ข้อสอบ หน้าที่พลเมือง ม.1 มารยาทไทย

วิดีโอ YouTube


มารยาทไทย

มารยาทไทย เป็นมรดกที่แสดงถึงความเป็นไทย หากเราละเลยไม่ประพฤติปฎิบัติ อาจทำให้เอกลักษณ์ไทยเลือนหายไป จึงจำเป็นที่คนไทยจะต้องเรียนรู้และปฎิบัติอย่างถูกต้อง

1.มารยาทไทยในการแสดงความเคารพ

การแสดงความเคารพ เป็นวัฒนธรรมของผู้เจริญ เป็นการแสดงออกถึงสัญญลักษณ์ที่มีความหมาย เช่น การเคารพนับถือ การทักทาย และยังเป็นการรักษาวัฒนธรรมไทยอีกด้วย

 1.1. การแสดงความเคารพด้วยการไหว้

การไหว้แบบไทย เป็นการแสดงความเคารพตามระดับของบุคคล โดยการประนมมือทั้งสอง ยกขึ้นจรดใบหน้า

การไหว้ 3 ระดับ

  • ระดับ 1 การไหว้พระสงฆ์ ปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
    • วิธีไหว้ ยืนตรงค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ นิ้วกัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้แนบหน้าผาก
  • ระดับ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณ ผู้อาวุโส พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู-อาจารย์
    • วิธีไหว้ ยืนตรงค้อมตัวน้อยกว่าการไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว (มืออยู่ส่วนกลางใบหน้า)
  • ระดับ 3 การไหว้บุคลทั่วไป ผู้ที่เคารพนับถือ
    • วิธีไหว้ ยืนตรงค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ นิ้วหัวแม่มืออยู่ปลายคาง นิ้วชี้แนบปลายจมูก

การไหว้บุคคลเสมอกัน

  • การไหว้บุคคลเสมอกัน กระทำกับผู้มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และจะต้องปฎิบัติด้วยความสุภาพ
    • วิธีไหว้ ทั้งผู้ชายผู้หญิงให้ยกมือไหว้พร้อมกัน หรือเวลาใกล้เคียงกัน ค้อมศีรษะเล็กน้อย ไม่ต้องค้อมตัว ค่อยกลับเข้าสู่ท่าเดิมอย่างสงบ
    • การรับไหว้ เมื่อผู้น้อยมาแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ผู้ใหญ่ต้องไหว้ตอบ
    • วิธีรับไหว้ ประนมมือ กระพุ่มมือเล็กน้อย ให้ปลายนิ้วทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือประกบเสมอกันแนบระหว่างอก ปลายนิ้งเฉียงขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย

1.2. การมีส่วร่วมในการอนุรักษ์การแสดงความเคารพด้วยการไหว้

    • 1.2.1. ศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงคุณค่าของการไหว้ โอกาสที่จะแสดงความเคารพ ตลอดจนการไหว้ที่ถูกต้องเหมาะสม ตามระดับบุคคลและกาลเทศะ
    • 1.2.2. นำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวัน ฝึก และปฎิบัติการไหว้ให้ถูกต้อง
    • 1.2.3. ร่วมกลุ่ม หรือจัดเป็นชุมรมอนุรักษ์กาารไหว้ขึ้นในสถานศึกษา
    • 1.2.4. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแสดงความเคารพ ด้วยการไหว้ขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่นรณรงค์ให้ความสำคัญต่อการไหว้ ด้วยการติดป้ายประกาศเชิญชวน ภาพโปสเตอร์แสดงการไหว้ที่ถูกต้อง จัดประกวดการไหว้ เชิญวิทยากรมาบรรยาย และสาธิตการไหว้ที่ถูกต้อง

2.มารยาทในการสนทนา

การสนทนาเป็นการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ ความรู้สึกความคิดเห็นระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรืในสิ่งที่สนใจร่วมกัน

การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับมารยาทในการสนทนา เพื่อให้การสนทนาเป้นไปในทิศทางที่ดี สร้างมิตรภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการร่วมกัน

  • 2.1. มารยาทในการแนะนำให้รู้จักกัน
    •  2.1.1.แนะนำผู้ชายให้รู้จักผู้หญิง หากมีอาวุโสเท่าเทียมกัน
    •  2.1.2.แนะนำผู้อาวุโสน้อยกว่าให้รู้จักผู้อาวุโสมากกว่า
    •  2.1.3.แนะนำผู้มีตำแหน่งน้อยกว่าให้รู้จักผู้มีตำแหน่งสูงกว่า
    •  2.1.4.แนะนำผู้มีอายุ ยศ ตำแหน่งเสมอกัน จะแนะนำใครก่อนก็ได้ แต่ถ้าเป็นผู้หญิงกับผู้ชายต้องแนะนำผู้ชายให้รู้จักผู้หญิง
    • เมื่อแนะนำให้รู้จักกัน ผู้อาวุโสน้อยกว่า ต้องแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ส่วนผู้อาวุโสมากกว่า จะต้องรับไหว้ หรือค้อมศีรษะ เพื่อรับการแสดงความเคารพ.

2.2.มารยาทในการสนทนาผ่านทางโทรศัพท์

    • 2.2.1.ควรพูดเฉพาะเรื่องที่จำเป็นและไม่ช้เวลานานเกินสมควร
    • 2.2.2.ไม่ควรพูดคุยโทรศัพท์ในเวลาเรียน ขณะขับรถ ขณะรับประทานอาหาร ขณะเข้าห้องน้ำหรืออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
    • 2.2.3.กรณีที่ผู้อาวุโสน้อยกว่าโทรศัพท์ไปหผู้ใหญ่ ต้องคำนึงถึงเวลาที่เหมาะสม ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ น้ำเสียงนุ่มนวลน่าฟัง
    •  2.2.4.เมื่อรับโทรศัพท์ ควนเริ่มต่นทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี” ครับ/ค่ะ
    • 2.2.5.ถ้าต้องการจบบทสนทนาทางโทรศัพท์ ควรใช้วิธีการบอกอย่างนุ่มนวล และสุภาพ

2.3.มารยาทในการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

        การสนทนาบนเครือข่ายอินเทอรฺเน็ต ด้วยการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพ เพื่อการสนทนาที่ถูกต้อง ควรปฎิบัติดังนี้

    • 2.3.1.พิมพ์ข้อความด้วยภาษาที่สุภาพ
    • 2.3.2.ไม่สนทนาหรือส่งภาพ (โพสต์) เรื่องเป็นความลับ เรื่องส่วนตัว เรื่องที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เรื่องที่สร้างความขัดแย้ง
    • 2.3.3.ไม่สนทนานานเกินไป เพราะอาจรบกวนเวลาส่วนตัวของผู้อื่น
    • 2.3.4.ส่งข้อความขณะที่คู่สนทนาอยู่ในสถานะออนไลน์
    •  2.3.5.ก่อนส่งไฟล์ข้อมูลหรือรูปภาพควรแจ้งให้ผู้ติดต่อทราบ

2.4.การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มารยาทในการสนทนา

         การอนุรักษ์และเผยแพร่มารยาทในการสนทนาในระดับของนักเรียน ควรปฎิบัติดังนี้

    • 2.4.1.ปฎิบัติตนให้เป็นแบบอย่างในการเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนาที่ดี
    • 2.4.2.ไม่ใช้คำหยาบ คำที่ไม่สุภาพ คำพูดส่อเสียด ดูหมิ่นเหยียดหยาม
    • 2.4.3.แสดงกิริยาวาจาท่าทางที่นุ่มนวล สุภาพ อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ
    • 2.4.4.ไม่ใช้คำพูด ข้อความที่ผิดเพี้ยนไปจากภาษาไทย ในการสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และการสนทนาทั่วไป
    • 2.4.5.ระลึกเสมอว่า การสนทนาของนักเรียนนั้นเป็นการใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ การสนทนากัน ต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องชัดเจน ทั้งตัวควบกล้ำ ตัว ร ตัว ร ให้สมกับที่เกิดมาเป็นคนไทย

        สิ่งที่นักเรียนต้องคำนึงถึงในเรื่องมารยาทในการสนทนาคือ สำนวน สำเนียง ภาษา กิริยาท่าทางให้เหมาะสมกับความเป็นไทย

3.มารยาทในการแต่งกาย

การแต่งกายเป็นสิ่งสำคัญต่อภาพลักษณ์และบุคลิกของบุคคล เครื่องแต่งกายที่ดีจะช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของบุคคลให้งามสมวัย

ดังนั้น จึงต้องเรียนรู้วิธีการแต่งกายให้เหมาะสมกับโอกาสและสถานที่ เพื่อปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม

3.1.การปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของการแต่งกาย การแต่งกายที่ดีเหมาะสมกับกาลเทศะ ควรปฎิบัติ ดังนี้

    • 3.1.1.การแต่งกายไปโรงเรียน แต่งกายด้วยชุดถูกระเบียบ เสื้อผ้าสะอาดเรียบร้อย เสื้อผ้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์
    • 3.1.2.การแต่งกายไปวัด แต่งกายด้วยชุดที่รัดกุม ไม่ควรสวมชุดที่มีสีฉูดฉาดจนเกินไป ควรใช้เสื้อผ้าที่เรียบง่าย สะอาด
    • 3.1.3.การแต่งกายไปท่องเที่ยว ควรสวมเสื้อผ้าที่เบาสบาย ชุดที่สวมใส่ควรมีความคล่องตัว สวมชุดให้เหมาะกับกิจกรรม
    •  3.1.4.การแต่งกายไปงานเลี้ยง แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่จัดงาน ควรใช้เสื้อผ้าที่ดูดีเสริมบุคลิก สวมชชุดที่เหมาะสมกับวัยของตน

3.2.การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มารยาทการแต่งกาย

        ในปัจจุบัน การแต่งกายแบบสมัยนิยมมีอิทธิพลต่อเยาวชน จนทำให้หลงลืมวัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทยไปบ้าง และอาจส่งผลให้มายาทการแต่งกายแบบไทยเลือนหายไป เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์การแต่งกาย ทั้งในเรื่องของเอกลักษณ์ไทย และความมีระเบียบวินัยในการแต่งกาย ควรปฎิบัติดังนี้

    • 3.2.1.ตระหนักถึงคุณค่าของการแต่งกายแบบไทย ในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ชาติ
    • 3.2.2.แต่งกายถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของโรงเรียนและสังคม
    • 3.2.3.เป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการแต่งเครื่องแบบนักเรียนให้ถูกต้อง
    • 3.2.4.สร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อรณรงค์ให้มีความตระหนักถึงการแต่งกายตามระเบียบแบบแผนของโรงเรียนและของสังคม
    • 3.2.5.จัดกิจกรรมส่งเสริมความมีวินัยในการแต่งกาย การอนุรักษ์มารยาทการแต่งกาย และการแสดงผลงานการอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย

4.การมีสัมมาคารวะ

สัมมาคารวะ เป็นคุณลักษณะของบุคคลที่แสดงออกทางกาย วาจา และใจ ต่อบุคคลอื่นอย่างสุภาพ อ่อนน้อม เห็นคุณธรรมความดีของบุคคลอื่น แล้วนำมาเป็นแบบอย่างในการปฎิบัติตน

4.1.การปฎิบัติตนของผู้มีสัมมาคารวะ การปฎิบัติตนมีสัมมาคารวะ สามารถแสดงออกได้ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังนี้

    • 4.1.1.ทางกาย เป็นการพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ในสถานการณืต่างๆ
      •  4.1.1.1.แสดงความเคารพบุคคลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
      •  4.1.1.2.มีกิริยามารยาทสุภาพ อ่อนน้อม
      •  4.1.1.3.ปฎิบัติต่อบุคคลต่างๆ ด้วยความสุภาพ
    •  4.1.2.ทางวาจา เป็นการใช้วาจาที่สุภาพอ่อนโยน เหมาะสมตามกาลเทศะ
      • 4.1.2.1.ใช้คำสุภาพ ไม่ส่อเสียด ดุดัน กระโชกโฮกฮาก
      • 4.1.2.2.พูดแต่ความสัตย์จริง ไม่โกหก
      •  4.1.2.3.ใช้ภาษาที่เหมาะสมแก่สถานะของแต่ละบุคคล
    •  4.1.3.ทางใจ เป็นความรู้สึกนึกคิดในจิตใจที่มีต่อบุคคลรอบข้าง
      • 4.1.3.1.การคิดถึงด้านดีของบุคคลอื่น
      •  4.1.3.2.การรู้สึกเคารพบุคคลที่วัยสูงกว่าตน
      •  4.1.3.3.การสำนึกในบุญคุณคน

4.2.การมีส่วร่วมในการปฎิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ

         นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา ไปปฎิบัติจริงในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องมารยาทการแสดงความเคารพ การสนทนา การแต่งกาย ล้วนเป็นองคืประกอบของการมีสัมมาคาระวะ ซึ่งสามารถปฎิบัติได้ทุกที่ ดังนี้

4.2.1.ที่โรงเรียน

    • 4.2.1.1.ปฎิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน เช่น แต่งกายถูกต้อง เป็นต้น
    •  4.2.1.2.ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพกับเพื่อนๆ ฝึกกล่าวคำว่าขอบคุณ และขอโทษให้ติดเป็นนิสัย
    • 4.2.1.3.ไม่คุยเล่นหรือทำงานอื่น ขณะครูกำลังสอน

 4.2.2.ที่บ้าน

    • 4.2.2.1.แสดงความเคารพต่อพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ
    • 4.2.2.2.ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน พูดจาด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม
    • 4.2.2.3.เมื่อเกิดขัดแย้งหรือมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ควรใช้วิธีรับฟังเหตุผลและค่อยๆ อธิบายให้ฟัง