เปรียบเทียบ ค่าธรรมเนียม ซื้อขายหุ้น Pantip

2022-10-21T00:37:56

เปรียบเทียบ ค่าธรรมเนียม ซื้อขายหุ้น Pantip
เปรียบเทียบ ค่าธรรมเนียม ซื้อขายหุ้น Pantip

<&amp;amp;gt; &amp;amp;lt;/&amp;amp;gt; &amp;lt;script&amp;gt;&amp;lt;/script&amp;gt; &amp;lt;script type="text/javascript"&amp;gt;&amp;lt;/script&amp;gt; &amp;lt;script&amp;gt;&amp;lt;/script&amp;gt; &amp;lt;script&amp;gt;&amp;lt;/script&amp;gt; &amp;lt;script&amp;gt;&amp;lt;/script&amp;gt; &amp;lt;script&amp;gt;&amp;lt;/script&amp;gt; &amp;lt;script&amp;gt;&amp;lt;/script&amp;gt; &amp;lt;script&amp;gt; /*investor relation menu*/ $(function () { showUpdate(); setTimeout(function (){ if ((window.location.pathname.split('/')[2]) == "investor-relation"){ showUpdate(".ir-menu a.ir-link"); } }, 600); }); var showUpdate = function (targetDom) { var list = [3,5,6,7,11]; list.forEach(insertImg); for (let val of list) { insertImg(val,targetDom); } }, insertImg = function (value, targetDom) { var target = targetDom || "#nav-tog6 ul a"; $(target).eq(value).addClass("update"); }; &amp;lt;/script&amp;gt; &amp;lt;script&amp;gt; $(".hover-menu").on('click', function () { $(".dropdown-search").removeClass("d-flex"); $("#search-active").removeClass("active"); }); if ($(window).width() &amp;lt; 769) { $( "#mb-search" ).append( $( ".dropdown-search" ) ); $( ".dropdown-search" ).addClass("d-flex"); $(".switch , .icon-close").on('click', function () { $(".switch").toggleClass("push"); $( "#mb-search" ).toggleClass("mb-active"); $( "#mb-search" ).toggleClass("d-none"); $(".dropdown-menu").toggleClass("s-bg") }); }else{ $("#search-active , .icon-close").click(function () { $("#search-active").toggleClass("active"); $(".dropdown-search").toggleClass("d-flex"); }); } //scroll to top btn $("#scroll-btn").click(function () { window.scrollTo({ top: 0, behavior: 'smooth' }); }); $('#scroll-btn').fadeOut(1); $(window).on("scroll", function () { if ($(this).scrollTop() &amp;gt; 50) { $('#scroll-btn').fadeIn(400); } else { $('#scroll-btn').fadeOut(400); } }); &amp;lt;/script&amp;gt; &amp;lt;script async type="text/javascript"&amp;gt;&amp;lt;/script&amp;gt; &amp;lt;/body&amp;gt; &amp;lt;/html&amp;gt;&lt;/body&gt;&lt;/html&gt;</body></html>

ในปัจจุบันนี้การลงทุนผ่านกองทุนรวม คือนับว่าเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้จัดการกองทุนช่วยบริหารการลงทุนให้ มีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย ทำให้เราสามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ง่ายและดีขึ้น ใช้เงินลงทุนน้อย เพียงหลักพันก็ทำให้คุณสามารถลงทุนในกองทุนรวมได้ การลงทุนในกองทุนรวมบางประเภททำให้เราได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี  นอกจากนี้ การลงทุนผ่านกองทุนรวมยังอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ซึ่งเป็นองค์กรของภาครัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแล เพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนอยู่ภายใต้กรอบการทำงานที่ถูกต้องและช่วยปกป้องผลประโยชน์สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนอีกด้วย


เมื่อคิดจะลงทุนในกองทุนรวม สิ่งสำคัญที่สุดก่อนการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม คือ การทำความเข้าใจกองทุนรวมที่เราจะลงทุนให้ดีเสียก่อน โดยเราสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนรวมได้จาก “Fund Fact Sheet” หรือ “หนังสือชี้ชวน” ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนของแต่ละกองทุนรวมจัดทำขึ้น 

เปรียบเทียบ ค่าธรรมเนียม ซื้อขายหุ้น Pantip

โดยที่ Fund Fact Sheet ของกองทุนรวม คือ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุนรวม หรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ หนังสือที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน ลักษณะผลตอบแทน ความเสี่ยง และเงื่อนไขต่างๆ ของกองทุนรวม ซึ่งเป็นข้อมูลโดยย่อเพื่อให้ผู้ที่สนใจลงทุนในกองทุนรวมได้ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน แต่ถ้าต้องการศึกษาข้อมูลลงในรายละเอียดของกองทุนรวมมากขึ้น สามารถศึกษาได้ที่หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนแบบฉบับเต็ม ซึ่งนักลงทุนสามารถขอได้จากตัวแทนขายหน่วยลงทุน หรือสามารถเข้าไป Download เอกสารโดยตรงบนเว็บไซต์ของ บลจ. แต่ละแห่งได้

นักลงทุนควรทำความเข้าใจใน 7 เรื่องหลักๆ ที่แสดงอยู่ใน Fund Fact Sheet ดังนี้


1. คุณกำลังจะลงทุนในอะไร เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจว่ากองทุนนี้คือกองทุนอะไร ประเภทใด มีนโยบายการลงทุนและกลยุทธ์การบริหารกองทุนเป็นแบบใด เพื่อทำให้นักลงทุนพิจารณาข้อมูลของการลงทุนได้ง่ายขึ้น


2. กองทุนนี้เหมาะกับใคร ข้อมูลในส่วนนี้จะบอกว่ากองทุนรวมนี้ คือกองทุนที่  “เหมาะกับใคร” และ “ไม่เหมาะกับใคร” เพื่อให้นักลงทุนตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่ากองทุนรวมนี้เหมาะสมกับความต้องการของตนเองหรือไม่


3. คุณต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ เป็นการบอกถึงปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นจากการลงทุน และระดับความเสี่ยงของกองทุนรวม (กองทุนรวมทุกประเภทจะระบุระดับความเสี่ยงไว้เป็นสเกลตั้งแต่ 1 ถึง 8 โดยที่ความเสี่ยงระดับ 1 มีความเสี่ยงต่ำ และความเสี่ยงระดับ 8 มีความเสี่ยงสูง)  เพื่อให้รู้ว่ามีความเสี่ยงใดบ้างที่นักลงทุนต้องระมัดระวัง และการลงทุนนี้เหมาะกับนักลงทุนหรือไม่ โดยให้เปรียบเทียบระดับความเสี่ยงของกองทุนรวมกับระดับความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนจากการทำแบบประเมินความเสี่ยง เช่น หากระดับความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนอยู่ที่ระดับ 5 การลงทุนในกองทุนรวมที่มีระดับความเสี่ยงของกองทุนมากกว่า 5 ขึ้นไปแปลว่า นักลงทุนลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงเกินกว่าความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนเอง


4. สัดส่วนของสินทรัพย์ที่ลงทุน เป็นการแสดงรายละเอียดของกองทุนรวมนั้นๆ ว่าลงทุนในตราสารใดบ้าง และมีสัดส่วนการลงทุนของแต่ละตราสารอยู่ร้อยละเท่าไร หากเป็นการลงทุนในหุ้น จะบอกลักษณะหุ้นที่เลือกลงทุน รวมถึงการให้รายละเอียดหุ้นที่ลงทุน 5 อันดับแรก

เปรียบเทียบ ค่าธรรมเนียม ซื้อขายหุ้น Pantip

5. ค่าธรรมเนียม เป็นการบอกค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการบริหารกองทุน ซึ่งทำให้เราสามารถเปรียบเทียบกับผลตอบแทนคาดหวังที่คาดว่าจะได้จากการลงทุนในกองทุนรวมนี้ และสามารถนำไปเปรียบเทียบกับกองทุนที่ลงทุนในตราสารประเภทเดียวกัน แต่ต่าง บลจ. กันว่า มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการบริหารกองทุนถูกแพงต่างกันอย่างไร เป็นต้น ซึ่งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมแบ่งเป็น 2  ประเภท คือ

  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากนักลงทุนโดยตรง เป็นค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการส่งคำสั่งเพื่อทำรายการต่างๆ ของผู้ลงทุนแต่ละราย เช่น ค่าธรรมเนียมจากการขายหน่วยลงทุน (Front-end-fee) ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้จะถูกบวกเข้าไปกับมูลค่าหน่วยลงทุนเมื่อซื้อหน่วยลงทุน และ ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (Back-end-fee) เป็นค่าธรรมเนียมที่ถูกเรียกเก็บเมื่อคุณขายหน่วยลงทุนคืนให้ บลจ. โดยคุณจะถูกหักจากเงินที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุน
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากตัวกองทุนรวม หรือที่เรียกว่า Total Expense Ratio จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุนรวม ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเป็นภาระทางอ้อมที่ผู้ลงทุนต้องแบกรับอยู่ด้วย เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่ บลจ. เรียกเก็บจากการบริหารเงินลงทุนของกองทุนให้คุณ ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมเรียกเก็บจากกองทุนรวม นอกจากนี้ ยังอาจมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีกเช่น ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ค่านายทะเบียนหน่วยลงทุน ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์กองทุน ค่าผู้สอบบัญชี ค่าใช้จ่ายในการจัดทำและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน เป็นต้น


6. ผลการดำเนินงาน
เป็นส่วนที่แสดงผลการดำเนินงานย้อนหลังที่ผ่านมาของกองทุนรวมเทียบกับดัชนีชี้วัด ซึ่งจะแสดงในรูปผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน, 6 เดือนม 1 ปี, 3 ปี และตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ทั้งนี้ในการเปรียบเทียบกองทุนรวมว่ากองทุนรวมกองไหนมีผลการดำเนินงานที่ผ่านมาดีกว่า ต้องเทียบกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนแบบเดียวกัน และช่วงเวลาเดียวกัน โดยใน Fund Fact Sheet จะบอกวันที่คำนวณผลตอบแทนย้อนหลังเอาไว้ และอย่าลืมว่าผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

7. ข้อมูลอื่นๆ รายการที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการลงทุนที่ควรรู้ เช่น นโยบายการจ่ายเงินปันผล การทำรายการซื้อ ขาย สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน รายชื่อผู้จัดการกองทุน และข้อมูลเพื่อติดต่อสอบถาม เป็นต้น

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากที่จะทำความเข้าใจอีกต่อไป ถ้านักลงทุนมีแอปพลิเคชันที่ EASY INVEST จากบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ ตัวช่วยที่ทำให้การลงทุนง่ายขึ้น เพราะแอปนี้ได้รวบรวบรวมข้อมูลที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนตัดสินใจลงทุนไว้อย่างครบถ้วน อยากลงทุนในกองทุนรวมไหนก็เพียงค้นหาจากชื่อย่อกองทุน ชื่อเต็ม หรือ ชื่อย่อ บลจ. อย่างน้อย 3 ตัวอักษร และกดเข้าไปอ่านรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ ได้ทันทีแบบง่ายดาย (EASY DATA ACCESS) ซึ่งระบบจะแสดงผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนรวมให้ดูง่ายๆ ในรูปแบบกราฟ รวมถึงสามารถดูนโยบายการลงทุน ระดับความเสี่ยง และข้อมูลการซื้อขายของแต่ละกองทุนเพื่่อช่วยประกอบการตัดสินใจได้เลย หากสนใจกองทุนไหนเป็นพิเศษ และยังอยู่ในช่วงเวลาที่สามารถซื้อขายได้ ก็สามารถเลือกทำรายการซื้อหรือขายผ่านแอป EASY INVEST ได้ทันที

เปรียบเทียบ ค่าธรรมเนียม ซื้อขายหุ้น Pantip

ส่วนใครที่อ่านรายละเอียดแล้วยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกลงทุนในกองทุนรวมไหนดี ก็สามารถเข้าไปที่ฟังก์ชัน FUND RECOMMENDED เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ และ AI แนะนำกองทุนให้ ดูได้ง่ายๆ โดยจะแบ่งหมวดหมู่เป็น กองทุนรวมต่างประเทศ กองทุนรวมที่แนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญจาก SCBS และ กองทุนรวมที่แนะนำโดย AI ที่คัดสรรมาจากสไตล์การลงทุนของแต่ละคน รวมถึงกองทุนรวมที่มียอดการซื้อ-ขาย สูงสุดในตลาดย้อนหลังสองสัปดาห์


หวังว่านักลงทุนจะหันมาให้ความสำคัญกับการอ่านและศึกษาข้อมูลใน Fund Fact Sheet ของกองทุนรวมให้มากขึ้น เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนการลงทุน ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักลงทุนเอง ส่วนใครที่อยากได้ตัวช่วยดี ๆ อย่างแอป EASY INVEST  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.scbs.com/easyinvest หรือดาวน์โหลดแอป EASY INVEST เพื่อเปิดกว้างโลกการลงทุนให้เป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว


บทความโดย  นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®, ACC นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร