มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร

    เนื้อหากล่าวถึงมาตรฐานในงานไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ช่างไฟฟ้าทุกคนต้องทราบและปฏิบัติ เพื่อให้ทำงานได้ตรงตามเกณฑ์และข้อกำหนดของการไฟฟ้า ได้ระบบไฟฟ้าที่มีมาตรฐานและปลอดภัย โดยเนื้อหาประกอบด้วย มาตรฐานสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า, มาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า การร้อยท่อ และการต่อสายดิน, การคำนวณโหลด ขนาดสายไฟ ขนาดอุปกรณ์ป้องกัน (CB), การเลือกใช้และมาตรฐานตู้โหลดเซ็นเตอร์, ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต, เซอร์กิตเบรกเกอร์, สวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ (MCCB) หรือเมนเบรกเกอร์, มาตรฐานการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าที่เป็นจุดเสี่ยงของการเปียกชื้น รวมถึงวิธีอ่านแบบ-แผนผังไฟฟ้าและไดอะแกรม

พูดได้ว่าไฟฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอีกชนิดหนึ่งที่แทบทุกบ้านจะขาดไม่ได้ ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในปัจจุบันมีมากมายที่ใช้ไฟฟ้า ดังนั้นการรู้ถึงระบบไฟฟ้าภายในบ้านจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร หรือโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

หลักการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน มีอะไรบ้าง

1. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย

การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า อาทิเช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ จะต้องเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ หรือได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม อาทิเช่น มอก. เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้เลือกมา มีความทนทาน แข็งแรง และปลอดภัยที่จะใช้งาน

2. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสม

การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรจะเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เช่น เลือกขนาดสายไฟให้มีขนาดที่สามารถรองรับการใช้งานภายในอาคารได้ หรือไม่เผื่อเยอะเกินไป รวมถึงการเลือกซื้อให้เพียงพอ ไม่เผื่อมากจนเกินไป เพื่อความประหยัดในการติดตั้ง แต่ก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วยเพื่อความปลอดภัย

3. ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามมาตรฐานของการไฟฟ้า

การติดตั้งสายไฟฟ้า ควรติดตั้งให้มีความเรียบร้อยสวยงาม เป็นระเบียบ โดยเฉพาะสายไฟ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่ควรรู้ต่อการติดตั้งสายไฟ มีดังนี้

3.1 การเลือกสายไฟ – นอกจากสายไฟที่ได้เลือกมาจะได้รับมาตรฐานแล้ว สายไฟที่ใช้ติดตั้งภายในอาคาร ควรจะเป็นสายชนิดที่มีฉนวนหุ้ม เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ไปสัมผัสกับสายไฟโดยตรง

3.2 การเดินสายผ่านหนังหรือกำแพง – ในกรณีที่มีการติดตั้งโดยเจาะทะลุผนัง จะต้องมีวัสดุที่ไม่มีคมหุ้มสายไฟไว้ อาทิเช่น ปลอกพลาสติก หรือขอบยาง เพื่อไม่ให้มีสิ่งมีคมไปทำความเสียหายให้กับสายไฟ

3.3 การจับยึดสายไฟ – ในกรณีที่การติดตั้ง เป็นการติดตั้งแบบติดผนัง ควรจะมีอุปกรณ์จับยึดกับผนัง อาทิเช่น เข็มขัดรัดสาย รางไฟ หรือ ท่อร้อยสายไฟ โดยอุปกรณ์ที่นำมายึดสายจะต้องใช้วัสดุที่ไม่ทำอันตรายต่อฉนวนไฟฟ้า สำหรับเข็มขัดรัดสายจะต้องมีระยะในการยึดสายไฟที่เหมาะสม โดยปกติจะไม่เกิน 20 เซนติเมตร สำหรับท่อร้อยสายไฟ จะเป็นอุปกรณ์ที่มักจะ ร้อยในงานพิเศษ เช่นใต้หนัง ใต้เพดาน เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสายไฟ

3.4 ห้ามเดินสายไฟซ้อนกัน – การติดตั้งสายไฟ จะต้องเรียงต่อกันเป็นชั้นเดียว ห้ามเดินสายไฟซ้อนกันเป็นอันขาด

3.5 ไม่ควรเดินสายไฟบนพื้นผิวที่อาจจะเป็นอันตรายกับสายไฟได้ เช่น พื้นผิวที่ไม่มีความแข็งแรง

3.6 ควรเก็บงานตามจุดต่อต่างๆ ให้เรียบร้อย – จุดต่อ หรือรอยเชื่อมต่างๆ ถ้าหากมีการติดตั้งที่ไม่ดีพอ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฟช็อต หรือ ไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้นตามจุดรอยต่อต่างๆ ควรติดตั้งให้เรียบร้อยและมีฉนวนไฟฟ้าหุ้มไว้เพื่อความปลอดภัย

4. แยกวงจรไฟฟ้าเป็นระบบย่อย

ไม่ควรติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งหมดทั้งอาคารภายในสวิตช์เดียว ควรแยกวงจรเป็นจุดต่างๆ โดยอาจจะใช้ กล่องพักสายไฟ เป็นตัวแยกวงจรย่อย และสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นปริมาณมาก อาทิเช่น เครื่องปรับอากาศ ควรจะแยกสวิตช์ต่างหาก และเมื่อมีปัญหาก็สามารถบำรุงรักษาได้ง่ายอีกด้วย

5.เลือกช่างไฟฟ้าที่ไว้ใจได้

สุดท้ายการเลือกช่างไฟฟ้าที่จะเข้ามาติดตั้งระบบไฟฟ้าให้กับเราก็สำคัญเช่นกัน เพราะจะส่งผลถึงต่อความปลอดภัยอีกด้วย

ิ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของคําว่า ติดตั้ง หมายถึง ประกอบเข้าด้วยกันเพื่อให้ใช้การได้ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2545 : 464) ซึ่งการประกอบเป็ นการเอาชิ้ นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็ นรูปร่างตามที่ต้องการ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2545 : 653) ดังนั้น การติดตั้งไฟฟ้ าภายในบ้าน หมายถึง การนําเอาชิ้ นส่วนต่าง ๆ ที่เป็ น วัสดุ อุปกรณ์ไฟฟ้ าประเภทให้แสงสว่างมารวมกันเป็ นรูปร่างตามที่ต้องการ และสามารถ ทํางานได้ โดยการติดตั้งไฟฟ้ าภายในบ้าน ครอบคลุม การเดินสายไฟฟ้ าภายในบ้าน การ ติดตั้ง คัตเอาต์หรือสะพานไฟ การติดตั้งเต้ารับ การติดตั้งหลอดไส้ การติดตั้งสวิตช์ การติดตั้งหลอด ฟลูออเรสเซนต์การตรวจสอบการทํางานและทดลองใช้งาน

มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้ามีกี่แบบ

มาตรฐานทางไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งทางไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับทดสอบวัสดุอุปกรณ์ในงานไฟฟ้า ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศไทยคือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า สำหรับประเทศไทยมีมาตรฐานที่สำคัญคือ มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ...

การติดตั้งไฟฟ้าในอาคารคืออะไร

การเดินสายไฟฟ้าในอาคารหมายถึงการติดตั้งอุปกรณ์และเดินสายไฟฟ้าภายในตัวอาคารเริ่มตั่งแต่ แผง จ่ายไฟรวมเรื่อยมาถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัว ได้แก่การเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสายการเดินสายไฟฟ้า ในท่อร้อย สาย เป็นต้น สาหรับการติดตั้งในโรงงาน ส่วนใหญ่จะเดินสายในท่อร้อยสาย รางเดินสาย (wire way) แล ะรางเคเบิล (cable tray) เป็นต้น

มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าในข้อใด ที่ใช้กําหนดมาตรฐานสําหรับประเทศไทย

รหัสมาตรฐาน EE 2001-56 มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556. เกี่ยวกับมาตรฐาน

มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ปกติมาตรฐานในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า นั้นมีอยู่หลากหลายมาตรฐาน แต่พอจะแบ่งออกได้เป็น 2 อย่างคือ 1) มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า 2) มาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า.
มาตรฐานสากล เช่น ISO, IEC , EN. ... .
มาตรฐานประจำชาติ ... .
มาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน.