ขายฝาก มอบ อํา น่า จ ได้ไหม

การขายฝากต่างกับการจำนอง ตรงที่การขายฝากทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ คือ การขายทรัพย์สินที่กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้รับซื้อทันที ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ถอนเอาทรัพย์คืนภายในเวลาที่กำหนด ถ้าเลยเวลาไปแม้แต่วันเดียว ผู้รับขายฝากหรือผู้รับซื้อฝากยึดทรัพย์สินที่ไปฝากขายได้ทันที โดยไม่ต้องให้ศาลสั่ง

ขายฝากตามกฎหมายใหม่ หมายความเฉพาะถึง การขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย เพราะฉะนั้นการขายฝากชนิดอื่นๆ ไม่รวมอยู่ในความหมายของกฎหมายฉบับนี้

เกษตรกรรมหมายความว่า การทำนา ทำสวน ทำไร่ ทำนาเกลือ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำและกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และ

ที่อยู่อาศัยหมายความว่า อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างและหรือที่ดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัยหรือเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการงานด้วยหรือไม่ก็ตาม

การขายฝากต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยหนังสือขายฝากอย่างน้อยต้องมีชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา รายการและลักษณะแห่งทรัพย์สินที่ขายฝากราคาที่ขายฝาก จำนวนสินไถ่(จำนวนเงินที่จะไถ่) วันที่ขายฝาก และกำหนดวันที่ครบกำหนดไถ่ ผู้ใดจะอ้างว่าสัญญาเป็นโมฆะเพราะเหตุมีรายการไม่ครบถ้วนไม่ได้ และข้อตกลงใดที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายนี้ เป็นโมฆะ

ประเด็นที่เจ้าหนี้ผู้รับซื้อฝากที่ดินต้องรู้

**1. “เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 15% ต่อปี”

จำนวนสินไถ่จะกำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากก็ได้ แต่เมื่อคำนวณเป็นดอกเบี้ยแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปี โดยคำนวณนับแต่วันที่ขายฝากจนถึงวันครบกำหนดเวลาไถ่

ไม่ว่าในสัญญาจะมีข้อความระบุไว้เป็นประการใด หากผู้รับซื้อฝากได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จากผู้ขายฝากอันเนื่องมาจากการซื้อฝาก ให้ถือว่าเงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์ หรือค่าตอบแทนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสินไถ่ที่ได้ชำระแล้ว

2. “สัญญาขั้นต่ำ 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี”

สัญญาขายฝากจะกำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่า 1 ปีหรือเกิน 10 ปีไม่ได้ ในกรณีที่กำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่า 1 ปีหรือเกิน 10 ปี ให้ถือว่ากำหนดเวลาไถ่มีเวลา1 ปี หรือ 10 ปี แล้วแต่กรณี

3. ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากก่อนครบกำหนดเวลาไถ่

ให้สิทธิลูกหนี้ผู้ขายฝากนำสินไถ่มาชำระหนี้ล่วงหน้าก่อนถึงวันกำหนดไถ่ถอนได้ โดยได้สิทธิลดต้นลดดอก ฝ่ายเจ้าหนี้หรือผู้รับซื้อฝากจะคิดว่าปรับได้คล้ายๆ กับธนาคาร เป็นค่าเสียโอกาสที่จะได้ดอกเบี้ย แต่ค่าปรับต้องไม่เกิน 2% ของเงินต้น คิดจากวันที่ชำระก่อนกำหนดจนถึงวันครบกำหนดไถ่

***4. ก่อนครบกำหนด 3-6 เดือน ผู้รับซื้อฝากต้องแจ้งเป็นหนังสือลงทะเบียนให้ผู้ขายฝากทราบ

พระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ.2562 กำหนดให้ผู้รับซื้อฝากมีหน้าที่ต้องแจ้งแก่ผู้ขายฝากให้ทราบถึงกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่า 3 เดือนแต่ไม่มากกว่า 6 เดือน โดยต้องทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝากพร้อมทั้งแนบสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย หากผู้รับซื้อฝากในสัญญาขายฝากเปลี่ยนไปไม่ใช่ผู้รับซื้อฝากเดิม ผู้รับซื้อฝากเดิมจะต้องแจ้งแก่ผู้ขายฝากว่าจะต้องไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากกับใครและสถานที่ที่จะชำระค่าสินไถ่ ซึ่งหากผู้รับซื้อฝากไม่ได้แจ้งแก่ผู้ขายฝากภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือมิได้ส่งสำเนาสัญญาขายฝากให้แก่ผู้ขายฝาก กฎหมายบัญญัติให้ผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากภายใน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ตามสัญญาขายฝาก โดยชำระค่าสินไถ่ตามกำหนดเดิม

กฎหมายได้บัญญัติให้ผู้รับซื้อฝากต้องกระทำไว้อย่างเคร่งครัดในการแจ้งเตือนผู้ขายฝากถึงกำหนดเวลาไถ่ล่วงหน้า ซึ่งผลของการไม่ปฏิบัติตามส่งผลให้ระยะเวลาไถ่ที่ตกลงกันไว้ระหว่างคู่สัญญาขยายออกไปอีก 6 เดือนทันที โดยผลของกฎหมายไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ และผู้ขายฝากจะชำระค่าสินไถ่ตามจำนวนเดิมที่ระบุในสัญญา หมายความว่า ผู้รับซื้อฝากจะเป็นฝ่ายที่เสียประโยชน์ไม่ได้รับประโยชน์จากการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา ซึ่งการที่ต้องแจ้งเตือนผู้ขายฝากนั้นเป็นการเพิ่มภาระหน้าที่แก่ผู้รับซื้อฝาก

5. ถ้าผู้รับซื้อฝากไม่รับไถ่ ผู้ขายฝากไปวางทรัพย์ได้ที่สำนักงานวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินที่จดทะเบียน เมื่อผู้ขายฝากไปวางทรัพย์ที่สำนักงานวางทรัพย์แล้ว ที่ดินที่ขายฝากกันกลับไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายฝากทันที

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

ขายฝาก มอบ อํา น่า จ ได้ไหม

ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ

การมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินแทนเจ้าของ เป็นเรื่องปกติที่มักจะทำกันโดยจะเห็นได้บ่อยเป็นพิเศษเวลา

เราไปทำนิติกรรมซื้อ-ขาย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน หรือคอนโดก็ตาม เพราะหลายๆ คนก็ไม่มีเวลา หรือไม่เชี่ยวชาญในการทำเรื่องเอกสาร

การมอบอำนาจให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ไปทำเรื่องให้ นอกจากจะประหยัดเวลาแล้ว ยังหมดห่วงเรื่องโดนเจ้าหน้าที่ปฏิเสธเพราะเอกสารไม่ครบ

ไม่ถูกต้องด้วย แล้วการทำนิติกรรมอย่าง ขายฝาก และ จำนอง ล่ะ สามารถมอบอำนาจไปทำเรื่องแทนได้ไหมนะ ?

ถ้าไม่อยากมีปัญหาเรื่องเอกสารต้องทำอย่างไร มาหาคำตอบกัน.

ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจได้ไหม ?

การทำขายฝาก หรือ จำนองนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ในแง่ของการ มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นทำแทน สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็น

ผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์) หรือ ผู้รับซื้อฝาก (เจ้าของเงิน) เองก็ตาม หรือในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายต้องการมอบอำนาจให้บุคคลเดียว

ป็นผู้ไปทำสัญญาขายแทนก็ทำได้เช่นกัน

เอกสารสำหรับการมอบอำนาจมีอะไรบ้าง ?

สิ่งแรกที่จำเป็นต้องมี สำหรับการในการมอบอำนาจนั้นคือ “หนังสือมอบอำนาจ” โดยสามารถใช้แบบฟอร์มของสำนักงานที่ดินที่เรียกว่า

ท.ด.21 เพื่อความถูกต้องที่สุด สามารถขอได้ที่สำนักงานที่ดิน หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ตามนี้ก็ได้เช่นกัน

https://www.dol.go.th/Documents/td21.pdf

โดยในส่วนของรายละเอียดที่ต้องกรอกลงไปในหนังสือมอบอำนาจนั้น ก็จำเป็นต้องเขียนตามถ้อยคำที่กำหนดไว้โดยกรมที่ดิน

เพื่อไม่ให้เราโดยเจ้าหน้าที่ปฏิเสธกลับมา 

สามารถดูตัวอย่างการเขียน หนังสือมอบอำนาจได้ที่ https://www.dol.go.th/Pages/ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ.aspx

นอกจากนี้ยังมีเอกสารที่ต้องเตรียมไว้สำหรับแนบไปพร้อมกับหนังสือมอบอำนาจก็คือ

  1. หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21)
  2. บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริง) **กรณีเปลี่ยนชื่อ ให้เตรียมหนังสือเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลด้วย
  3. ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริง) 
  4. สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด  พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 
  6. โฉนดที่ดินฉบับจริง

กรณีมีคู่สมรส จำเป็นต้องใช้เอกสารของคู่สมรสด้วย ดังนี้

  1. หนังสือให้ความยินยอมให้ขายฝากหรือจำนองที่ดินหรือที่ดินพร้อมบ้าน
  2. สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส
  3. สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส
  4. สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีหย่าให้เตรียมสำเนาใบจดทะเบียนหย่า, กรณีคู่สมรสเสียชีวิตให้เตรียมสำเนาใบมรณะบัตรมาด้วย                                  

ทำไมนายทุนบางคน ถึงไม่ค่อยรับเคสมอบอำนาจ ?

อาจจะเคยเห็นกันมาบ้าง สำหรับเคสที่นายทุนผู้รับซื้อฝาก “ไม่รับ” เคสที่เป็นการมอบอำนาจจากเจ้าของทรัพย์ สาเหตุเป็นเพราะว่าเพื่อ

ป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ในเรื่องของกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ หลายๆ ครั้งมักจะมีเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงมาแสดงตัวว่า ไม่ได้ยินยอม

ให้นำทรัพย์ของเขามาทำการจำนอง หรือ ขายฝาก เป็นเหตุให้ต้องเสียเวลามานั่งฟ้องศาลกันอีก ทำให้นายทุนหลายๆ ท่านตัดปัญหา

ด้วยการไม่รับเคสขายฝากที่เป็นการมอบอำนาจกันเลยทีเดียว

สรุป.. การมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำเรื่อง ขายฝาก-จำนอง นั้นสามารถทำได้ แต่ทางที่ดีนั้นหากเป็นไปได้ เจ้าของทรัพย์ก็ควรจะเป็นผู้ที่ไปเรื่อง

ทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินเอง เพื่อลดความเสี่ยง ลดโอกาสเกิดปัญหาที่จะตามมาในอนาคตนั่นเอง

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @PropertyForCash
โทร : 083-067-7196

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://propertyforcash.co/ขายฝาก-จำนอง/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property for Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://propertyforcash.co/articles/

หรือ https://web.facebook.com/propertyforcashofficial/