดอะมิโน (amino acid),น้ าตาลฟรุตโตส (fructose) เป็นแหล่งสร้างพลังงานแก่เซลล์
สเปิร์ม นอกจากนี้ยังมีโพรสทาแกลนดินเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการหดตัวของท่อน าไข่เพื่อช่วยในการ
เคลื่อนที่ของสเปิร์ม จากการศึกษาพบว่าปริมาณของเหลวที่หลั่งออกมาจากต่อมนี้ประมาณ 60
เปอร์เซ็นต์ ของของเหลวในซีเมนทั้งหมด

2) ต่อมลูกหมาก(prostate gland) เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ 1 ต่อมล้อมรอบและเปิดเข้า
ท่อปัสสาวะ ต่อมนี้ท าหน้าที่หลั่งสารซึ่งประกอบด้วย เอนไซม์หลายชนิด และมีคุณสมบัติเป็นด่าง
(alkaline) อย่างอ่อนและของเหลวที่หลั่งจากต่อมนี้ท าให้ซีเมน มีสีขาวคล้ายน้ านม นอกจากนี้ยังท าให้
เกิดความเป็นกลางในท่อปัสสาวะชาย และช่องคลอดของเพศหญิง พยาธิสภาพที่มักเกิดกับต่อมนี้คือ
มะเร็งต่อมลูกหมากในชายวัย 50 ปีขึ้นไป สาเหตุไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน แต่มีความเข้าใจว่า
เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

 

ภาพที่ 8 แสดงต่อมต่าง ๆ ที่หลั่งสารซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำอสุจิ
ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc

3) ต่อมบัลโบยูรีทรัล (bulbourethral glands) มี 1 คู่ขนาดเล็กเชื่อมต่อกับส่วนของท่อ
ปัสสาวะบริเวณฐานของเพนิส หลั่งเมือกที่เป็นยางเหนียวออกมาก่อนการหลั่งของซีเมน หน้าที่เข้าใจว่าท า
ให้ท่อปัสสาวะ มีความเป็นกลางและหล่อลื่นส่วนปลายของเพนิส
ภาวะการเป็นหมันของเพศชายมีสาเหตุหลักอยู่ที่ปริมาณการผลิตสเปร์มออกมาต่ ากว่าระดับปกติ
เช่นชายมีสเปิร์มต่ ากว่า 35 ล้านเซลล์ต่อซีซี จัดว่าอยู่ในขั้นผิดปกติ ถ้าน้อยกว่า 30 ล้านเซลล์ต่อซีซี ถือว่า
เป็นหมัน
องคชาติ(penis) ท าหน้าที่ส่งสเปิร์มเข้าสู่อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง บริเวณส่วนปลายพองออก
เรียกว่า แกลนเพนิส (glands penis) ส่วนนี้มีหนังห่อหุ้ม (foreskin or prepuce)ภายในpenis
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่มีลักษณะยืดหยุ่น 3 มัดคลายตัวเรียกว่า คาร์เวอร์นัส(cavernous body) จ านวน
2 มัด และสปองจีบอดี (sponge body) จ านวน 1 มัด กล้ามเนื้อมัดนี้หุ้มที่ปัสสาวะไว้ เมื่อชายถูกกระตุ้น
ทางเพสจะมีกระแสประสาทเข้ามากระตุ้นให้เส้นเลือดในกล้ามเนื้อทั้ง 3 มัดคลายตัว เลือดจะไหลเข้าไป
คั่งในเส้นเลือด ท าให้กล้ามเนื้อขยายขนาดขึ้นได้
1.2 โครงสร้างของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง(female reproduction)
โครงสร้างของระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง มีความซับซ้อนกว่าของเพศชาย เพราะประกอบด้วยโครงสร้าง
ส าหรับสร้างเซลล์สืบพันธุ์หรือ เซลล์ไข่ (immature gamete) รองรับสเปิร์ม สร้างฮอร์โมนเพศและเป็นที่
ฝังตัวเพื่อการเจริญ และพัฒนาของตัวอ่อน โครงสร้างที่ท าหน้าที่ดังกล่าวได้แก่ รังไข่(ovaries) โครงสร้าง
นี้ท าหน้าที่สร้างฮอร์โมนและเซลล์สืบพันธุ์หรือไข่ กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ หรือไข่ (oogenesis)
เกิดขึ้นที่นี่

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

ภาพที่ 9 แสดงส่วนประกอบของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc
1.2.1 กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์หรือไข่ เริ่มจากเซลล์ที่จะเจริญไปเป็นเซลล์
สืบพันธุ์หรือเรียกว่า โอโอโกเนีย (oogonia) จากการศึกษาพบว่าโอโอโกเนียนี้มีในรังไข่ของทารกหญิง
ก่อนคลอดเป็นจ านวนมากและไปเป็นโอโอไซต์ ขั้นที่หนึ่ง (primary oocyte) เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดจะ

เจริญและพัฒนาเป็นโอโอไซต์ขั้นที่หนึ่ง ระยะโพรเฟส I (prophase I) และจะหยุดอยู่ในระยะนี้จนกระทั่ง
ทารกเพศหญิงเจริญเข้าสู่วัยรุ่น และวัยเจริญพันธุ์ โอโอไซต์ ขั้นที่หนึ่ง และเซลล์ที่ล้อมรอบเรียกว่า ฟอลลิ
เคิล(follicle) ฟอลลิเคิลบางส่วนจะเจริญและขยายขนาดขึ้น ทุก ๆ รอบของวงจรประจ าเดือน ขณะที่
ฟอลลิเคิลเจริญขึ้น โอโอไซต์ ขั้นที่หนึ่ง จะเข้าสู่การแบ่งเซลล์สืบพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเป็นไม
โอซิสขั้นแรก แต่เนื่องจากการแบ่งโอโอไซต์ ขั้นที่หนึ่งนี้มีการแบ่งไซโตพลา-สซึมไม่เท่ากัน ได้เซลล์ที่มี
ขนาดใหญ่เรียกโอโอไซต์ ขั้นที่สอง (secondary oocyte) และเซลล์ที่มีขนาดเล็ก เรียกว่า โพลาร์บอดี ที่

หนึ่ง (first polar body) โดยมากเมื่อมีการเจริญมาถึงขั้นนี้จะถึงระยะเวลาการตกไข่ (ovulation) เมื่อมี
การปฏิสนธิ โอโอไซต์ ขั้นที่สอง จะแบ่งเซลล์ระยะไมโอซีสขั้นที่สอง ต่อไปและให้ โพลาร์บอดี ที่สอง
(second polar body) และโอวูม (ovum) จะสังเกตว่ากระบวนการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ในแต่ละครั้ง ในแต่
ละโอโอไซต์ ขั้นที่หนึ่ง จะให้เซลล์ไข่ที่เจริญเต็มที่ ครั้งละเพียง 1 เซลล์นอกนั้นจะสลายไป

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

ภาพที่ 10 กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง
ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc

ในขณะที่โอโอไซต์ ขั้นที่หนึ่งเจริญและพัฒนานั้น โอโอไซต์จะเริ่มแยกจากกลุ่มเซลล์ที่ล้อมรอบหรือที่
เรียกว่า เซลล์ฟอลิคิวลาร์ (follicular cell) โดยมีชั้นโซนาเพลลูซิดา (zona pellucida) ซึ่งเป็นสาร
จ าพวกไกลโคโปรตีนห่อหุ้ม ขณะเดียวกันฟอลลิเคิลจะผลิตของเหลวเข้าสู่ช่องว่าง ที่เรียกว่า แอนทรัม
(antrum) ซึ่งอยู่ระหว่างเซลล์ที่ล้อมรอบและเซลล์ไข่ โดยปกติในแต่ละรอบเดือนจะมีเพียง 1 ฟอลลิเคิล
เท่านั้นที่เจริญถึงระยะไข่ตกได้ ส่วนอีกหลาย ๆ ฟอลลิเคิลจะฝ่อไป

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

ภาพที่ 11 แสดงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิงในรังไข่
ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc

ขณะที่ฟอลลิเคิลเข้าสู่ระยะมาทัว (mature) จะเคลื่อนที่เข้าใกล้ผนังรังไข่รูปร่างคล้ายถุงน้ า เซลล์ของฟอล
ลิเคิลจะหลังเอ็มไซม์โพทิโอไลติก ( proteolytic enzyme) ย่อยผนังรังไข่ท าให้ โอโอไซต์ ขั้นที่สอง ผ่าน
ผนังรังไข่ออกเข้าสู่ช่องท้อง ฟอลลิเคิลที่เหลืออยู่ในรังไข่จะเจริญและพัฒนาเป็นคอร์พัสลูเทียม (corpus
luteum)

ฮอร์โมน FSH เป็นตัวกระตุ้นให้ฟอลลิเคิลเจริญและขยายขนาดขึ้นได้ และเมื่อฟอลลิเคิล
เจริญขึ้นจะสร้างและหลั่งฮอร์โมน เอสโทรเจน (estrogen) ส่วนคอร์พัสลูเทียมสร้างและหลั่งเอสโทรเจน
(estrogen) และโพรเจสเทอโรน (progesterone) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมลักษณะขั้นที่สองของเพศหญิง
ได้แก่ การมีเสียงแหลม นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการเจริญของมดลูก การมีประจำเดือน

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

 

ภาพที่ 12 ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc

ท่อนำไข่ (Fallopian tube หรือ uterine tube) เป็นโครงสร้างที่ส าคัญอีกโครงสร้างหนึ่ง ภายในท่อ
ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ และ ซิเลีย (cilia) ช่วยในการเคลื่อนที่ของไข่ และบริเวณท่อน าไข่ส่วนต้นเป็น
ต าแหน่งส าคัญคือบริเวณที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น และถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ไข่จะสลายไปในที่สุด
ในกรณีที่ท่อน าไข่เคยติดเชื้อมาก่อนแล้วบริเวณนั้นกลายเป็นแผลเป็น ส่วนนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการ
เคลื่อนที่ของไข่ ท าให้เกิดการท้องนอกมดลูกขึ้นได้ หรือสตรีที่มีการอุดตันของท่อน าไข่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของ
การเป็นหมันได้
มดลูก (uterus) เป็นโครงสร้างที่มีรูปร่างเหมือนลูกชมพู่หัวคว่ าลง ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร กว้าง
ประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหนา ด้านในถูกบุด้วยเยื้อบุมดลูกชั้นใน หรือที่เรียกว่า
ชั้นเอนโดมีเทรียม (endometrium) ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ แต่ละเดือนผนังมดลูกชั้นในจะถูกกระตุ้นให้เจริญ
และเพิ่มความหนาเพื่อรองรับการฝังตัวของเอมบริโอ (embryo) ในกรณีที่โอโอไซต์ขั้นที่สองได้รับการผสม
จะได้ไซโกต ไซโกตจะเคลื่อนที่เข้ามาฝังตัวที่ผนังมดลูกที่ชั้นเอนโดมีเทรียม เพื่อเจริญเติบโตและพัฒนา
รูปร่าง อวัยวะโดยอาศัยอาหารและออกซิเจนจากรก (placenta) แต่ถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นเอนโดมีเทรี
ยมจะหลุดลอกออกมาปนกับเลือดกลายเป็นประจ าเดือน

พยาธิสภาพที่เกิดกับมดลูกของสตรีวัยเจริญพันธุ์ คือ เอ็นโดเมไทรโอซิส

(endometriosis) เป็นอาการปวดประจ าเดือน สาเหตุเกิดจากเนื้อเยื่อบางส่วนของผนังมดลูกชั้น เอนโด
มีเทรียม เคลื่อนไปเกาะกับผนังรังไข่ ท่อน า ท่อน าไข่ ผนังช่องท้อง ซึ่งอาจจะกดทับบริเวณที่เป็นปลาย
ประสาท เมื่อถึงเวลามีประจ าเดือน ผนังมดลูกส่วนนี้จะหลุดออก พร้อมกับกระตุ้นปลายประสาทบริเวณที่

กดทับอยู่ท าให้เกิดอาการปวดประจ าเดือนขึ้น ความผิดปกติอันนี้น าไปสู่ภาวะการมีบุตรยาก นอกจากนั้น
พยาธิสภาพที่เกิดกับมดลูกได้แก่ มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer) เป็นต้น

ช่องคลอด (vagina) เป็นท่อกล้ามเนื้อยืดหยุ่น เชื่อมต่อระหว่างมดลูกและระบบสืบพันธุ์

ด้านนอก ท าหน้าที่รองรับสเปิร์มและคลอดทารก

วูลวา (vulva) เป็นโครงสร้างด้านนอกของระบบสืบพันธุ์ประกอบด้วย แคมเล็ก (labia
minora) แคมใหญ่ (laid majora) หน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบสืบพันธุ์ ต่อมคลิทอริส
(clitoris)(ในภาษาไทยเรียกว่า เม็ดละมุด) เป็นส่วนที่ถูกกระตุ้นได้ง่ายเมื่อมีการเร้าทางเพศนอกจากนั้นจะ
มีส่วนที่นูนขึ้น (mons pubis) และเยื่อบาง ๆ ปิดอยู่บริเวณปากช่องคลอด เรียกว่าเยื่อพรหมจารีย์
(hymen)

เต้านม (Breasts) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยต่อมส าหรับสร้างน้ านมขนาดเล็กเป็น
จ านวนมากท าหน้าที่สร้างน้ านมเลี้ยงทารก ต่อมเหล่านี้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนคล้ายพวงองุ่น เรียกว่า อัล
วิโอไล (alveoli) น้ านมที่สร้างแล้วจะถูกขับออกมาจากแหล่งสร้างมายังหัวนมโดยผ่านมาตามท่อขนาด
เล็กและที่ส าคัญคือมีฮอร์โมนอย่างน้อย 4 ชนิดท าหน้าที่เกี่ยวกับการเจริญของต่อมน้ านม กระตุ้นการผลิต
และการหลั่งน้ านม ในระหว่างที่แม่ตั้งครรภ์คอร์พัสลูเทียมจะสร้างฮอร์โมน เอสโทรเจน และ โพรเจสเทอ
โรน ในปริมาณมาก ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ ท าหน้าที่กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ านม ในช่วงการคลอดบุตร
ใหม่ๆ ต่อมน้ านมจะผลิตน้ านมที่เรียกว่า คอรัสตรุม (colostrum) ออกมา น้ านมชนิดนี้ประกอบด้วย
โปรตีนและน้ าตาลแลกโตสในปริมาณสูง มีไขมันน้อย โดยมีฮอร์โมน โพรแลกติน (prolactin) กระตุ้นการ
ผลิตน้ านมและเมื่อทารกดูดนมจะมีผลกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหลั่งให้หลังฮอร์โมนออกซิโทซิน
(oxytocin) ออกมา และท าหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำนม

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

ภาพที่ 13 แสดงส่วนประกอบของเต้านม

ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc
การเลี้ยงบุตรด้วยน้ านมจะส่งเสริมให้มดลูกเข้าอู่ไวขึ้นเพราะออกซีโทซินที่หลั่งออกมา
ระหว่างการดูดนมจะกระตุ้นให้มดลูกเกิดการหดตัวเข้าสู่สภาพเดิม นอกจากนั้นบุตรที่ดื่มน้ านมมารดาจะมี
สุขภาพดี เพราะในน้ านมมีสารที่จ าเป็นต่อร่างกาย มีแอนติบอดี เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริม
ความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและบุตรให้มีความใกล้ชิดกัน
1.2.2 การท างานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง (hormone regulates reproduction)
ฮอร์โมนควบคุมการท างานในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงมีความซับซ้อนกว่าที่เกิดในเพศชาย ประกอบด้วย

ฮอร์โมนที่ส าคัญอย่างน้อย 5 ชนิด ที่ท าหน้าที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันในวงจรประจ าเดือนและวงจรไข่
(ovarian cycle) กลไกการท างานของฮอร์โมนแบ่งออกเป็น 2 แบบคือกลไกสนองกลับแบบกระตุ้นและ
กลไกสนองกลับแบบยับยั้ง การท างานที่ประสานกันของฮอร์โมน คือ ในแต่ละเดือนขณะที่มีการ
เจริญเติบโตของฟอลลิเคิลและตกไข่นั้น ส่วนของผนังมดลูกได้มีการเตรียมพร้อมส าหรับการฝังตัวของ
เอ็มบริโอไปพร้อมกัน

เอสโทรเจน ท าหน้าที่กระตุ้นการเจริญของระบบสืบพันธุ์ เมื่อเพศหญิงย่างเข้าสู่วัยรุ่น
การเจริญเติบโตของร่างกายและควบคุมลักษณะทางเพศขั้นที่ 2 ได้แก่การขยายของเต้านม กระดูกเชิง
กราน การเจริญและพัฒนากล้ามเนื้อและการสะสมไขมันใต้ผิวหนัง

การมีประจ าเดือนของเพศหญิงเริ่มตั้งแต่ย่างเข้าสู่วัยรุ่น จนถึงวัยอายุประมาณ 50 ปี
วงจรประจ าเดือนเกิดทุก ๆ 28 วัน วันแรกของวงจรคือวันที่มีประจ าเดือนไหลออกมาจากช่องคลอด ส่วน
การตกไข่จะเริ่มจากวันที่ 14 ของวงจรประจ าเดือน โดยฮอร์โมนจากไฮโพทาลามัส ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
และจากรังไข่ จะท าหน้าที่ควบคุมวงจรประจ าเดือนและเกิดขนานไปกับวงจรไข่
1.2.3 วงจรประจ าเดือนและวงจรไข่
วงจรประจ าเดือน ที่เกิดกับผู้หญิงจะแตกต่างกันในแต่ละคน โดยปกติจะอยู่ระหว่าง 20

– 40 วัน หรือเฉลี่ยประมาณ 28 วัน ประกอบด้วยระยะต่างๆ ดังนี้

1) เมนสทรอล โฟล เฟส (menstrual flow phase) ใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วัน เป็น
ระยะการหลุดลอกของผนังมดลูกชั้นในที่เคยหนาตัวปนมากับเลือด กลายเป็นเลือดประจ าเดือน วันแรก
ของระยะการหลุดลอกของวงจร และพบว่ามีการหลังฮอร์โมน GnRH เพื่อไปกระตุ้นการหลั่ง FSH และ
LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า FSH ท าหน้าที่กระตุ้นการเจริญของฟอลลิเคิลในรังไข่ กระตุ้นให้เกิดการ
ถอดรหัสของจีนบนฟอลลิคิวลาร์เซลล์ให้ท าหน้าที่สังเคราะห์เอสโทรเจน

2) โพรลิฟเฟอเรทีฟ เฟส (proliferative phase) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระยะก่อน
การตกไข่ (preovulatory phase) นับเวลาได้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เป็นระยะหนาตัวของผนังมดลูก
ชั้นเอนโดมีเทรียมก่อนไข่ตก เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโทรเจนได้กระตุ้นการเจริญของเส้นเลือด
และต่อมต่าง ๆ บนผนังชั้นเอนโดมีเทรียม

3) ซีครีทอริเฟส (secretory phase) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระยะหลังตกไข่
(postovulatory phase) นับเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ พบว่าผนังมดลูกชั้นเอนโดมีเทรียมมีความหนา
เพิ่มขึ้นจากที่มีเส้นเลือดมากขึ้นและต่อมต่าง ๆได้หลั่งสารอาหารเพิ่มขึ้นและพร้อมในการรองรับการฝังตัว
ของตัวอ่อน ถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ผนังมดลูกชั้นที่หน้าขึ้นนี้จะหลุดลอกออกมาปนกับเลือดกลายเป็น
ประจ าเดือน เข้าสู่การเริ่มต้นของรอบประจ าเดือนครั้งใหม่ต่อไป ฮอร์โมนที่เป็นตัวกระตุ้นการเจริญของ
ผนังชั้นเอนโดมีเทรียมคือ เอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน โดยฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนเป็นตัวกระตุ้นต่อม
ในผนังมดลูกให้หลั่งสารอาหารปนออกมากับเมือก

วงจรรังไข่ เป็นวงจรการเจริญของไข่และฟอลลิเคิลภายในวงจร แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

คือ

1) ฟอลลิคิวลาร์ เฟส (follicular phase) เป็นระยะที่ฟอลลิเคิลเจริญขึ้นพร้อมกันหลาย
ฟอลลิเคิลทั้งเซลล์ไข่และเซลล์ที่อยู่ล้อมรอบหรือฟอลลิคิวลาร์เซลล์ได้แบ่งเซลล์เพิ่มจ านวนชั้นมากขึ้น

พร้อมกันนั้นได้หลั่งฮอร์โมนเอสโทรเจนออกมา และพบว่าฮอร์โมน FSH กระตุ้นการเจริญของฟอลลิเคิล
ในระยะแรก ต่อมาเมื่อฟอลลิเคิลเจิรญมากขึ้นปริมาณฮอร์โมนเอสโทรเจนได้หลั่งออกมามากที่สุดใน
ขณะที่ประมาณของฮอร์โมนเพิ่มขึ้นจะย้อนขึ้นไปกระตุ้นให้เพิ่มการหลั่งฮอร์โมน LH ในแบบที่เรียกว่า
LH-surge เราเรียกว่าเป็นกลไกสนองกลับแบบกระตุ้น (positive feedback mechanism) จากนั้นทั้ง
FSH และLH ได้ร่วมกันกระตุ้นการเจริญของฟอลลิเคิลจนเข้าสู่ระยะ กราเฟียลฟอลลิเคิล (Graafian
follicle)

2) โอวูเลชัน เฟส (ovulation phase) หรือเรียกว่าระยะตกไข่ การตกไข่เกิดขึ้นในราว
วันที่ 14 ของวงจรประจ าเดือนเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมน LH ที่หลั่งออกมาในปริมาณที่มากพอซึ่ง
ฮอร์โมน LH เองได้ถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมน GnRH และ เอสโทรเจนอีกทางหนึ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
3) ลูเทียล เฟส (luteal phase) เป็นระยะที่ฟอลลิเคิลที่เหลืออยู่ในรังไข่เจริญเป็น คอร์
พัสลูเทียม โดยมีฮอร์โมน LH เป็นตัวกระตุ้นและรักษาสภาพไว้ จากนั้นคอร์พัสลูเทียมท าหน้าที่สร้างและ
หลั่งฮอร์โมนเพศทั้ง 2 ชนิด คือ โพรเจสเทอโรน และเอสโทรเจน ฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้นอกจากท าหน้าที่
กระตุ้นการเจริญของผนังมดลูกชั้นเอนโดมีเทรียมแล้ว ทั้งเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนที่หลังออกมาใน
ปริมาณที่มากขึ้นจะย้อนขึ้นไปยับยั้งการหลั่ง ฮอร์โมน GnRH , FSH และ LH เราเรียกว่าเป็นกลไกสนอง
กลับแบบยับยั้ง (negative feedback mechanism) มีผลท าให้ LH ลดลง ในกรณีที่ไม่มีการตั้งครรภ์
คอร์พัสลูเทียมจะฝ่อไปและหยุดการสร้างฮอร์โมนเพศทั้งสองชนิด เส้นเลือดในชั้นเอนโดมีเทรียมที่เจริญ
ขึ้นจึงถูกท าลายและแตกไป เซลล์ที่เจริญขึ้นมาจะเสื่อมสลายกลายเป็นประจ าเดือน นับเป็นการเริ่มต้น
ของรอบประจ าเดือนและวงจรสร้างเซลล์สืบพันธุ์ครั้งใหม่ต่อไป
การคุมก าเนิด (contraception)
การคุมก าเนิดเป็นวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ส าหรับหญิงที่ไม่พร้อมจะมีบุตร การคุมก าเนิดมีหลายวิธี
ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ๆ คือ การป้องกันการเกิดปฏิสนธิ (prevent
sperm and egg from meeting) การป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อน (prevent implantation) และการ
ยับยั้งการตกไข่และสเปิร์ม (prevent release of gamete)
1. การป้องกันการปฏิสนธิ (prevent sperm and egg from meeting)
1.1 การคุมก าเนิดแบบนับวัน (rhythm method) เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
ในช่วงไข่ตก จากการศึกษาพบว่าไข่ที่ตกออกมาสามารถมีชีวิตอยู่ในท่อน าไข่ได้นาน 24 ถึง 48 ชั่วโมง
ส่วนสเปิร์มอยู่ในท่อน าไข่ได้นานถึง 72 ชั่วโมง ดังนั้นการคุมก าเนิดโดยวิธีนี้จึงควรหลีกเลี่ยงการมี
เพศสัมพันธ์ในช่วง 7 วันก่อนและหลังไข่ตก ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดด้วยวิธีการ

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

ภาพที่ 14 แสดงระดับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงในแต่ละรอบเดือน
ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc

นี้ต้องใช้ควบคู่ไปกับความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของเมือกใน
ช่องคลอด เป็นต้น อัตราการตั้งครรภ์จากการคุมก าเนิดแบบนับวัน คือ 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
1.2 การใช้ถุงยางอนามัย (condoms method) เป็นกลไกคุมก าเนิดที่ใช้กับฝ่ายชายเป็นวิธี
ป้องกันสเปิร์มเข้าไปในระยะสืบพันธุ์ของเพศหญิงข้อดีของวิธีการใช้ถุงยางอนามัยนอกจากใช้คุมก าเนิด
แล้วและวิธีนี้ยังสามารถป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

1.3 การใช้ไดอะแฟรม (diaphragm) เป็นวิธีการคุมก าเนิดโดยใช้ฝาครอบปากมดลูก เพื่อ
ป้องกันการเข้าไปปฏิสนธิของสเปิร์ม การคุมก าเนิดโดยวิธีนี้ก่อนใช้มักจะทาครีมลงบนไดอะแฟรมเพื่อฆ่า
สเปิร์ม อัตราการตั้งครรภ์โดยวิธีการใช้ถุงยางอนามัยและการใช้ไดอะแฟรม น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
1.4 การหลั่งภายนอก (withdrawal method) วิธีคุมก าเนิดโดยฝ่ายชายจะหลั่งซีเมนภาน
นอกระบบสืบพันธุ์เพศหญิง การคุมก าเนิดด้วยวิธีนี้พบว่าโอกาสในการตั้งครรภ์มีสูงถึง 22
เปอร์เซ็นต์
1.5 การท าหมันถาวร (sterilization) การคุมก าเนิดแบบถาวร เป็นวิธีการคุมก าเนิดที่นิยม
อย่างแพร่หลายในสตรีที่มีอายุเกิน 30 ปี อัตราการตั้งครรภ์ 0.15 เปอร์เซ็นต์ การคุมก าเนิดแบบถาวรมี 2
ประเภท
1.5.1 การท าหมันหญิง (tubal ligation) โดยการตัดท่อน าไข่ แล้วผูกปลายแต่ละส่วนที่
ตัดออก วิธีนี้เพศหญิง 1 ใน 4 เลือกใช้

1.5.2 การท าหมันชาย (vasectomy) โดยการตัดท่อน าสเปิร์มหรือวาสดิเฟรนส์ แล้วผูก
ปลายแต่ละส่วนที่ถูกตัดออกเพื่อยับยั้งการเคลื่อนที่ของสเปิร์มมออกนอกร่างกาย ไม่มีผลข้างเคียงเกิดขึ้น
การผลิตสเปิร์มปกติ แต่อาจช้าลงและถูกเซลล์เม็ดเลือดขาวจับกิน ส่วนของปริมาณซีเมนต์ผลิตได้ใน
ปริมาณปกติ การผ่าตัดกลับคืนสู่สภาพเดิมพบว่าประสบความส าเร็จ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่ในการท าหมันเกิน
10 ปีขึ้นไป โอกาสจะกลายเป็นหมันสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพราะการพัฒนาแอนติบอดีในร่างกายที่
เข้าท าลายสเปิร์มของตนเอง

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

ภาพที่ 15 การทำหมันชาย

ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc

2. การป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อน (prevent implantation)
เป็นวิธีการคุมก าเนิดโดยวิธีการใส่ห่วง (intrauterine device หรือ IUD) ซึ่งเป็นพลาสติกรูป
กลมหรือโค้งขนาดเล็ก สอดเข้าไปในมดลูกโดยแพทย์ผู้ช านาญ การใส่ครั้งหนึ่งอาจทิ้งไว้ได้นานถึง 10 ปี
หรือจนต้องการมีบุตร วิธีการคุมก าเนิดแบบนี้มีประสิทธิภาพถึง 90 เปอร์เซ็นต์ กลไกการท างานของ
วิธีการนี้ยังไม่สามารถระบุได้ชัด แต่พบว่าร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวออกมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ข้อเสีย

ของการคุมก าเนิดแบบใส่ห่วงคือ เลือดไหลกระปิดกระปอยและเป็นลิ่ม เสี่ยงต่อการอักเสบของมดลูก
ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมใช้

3. การยับยั้งการตกไข่และสเปิร์ม (prevent release of gamete)
เป็นการคุมก าเนิดโดยการใช้ฮอร์โมน เป็นการป้องกันการตกไข่ มีหลายประเภทให้เลือกใช้
เช่น รับประทานยาคุมก าเนิด (oral pill) การฉีดยาคุมก าเนิด (DMPA หรือ Depo-Provera) การฝัง
แคปซูลใต้ผิวหนัง (Norplant)
3.1 รับประทานยาเม็ดคุมก าเนิด เป็นการป้องกันการตกไข่ จากการส ารวจพบว่า 80
เปอร์เซ็นต์ที่สตรีทั่วโลกนิยมใช้ ยาเม็ดคุมก าเนิดเป็นยาที่ประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนโพ
รเจสติน (โพรเจสเทอโรนสังเคราะห์) และเอสโทรเจน(เอสโทรเจนสังเคราะห์) ซึ่งมีผลไปยับยั้งการหลั่ง LH
และ FSH วิธีการใช้ คือรับประทานครั้งละ 1 เม็ดเป็นเวลา 3 สัปดาห์แล้วหยุด สัปดาห์ต่อไปจะเว้นการ
รับประทาน แต่บางบริษัทจะให้รับประทานน้ าตาลหรือวิตามินอัดเม็ดโดยไม่มีการเว้น หลังจากนั้นเมื่อ
ขาดฮอร์โมนประจ าเดือนจะไหล พบว่าเมื่อใช้อย่างถูกวิธีการคุมก าเนิดด้วยวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพสูงถึง
99.7 เปอร์เซ็นต์

จากการศึกษาพบว่าการใช้ยาคุมก าเนิดที่ใช้โดสต่ า พบว่าเป็นผลดีต่อสตรีที่ไม่สูบบุหรี่จน
เข้าสู่วัยทอง แต่สตรีที่มีอายุเลย 35 ปีขึ้นไปที่มีพฤติกรรมในการสูบบุหรี่หรือมีความดันโลหิตสูง การใช้ยา
คุมก าเนิดจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
3.2 การคุมก าเนิดแบบฉุกเฉิน (emergency contraception) ยาเม็ดคุมก าเนิดแบบฉุกเฉินนี้
เป็นยาที่ใช้หลังการมีเพศสัมพันธ์ ภายใน 72 ชั่วโมง แพทย์ให้ใช้ส าหรับสตรีที่ถูกข่มขืนและกรณีอื่นๆ ที่ไม่
สามารถป้องกันได้ในขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ ยาที่ใช้ต้องมีความเข้มข้น(dose)ที่สูงมากและไปมีผลท าให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงในผนังมดลูกชั้นเอนโดมีเทรียม มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75
เปอร์เซ็นต์ และพบว่าถ้าใส่ห่วงเข้าไปเสริมทันในสัปดาห์แรก มีประสิทธิภาพถึง 95 เปอร์เซ็นต์ การ
คุมก าเนิดด้วยวิธีการนี้ไม่จัดเป็นการท าแท้ง เพราะถ้าการคุมก าเนิดไม่ได้ผลและเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นทารก
จะไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด
3.3 การฉีดยาคุมก าเนิด เป็นการป้องกันการตกไข่ได้อีกวิธีหนึ่ง เป็นการฉีดฮอร์โมน โพ
รเจสติน ฮอร์โมนนี้ออกฤทธิ์โดยกดการท างานของต่อมใต้สมองส่วนหน้า วิธีใช้ คือฉีดเข้ากล้ามเนื้อของ
สตรีที่ต้องการคุมก าเนิดทุก ๆ 3 เดือน
3.4 การฝังแคปซูลเข้าใต้ผิวหนัง เป็นการฝังฮอร์โมนโพรเจสตินที่เป็นแคปซูลบริเวณใต้
ท้องแขนฮอร์โมนนี้จะถูกปล่อยออกจากแคปซูลแต่น้อย ๆ อย่างต่อเนื่องในกระแสเลือด ไปมีผลยับยั้งการ
ตกไข่และกระตุ้นการหลั่งเมือกเหนียวในช่องคลอด การฝังแคปซูลนี้จะอยู่ได้ 5 ปีแต่มีผลข้างเคียงส าหรับ
ผู้ใช้ คือ การมีประจ าเดือนกระปิดกระปอยอาจนานถึง 1 ปี
4. การแท้ง (abortion) หมายถึง ภาวะสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนถึงก าหนดคลอดตามปกติ
เนื่องจากการตายของตัวอ่อนหรือทารก จากการส ารวจทั่วโลกพบว่าแต่ละปีมีการท าแท้งบุตรเกิดขึ้น 40
ล้านคน การท าแท้งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

4.1 การแท้งเอง (spontaneous abortion) การแท้งแบบนี้เกิดจากความผิดปกติของ ตัว
อ่อนเองพบประมาณ 1 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์
4.2 การท าแท้งเพื่อการรักษา (therapeutic abortion) เป็นวิธีการท าแท้งเพื่อรักษาชีวิตของ
แม่ที่มีปัญหาด้านสุขภาพทางกายหรือจิตใจ หรือเมื่อพบความผิดปกติของตัวอ่อน
4.3 การท าแท้งเพื่อการคุมก าเนิด ซึ่งเป็นการท าแท้งที่ใช้แตกต่างกันตามอายุทารก เช่น ช่วง 3
เดือนแรก อาจใช้วิธีการดูดออก หลังจาก 3 เดือนขึ้นไปอาจใช้วิธีการถ่างขยายปากมดลูกและดูดออก เป็น
ต้น

องค์ประกอบ ของระบบ สืบพันธุ์

ภาพที่ 16 อุปกรณ์คุมก าเนิดรูปแบบต่าง ๆ

ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~panom/Bio40145/reproduction.doc

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...