ขอเลขที่บ้านโดยไม่มีเจ้าบ้านได้ไหม

หัวข้อกระทู้ : การย้ายเข้าทะเบียนบ้านในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน

ขอเลขที่บ้านโดยไม่มีเจ้าบ้านได้ไหม
apiwan

สมัครเมื่อ : 20 พฤศจิกายน 2559

การย้ายเข้าทะเบียนบ้านในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน

20 พฤศจิกายน 2559, 18:58:13

ได้รับที่ดินจากพ่อแม่และมีบ้านอยู่1 หลังในที่ดิน ซึ่งทรุดโทรมเพราะไม่มีคนอยู่แต่มีทะเบียนบ้านและเคยย้ายเข้าไปอยู่ในเด็กๆ ตัวเองได้ย้ายชื่อออกมาอยู่ที่อื่นเป็นเวลานานก่อนที่พ่อแม่จะเสียชีวิต จนกระทั้งมีการแบ่งมรดก พ่อแม่ไม่ได้ทำพินัยกรรมให้จึงตั้งพี่คนโตเป็นผู้จัดการมรดก ได้โอนที่ดินกันเรียบร้อย และผู้จัดการมรดกได้เสียชีวิตแล้วเช่นกัน พี่ที่มีชื่อในที่ดินร่วมกันได้แจ้งทะเบียนบ้านเก่าหาย(สมัยนั้นเป็นลักษณะกระดาษเอ4) จนท.ที่อำเภอจึงทำเล่มให้ใหม่แต่ยังไม่มีคนย้ายเข้าตั้งแต่ปี 2547 และแนะนำว่าทำเล่มทะเบียนไว้ก่อนจะย้ายเข้ามาเมื่อไหร่ก็นำเล่มมาแจ้ง  จนปัจจุบัน(2559)จึงไปติดต่อจนท.ที่อำเภอบ้านหมี่ เพื่อทำการขอย้ายเข้า แต่เจ้าหน้าที่กลับบอกว่าต้องไปหาเอกสารสัญญาขอสร้างสิ่งปลูกสร้างมาแสดงจึงจะย้ายเข้าได้ ทั้งที่นำสำเนาโฉนดที่ดินที่มีชื่อตัวเ่องในแปลงบ้านไปแสดงแต่ทาง จนท.โยนให้ไปขอเอกสารจากกรมที่ดินซึ่งอยู่ไกลกันมาก และสังสัยว่าสมัยก่อนการสร้างบ้านไม่ต้องขออนุญาติเพราะอยู่นอกเขตเทศบาลและยังไม่มีอบต.ในสมัยนั้นเพียงแต่แจ้งทางผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน เพื่อนำไปขอบ้านเลขที่ ซึ่งเสร็จเรียบร้อยมานานตั้งแต่พ่อยังมีชีวิตอยู่ อยากทราบว่าการกระทำในลักษณะเช่นนี้ทำไมทางอำเภอบ้านหมี่จึงไม่ทำการย้ายเข้าให้ กรุณาให้คำแนะนำด้วย ความรู้สึกของประชาชนในต่างจังหวัดที่ไม่ได้รับความสะดวกในการบริการของเจ้าหน้าที่นั้นมีมากมายเหลือเกิน อยากให้มีการปรับปรุงอำนวยความสะดวกบ้าง แค่เรื่องย้ายเข้ามิได้หมายความว่าจะสามารถนำที่ดินหรือบ้านซึ่งเป็นของตนเองออกไปทำธุรกรรมอย่างอื่น เพราะที่ดินยังมีพี่สาวมีชื่อร่วมด้วย แค่เพียงจะย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านแค่นั้นเพื่อจะได้ดำเนินการขอไฟฟ้าหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ 

แก้ไขครั้งล่าสุดโดย teyy : 18/05/2020 14:52:05

ขอเลขที่บ้านโดยไม่มีเจ้าบ้านได้ไหม
teyy

สมัครเมื่อ : 18 มีนาคม 2563

Reply : การย้ายเข้าทะเบียนบ้านในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน

การย้ายเข้าบ้านกรณีบ้านว่าง นายทะเบียนต้องตรวจสอบว่าใครเป็นเจ้าบ้าน หรือทำหน้าที่เจ้าบ้าน โดยพิจารณาจากเจ้าของกรรมสิทธิ์

ผู้เช่า หรือผู้ดูแลบ้าน และหากเป็นกรณีกรรมสิทธิร่วมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิร่วมด้วย เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบ

ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของทรัพย์และครอบครองบ้านอยู่ นายทะเบียนสามารถให้บุคคลดังกล่าวทำหน้าที่เจ้าบ้านรับแจ้งย้ายเข้าได้

แก้ไขครั้งล่าสุดโดย teyy : 18/05/2020 14:52:01

ก้าวแรกของการสร้างบ้าน…

นอกจากการเลือกแบบบ้าน การศึกษาข้อมูลการสร้างบ้าน และ การสร้างบ้านโดยบริษัทที่มีความเป็นมืออาชีพแล้ว…

ขั้นตอนต่อไปคือการทำให้บ้านหลังนั้นเป็นที่อยู่อาศัยที่มีตัวตนถูกต้องตามหลักกฎหมาย
นั่นคือการมี “เลขที่บ้าน”  และ “ทะเบียนบ้าน” ที่ระบุตำแหน่งที่ตั้งอย่างชัดเจน
มาทำความรู้จักวิธีขอเลขที่บ้านนั้นมีขั้นตอนอย่างไร และเจ้าของบ้านควรรู้อะไรบ้าง

ความหมายของ บ้าน

บ้าน หมายถึง โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ประกอบการ ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และให้หมายความรวมถึงแพ หรือเรือซึ่งจอดเป็นประจำ และใช้เป็นที่อยู่ประจำ หรือสถานที่ หรือยานพาหนะซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำได้ด้วย

ทะเบียนบ้าน คือ ทะเบียนบ้านที่นายทะเบียนออกให้บ้านแต่ละหลัง กำหนคให้มีเลขประจำบ้าน (เลขที่บ้าน) ซึ่งปลูกสร้างโดยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน ที่ปลูกสร้างอาคาร

การขอเลขที่บ้านสำคัญอย่างไร?

เลขที่บ้าน หรือ เลขประจำบ้าน มีความสำคัญที่แต่ละบ้านจะต้องมีเพื่อวัตถุประสงค์ด้านต่างๆ คือ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของประชาชน ป้องกันการแอบอ้างสิทธิในที่ดิน หรืออ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นๆ

เมื่อมีการปลูกสร้างบ้านนอกจากจะต้องมีการดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างอาคารแล้ว เมื่อบ้านก่อสร้างแล้วเสร็จ เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน หรือสำนักงานเทศบาล หรือสำนักงานเขต เพื่อออกใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ก.ร.9) สำหรับนำไปประกอบการยื่นคำร้องขอเลขที่บ้าน และสมุดทะเบียนบ้านต่อนายทะเบียน โดยต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่บ้านนั้นสร้างแล้วเสร็จ

ขอเลขที่บ้านโดยไม่มีเจ้าบ้านได้ไหม

เอกสารที่ต้องใช้เมื่อขอเลขที่บ้าน

(1) ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) ออกโดยผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน หรือเจ้าหน้าที่ท้องที่ที่ปลูกสร้างบ้าน

(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน

(3) กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอเลขที่บ้านได้ด้วยตัวเอง ให้ใช้เอกสารเพิ่มเติมคือ หนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ รวมถึงพยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงลายมือชื่อ หรือลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือข้างขวาในหนังสือมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วนทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด

(4) ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือ หนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้าง

(5) เอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดินที่บ้านหลังนั้นตั้งอยู่ เช่น โฉนดที่ดิน, น.ส.3, ส.ป.ก

(6) รูปถ่ายบ้านที่ปลูกสร้างเสร็จทั้ง 4 ด้าน คือด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้วนขวา ทั้งนี้บ้านที่ปลูกสร้างต้องมีห้องน้ำ

(7) แบบแปลนในการสร้างบ้านออกโดยผู้มีคุณวุฒิ

กรณีที่มีการปลูกบ้านในที่ดินของบุคคลอื่นให้ใช้เอกสารเพิ่มเติมคือ

(1) หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดินแปลงนั้น

(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของที่ดิน

(3) สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดิน

ขอเลขที่บ้านโดยไม่มีเจ้าบ้านได้ไหม

ขั้นตอนการขอเลขที่บ้าน

(1) ยื่นเรื่องติดต่อขอเลขที่บ้าน และสมุดทะเบียนบ้าน พร้อมกับเอกสารให้ครบถ้วน ที่สำนักงานเทศบาล สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำภอ

(2) นายทะเบียนหรือเจ้าหน้าที่ จะกำหนดเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน ให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน กรณีปลูกสร้างบ้านในเขตเทศบาล และภายในเวลา 30 วัน กรณีปลูกสร้างบ้านนอกเขตเทศบาล

ข้อควรรู้เมื่อขอเลขที่บ้าน

(1) ค่าธรรมเนียมการขอเลขที่บ้าน ปัจจุบันเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2551 ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย

(2) เจ้าบ้านจะต้องดำเนินการขอเลขที่บ้านต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ปลูกสร้างบ้านเสร็จสมบูรณ์ หากฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

(3) สำหรับบ้านที่ปลูกสร้างเสร็จนานแล้ว แต่ยังไม่มีเลขที่บ้าน เจ้าบ้านสามารถดำเนินการขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้านได้ แต่จะเสียค่าปรับการแจ้งล่าช้ากว่ากำหนด

(4) บ้านที่ปลูกสร้างในเขตท้องที่ที่ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร จะต้องมีการแจ้งขออนุญาตปลูกสร้างอาคารก่อน กรณีไม่ขออนุญาตปลูกสร้าง นายทะเบียนจะกำหนดเลขที่บ้านและจัดทาทะเบียนบ้านชั่วคราวให้

(5) การแก้ไขทะเบียนบ้านชั่วคราวให้เป็นทะเบียนบ้านปกติ สามารถทำได้โดยเจ้าบ้านทำเรื่องขออนุญาตปลูกสร้างอาคารให้เรียบร้อย แล้วนำหลักฐานยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนเพื่อขอแก้ไขทะเบียนบ้าน

(6) บ้านที่ปลูกสร้างโดยบุกรุกที่สาธารณะ หรือปลูกในพื้นที่ป่าสงวน สามารถขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้านได้ แต่จะเป็นแบบทะเบียนบ้านชั่วคราว

ดังนั้น…หลังจากคุณสร้างบ้านเสร็จจะต้อง “ขอเลขที่บ้าน”
ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะโดนปรับ 1,000 บาท

เพราะเลขที่บ้านนั้นสำคัญ เป็นเหมือนตัวช่วยคุมครองกรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้าน รวมทั้งยังใช้ประกอบการรับสิทธิ์ประโยชน์พื้นฐานต่างๆ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่เมื่อมีบ้านแล้วเจ้าของบ้านจะไม่อยากแจ้งขอเลขที่บ้าน เพราะท้ายที่สุดผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุด คือเจ้าของบ้านเอง

ภาพประกอบบทความ :

แบบบ้าน AT-906

รายละเอียดแบบบ้าน AT-906 คลิก!

ขอเลขที่บ้านโดยไม่มีเจ้าบ้านได้ไหม

แบบบ้าน AT-705

รายละเอียดแบบบ้าน AT-705 คลิก!

ขอเลขที่บ้านโดยไม่มีเจ้าบ้านได้ไหม

สนใจสร้างบ้านหรูกับ บริษัท อาร์ต เทค โฮม จำกัด

Tel. : 02-804-1515

E-mail :

Facebook : arttechhome

Share post: