คลินิกขอใบรับรองแพทย์ ลาป่วยได้ไหม

คุณภาพชีวิต-สังคม

22 เม.ย. 2564 เวลา 11:42 น.40.2k

"กสร."ชี้แจงประเด็นข้อสงสัยในสื่อสังคมออนไลน์ บริษัทกำหนดเงื่อนไขลาป่วย 1 - 2 วัน ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ ย้ำ "ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน" ลูกจ้างไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ได้

อีกหนึ่งกระแสสังคมออนไลน์ที่ได้สร้างความสับสนให้แก่ "กลุ่มแรงงาน" เมื่อเกิดกรณี หาก "ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน" นายจ้างห้ามเรียกใบรับรองแพทย์ และบริษัทกำหนดให้ลูกจ้างที่ลาป่วย 1 หรือ 2 วัน ต้องนำ "ใบรับรองแพทย์"มาแสดงต่อนายจ้าง

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน "กสร." ชี้แจง ว่า ข้อมูลดังกล่าวบิดเบือนจากความเป็นจริงอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องได้ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา32 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง

  • "ลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงาน"ขึ้นไป ตามกม.ต้องแสดง"ใบรับรองแพทย์"

การ "ลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงาน"ขึ้นไป กฎหมายกำหนดให้นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการ ซึ่งกฎหมายมิได้มีบทบังคับว่าลูกจ้างต้องแสดง "ใบรับรองแพทย์"ทุกครั้งที่ลาป่วยเสมอไป

เนื่องจากลูกจ้างบางรายอาจไม่ได้รักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล แต่อาจรักษาพยาบาลที่สถานีอนามัย หรือซื้อยามารับประทานเองก็ได้ จึงไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อนายจ้าง ซึ่งลูกจ้างสามารถชี้แจงให้นายจ้างทราบถึงการลาป่วยดังกล่าวได้

  • เงื่อนไขสิทธิ "ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน" ไม่ต้องแสดง "ใบรับรองแพทย์"

สำหรับกรณีที่บางบริษัทมีการกำหนดเงื่อนไขในการใช้สิทธิ"ลาป่วย"ต่างกัน เช่น ลาป่วย 1 หรือ 2 วัน ต้องใช้"ใบรับรองแพทย์" มาประกอบการลานั้น ประเด็นนี้ถือว่าไม่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ต้องแสดง"ใบรับรองแพทย์"ได้

ส่วนสิทธิการรับ"ค่าจ้าง"ขณะ "ลาป่วย"นั้น มาตรา 57 วรรคแรก กำหนดให้นายจ้างจ่าย"ค่าจ้าง"ให้แก่ลูกจ้าง ในวัน "ลาป่วย"เท่ากับ"ค่าจ้าง"ในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างให้ได้รับค่าจ้างในระหว่างวันลาป่วย 30 วันทำงานในรอบ 1 ปี

อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ หรือติดเชื้อ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อโรค "โควิด - 19" จำเป็นต้องไปรับการตรวจรักษาหรือกักกันตัว ให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้าง ใช้สิทธิลาป่วย หรือใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีตามกฎหมายหรือตามที่ตกลงกัน

  • นายจ้าง-ลูกจ้างมีข้อสงสัย ติดต่อ "สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด"

เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการของนายจ้าง นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างให้หยุดงานโดยไม่รับ"ค่าจ้าง"(Leave without Pay) หรือให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่าย"ค่าจ้าง"ตามหลักสัญญาต่างตอบแทน (No Work No Pay) หรือให้หยุดงานโดยจ่าย"ค่าจ้าง"ตามจำนวนที่ตกลงกับลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่หยุดงานก็ได้

กรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง มีข้อสงสัยเกี่ยวสิทธิหน้าที่ และการปฏิบัติตามแนวทางนี้ให้ติดต่อสอบถามได้ที่ "สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด"ทุกจังหวัด และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546

26 มี.ค. 2565 เวลา 4:19 น. 29.7k

ใบรับรองแพทย์ดิจิทัล พร้อมใช้งานบนแอป-ไลน์ "หมอพร้อม" แล้ว! ใช้สมัครงาน ลาป่วย การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ อัพเดทล่าสุดมีสถานพยาบาลเข้าร่วมกว่า 1,028 แห่ง

กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พัฒนาการออก #ใบรับรองแพทย์ดิจิทัล ที่มีความปลอดภัย รัดกุม และมีมาตรฐานสูงสุด เช่นใบรับรองแพทย์ตรวจสุขภาพทั่วไป ใบรับรองแพทย์ทำใบขับขี่ ใบรับรองแพทย์ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว  ใบรับรองแพทย์ตรวจหาเชื้อ #โควิด19 เป็นต้น

เพื่อรองรับการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชน เช่น การสมัครงาน การลาป่วย การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ สามารถเปิดใช้งานได้ทั้งไลน์และแอปหมอพร้อม ซึ่งมีหน่วยบริการทุกสังกัดทั่วประเทศเข่าร่วมออกใบรับรองแพทย์ดิจิทัล ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม และคลินิกเทคนิคการแพทย์

คลินิกขอใบรับรองแพทย์ ลาป่วยได้ไหม

ปัจจุบันได้ทดสอบระบบและนำมาใช้งานจริงในโรงพยาบาลแล้ว 1,028 แห่ง ออกใบรับรองแพทย์ดิจิทัลไปแล้วกว่า 125,000 ใบ นอกจากนี้ ยังได้ขยาย License สำหรับสร้างลายเซ็นดิจิทัลเพิ่มเติม เพื่อรองรับการใช้งานสำหรับคลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกเทคนิคการแพทย์ด้วย
 

ทั้งนี้ สามารถดูรายชื่อหน่วยบริการที่ออกเอกสารใบรับรองแพทย์ดิจิทัลได้ที่นี่ หรือคลิก https://mohpromt.moph.go.th/mpc/mophcertificate/

ขอใบรับรองแพทย์ลาป่วยยังไง

สรุป เราต้องลาป่วย 3 วันขึ้นไปเท่านั้น นายจ้างจึงจะมีสิทธิ์ขอใบรับรองแพทย์จากเรา รวมทั้งระหว่างที่เราลา เราต้องได้ค่าจ้างตามปกติ ไม่เกิน 30 วันต่อปี สมมติว่าลาป่วยไป 35 วัน แม้กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตามปกติ แต่จ่ายให้ไม่เกิน 30 วันเท่านั้น อีก 5 วันที่เหลือนายจ้างจะไม่จ่ายก็ไม่ผิดอะไร โดยพรบ.นี้กำหนดใช้กับ ...

ใบรับรองแพทย์ ลาป่วย กี่บาท

จำนวนเงินที่ต้องชำระ ในเวลาราชการ 80 บาท (ค่าใบรับรองแพทย์ 30 บาท ค่าบริการทางการแพทย์ 50 บาท) นอกเวลาราชการ 110 บาท (ค่าใบรับรองแพทย์ 30 บาท? ค่าบริการทางการแพทย์ 80บาท)

ลาป่วยจำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ไหม

กสร. เคลียร์ชัด ลูกจ้างลาป่วยไม่ถึง 3 วัน ไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ได้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานชี้แจงประเด็นข้อสงสัยในสื่อสังคมออนไลน์ บริษัทกำหนดเงื่อนไขลาป่วย 1 - 2 วัน ต้องใช้ใบรับรองแพทย์มาประกอบการลา ถือว่าไม่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธไม่แสดงใบรับรองแพทย์ได้

ใบรับรองแพทย์ โกหกได้ไหม

ค) เรื่องนี้แพทย์ที่ออกใบรับรองแพทย์เท็จก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและจรรยาบรรณแพทย์ได้ ๒) อ่านกฎหมายมาตรา ๓๒ พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ จะพบว่ากฎหมาย "ห้ามขอใบรับรองแพทย์" กรณีลาป่วย ๑ วัน หรือ ๒ วัน เพราะไม่ต้องการไปเพิ่มภาระแก่ลูกจ้างและบุคคลกรทางสาธารณสุข แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามขอหลักฐานอื่น