หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ ต่อเพื่อน

การบวชนับเป็นธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง เพราะผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา มีจุดมุ่งหมายที่จะให้บุตรของตนได้เป็นศาสนทายาทสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป และอีกประการหนึ่งเป็นจุดประสงค์ของผู้เป็นบิดามารดาที่ต้องการให้บุตรของตนได้ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อจะได้นำเอาหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในการที่จะอยู่ครองเรือนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ในภายหน้า


การบวชจะมี 2 ลักษณะ ได้แก่ การบวชเป็นสามเณร เรียกว่า "บรรพชา" และการบวชเป็นพระภิกษุ เรียกว่า "อุปสมบท"


          การบรรพชา หมายถึง การบวชเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการเว้นจากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เคยกระทำในชีวิตฆราวาส หันมาใช้ชีวิตแบบสันโดษ สงบ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสอันเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต การบรรพชา เป็นกิจเบื้องต้นของการอุปสมบท


คุณสมบัติของผู้บรรพชาอุปสมบท


 1. ต้องรู้เดียงสา คือมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ส่วนผู้อุปสมบทต้องอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

 2. ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรงเช่น โรคเรื้อน โรคฝีดาษ โรคกลาก โรคมงคร่อ หอบหืด ลมบ้าหมูและโรคที่สังคมรังเกียจอื่น ๆ

 3. ไม่เป็นผู้มีอวัยวะบกพร่อง หรือพิการ เช่น มือด้วน แขนด้วน ขาเป๋ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ เป็นง่อย

 4. ไม่เป็นคนมีอวัยวะไม่สมประกอบ เช่น เตี้ยเกินไป สูงเกินไป คนคอพอก

 5. ไม่เป็นคนทุรพล เช่น แก่เกินไป ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

 6. ไม่เป็นคนมีพันธะ คือ คนที่บิดามารดาไม่อนุญาต คนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ข้าราชการที่ไม่ได้รับอนุญาต

 7. ไม่เป็นคนเคยถูกลงอาญาหลวง เช่น คนถูกสักหมายโทษ คนถูกเฆี่ยนหลังลาย

 8. ไม่เป็นคนประทุษร้ายความสงบ เช่น เป็นโจรผู้ร้ายต้องอาญาแผ่นดิน


การอุปสมบท หรือการบวชเป็นพระภิกษุที่ใช้มาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันมี 3 วิธีคือ


 1. เอหิภิกขุอุปสัมปทา หมายถึง การบวชด้วยพระวาจาของพระพุทธเจ้าว่า จงเป็นภิกษุมาเกิด เป็นวิธีการอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้โดยตรงการอุปสมบทแบบนี้มีเฉพาะในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่


 2. ติสรณคมนูปสัมปทา หมายถึง การบวชด้วยการถึงซึ่งที่พึ่งที่ระลึก 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชให้แก่ผู้ต้องการบวช โดยให้ผู้นั้นปลงผมและหนวดเครา ห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วกราบพระภิกษุผู้ที่จะบวชให้พระภิกษุนั้นกล่าวนำถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกให้ผู้ต้องการบวชกล่าวตาม เท่ากับเป็นคำปฏิญาณตนเข้านับถือพระพุทธศาสนา เมื่อกล่าวคำถึงพระรัตนตรัยจบแล้วเป็นอันสำเร็จเป็นภิกษุ การอุปสมบทแบบนี้ใช้ควบคู่มากับเอหิภิกขุอุปสัมปทา


 3. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา หมายถึง การบวชด้วยคำประกาศย้ำ 3 ครั้ง รวมทั้งคำประกาศนำเป็นครั้งที่ 4 เป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สงฆ์บวชให้แก่กุลบุตร โดยให้ผู้นั้นบวชเป็นสามเณรชั้นหนึ่งก่อน แล้วให้ขออุปสมบท จากนั้นพระกรรมวาจาจารย์สวนประกาศน้ำครั้งที่ 1 ว่าสงฆ์จะรับผู้นั้นเป็นภิกษุหรือไม่ เมื่อสงฆ์ยังนิ่งอยู่ก็สวดประกาศย้ำอีก 3 ครั้ง ถ้าไม่มีใครคัดค้านก็เป็นอันสำเร็จเป็นพระภิกษุ วิธีอุปสมบทแบบนี้ใช้มาตั้งแต่พุทธกาล ตอนกลางมาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อทรงอนุญาตญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาแล้ว ก็ทรงเลิกเอหิภิกขุอุปสัมปทา และติสรณคมนูปสัมปทาเสีย


ประโยชน์ของการบรรพชาและอุปสมบท


 1. เป็นการทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน หมายความว่า พุทธศาสนิกชนจะช่วยรักษาพระพุทธศาสนาโดยรักษาพระธรรมวินัยให้เจริญมั่นคง เพราะว่าพระพุทธศาสนาก็คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย ช่วยให้เขามีชีวิตที่ดีงาม และสังคมที่ร่มเย็นเป็นสุข วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาพระพุทธศาสนา ก็คือ การบวชเข้าไปเรียนรู้พระธรรมวินัย และรักษาถ่ายทอดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าต่อกันไป เรียกว่า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


 2. เป็นการทำหน้าที่ของคนไทย หมายความว่า พระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในสังคมไทย และได้กลายเป็นมรดกของชนชาติไทย คนไทยได้เห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นทรัพย์สมบัติที่มีค่าสูงสุดของประเทศชาติและสังคมของเราเพราะว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแล้ว ก็ให้หลักธรรมคำสอน ทำให้คนประพฤติดีงามเป็นหลักให้แก่สังคม ทำให้สังคมอยู่กันได้ด้วยสันติสุข มีการเบียดเบียนกันน้อยลง ถ้ามีคนดีมากกว่าคนชั่วสังคมนี้ก็อยู่ได้ พระพุทธศาสนาได้ช่วยให้คนมากมายกลายเป็นคนดีขึ้นมา นอกจากนั้นพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม ตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี การศึกษา ดนตรีและศิลปะต่าง ๆ ก็มาจากวัดวาอาราม เป็นต้น


 3. เป็นการสนองพระคุณบิดามารดา ดังที่ถือกันเป็นประเพณีว่า ถ้าใครได้บวชลูกแล้ว ก็ได้บุญกุศลมาก ช่วยให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์ ตลอดจนได้เป็นญาติของพระศาสนา แต่ถ้ามองความหมายให้ลึกซึ้งลงไปก็เป็นเรื่องความเป็นจริงของชีวิตจิตใจ กล่าวคือ การบวชเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้จิตใจของพ่อแม่มีความสุข มีความปลาบปลื้มใจ ด้วยความหวังว่าเมื่อลูกได้เข้าไปอยู่ในวัด ได้ศึกษาอบรมในพระธรรมวินัยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นคนดี จะรับผิดชอบชีวิตของตนเองได้ จะรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคมได้ แล้วเกิดความมั่นใจ พ่อแม่ก็จะมีความสุขเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อลูกบวช ก็เท่ากับจูงพ่อแม่เข้ามาสู่พระศาสนาด้วย มีโอกาสได้ฟังธรรม ได้เรียนรู้ธรรมะ ทำให้ได้ใกล้ชิดพระศาสนา เรียกว่าเป็นญาติของพระศาสนาอย่างแท้จริง


 4. เป็นการฝึกอบรมพัฒนาตนเอง คือการพัฒนาชีวิตทั้งในด้านความประพฤติ คือพฤติกรรมทางกาย วาจา และด้านจิตใจที่มีความดีงาม เข้มแข็ง มั่นคง เป็นสุข และในด้านปัญญาคือความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง


          

มารยาทชาวพุทธ มารยาทชาวพุทธ  หมายถึง  กิริยาวาจาของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาที่ถือว่าเรียบร้อยซึ่งพระพุทธศาสนามีหลักคำสอนเพื่อฝึกหัดกิริยามารยาทของชาวพุทธให้มีความงดงาม

หน้าที่ของชาวพุทธและมารยาทของชาวพุทธมีอะไรบ้าง

- หน้าที่ชาวพุทธในด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ การดำรงตนอยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ละเมิดกฎระเบียบ และกติกาของสังคม - หน้าที่ชาวพุทธด้านการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา คือ ไม่นิ่งดูดายเมื่อมีวิกฤตการณ์เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา

หน้าที่ของชาวพุทธมีอะไรบ้าง

หน้าที่ ตามหลักของพระพุทธศาสนาเป็น 3 ประการคือ 1. ละเว้นจากการทำบาปทั้งปวง 2. ถึงพร้อมด้วยการทำความดี 3. ทำจิตให้สดใสผ่องแผ้ว ผ่องใส

หน้าที่ชาวพุทธคืออะไร พร้อมทั้งบอกบทบาทหน้าที่ชาวพุทธว่ามีอะไรบ้าง

หน้าที่ชาวพุทธ ชาวพุทธมีหน้าที่สำคัญคือการศึกษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติและเผยแผ่หลักธรรมรวมทั้งส่งเสริม ทำนุบำรุงรักษาและปกป้องพระพุทธศาสนาสืบทอด เจตนารมณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อสืบ

มารยาทชาวพุทธมีความสําคัญอย่างไร

มารยาท และการวางตัวที่เหมาะสม จึงเป็นปราการด่านแรกที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ผ่านการอบรมฝึกฝนตนมาดี มีคุณสมบัติของผู้ดีมีวัฒนธรรมอันเจริญ สามารถยังจิตของผู้พบเห็นให้ยินดีเลื่อมใส นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีความเคารพ อ่อนน้อม ส่งผลให้เกิดความเคารพในพระรัตนตรัย และเคารพในการปฏิสันถารอีกด้วย มารยาทการยืน การ ...