การปฏิบัติตนในวัน สำคัญ ทาง พระพุทธ ศาสนา

UndubZapp ขอชวนชาวพุทธมามกะมาทำบุญเนื่องในวันวิสาขบูชา พร้อมทบทวนความรู้ขั้นพื้นฐานเรื่องวันวิสาขบูชา วันวิสาขบูชามีความสําคัญอย่างไร ชาวพุทธควรปฏิบัติตนอย่างไรบ้างในวันวิสาขบูชา ตามเราไปเรียนรู้พร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

 

วันวิสาขบูชามีความสําคัญอย่างไร?

วันวิสาขบูชาเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ในศาสนาพุทธ คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน โดยทั้ง 3 เหตุการณ์เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 แต่ต่างปีกัน ด้วยเหตุที่วันดังกล่าวเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์อันอัศจรรย์ยิ่งทั้ง 3  จึงได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา (ต่างจากวันมาฆบูชาและวันอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นับถือเฉพาะในประเทศไทย ลาว และกัมพูชา)

 

 

หลักธรรมสำคัญวันวิสาขบูชาคืออะไร?

หลักธรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา คือ “อริยสัจ 4” หรือ “ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ” เนื่องจากเป็นหลักธรรมที่เป็นหัวใจหลักของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และทำให้พระองค์เกิดดวงตาแห่งธรรม รู้แจ้งเห็นจริง และละกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง

 

อริยสัจ 4 คืออะไร?

อริยสัจ 4 หรือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา มีดังนี้

 

  1. ทุกข์

ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ทุกข์ขั้นพื้นฐาน (การเกิด แก่ เจ็บ ตาย) และ ทุกข์จร (การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังดังที่ปรารถนา ความยากจน เป็นต้น)

 

  1. สมุทัย

ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ ส่วนใหญ่เกิดจาก “ตัณหา” ได้แก่ กามตัณหา (ความอยากในกามารมณ์) ภวตัณหา (ความอยากในภพ อยากเป็นโน่นเป็นนี่) และ วิภวตัณหา (ความอยากในความปราศจากภพ ความไม่อยากเป็นโน่นเป็นนี่)

 

  1. นิโรธ

การดับทุกข์ หรือสภาพที่ความทุกข์หมดไป เนื่องจากสามารถละทิ้งกิเลส ตัณหา และอุปาทานได้

 

  1. มรรค

หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาของทุกข์ทั้งหมดทั้งปวง มีทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

        วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนเพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยด้วย

การตักบาตรทำบุญ เวียนเทียน เข้าวัดฟังธรรมเพื่อเป็นการเรียนรู้และทบทวนพระธรรมวินัย สำหรับการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค อาหาร สดแห้ง ครบหลักอนามัย หรือโภชนาการ ครบ 5 หมู่ จะทำให้เรามีจิตใจที่สดชื่น สบายใจ มีความเมตตา โอบอ้อมอารี ก็จะส่งผลให้ชีวิตเราดีขึ้น

2.การอยู่ในศีล 5 หรือ ศีล 8

เชื่อได้ว่า ข้อนี้ หลายคนอาจจะรู้จักเพียง ศีล 5 อย่างเดียว แต่หากยังมี ศีล 8 ให้ทุกคนได้ปฏิบัติตามเพิ่มได้อีก 3 ข้อ ก็จะดีต่อตัวเรา โดยศีล 5 เราถือมาตลอด บางคนทำได้ทุกข้อ แต่บางคนก็ไม่สามารถทำได้หมด ซึ่งมีดังนี้

ข้อที่ 1 คือ ห้ามฆ่าสัตว์

ข้อที่ 2 คือ ห้ามลักทรัพย์

ข้อที่ 3 คือ ห้ามประพฤติผิดในกาม

ข้อที่ 5 คือ ห้ามดื่มสุรา

และศีล 8 เพิ่มมาอีก 3 มีดังนี้

ข้อที่ 6. ไม่บริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในอีกวัน)

ข้อที่ 7. ไม่ฟ้อนรำทำเพลง แสดงกิริยารื่นเริง รวมถึงละเว้นจากการแต่งสวยแต่งงามให้ร่างกาย

ข้อที่ 8. ไม่นั่งหรือนอนบนที่นั่งหรือที่นอนที่ทำให้นุ่ม และสูงจากพื้น

หากทุกคนปฏิบัติครบได้ในวันนี้ ก็จะทำให้ชีวิตของเรามีแต่ความสุข สงบ สบายใจ 

3.การฟังเทศน์ฟังธรรม หรือนั่งสมาธิ

ในข้อนี้ เราสามารถทำได้ง่าย ๆ จะทำที่บ้าน หรือไปฟังที่วัดก็ได้เช่นกัน ไม่ว่าวิธีไหนก็ได้บุญ สำหรับการฟังธรรมแล้วนั้น ทำให้เรามีสติในการใช้ชีวิต ไม่ประมาท มีจิตใจที่จดจ่อกับสิ่งๆ นั้นที่เราทำอยู่ ทำให้เราไม่คาดหวังอะไรหลายๆ อย่าง ทำให้รู้จักการปล่อยวาง สามารถใช้ชีวิตได้ดี

4. การปล่อยสัตว์ เพื่อให้อิสระ

เป็นการช่วยให้สัตว์ต่างๆ ที่เราปล่อยหรือช่วยเหลือนั้น ได้มีอิสระ ในการใช้ชีวิต หรือหลุดพ้นบ่วงต่างๆ เพราะขณะเรายังไม่ชอบการโดนกัก หรือห้ามทำอะไรหลายๆ อย่างที่ไม่ใช่ตัวเรา เรายังรู้สึกไม่ดี การที่เราได้มอบอิสระให้เขามันเท่ากับว่าเรามีความเมตตา ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ได้ช่วยเหลือ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอีก 1 วิธีเช่นเดียวกัน

เชื่อว่าข้อนี้ ถือเป็นข้อปฏิบัติยอดฮิตที่หลายคนคงปฏิบัติมา โดยการเวียนเทียน จะเกิดขึ้นในช่วงของวันมาฆบูชา ในเวลา 2 ทุ่ม จะต้องเตรียมดอกไม้และธูปเทียน จะเวียนรอบพระอุโบสถจำนวน 3 รอบ ทางขวา ตามเข็มนาฬิกา บางวัดจะมีการเทศนาก่อนถึงจะเวียนเทียน หลังจากครบ 3 รอบแล้ว ก็จะเข้ามากราบพระในอุโบสถ เป็นอันเสร็จพิธี

        การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชาคือ คือ ในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ ธูปเทียนไปเวียนเทียน 3 รอบที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่างๆ และรักษาศีล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

การปฏิบัติตนในวัน สำคัญ ทาง พระพุทธ ศาสนา


กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

  1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
  2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
  3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
  4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
  5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
  6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
  7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
  8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์


การปฏิบัติตนในวัน สำคัญ ทาง พระพุทธ ศาสนา

กิจกรรมในวันอาสาฬหบูชา
  1. กิจกรรมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
  2. กิจกรรมร่วมการเวียนเทียน
  3. ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงขึ้นในโลก

การปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา

  1. ละเว้นอบายมุขทุกประเภท และ ตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากความชั่ว ความทุจริต สิ่งที่ไม่ดีทุกประการ
  2. ทำทาน เช่น ตักบาตรพระ ดูแลบิดามารดา เป็นต้น
  3. ฟังพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร
  4. เวียนเทียนรำลึกรอบสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัย เช่น โบสถ์ พระพุทธรูป และธัมเมกขสถุป
  5. ปฏิบัติกรรมฐาน ทั้งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
  6. พึงบูชาพระรัตนตรัย ด้วยการบูชาทั้งสองประเภท คือ ทั้งอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา

การปฏิบัติตนในวัน สำคัญ ทาง พระพุทธ ศาสนา

วันอัฏฐมีบูชา    พุทธศาสนิกชนต่างพากันมาน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัย ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุได้แก่พระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฏิมาที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถ อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย เวียนเทียน และฟังพระธรรมเทศนา เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติในวันวิสาขบูชา การแสดงธรรมในวันนี้จะเทศน์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันอาสาฬหบูชาจึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ร่วมกันน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยศึกษา พระธรรมวินัยอันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาให้เข้าใจอย่างถูกต้องตรงทางแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นต่อไปชั่วกาลนาน


การปฏิบัติตนในวัน สำคัญ ทาง พระพุทธ ศาสนา

ฟังพระธรรมเทศนาในวันอัฏฐมีบูชา

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
  1. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา 
  2. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร 
  3. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล 
  4. อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ

 

พิธีทำบุญและถวายเทียนจำนำพรรษาในวันเข้าพรรษา

        พุทธศาสนิกชนถือว่าเป็นโอกาศอันดีที่จะกระทำ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัดและฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศล “ตักบาตรเทโว” ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
  1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
  2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
  3. ร่วมกิจกรรม “ตักบาตรเทโว” (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)
  4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและประดับธงชาติ และธงธรรมจักร ตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
  5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับ วันออกพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

การปฏิบัติตนในวัน สำคัญ ทาง พระพุทธ ศาสนา

กิจกรรมตักบาตรเทโวในวันออกพรรษา

  1. ทำบุญตักบาตร ถือศีล ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
  2. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข ละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา
  3. ศึกษาข้อธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  4. ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา

การปฏิบัติตนในวัน สำคัญ ทาง พระพุทธ ศาสนา

กิจกรรมปฏิบัติธรรมในวันพระ

การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

ทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล.
ร่วมการเวียนเทียน.
ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงขึ้นในโลก.

เมื่อถึงวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนอย่างไรในตอนค่ำ

ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร.
จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา.
ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล.
ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.
ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา.

ควรปฏิบัติตนอย่างไรในวันธรรมสวนะ

ในวันธรรมสวนะนี้ พุทธศาสนิกชนก็จะเข้าวัดร่วมกันประพฤติและปฏิบัติธรรม มีกิจกรรมต่างๆ มีการสมาทานศีล เช่น สมาทานและรับศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ซึ่งเรียกว่า อุโบสถศีล พระสงฆ์จะได้แสดงพระธรรมเทศนา หรือ ธรรมสากัจฉา หรือ สนทนาธรรมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ ในข้อธรรมต่างๆ ซึ่งนับว่าเกิดประโยชน์แก่ผู้ร่วมกิจกรรมเป็นอย่าง ...

การเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่ออะไร

ประโยชน์ของ การเข้าร่วมศาสนพิธี ทางศาสนา ศาสนพิธีและพิธีกรรม เป็นสื่อนาพาให้เกิด การปฏิบัติตามหลักคา สอน ศาสนพิธีเป็นวิธีการปรับ สภาพและสร้างการเรียนรู้ หลักธรรมคาสอนของผู้ที่ ต้องการศึกษา เป็นการสืบทอดประเพณี และวัฒนธรรมที่มี รากฐานมาจาก พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และมั่นคงสืบไป