ประกันสังคมเบิกค่าห้องพิเศษได้ไหม

เมื่อพูดถึง “สิทธิประกันสังคม” หลายคนก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ประกันสังคมที่เราเลือกจ่ายทุกๆ เดือนจากการทำงานนั้น จะช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลให้ นั่นหมายความว่า หากคุณเจ็บป่วยหรือไม่สบายระหว่างทำงาน ก็สามารถเบิกค่ารักษาตามโรงพยาบาลที่คุณเลือกสิทธิประกันสังคมได้  โดยไม่ต้องสำรองจ่ายเอง  แต่ทั้งนี้เราจะขอเบิกสิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยอย่างไรบ้าง แล้วเบิกค่ารักษาพยาบาลประกันสังคมภายในกี่วัน แฟรงค์รวบรวมคำตอบไว้ให้คุณแล้ว

Show

กรณีเจ็บป่วยจะได้รับสิทธิประกันสังคมอะไรบ้าง?

เบื้องต้นเราสามารถเข้ารักการรักษาในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลในสิทธิประกันสังคมได้ทันที แต่มีเงื่อนไขก็คือ ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมครบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนได้รับการรักษาตามสิทธิประกันสังคม  ซึ่งจะแบ่งค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ ตามกรณีดังนี้

ประกันสังคมเบิกค่าห้องพิเศษได้ไหม

ใครใช้สิทธิประกันสังคมได้บ้าง?

สำหรับคนที่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน และใช้สิทธิประกันสังคมได้นั้นต้องเป็นบุคคล 3 กลุ่ม ดังนี้

  • พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป (ผู้ประกันตน มาตรา 33)
  • บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อน แล้วลาออก (ผู้ประกันตน มาตรา 39)
  • บุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระ (ฟรีแลนซ์) หรือแรงงานนอกระบบ (ผู้ประกันตน มาตรา 40)

Note : ผู้ที่จะสมัครและใช้สิทธิได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าอายุครบ 60 ปีแล้ว แต่นายจ้างยังจ้างให้ทำงานต่อ ก็ให้ถือเป็นผู้ประกันตนต่อไปได้

สิทธิรักษาพยาบาลประกันสังคมมีอะไรบ้าง?

เท่าที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าสิทธิประกันสังคมหลัก ๆ จะครอบคลุมทั้งหมด 7 กรณีด้วยกัน ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน แต่วันนี้เราจะขอพูดถึงกรณีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประกันสังคมรักษาพยาบาลเป็นหลักค่ะ 

ประกันสังคมเบิกค่าห้องพิเศษได้ไหม

คราวนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันค่ะ ว่าในกรณีในเจ็บป่วยต่าง ๆ กรณีคลอดบุตร หรือกรณีต้องการเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม เราจะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากประกันสังคมได้เท่าไหร่บ้าง

Note : ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน จึงจะสามารถใช้สิทธิประกันสังคมรักษาพยาบาลจากประกันสังคมได้

1. กรณีเจ็บป่วยปกติ

ประกันสังคมเบิกค่าห้องพิเศษได้ไหม

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

  • จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ : เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดสิทธิ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น
  • กรณีที่ต้องหยุดพักตามคำสั่งแพทย์ และหมดสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ไม่เกิน 90 วัน/ครั้ง และไม่เกิน 180 วัน/ปี ยกเว้นป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วัน

2. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

ประกันสังคมเบิกค่าห้องพิเศษได้ไหม

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

1. กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ

  • ผู้ป่วยนอก : สามารถเบิกได้เท่าที่จ่ายจริง
  • ผู้ป่วยใน : สามารถเบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

2. กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน

  • ผู้ป่วยนอก
    - เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท
    - เบิกเกิน 1,000 บาท ในกรณีให้เลือด ฉีดบาดทะยัก อัลตราซาวนด์ ขูดมดลูก ค่าฟื้นคืนชีพ และกรณีที่ต้องสังเกตอาการในห้องอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป

  • ผู้ป่วยใน
    - ค่าห้องและค่าอาหาร : เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
    - ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU : เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
    - ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล กรณีรักษาในห้อง ICU : เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
    - ค่าผ่าตัดใหญ่ : เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท
    - ค่าฟื้นคืนชีพ : เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท
    - ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือเอ็กซเรย์ : เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท

3. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต

ประกันสังคมเบิกค่าห้องพิเศษได้ไหม

สำหรับกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงทุกแห่งและไม่ต้องสำรองจ่าย แต่! จะต้องเป็น 6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามนี้เท่านั้น

6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่จะได้รับสิทธิรักษาพยาบาลฟรี ได้แก่

1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วมด้วย
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซึก พูดไม่ชัด หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤต ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง โดยนับรวมวันหยุดราชการ

4. กรณีคลอดบุตร

ประกันสังคมเบิกค่าห้องพิเศษได้ไหม

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ : ผู้ประกันตนหญิงและชายมีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ประกันตนหญิง : สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
  • ผู้ประกันตนชาย : ที่มีภรรยาจดทะเบียนสมรสหรือหญิงซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 13,000 บาท

5. กรณีทันตกรรม

5.1 กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด

ประกันสังคมเบิกค่าห้องพิเศษได้ไหม

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ : จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 900 บาท/ปี โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

รายละเอียดการเบิกค่าบริการต่าง ๆ มีดังนี้

  • ถอนฟัน : เบิกได้ 250-450 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุ Amalgum : เบิกได้ 300-450 บาท
  • อุดฟันด้วยวัสดุเหมือนฟัน : เบิกได้ 350-500 บาท
  • ขูดหินปูน : เบิกได้ 400 บาท
  • ผ่าฟันคุด : เบิกได้ 900 บาท

Note : เนื่องจากบางสถานพยาบาลไม่มีบริการทางทันตกรรม ฉะนั้นอย่าลืมมองหาป้ายสติ๊กเกอร์ก่อนนะคะ

5.2 กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้

ประกันสังคมเบิกค่าห้องพิเศษได้ไหม

1. กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน : จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,500 บาท

  • ถอดได้ 1-5 ซี่ : เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,300 บาท
  • ถอดได้มากกว่า 5 ซี่ : เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,500 บาท

2. กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก : จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท

  • ถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง : เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท
  • ถอดได้ทั้งปากบนและล่าง : เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท

13 โรคและบริการที่จะไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาล

มาดูกันค่ะว่ามีโรคและบริการอะไรบ้างที่จะไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคม

1. โรคหรือการประสบอันตรายจากการใช้สารเสพติด
2. การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรัง
3. การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
4. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
5. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
6. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
7. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
8. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
9. การเปลี่ยนเพศ
10. การผสมเทียม
11. การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น
12. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด และกรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้
13. แว่นตา

คราวนี้ก็หายข้องใจเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมกันแล้วใช่ไหมคะ ไม่ว่าจะสิทธิประกันสังคมรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร ดังนั้นหากวันไหนเกิดเจ็บป่วยหรืออะไรขึ้นมาก็อย่าลืมใช้สิทธิ์กันนะคะ เพราะเราเป็นคนจ่ายเงินสมทบกองทุน ฉะนั้นเราก็ควรจะได้รับสิทธิ์ค่ะ

ประกันสังคมเบิกค่าห้องได้กี่บาท

ค่าห้องและค่าอาหารได้ไม่เกินวันละ 700 บาท (กรณีรักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท) ผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ไม่เกิน 8,000 – 16,000 บาท ตามระยะเวลาผ่าตัด ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการและหรือเอกซเรย์เบิกได้ไม่เกิน รายละ 1,000 บาท ค่ายาและอุปกรณ์ เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท

ประกันสังคมเบิกค่านอนรพ.ได้ไหม

รักษาในโรงพยาบาลรัฐ และเป็นผู้ป่วยนอก จะได้รับเงินค่ารักษาตามจ่ายจริง และต้องไปยื่นเบิกเอง รักษาในโรงพยาบาลรัฐ และเป็นผู้ป่วยใน สถานพยาบาลจะเป็นผู้ยื่นเรื่องประกันสังคม โดยทางประกันสังคมจะจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รักษาในโรงพยาบาลเอกชน และเป็นผู้ป่วยนอก ได้รับค่ารักษาตามจ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท

ประกันสังคมเบิกค่ารักษาได้ไหม

หากผู้ประกันตนมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับสิทธิประกันสังคมค่ารักษาพยาบาลอีกด้วย แต่ทั้งนี้จะต้องมีอาการฉุกเฉิน ได้แก่ หมดสติไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว ตัวเย็นหรือชัก เจ็บหน้าออก แขนขาอ่อนแรง รวมถึงอาการที่มีผลต่อระบบหายใจ หรือระบบประสาทที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ก็สามารถรับบริการได้ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงทุกแห่ง โดยไม่ ...

เบิกค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม ยังไง

เตรียมเอกสารตามนี้ ไปยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน ภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่จ่าย (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 ) ดาวน์โหลดได้ที่นี่ ใบรับรองแพทย์ (ระบุอาการที่เกิดขึ้นโดยละเอียด ใบเสร็จรับเงิน (กรณีฉุกเฉินไม่เข้าโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ)