ชาวต่างชาติ จดทะเบียนสมรสในไทย ได้ไหม

สำเนาของเอกสารประจำตัว

– สำหรับคนไทย: บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน

– สำหรับชาวต่างชาติ: หนังสือเดินทางพร้อมกับแสตมป์ของด่านตรวจคนเข้าเมือง (แสตมป์ติดกับหนังสือเดินทางของคุณโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเมื่อคุณเดินเข้ามาในประเทศไทย)

– หนังสือรับรองเสรีภาพในการแต่งงานจากสถานทูต: เอกสารฉบับนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้หากคุณเป็นชาวต่างชาติ ที่ประสงค์จะแต่งงาน เอกสารฉบับนี้จะรับรองว่าบุคคลดังกล่าว โสด/ไม่ได้แต่งงานกับบุคคลอื่น ตามกฎหมายไทย หนังสือรับรองเสรีภาพในการแต่งงาน (ชื่อที่เรียกจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละสถานทูต) จะต้องออกให้โดยสถานทูตของชาวต่างชาติในประเทศไทย โปรดทราบว่า แต่ละสถานทูตจะมีเอกสารที่จำเป็นต้องใช้แตกต่างกัน คุณควรติดต่อไปยังสถานทูตล่วงหน้าเพื่อที่จะสอบถามถึงเอกสารที่จะเป็นต้องใช้ เวลาในการดำเนินการและค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับแต่ละสถานทูต ในบางสถานทูตหนังสือรับรองฯอาจได้ในวันเดียวกัน ในขณะที่บางสถานทูตอาจใช้เวลาเป็นวันหรือสองวัน เมื่อเอกสารรับรองดังกล่าวได้ออกโดยสถานทูตแล้ว จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทย และเอกสารที่ได้รับการแปลแล้วต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศในประเทศไทยด้วย

– หนังสือรับรองการหย่าหรือใบมรณบัตร(ถ้ามี): หากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้แต่งงานมาก่อน จำเป็นต้องแสดงหนังสือรับรองการหย่าต่อเมื่อการแต่งงานนั้นได้สิ้นสุดลงโดยการหย่าร้างแล้ว หรือในกรณีใบมรณะบัตร จำเป็นต้องแสดงต่อเมื่อการแต่งงานได้สิ้นสุดลงเมื่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ตายลง สำหรับชาวต่างชาติ หนังสือรับรองนี้จำเป็นก็ต่อเมื่อได้ร้องขอหนังสือรับรองเสรีภาพในการแต่งงานจากสถานทูต และในขั้นตอนที่คุณจดทะเบียนสมรส

– ใบรับรองแพทย์: หญิงใดที่จะแต่งงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีใบรับรองแพทย์เพื่อแสดงในขณะจดทะเบียนสมรส ในกรณีที่หญิงนั้นได้มีการหย่าร้าง หรือเป็นหม้าย ภายในระยะเวลา 310 วัน ใบรับรองแพทย์จะต้องออกให้โดยแพทย์ผู้มีใบรับรอง ซึ่งรับรองว่าหญิงดังกล่าวมิได้ตั้งครรภ์
นี้เป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคลไทยที่จะมีการแต่งงาน ถ้าเขา / เธอได้เปลี่ยนชื่อของเขา / เธอมาก่อน

– เอกสารรับรองการเปลี่ยนชื่อ (สำหรับคนไทย): นี้เป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะสำหรับคนไทย ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อมาก่อนหน้านี้

แม้การจดทะเบียนสมรสในไทยจะมีความเรียบง่าย การที่คุณจะทำพิธีแต่งงานด้วยตัวของคุณเองนั้น อาจเป็นการเสียเวลาอย่างมาก ซึ่งคุณจะต้องเดินทางไปยังสถานทูตเอง เดินทางไปหาสถานที่แปลเอกสารและไปยังกระทรวงต่างประเทศ เราขอแนะนำบริการของ จี เอ เอ็ม ลีเกิ้ล อัลลัยแอนส์ ให้เราได้ดูแลงานเอกสารเหล่านี้ให้คุณ เพื่อให้คุณมีเวลาไปเพลิดเพลินกับกิจกรรมอื่นๆได้ เช่นวางแผนพิธีมงคลสมรส และ แผนการฮันนีมูนของคุณ

ชาวต่างชาติ จดทะเบียนสมรสในไทย ได้ไหม
ชาวต่างชาติ จดทะเบียนสมรสในไทย ได้ไหม

ชาวต่างชาติ จดทะเบียนสมรสในไทย ได้ไหม

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับหนุ่มสาวชาวไทย ขอบอกเลยว่า Don’t worry นะ! เพราะ Weddinglist ได้รวบรวมเอาปัญหาที่เรามักพบบ่อยครั้งคือในเรื่องของการเตรียมเอกสาร การไม่รู้สถานที่จดทะเบียนสมรสและการไม่รู้ขั้นตอนการดำเนินการรวมถึงหลักการในการสมรส…ตามม่ะ เราทำเป็นข้อๆ ไว้ให้ทำตามสเต็ปนี้ไปแบบชิวๆ

อันดับแรกที่ต้องจำไว้คือการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาตินั้นคู่บ่าวสาวต้องดำเนินการด้วยตนเอง เนื่องจากการจดทะเบียนสมรสด้องมีการลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนและพยานอีก 2 คน

สถานที่จดทะเบียนสมรส

  1. อยู่ในประเทศไทยจดทะเบียนสมรสที่อำเภอ
  2. อยู่ต่างประเทศจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้นๆ

* ทำได้เฉพาะการจดทะเบียนระหว่างบุคคลสัญชาติไทยหรือระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับต่างชาติและเป็นการจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ถ้าหากในอนาคตมีความจำเป็นต้องย้ายไปอยู่ประเทศเกิดของสามีหรือภรรยาก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสซ้ำอีกแต่ให้ติดต่อรับรองการจดทะเบียนสมรสของประเทศนั้นๆ เช่น สามีชาวอังกฤษสมรสกับภรรยาชาวไทยที่ที่ว่าการอำเภอ มีผลบังคับตามกฏหมายไทย จากนั้นให้นำเอกสารไปยื่นคำร้องที่สถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทยเพื่อให้รับรองให้การสมรสนี้มีผลตามกฎหมายอังกฤษด้วย

คุณสมบัติของผู้ที่ทำการจดทะเบียนสมรส

  1. อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ต้องนำบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอม
  2. อายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้สมรสได้
  3. อายุ 20 ปีบริบูรณ์สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
  4. ฝ่ายชายหรือหญิงต้องมีสัญชาติไทย
  5. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ
  6. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดามารดา
  7. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  8. หญิงที่สามีตายหรือสิ้นสุดการสมรสลงได้ประการอื่น อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

เอกสารที่ต้องเตรียม

  1. คำร้องขอนิติกรณ์ (ทั้งสองคน)
  2. คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (ทั้งสองคน)
  3. หนังสือเดินทางฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (ทั้งสองคน)
  4. บัตรประชาชนฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (ชาวไทย)
  5. ทะเบียนบ้านฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (ชาวไทย)
  6. หนังสือรับรองสถานะภาพความโสด (ชาวต่างชาติ)
  7. ทะเบียนหย่าฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (ทั้งสองคนถ้ามี)
  8. ใบรับรองแพทย์ระบุว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ (กรณีฝ่ายหญิงหย่าขาดมาน้อยกว่า 310 วัน)
  9. เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ทั้งสองคนถ้ามี)

หลังการสมรส ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายเลือกได้ดังนี้

  1. ใช้นามสกุลเดิมทั้งสองฝ่าย
  2. ผู้หญิงใช้นามสกุลตามสามี
  3. ผู้ชายใช้นามสกุลตามภรรยา
  4. ผู้หญิงใช้นามสกุลสามี ผู้ชายใช้นามสกุลภรรยา
  5. ผู้หญิงไทยที่สมรสกับสามีต่างชาติสามารถใช้นามสกุลเดิมของตนเองเป็นชื่อรองได้

* เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วคนไทยที่ได้ทำการเปลี่ยนนามสกุลควรรีบมาดำเนินการเปลี่ยนชื่อในทะเบียนราษฎร์ให้เรียบร้อยพร้อมทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด

เรื่องน่ารู้สำหรับคู่สมรสต่างสัญชาติ

  1. ลูกที่เกิดมาถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่วันที่พ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน
  2. ถ้าคนไทยไปจดทะเบียนสมรสในสถานทูตของประเทศอื่นภายใต้กฎหมายของประเทศอื่นสามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยนำเอกสารที่จดทะเบียนทั้งหมดแปลเป็นภาษาไทยแล้วมายื่นเรื่องดำเนินการรับรองที่สำนักงานเขตอำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่
  3. สมรสกับชาวต่างชาติตามกฏหมายต่างชาติมาหย่าที่สำนักงานเขตอำเภอในไทยไม่ได้
  4. สมรสกับชาวต่างชาติตามกฎหมายไทยมาหย่าที่สำนักงานเขตอำเภอในไทยหรือสถานทูตไทยได้

อ้างอิง

กรมการกงสุล

  • คลิกเลือกสถานที่จัดงานแต่งงานและฮันนีมูนที่โรงแรมในเครือ Marriott Wedding
  • คลิกดูฤกษ์แต่งงานปี 2565