คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล หมายถึง

คนไทยคุ้นเคยสำนวน “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล” เป็นอย่างดี แม้บางคนอาจงงว่าถ้าเป็นคนดีแล้วคบคนพาล เราจะเป็นคนพาลแน่หรือ หรือคนพาลจะกลับมาเป็นคนดีตามเรากันแน่ อีกปัญหาหนึ่งคือวิทยาศาสตร์ไม่ได้ให้นิยามคำว่า “คนดี” และไม่แน่ว่าในอนาคตหากมีนิยามแล้วจะตรงกับนิยาม “คนดี” ของคนไทยมากน้อยเพียงใด

แต่อย่างไรก็ตามความรู้ทางวิทยาศาสตร์เท่าที่มีในวันนี้ยืนยันค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า การคบเพื่อนนิสัยใจคอหรือความคิดอ่านแบบใด เราก็มีโอกาสจะมีความคิดอ่านเหมือนกับบรรดาเพื่อน ๆ ที่แวดล้อมตัวเราด้วย

หากพวกเขาเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เราก็จะมองโลกในแง่ร้ายเช่นกัน

มีนักจิตวิทยาชื่อ โซโลมอน แอสช์ (Solomon Asch) จากวิทยาลัยสวอร์ทมอร์ (Swarthmore College) เคยทำการทดลองแปลก ๆ ไว้เรื่องหนึ่งตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๕๖ (dx.doi.org/10.1037/h0093718) เขาขีดเส้นตรงในแนวตั้งด้วยหมึกดำบนกระดาษแข็งพื้นสีขาวปราศจากลวดลายเพื่อใช้เป็นเส้นเปรียบเทียบ จากนั้นก็ขีดอีกสามเส้นยาวแตกต่างกัน มีแค่เพียงเส้นเดียวที่เท่ากับเส้นเปรียบเทียบ แล้วก็ให้คนแต่ละคนประมาณความยาวของเส้นสีดำนั้น

ในบรรดานักศึกษาชายอายุตั้งแต่ ๑๗-๒๕ ปี อายุเฉลี่ยอยู่ที่ ๒๐ ปีนั้น เขาสุ่มอยู่หลายกลุ่ม รวมผู้เข้าร่วมทดลองทั้งสิ้น ๑๒๓ คน จุดที่เขาต้องการทดสอบก็คือ ความเห็นเรื่องความยาวเส้นสีดำของแต่ละคนขึ้นกับความเห็นของกลุ่มเทียมหรือหน้าม้าที่เตรียมไว้เพียงใด

ผลก็คือผู้เข้าร่วมทดลองแต่ละคนประมาณความยาวของเส้นแตกต่างกัน “ขึ้นกับ” ว่าคนรอบข้างคิดอย่างไร หากกลุ่มจำแลงที่สร้างขึ้นบอกตัวเลขความยาวมาก ก็จะประมาณเส้นนั้นยาวมากตามด้วย ในทางตรงกันข้ามหากบอกว่าสั้นก็ได้ผลเช่นเดียวกัน

สรุปว่าแต่ละคนแสดงความคิดเห็นคล้อยตามความคิดเห็นของกลุ่ม ไม่ใช่ความคิดเห็นของตัวเองจริง ๆ

ผลการทดลองยืนยันงานเขียนของ กุสตาฟ เลอ บง (Gustave Le Bon) เรื่อง ฝูงชน : การศึกษาความคิดแบบมหาชน (The Crowd : A Study of the Popular Mind) ซึ่งไม่ว่าจะเลนิน มุสโสลินี หรือฮิตเลอร์ ต่างก็ผ่านตามาแล้วทั้งสิ้น เลอบงเขียนว่าสำหรับฝูงชนแล้ว “อารมณ์ความรู้สึกและแนวคิดของคนทุกคนในกลุ่มรวมกันเป็นหนึ่งเดียว และไปในทิศทางเดียวกัน จนราวกับความสำนึกแบบปัจเจกชนสูญหายไป”

เกิดอะไรขึ้นกันแน่ และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

เมื่อเกิดความคิด ความเห็น หรือความต้องการใด ๆ หากไปด้วยกันได้กับผู้คนรอบตัว จะทำให้สมองเข้าสู่วงจรการให้รางวัลของสมอง พูดง่าย ๆ คือถ้าคิดอะไรไม่ขัดแย้งกับพรรคพวกเราก็จะรู้สึกดี แต่ถ้าไม่ สมองส่วนที่เรียกว่าแอนทีเรียร์อินซูลา (anterior insula) รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องความรู้สึกเจ็บปวดจะทำงาน

คราวนี้ก็มีสองทางเลือก

ทางเลือกหนึ่งคือแกล้งทำเป็นเห็นด้วยกับคนอื่น แต่ยังคงเก็บอาการไม่เห็นด้วยไว้ในหัวอย่างลับ ๆ อีกทางก็คือ สมองจะหาทางเปลี่ยนและปรับจนความคิดที่อยู่เบื้องลึกที่สุดเข้ากันได้กับคนรอบ ๆ ตัว

ที่น่าสนใจคือ มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง (Neurosci Biobehav Rev. 2016 Dec ;71 : 101-111) ยืนยันว่า เราเลือกใช้วิธีการแบบหลังบ่อยเป็นอย่างยิ่ง

การทำงานของสมองสองส่วน คือ คอยติดตามตรวจสอบสิ่ง “ผิดแปลก” ไม่เข้ากันกับคนรอบข้าง ส่วนแรกคือแอนทีเรียร์อินซูลาที่กล่าวไปแล้ว อีกส่วนหนึ่งคือมีเดียลฟรอนทัลคอร์เท็กซ์ (medial frontal cortex) ที่ตั้งอยู่ตรงบริเวณตรงกลาง ๆ ของเปลือกสมองส่วนหน้า ทั้งสองจะร่วมกันหาทางลดความไม่ลงรอยดังกล่าว

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งใน ค.ศ. ๒๐๑๐ (doi.org/10.1093/scan/nsq054) ระบุว่าเครือข่ายสมองทำงานอย่างแข็งขันมากเสียจนกระทั่งเราเปลี่ยนใจในเรื่องต่าง ๆ ให้เข้ากับปัจจัยแวดล้อมภายนอก คือความคิดเห็นของเพื่อนฝูง รวดเร็วจนเราเองก็ไม่รู้ตัวเลยทีเดียว

นั่นก็หมายความว่าเราเลือกตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตหลายเรื่องผ่านอิทธิพลจากแรงกดดันของความคิดเห็นของพรรคพวก เพื่อนฝูง คนใกล้ชิดเป็นอย่างมาก การเลือกคบเพื่อนจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ภาษิตที่ว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล” จึงถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่ไม่เกินเลยความเป็นจริง โดยมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน 

ภาพผลสแกนสมองจากมุมต่าง ๆ (ซ้าย กลาง ขวา) ขณะที่มีความเห็นสอดคล้อง (a) และขัดแย้ง (b) กับคนในกลุ่ม จะเห็นได้ว่าสมองส่วนที่ทำงาน (จุดแดงส้ม) มีตำแหน่งแตกต่างกัน

คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล : พุทธศาสนสุภาษิต คำคม สอนใจประจำวันนี้

คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล : พุทธศาสนสุภาษิต คำคม สอนใจประจำวันนี้ http://winne.ws/n4762

คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล หมายถึง

โดย Super Big Eagle!!

30 มิ.ย. 2559 - 19.11 น. , แก้ไขเมื่อ 30 มิ.ย. 2559 - 19.23 น.

พุทธพจน์

1.1 หมื่น ผู้เข้าชม

share

Tags :

คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล หมายถึง

  อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ                                คนขยัน  ย่อมหาทรัพย์ได้
  พาโล อปริณายโก                                   คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ
  อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ                           ตนเป็นที่พึ่งของตน
  ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย                             ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์
  อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย                             ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า
  ยถาวาที ตถาการี                                     พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น
  สจฺจํ เว อมตา วาจา                                  คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
  อิณาทานํ ทุกขํ โลเก                              การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
  อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา                     บัญฑิตย่อมฝึกตน
  ททมาโน ปิโย โหติ                                 ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก 

คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล หมายถึง

คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล หมายถึง

คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล หมายถึง

คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล หมายถึง

คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล หมายถึง

อ้างอิง http://www.watsamrong.com/put.htm

ขอบคุณภาพจากwww.google.com

แชร์