บริษัท recall จัดเก็บเอกสาร

  • | พิมพ์ |
  •  อีเมล
รายละเอียด ฮิต: 57875

 ผู้ผลิตอาหารทุกรายต้องรักษาระบบการควบคุม ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหาร กลับได้อย่างรวดเร็วและสมบรูณ์ กระบวนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่เขียนขึ้นนั้นควรมีรายละเอียดอะไรบ้าง

แต่ละบริษัท มีผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน มีรูปแบบกระจายสินค้าที่ต่างกัน แต่ไม่ว่าอย่างไร เป้าหมายเดียวกันคือ เรียกกลับ เรียกคืนได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ ( สมบูรณ์แปลว่า ได้กลับมาหมดจด ไม่หลง ไม่เหลือ อยู่เลย ) เนื่องจากความแตกต่างกันในแต่ละองค์กร ทำให้รายละเอียด วิธีการไม่เหมือนกัน มีกิจกรรมที่เน้นย้ำ ต้องทำแบบเข้มๆที่ไม่เหมือนกัน แต่ไม่ว่าอย่างไร ขั้นตอนกลับคล้ายๆกัน

 1. ระบุประเด็นที่สงสัยหรือปัญหา

มีสถานการณ์มากมายที่อาจทำให้ต้องทำการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ บางสถานการณ์มีความร้ายแรงมากกว่าสถานการณ์อื่น ตัวอย่าง:

  • สารก่อถูมิแพ้
  • มีสารเคมีปนเปื้อนเกินกำหนด
  • ภาชนะบรรจุเกิดปัญหา ตะเข็บผิด แตก
  • ได้รับการแจ้งจากชัพพลายเออร์ว่ามีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในอ่าหาร
  • พบการแพร่เชื้อ

ข้อมูลข้างล่างนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญ ในการทำให้สามารถระบุและประเมิน ในการเรียกคืนแต่ละครั้ง

  • ประเภทของอันตราย
  • ประเภทของความเสี่ยง
  • ผลการทดสอบหรือผลการสอบสวนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย

แบบฟอร์ม Recall hazard Assessment Form : แบบฟอร์มนี้จะช่วยให้สามารถทำการ ตัิดสินใจในการเรียกคืนพร้อมทำการบันทึกข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิงในอนาคต  ซึ่งมีการประเมินสถานการณ์ว่าอาจมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค อย่างไร

2. จัดทีมงานเรียกคืนผลิตภัณฑ์ และแผนเรียกคืนผลิตภัณฑ์

หลังจากที่ ทราบเรื่อง ให้ทำการเรียกประชุมทีมงานเรียกคืนผลิตภัณฑ์โดยทันที ทำการกำหนดมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนในทีม ทีมงานมีหน้าที่กระทำตามแผนการ ติดตามว่ากิจกรรมที่จำเป็นได้มีการนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล

3. ระงับการส่งมอบผลิตภัณฑ์และทำการคัดแยก

ทันทีที่ ทราบปัญหา ต้องทำการหยุดผลิตและการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยโดยทันที  ซึ่งการกระทำเช่นนี้สามารถลดขนาดของปัญหาได้ ต้องทำการแยกผลิตภัณฑ์แปะป้าย HOLD เพื่อทำการกักกันจนกว่าจะทราบประเด็นปัญหาที่แท้จริง 
ปริมาณ ขอบข่ายของการเรียกคืน ความยากง่ายของการเรียกคืน มีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับ ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ได้ผลิตและจำหน่าย ไปแล้ว
ระบบการชี้บ่ง สอบย้อนกลับที่ดี จะช่วยลดปัญหาและค่าใช้จ่าย การกำหนดรหัสสินค้า การกำหนดหมายเลข lot ระบบบันทึกอย่างเหมาะสม สามารถช่วยลดผลกระทบและจำจัดขอบเขตปัญหาได้

4. การบันทึกกิจกรรมที่ได้กระทำ

บันทึกช่วยให้เราสามารถทำการทบทวนกิจกรรม ในกระบวนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ การบันทึกกิจกรรมที่ได้กระทำลงไปเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ให้ทำการบันทึกทุกๆกิจกรรม  รวมถึงการตัดสินใจ และเหตุผลต่างๆ

อย่างน้อยหนึ่งคนในทีมเรียกคืนผลิตภัณฑ์ต้องได้รับมอบหมายในการลงและเก็บบันทึกนี้ ผู้ที่ได้รับมอบหมายนี้ต้องทำการบันทึกกิจกรรมประจำวันที่ได้กระทำในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการเรียกคืนผลิตภัณฑ์

5. ติดต่อองค์กรภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ทันที่ที่รับทราบปัญหา นอกจากการจัดการภายในสถานประกอบการณ์แล้ว การสื่อสารในวงกว้างซึ่งหมายถึงแจ้งภาครัฐ , ลูกค้า หรือผู้บริโภคมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

การแจ้งหน่วยงานภาครัฐในเรื่องนี้ ผู้เชี่ยวชาญของภาครัฐจะสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมได้ ให้ใช้แบบฟอร์มนี้ในการแจ้งข่าวการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ได้

แบบฟอร์ม Authority Recall Information Form

6. ประเมินอันตรายและตัดสินใจในแผนการเรียกคืนจัดทีมงานเรียกคืนผลิตภัณฑ์ และแผนเรียกคืนผลิตภัณฑ์

หลังจากทีท่านแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว สิ่งที่ดีที่จะร่วมประชุม ทำการประเมินความเสี่ยงร่วมกับลูกค้าหรือหน่วยงานภาครัฐ อีกครั้ง ในรายละเอียด

ในการประเมินครั้งนี้จะสามารถ

  • ทำการระบุปัญหาที่มีนัยยะและตัดสินใจว่าจะมีความเสี่ยงที่แท้จริงอย่างไรต่อความปลอดภัยในอาหารอะไรบ้าง
  • ตัดสินใจว่าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือการทดสอบเพื่อยืนยันการตัดสินใจสุดท้ายอะไรบ้าง
  • พิจารณาขอบเขตของการเรียกคืน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบทำให้ต้องเรียกคืนด้วย

7. ทำการสื่อสาร/แจ้งข่าว

สิ่งที่ สำคัญในการทำให้กระบวนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ประสบผลคือการสื่อสาร จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ อาจต้องทำการแจ้งกับลูกค้า ร้านจัดจำหน่าย รวมถึงทุกส่วนงานใน Supply chain ที่อาจได้รับผลิตภัณฑ์ไป ในการแจ้งข่าวนี้อาจรวมถึงการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์แจ้งข่าวให้เร็วที่สุด ทั่วถึงที่สุด

ต้องทำให้ มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ทำการแจ้งข่าวนั้นเที่ยงตรงและเป็นไปตามความจริง และมีรายละเอียดที่เหมาะสมกับผลกระทบของการเรียกคืนผลิตภัณฑ์นั้นๆ

ในการแจ้ง ข่าวนี้ สำหรับลูกค้าองค์กร ต้องมั่นใจได้ว่าได้มีการร้องขอ ให้ลูกค้ายืนยันวันที่ได้รับการแจ้งข่าว และตอบรับการกระทำที่ได้ร้องขอ(เช่น หยุดจำหน่าย เก็บ คัดแยก) ในกรณีที่ไม่ได้การยืนยันตอบรับจากลูกค้า เป็นหน้าที่ในการติดตามจนกว่าจะได้รับการตอบรับ

ทันทีที่ ลูกค้าทุกรายได้รับการติดต่อ จัดทำแผนในการแก้ไขและจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการเรียกคืน ด้วยเหตุผลนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องทราบปริมาณการผลิตและปริมาณที่ ได้มีการส่งมอบ เพื่อทำการเปรียบเทียบกับปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเรียกคืน สิ่งนี้สามารถบ่งบอกประสิทธิผลของกระบวนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ว่ากระทำได้ดี เพียงไร ไม่ว่าความรวดเร็วและปริมาณสินค้าที่สามารถทำการเรียกคืน

9. พิจารณาว่าการเรียกคืนผลิตภัณฑ์กระทำได้อย่างมีประสิทธิผลเพียงใด

การสื่อสาร/แจ้งข่าวที่ดี เป็นหัวใจในการประเมินความมีประสิทธิผลของระบบเรียกคืนผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการตรวจสอบว่ามีลูกค้ารายใดบ้างที่ไม่ได้แจ้งหรือไม่ได้รับแจ้ง มีผลิตภัณฑ์ไหนบ้างที่ยังคงค้างในตลาดและทำไม เป็นสิ่งที่จำเป็นในการทวนสอบความมีประสิทธิผลของระบบเรียกคืนผลิตภัณฑ์ (ขั้นตอนนี้แล้วแต่ประเภทของลูกค้า แล้วแต่ว่ามีกระจายสินค้าสูท้องตลาดโดยตรงหรือส่งผ่านเพื่อผลิตต่อที่โรงงานลูกค้า)

ขั้นตอนต่อไปคือการประเมินประสิทธิผล คือการตรวจสอบว่ามีผลิตภัณฑ์ตกค้าอยู่เท่าไหร่ ในขณะที่รับแจ้งหมายเรียกคืน ข้อมูลนี้สำคัญอย่างยิ่งในการประเมินความมีประสิทธิผลของระบบการเรียกคืนผลิตภัณฑ์

ไม่ว่า อย่างไร ขึ้นอยู่กับระยะห่างเวลาตั้งแต่การส่งมอบสินค้าจนถึงการเรียกคืน บางครั้งผลิตภัณฑ์นั้นๆได้มีการขาย จำหน่ายออกไปจนถึงมือผู้บริโภคทั่วไป ด้วยเหตุผลนี้เป็นไปได้น้อยมากที่จะสามารถเรียกคืนผลิตภัณฑ์ได้ 100%  ใน กรณีเช่นนี้ท่านต้องคิดถึงความร้ายแรงของสถานการณ์ในแง่ความปลอดภัยอาหารต่อ สุขอนามัยต่อผู้บริโภค รวมถึงมีผลิตภัณฑ์มากน้อยขนาดไหนที่ได้มีการส่งถึงมือผู้บริโภค อาจจำเป็นต้องออกประกาศคำเตือนกับสาธารณะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของท่าน

10. ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อผลิตภัณฑ์ที่เรียกคืน

เมื่อผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้มีการคืนกลับ ทำการตัดสินใจว่าต้องทำอะไรบ้างต่อผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา ซึ่งมีแนวทางอยู่ 3 ช่องทาง

  • Rework
  • Recondition
  • Destruction and disposal

ผลการตัดสินใจในเรื่องนี้และกิจกรรมที่ได้มีการกระทำ จำเป็นต้องเก็บเอกสารไว้เป็นอย่างดี

11. หาสาเหตุของปัญหาที่ก่อให้เกิดการเรียกคืนผลิตภัณฑ์

หากถึงขั้น ตอนนี้ยังไม่ได้หารากเหตุของการเรียกคืนครั้งนี้ ให้ต้องทำการหารากเหตุและแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ เป็นหน้าที่ในการดำเนินการใดๆอย่างเพียงพอเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เรียกคืนในอนาคตอีก  การดำเนินการเรื่องนี้อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาบันทึกไว้ เพื่อให้ทางภาครัฐทำการตรวจสอบในกรณีที่จำเป็น 

Share