วท.บ. เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

ชื่อหลักสูตร

ชื่อปริญญา

ชื่อปริญญาภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Information Technology and Business Innovation)
อักษรย่อภาษาไทย : วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Information Technology and Business Innovation)

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะอาชีพ มีองค์ความรู้ความเป็นผู้ประกอบการ สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม

ความสำคัญ

จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกิดขึ้น นโยบายของรัฐที่ส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (CIVID-2019) ทำให้เกิดการทำงานวิถีใหม่ มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทั้งการใช้งานส่วนบุคคล องค์การธุรกิจ และอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ มีทักษะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาดำเนินงานในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจและอุตสาหกรรม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานการเรียนรู้ด้านธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะที่จะตอบสนองความต้องการกำลังคนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการบริหารจัดการ การดำเนินงานทางธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน โดยการประยุกต์องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านกระบวนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ด้านกระบวนการพัฒนาระบบ และการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจหรือองค์การ สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ด้านวิชาการและทักษะด้านการปฏิบัติควบคู่กัน เพื่อนำไปประกอบอาชีพและก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแบบพลิกผัน (Disruption Technology)

คุณสมบัติผู้สมัคร

วัตถุประสงค์

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้
1. เคารพกฎเกณฑ์ของหน่วยงานและสังคม ยึดมั่นในความถูกต้องตามจรรยาบรรณทางวิชาการและจรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความอดทน มุ่งมั่น ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัย มีศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยเฉพาะเอกลักษณ์ความเป็นไทย รวมทั้งเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก มีจิตสาธารณะ ร่วมแก้ปัญหาสังคม ต่อต้านการทุจริต มีความคิดเชิงบวกต่อการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
2. อธิบายองค์ความรู้ทางธุรกิจและการประกอบการ สำหรับเป็นพื้นฐานในการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ อธิบายองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาทางธุรกิจได้ รอบรู้ เท่าทันต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และของโลก
3. มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต สืบค้นความรู้ที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถแยกแยะปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ นำเสนอแนวทางเพื่อปรับปรุง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระบวนการทางธุรกิจ และปัญหาเฉพาะหน้าได้ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถบูรณาการข้ามศาสตร์และมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ
4. ทำงานโดยมีการวางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบ และปรับปรุงให้มีความถูกต้อง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง การทำงาน และสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในพหุวัฒนธรรม และแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์
5. สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแสวงหาข้อมูล สื่อสารและนำเสนอองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ และชี้นำสังคมอย่างรู้เท่าทัน
6. เลือกใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และสร้างสรรค์ และเป็นผู้สร้างหรือผู้ร่วมสร้างพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจและสังคม

รายละเอียดหลักสูตร

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

สามารถประกอบอาชีพได้ในองค์การภาครัฐและเอกชน ประกอบอาชีพอิสระ เป็นผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวและงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งต่างๆ ดังนี้
  • นักบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือนักเทคโนโลยีและสารสนเทศ
  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  • เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis and Design)
  • ผู้จัดการโครงการสารสนเทศ (Information Project Manager)
  • ผู้จัดการฐานข้อมูล (Database Administrator)
  • ผู้ประกอบธุรกิจดิจิทัล (Digital Business)

นอกจากนั้น จากทักษะตามกลุ่มวิชาที่เลือกเรียน ยังสามารถประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความทักษะเฉพาะของตน ในลักษณะงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตำแหน่งงาน ได้แก่

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Application Developer)
  • นักพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application Developer)
  • นักพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ (Website Designer and Developer)
  • นักพัฒนาไอโอที (IoT Developer)

ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์และมัลติมีเดีย ตำแหน่งงานได้แก่

  • นักพัฒนาสื่อวีดิทัศน์และมัลติมีเดีย (Multimedia and Video Developer)
  • นักผลิตเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Creator)

ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการพัฒนาระบบเครือข่ายและความปลอดภัย ตำแหน่งงาน ได้แก่

  • ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย (Network System Administrator)
  • ผู้ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยระบบ (System Security Officer)

ประกอบอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจอัจฉริยะ ตำแหน่งงาน ได้แก่

  • นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ (Business Analyst)
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัล (Digital Data Analyst)

และอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปี

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ

นิสิตรหัส 64: อ.พงช์ศนัญ ชาญชัยชิณวรฒ์ และ ดร.พนิตนาฎ ยิ้มแย้ม
นิสิตรหัส 63: ผศ.ดร.เพชรรัตน์ รัตนวงษ์ และ อ.อรรถพร แขสวัสดิ์
นิสิตรหัส 62: ดร.พัชรวดี พูลสำราญ และ ว่าที่ร้อยตรี ดร.กิตติศักดิ์ อ่อนเอื้อน

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นิสิตรหัส 61: ดร.พนิตนาฎ ยิ้มแย้ม และ อ.พงช์ศนัญ ชาญชัยชิณวรฒ์
นิสิตรหัสอื่นๆ: อ.พงช์ศนัญ ชาญชัยชิณวรฒ์ และ ว่าที่ร้อยตรี ดร.กิตติศักดิ์ อ่อนเอื้อน

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

อ.อรรถพร แขสวัสดิ์ และ ดร.พัชรวดี พูลสำราญ

อาจารย์ประจำสาขาวิชา

ความสำเร็จของศิษย์เก่า

อื่นๆ

  • ทำความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันเพื่อผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของหน่วยงานได้แก่ บริษัทไพร์มซอฟต์ อินเตอร์เนชัลแนล จำกัด และบริษัท นิว ดอน จำกัด
  • ปรับโครงสร้างของหลักสูตร โดยการลดจำนวนหน่วยกิตจาก 127 เป็น 121 หน่วยกิต และปรับระยะเวลาการออกปฏิบัติสหกิจศึกษา จากเดิม 1 ภาคการศึกษา เป็น 2 ภาคการศึกษา
  • แผนการเรียนรองรับสำหรับนิสิตที่ต้องการสำเร็จการศึกษาภายใน 3 ปีการศึกษา
  • แผนการเรียนการสอนสำหรับนิสิตเทียบโอน ให้นิสิตสามารถเทียบโอน และมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ในวันธรรมดานอกเวลาราชการและเรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ได้
  • จัดการเรียนการสอนบางรายวิชาเป็นแบบโมดูล เพื่อรองรับผู้ที่มีความต้องการ Reskill และ Upskill ในการจัดการเรียนการสอน
  • เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิต เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล ตามแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก