โครงงาน การสานตะกร้า ไม้ไผ่ บทที่ 2

โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง การจักสานผลิตภัณฑ์ไม่ไผ่
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

จัดทำโดย
นางสาววาสนา บรรเทาพิตร เลขที่ 20
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6/1

รายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ (ง30205)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33

หัวข้อโครงงาน : เรื่อง การจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
ประเภทของโครงงาน : โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ผู้เสนอโครงงาน : นางสาววาสนา บรรเทาพิตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 เลขที่ 20
ครูที่ปรึกษาโครงงาน : ครูไพรัตน์ ทองเถาว์ ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ชำนาญการ
ปีการศึกษา : 2558

บทคัดย่อ
โครงงานประเภทพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง การจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอรูปแบบสื่อการเรียนยุคใหม่ที่ใช้สื่อสังคมหรือ Social Media ซึ่งเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในปัจจุบันมาประยุกต์เข้ากับการเรียนรู้โดยได้ศึกษารูปแบบและพัฒนาการเรียนรู้ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และเว็บไซต์สำเร็จรูปชื่อว่า WordPress ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเนื้อหาความรู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่อง การจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ โดยผู้จัดทำโครงงานสามารถพัฒนารูปแบบของเว็บบล็อกจาก WordPress ได้ด้วยตนเองและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น และได้นำเสนอผลงานผ่านเว็บบล็อกที่ https://kwanbb4.wordpress.com ทั้งนี้ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างผู้ที่สนใจ คุณครู เพื่อนๆ และผู้ที่สนใจเป็นอย่างดี

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานคอมพิวเตอร์ฉบับนี้ สำเร็จขึ้นได้ด้วยความกรุณาของผู้บริหารและคณะครูหมวดคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม ซึ่งได้ให้คำปรึกษา ข้อชี้แนะ และความช่วยเหลือจนกระทั่งโครงงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ณ ที่นี้
ขอขอบพระคุณคณะครูโรงเรียนบุแกรงวิทยาคมทุกท่านที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้การเรียนรู้ประสบผลสำเร็จ ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่มีส่วนช่วยแนะนำการจัดทำโครงงานเรื่อง การจักสานผลิตภัณฑ์ไม่ไผ่ ขอบคุณกำลังใจดีๆ จากบิดามารดาและผู้ปกครองทุกๆท่าน ตลอดจนเพื่อนๆทุกคน ความดีอันเกิดจากการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ผู้จัดทำโครงงานขอมอบแด่บิดา มารดา ครูอาจารย์และผู้มีพระคุณทุกท่าน ที่มีส่วนช่วยผลักดันและเป็นกำลังใจ ซึ่งผู้จัดทำซาบซึ้งในความกรุณาอันยิ่งใหญ่จากท่าน และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

วาสนา บรรเทาพิตร

บทที่ 1
บทนำ
1.1 แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
เนื่องจากสังคมไทยในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ผู้คนสามารถผลิตปัจจัยในการดํารงชีวิตได้เอง เป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มเครื่องใช้ต่างๆงานจักสานหรือเครื่องจักสานเป็นงาหัตถกรรมและศิลปหัตถกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน พวกผู้หญิงก็จะทํางานบ้าน เช่นเตรียมทอผ้า (ต่ำหูก) ไว้ใช้สําหรับคนในครอบครัว ผู้ชายก็จัดเตรียมเครื่องใช้ต่างๆ เช่น จักสาน ตะกร้า กระบุง บุ้งกี๋ ลอบ ไซ ข้อง ซ่อมแซมบ้าน ซ่อมแซมเครื่องมือเกษตร พอถึงฤดูฝนก็เริ่มทํานากันอีก วัฎจักรหมุนเวียนกันอยู่อย่างนี้ แม้ในปัจจุบันงานจักสานหรือเครื่องจักสานจะมีอยู่น้อย แต่ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไป ทุกภาคในประเทศ นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว งานจักสานยังสะท้อน วัฒนธรรม สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา ของชาวบ้านได้อีก ดังนั้นควรให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเกี่ยวกับงานจักสานและรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมในด้านการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ไว้สืบต่อไป
ข้าพเจ้าจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อศึกษาการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ตลอดจนศึกษาความหมายเพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียนและผู้ที่สนใจเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความเป็นไทยเพื่อเยาวชนและการอนุรักษ์หวงแหนเอกลักษณ์ของชาติสืบไป
1.2 วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจักสานไม้ไผ่
2.เพื่อศึกษากรรมวิธีการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่
3.เพื่อเผยแพร่การจักสานไม้ไผ่ของไทย
4.เพื่ออนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่ของไทยไว้
5.เพื่อนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปทำชิ้นงาน
1.3 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
สร้างสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ทั่วโลก โดยใช้โปรแกรม DeskTop Author ในการทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และโปรแกรม Power Point ในการทำสไลด์ของเรื่องนี้
1.4ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจักสานไม้ไผ่
2.ได้ความรู้วิธีการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
3.ได้เผยแพร่การจักสานไม้ไผ่ของไทย
4.ได้อนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่ของไทยไว้
5. ได้นำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปทำชิ้นงาน

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่นี้ ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารและจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1 ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง การจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีของการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
2.3 ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้พัฒนาโครงงาน
2.4 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.5 โครงงานที่เกี่ยวข้อง
2.1 ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง การจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
เนื่องจากสังคมไทยในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ผู้คนสามารถผลิตปัจจัยในการดํารงชีวิตได้เอง เป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มเครื่องใช้ต่างๆงานจักสานหรือเครื่องจักสานเป็นงาหัตถกรรมและศิลปหัตถกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน พวกผู้หญิงก็จะทํางานบ้าน เช่นเตรียมทอผ้า (ต่ำหูก) ไว้ใช้สําหรับคนในครอบครัว ผู้ชายก็จัดเตรียมเครื่องใช้ต่างๆ เช่น จักสาน ตะกร้า กระบุง บุ้งกี๋ ลอบ ไซ ข้อง ซ่อมแซมบ้าน ซ่อมแซมเครื่องมือเกษตร พอถึงฤดูฝนก็เริ่มทํานากันอีก วัฎจักรหมุนเวียนกันอยู่อย่างนี้ แม้ในปัจจุบันงานจักสานหรือเครื่องจักสานจะมีอยู่น้อย แต่ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไป ทุกภาคในประเทศ นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว งานจักสานยังสะท้อน วัฒนธรรม สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา ของชาวบ้านได้อีก ดังนั้นควรให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเกี่ยวกับงานจักสานและรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมในด้านการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ไว้สืบต่อไป
ข้าพเจ้าจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อศึกษาการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ตลอดจนศึกษาความหมายเพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียนและผู้ที่สนใจเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความเป็นไทยเพื่อเยาวชนและการอนุรักษ์หวงแหนเอกลักษณ์ของชาติสืบไป
2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีของการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
ความหมายของสื่อการสอน
สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน คำพูดท่าทาง วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ
ความหมาย ความสำคัญของสื่อการสอน และประเภทของสื่อการสอน นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น
ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น
เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า
สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว
สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไป โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการและสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์
1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ
Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายสไลด์
5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ (Form)
Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง

สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้
1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)
2. วัสดุ (Software)
3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)
คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ
1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้
เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ
2.3 ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้พัฒนาโครงงาน
ความสำคัญของ E-Book
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไว้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยให้ประชาชนมีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถเลือกเรียนได้ ตามความสนใจ ความถนัดและความเหมาะสมตามสภาพของตนเอง เพื่อให้บุคคลสามารถพัฒนา ศักยภาพตนเองได้อย่างเต็มความสามารถและมีความพร้อมในการดำรงอยู่ในสังคมไทยซึ่งเป็น สังคมฐานความรู้ที่การเรียนรู้ ความรู้และนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเสริมสร้างฐานความรู้ที่เข้มแข็งให้กับประเทศเพื่อความสามารถในการปรับตัว รู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลง โดยส่งเสริมและสร้างสภาพการณ์ให้คนไทยทุกคนมีสิทธิและความเสมอภาคใน การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ในปัจจุบันระบบสารสนเทศมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการ ดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชน โดยอาศัยข้อมูลข่าวสาร ที่มีอยู่ กระบวนที่ทำให้เกิดสารสนเทศนี้เรียกว่า การประมวลผลสารสนเทศ (Information Technology) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ นี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำ นั่นคือ เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอา ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่าน การประมวลผลแล้วการประมวลผลที่ว่านี้ เช่น การวิเคราะห์ การจัดลำดับ การเรียงข้อมูล เป็นต้น ซึ่งระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้การดำเนินงานขององค์กรทั้งด้านการจัดการและ อื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่องและทันต่อความ ต้องการและสภาพปัจจุบันของสังคมและกลุ่มเป้าหมาย และจากความก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เราจำเป็นต้องเรียนรู้และก้าวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้น และสามารถนำเทคโนโลยีนั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะทางการศึกษามี ความจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังปรากฏในกรอบ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ(IT 2010) ที่ได้กำหนดให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใน ส่วนของการศึกษา (e-education) เป็นหนึ่งในห้าองค์ประกอบหลักที่จะสนับสนุนการปฏิรูป การศึกษาและการเรียนรู้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษาไว้อย่างชัดเจนในหมวด 9 ว่า
“เทคโนโลยีจะยิ่งเพิ่มบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นต่อการศึกษาสู่อนาคต จึงจำเป็นอย่าง ยิ่งที่นักการศึกษาจะต้องทำการศึกษาในเรื่องนี้เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาและสังคม การนำสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้และทักษะในกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือช่วยให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากและ รวดเร็ว ช่วย ย่นระยะทางให้ใกล้ขึ้นจนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกหนทุกแห่ง ช่วยเชื่อม ประสานและ สื่อสารระหว่างกันได้ง่าย เกิดรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน และเรียนรู้ได้ตลอดเวลาในด้านการศึกษา มีการสร้างสื่อต่างๆ เก็บรวบรวมไว้ในรูปดิจิตอลก่อให้เกิดการทดแทนสื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การสร้างห้องสมุดดิจิตอล นอกจากนี้ยังช่วยสร้างโมเดล การเรียนการสอนแบบใหม่ได้มากมาย จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทางด้านการศึกษาช่วยเปลี่ยนแปลง รูปแบบการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการจัดการความรู้ เพื่อน าองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์ และสามารถสร้างรูปแบบการประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวาง
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เป็นรูปแบบการให้การศึกษาแก่ประชาชนตาม แนวทางการปฏิรูปการศึกษารูปแบบหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ตาม ความต้องการและสภาพของตนเอง e-Book มีคุณลักษณะสำคัญที่สามารถเชื่อมโยงไปยังส่วน ต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนี้ยัง สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออก ทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่ง คุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป จึงอาจนับได้ว่า e-Book เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรม ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง ตามความต้องการและสภาพของตนเอง ตาม แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทย
ความหมายของ E-Book
ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Book มีผู้ให้ความหมายไว้ หลากหลาย ดังนี้
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ส านักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (website http://203.146.15.11) ให้ความหมายว่า “e-Book หมายถึง หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ ซึ่งมีความหมายรวมถึงเนื้อหาที่ถูกดัดแปลงอยู่ในรูปที่สามารถแสดงผลออกมาได้โดยเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ให้มีลักษณะการน าเสนอที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือทั่ว ๆ ไป ในชีวิตประจำวัน แต่มีลักษณะพิเศษคือ สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาและผู้อ่านสามารถ อ่านพร้อม ๆ กัน ได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งส่งคืนห้องสมุดเช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุด ทั่ว ๆ ไป” คู่มือการสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรม Flip Album 6 Pro หน้า 10
Tech Encyclopedia (1999 : 1) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ใน ฐานะที่เป็นฮาร์ดแวร์ ว่าเป็นอุปกรณ์ฉบับกระเป๋าที่สามารถแสดงข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ สามารถจัดทำสำเนาได้ทำบุ๊คมาร์คและทำหมายเหตุประกอบได้ ซึ่งสอดคล้องกับ Electronic Book- Webopedia Definition (1999 : 1) ว่า เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับกระเป๋า พกพา สะดวกด้วยน้ำหนักเพียงเล็กน้อย เก็บข้อมูลได้ถึง 4,000 หน้ากระดาษ การเปิดพลิกหน้า พ๊อกเก๊ตบุ๊คให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับการเปิดหนังสือจริง สามารถทำแถบสว่าง (Highlight) ท าหมายเหตุประกอบ ค้นหาคำและสร้างบุ๊คมาร์คได้
E-Book (http://th.wikipedia.org) คือหนังสือที่เก็บอยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้อยู่ในแบบของไฟล์ โปรแกรม ส่วนมากที่เข้าใจกันคือ หนังสือที่เก็บใน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้กระดาษ และมีการสร้างจากคอมพิวเตอร์ และสามารถอ่านได้ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค PDA(Personal Digital Assistant) Palm และ PocketPC หรือแม้กระทั่งอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือ
อาจกล่าวได้ว่า e-Book หมายถึง หนังสือหรือเอกสารที่จัดทำขึ้นด้วยระบบ คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ สามารถอ่านได้ทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์
โปรแกรม DeskTop Author
ความสามารถของ DeskTop Author
DeskTopAuthor เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่องานสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือ eBook โดยตรง ซึ่งมีความสามารถในการสร้าง eBook ได้ง่าย แต่ก็เพียบพร้อมด้วยพีเจอร์ต่างๆ มากมากโดย eBook ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยโปรแกรม DeskTopAuthor นั้นสามารถใส่ข้อมูลต่างๆ ลงไปได้ เช่น ข้อความ รูปภาพ เสียง ไฟล์ Flash Movice และลิงก์ต่างๆ รวมทั้งขนาดของ eBook ที่ได้นั้นก็มีขนาดเล็ก ซึ่งทำให้ง่ายต่อการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์และมีความสามารถในการสร้างเอกสาร eBook ดั้งนี้
1. ในส่วนการติดต่อกับผู้ใช้ของโปรแกรมได้ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวกซึ่งคุณสามารถเรียนการทำงานของโปรแกรมไปพร้อมๆ กับการใช้งานจริงได้ทันที
2. สารมารถทำการแก้ไของค์ประกอบของหน้าแต่ละหน้าได้ ซึ่งจะเห็นผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงได้เลยทันที
3. สามารถพิมพ์ลงไปในแพ็คเกจของ eBook ได้เลย โดยใช้คุณสามบัติของ Edittable Text
4. สามารถสร้างลิงค์ไปยังหน้าอื่นๆ ทั้งภายใน eBook เดียวกัน ทั้งเว็บไซต์ อีเมล์ และไฟล์อื่นๆ ได้
5. สร้างฟอร์มในการทำแบบทดสอบด้วย EAZY FORMS Editor ของโปรแกรม เช่น การตั้งคำถามต่างๆ การทดสอบ การสำรวจ และอื่นๆ
6. สร้าง eBook จากการใช้ต้นแบบและปุ่มต่างๆ ซึ่งมีมาให้พร้อมกับโปรแกรม
7. จัดทำ eBook ไปยังเว็บไซต์ และสามารถเปิดได้ไม่ต้องมีโปรแกรมบราวเซอร์
8. สามารถอัพโหลด eBook ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้โปรแกรม Built-in FTP ในการอัพโหลด
10. สามารถแปลงแพ็คเกจเป็นไฟล์ต่างๆ ได้ คือ EXE , DNL , DRM และ SCR
11. สามารถป้องกันข้อมูลรายละเอียดต่างๆ โดยการใช้ Password และความสามารถในการสั่งพิมพ์ อิเมล์ และบันทึกฟังก์ชัน
12. สามารถสร้างเป็นอัลบั้มรูปภาพ โดยใช้ฟิลด์ของข้อความและรูปภาพ
โปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007
Microsoft Office PowerPoint 2007 เป็นโปรแกรมประยุกต์ประเภทกราฟิกและนำเสนอของบริษัทไมโครซอฟต์ซึ่งเป็นโปรแกรมหนึ่งในชุดโปรแกรม Microsoft Office 2007 ที่มีความสามารถด้านการนำเสนอสื่อชนิดต่าง เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดิโอ ในรูปแบบของสไลด์หรือภาพนิ่งที่สามารถกำหนดลักษณะการเคลื่อนไหวให้กับวัสดุต่างๆได้เพื่อการนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ
กฎในการออกแบบหน้าสไลด์
ในการสร้างสไลด์ในแต่ละหน้านั้น ผู้ใช้ควรมีกฎที่เป็นแนวทางในการสร้างงานนำเสนอก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โดยสรุปได้ดังนี้
1. ในแต่ละสไลด์ควรมีหัวเรื่องเพื่อบอกถึงสิ่งที่จะอธิบาย
2. ตัวอักษรควรใช้ขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้รับฟังและรับชมสามารถมองเห็นอย่างชัดเจน
3. ควรใช้คำสั้นๆ ที่อ่านเข้าใจง่าย เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและน่าติดตาม
4. หัวข้อของเนื้อหาไม่ควรเกิน 8 บรรทัดในหนึ่งสไลด์เพราะถ้ามีมากเกินไปจะส่งผลทำให้สื่อได้ไม่ชัดเจน
5. ไม่ควรนำภาพมาเป็นพื้นหลัง (Background) เพื่อจะทา ให้อ่านยาก
6. การใส่รูปภาพลงในสไลด์ควรใช้ขนาดพอสมควรไม่ใหญ่เกินไป

การสร้าง Presentation ใหม่ จาก Template
สำหรับการเริ่มสร้างงานพรีเซนต์ใหม่จาก PowerPoint 2007 จะช่วยให้คุณสามารถสร้างงาน ได้อย่างรวดเร็วขึ้นจาก Template1 หรือแม่แบบสไลด์สำเร็จรูปที่มีให้เลือกมากมาย โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเริ่มออกแบบงานใหม่ทุกครั้ง และยังสามารถดาวน์โหลดแม่แบบเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ Microsoft.com ได้อีกด้วย
วิธีการสร้างงานใหม่
เมื่อคลิกสัญลักษณ์ เลือก New เลือก Installed Themes ที่ชอบแล้วคลิกปุ่ม Create
การเปิดโปรแกรม PowerPoint 2007
1. คลิก Start Menu
2. คลิกเลือก Programs
3. คลิก Microsoft Office
4. คลิกเลือก Microsoft PowerPoint2007
5. ปรากฏหน้าจอโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007
การสไลด์แผ่นใหม่
การสร้างสไลด์ใหม่ในโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 จะสร้างสไลด์ที่ไม่มีข้อความ หรือรูปภาพใดๆ อยู่ในเอกสาร ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่ม (Office)
2. คลิกเลือกงานนา เสนอเปล่า
พิมพ์ข้อความลงในสไลด์
เมื่อเปิดหน้าสไลด์แล้วจะพบว่า มีพื้นที่สีขาวสำหรับพิมพ์ข้อความลงไป โดยการเริ่มต้นพิมพ์ข้อความลงใน สไลด์มีขั้นตอนดังนี้
1.คลิกให้ปรากฏเส้นเคอร์เซอร์ตรงบริเวณกรอบที่ต้องการพิมพ์ตัวอักษร
2.พิมพ์ข้อความตามต้องการ เมื่อพิมพ์ข้อความจนสุดบรรทัด โปรแกรมจะขึ้นบรรทัดใหม่ ให้โดยอัตโนมัติ (หากต้องการลบข้อความหรือคำผิดก็ให้แดรกเมาส์ เลือกข้อความ จากนั้นกดปุ่ม ที่คีย์บอร์ด)
การจัดข้อความให้สวย
1.คลิกข้อความที่จะจัด
2. คลิกรูปแบบ
3. คลิกเลือกเครื่องมือที่ Ribbon โดยจัดตามต้องการ
เทคนิคการทำ Presentation
การเลือกใช้ข้อความที่มีขนาดเหมาะสม ช่วยให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นในการสื่อให้ผู้ที่มารับข้อมูลเข้าใจ โดยมีหลักการดังนี้
1. ตัวอักษรต้องอ่านง่าย โดยปกติตัวอักษรควรมีขนาดตั้งแต่ 36-60 Point และควรเป็นตัวหนา เพื่อจะสื่อได้ชัดเจนมากขึ้น
2. ในหนึ่งสไลด์ไม่ควรใช้แบบตัวอักษรเกิน 2 ประเภท เพื่อความสวยงาม
การเลือกสีในการออกแบบ สีนับว่าเป็นความสำคัญของการออกแบบหน้าจอ เนื่องจากผู้ใช้ต้องใช้ สายตาดูจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานถ้าใช้สีร้อนอาจทำให้เกิดความระคายเคืองได้
การออกแบบตัวหนังสือ
Microsoft PowerPoint 2007 ยังมีเครื่องมือที่จะช่วยให้งานพรีเซนต์ของคุณเป็นมืออาชีพได้ง่ายๆ ด้วยการออกแบบสำเร็จรูปที่พร้อมให้เลือกอย่างจุใจ เช่น การออกแบบพื้นหลังสไลด์ด้วย Themes Design การปรับแต่งข้อความศิลป์ด้วย WordArt Style รวมทั้งการเลือกสีสันตามใจชอบด้วย Themes Color
1. เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยน
2. คลิกปุ่ม Insert เลือก
วิธีการใส่ Effect ให้กับตัวอักษร
1. คลิกเลือกคลุมข้อความที่เป็นตัวอักษร
2. คลิกเมนูแท็ป Format ด้านบน
3. คลิกเลือกปรับแต่งข้อมูลในหัวข้อ WordArt Styles
ทิป แท็ป Format จะแสดงต่อเมื่อเรามีการคลิกเลือกข้อความที่สามารถปรับแต่งรูปแบบได้เท่านั้น
สำหรับผู้ที่ต้องการปรับแต่งพื้นหลังของตัวอักษรให้มีความโดดเด่น หรือสร้างเป็นปุ่มข้อความ โดยใช้ Themes Color เป็นตัวกำหนด
1. เลือกกรอบข้อความ
2. คลิกแท็บ Format
การเลือกพื้นหลังสไลด์
สำหรับบางท่านที่ต้องการความโดดเด่นพื้นหลังของงานพรีเซนต์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยแรกที่ส่งผลกับการออกแบบและผู้รับข้อมูลโดยตรง เพราะถ้าพื้นหลังไม่ดีจะทำให้ดูแล้วไม่สบายตา สามารถเลือกพื้นหลัง Themes Design ได้เองอย่างง่ายดังนี้
1. เลือกกรอบข้อความ
2. คลิกแท็บ Design
การแทรกรูปภาพเข้ามาใหม่
1. คลิกแท็กแทรก (Insert)
2. คลิกปุ่มเพื่อเลือกรูปภาพที่จะนำมาใส่ในสไลด์
3. จะปรากฏหน้าต่างแทรกรูปภาพขึ้นมา ให้เลือกโฟล์เดอร์ที่เก็บไฟล์ภาพ
4. คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ
5. คลิกปุ่มแทรก (Insert) เพื่อแทรกรูปในสไลด์
การปรับแต่งกราฟิกให้สวยงาม
สำหรับผู้ที่ไม่ถนัดการออกแบบศิลปะ Microsoft PowerPoint ก็ได้ออกแบบโปรแกรมให้มีเครื่องมือที่ใช้สำหรับแต่งภาพขึ้นมาด้วย ในชื่อเครื่องมือ Picture Styles ซึ่งเพียงเราเลือกรูปแบบที่ต้องการ ภาพก็จะถูกปรับแต่งออกมาสวยงามน่ามอง
การเลือกใช้ภาพประกอบ เป็นการเสริมให้สไลด์ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดความสับสนกับข้อมูลที่นำเสนอได้ดังนั้นจึงมีวิธีการในการเลือกใช้ภาพให้เหมาะสม ดังนี้
1. ภาพที่นำมาใช้ต้องส่งเสริมข้อความที่นำเสนอ
2. ไม่ควรมีอักษรในภาพถ้าไม่จำเป็น
3. ภาพที่นำมาใช้ไม่ควรใช้ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มาก เพราะจะทำให้โปรแกรมทำงานหนักขึ้น
การกำหนด Effect การเปลี่ยนสไลด์
การสร้างสร้างสไลด์จะมีลักษณะเหมือนการเปลี่ยนหน้าหนังสือ ซึ่งดูแล้วไม่น่าสนใจ ซึ่งเราควรที่จะเพิ่มลูกเล่น (Effects) เข้าไป
1. คลิกหน้าสไลด์ที่จะใส่ Effect
2. คลิกแท็บภาพเคลื่อนไหว (Animation)
3. คลิกเลือกรูปแบบ Effects ที่ต้องการ (ซึ่งจะมีตัวอย่างของเอฟเฟ็กต์แสดงขึ้นมาให้ดูด้วยระหว่างที่เลือก)
4. จะแสดงตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงให้เห็น
สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบตามใจ ใน PowerPoint 2007
ความสามารถอีกอย่างหนึ่งของ PowerPoint ทุกๆ เวอร์ชั่น ก็คือการสร้าง Animation หรือทำให้ ภาพของเราที่แสดงบน PowerPoint สามารถเคลื่อนไหวได้ซึ่งคำสั่งเหล่านี้จะอยู่ในหัวข้อ “Custom Animation” ถ้าเป็นเวอร์ชั่นเก่าๆ ที่ต่ำกว่า PowerPoint 2007 ส่วนใหญ่เราสามารถเรียกใช้คำสั่งนี้ได้ดังนี้ คือ คลิกขวาที่รูปภาพที่ต้องการทำ Animation จากนั้นคลิก Custom Animation แต่สำหรับ PowerPoint 2007 จะ ต่างกันมากเนื่องจาก Microsoft มีการเปลี่ยนโฉมหน้าทั้งหมด คำสั่งต่างๆ จึงต้องเรียนรู้ใหม่อีกครั้ง ว่าเก็บ อยู่ในหัวข้อไหน
อย่างไรก็ตามวันนี้จะแนะนำการสร้างภาพ เคลื่อนไหวไปตามเส้นทางที่เราต้องการ (เราเรียกว่า Motion Paths) เช่น ภาพจะเลื่อนจากจุด A ไปยังจุด B เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยรู้จักหรือไม่ค่อยเข้าใจกัน
วิธีการสร้าง Animation ใน PowerPoint 2007
1. คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ
2. คลิกแท็ป Animations
3. คลิก Custom Animation ด้านล่างของแท็ป Animations
4. จะเห็นหน้าต่างคา สั่ง Custom Animation ด้านขวามือ
5. คลิก Add Effect เลือก Motion Paths
6. คลิกเลือก Draw Custom Paths
7. เลือกหัวข้อScribble ลูกศรหรือเคอร์เซอร์ จะเปลี่ยนเป็นรูปดินสอ
8. ให้เขียนเส้นลากไปตามทางที่ต้องการ (ให้จิตนาการว่า จะให้ภาพวิ่งไปในแนวทางใด)
9. จากนั้นปล่อยเมาส์ที่คลิกค้างไว้
10. โปรแกรมจะแสดงภาพเคลื่อนไหวไปตามเส้นทางที่เราวาด คงไม่ยากเกินไปนะคะ ทดสอบกับดูเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงอีกครั้ง
การออกแบบไดอะแกรม
สำหรับงานที่จำเป็นต้องสร้างไดอะแกรมหรือผังองค์กรแล้ว Smart Art จะช่วยให้เราทำงานได้ อย่างไม่ยากเย็น ทั้งยังช่วยให้มีความสวยงามมากขึ้นอีกด้วย เพราะภายในชุดตัวเลือกนี้จะมีรูปแบบของ ไดอะแกรมให้เลือกมากมายรองรับกับงานทุกประเภท
การนำเสนอสไลด์
หลังจากที่ได้สร้างสไลด์กันไปแล้ว ก่อนจะจบขั้นตอนผู้สร้างควรทดลองดูว่ามีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง ก่อนการนำเสนอจริง
1. คลิกแท็บ View เพื่อนา เสนอภาพนิ่ง (Slide Show)
2. คลิกปุ่ม Slideshow ให้ทำการพรีเซนต์ตั้งแต่ตนเพื่อเริ่มแสดงการฉายสไลด์ตั้งแต่สไลด์แรก
3. สไลด์จะปรากฏเต็มจอคอมพิวเตอร์
4. กดปุ่ม Enter ที่คีย์บอร์ด โปรแกรมจะเปลี่ยนหน้าสไลด์ทีละหน้า
5. เมื่อสิ้นสุดจะปรากฏหน้าจบการนา เสนอภาพนิ่ง
6. กดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ดอีกครั้ง ก็จะกลับเข้าสู่หน้าโปรแกรมหลัก (หากในระหว่างการพ รีเซนต์ต้องการออกสู่หน้าโปรแกรมหลักทันที่ให้กดปุ่ม บนคีย์บอร์ด)
การบันทึกไฟล์ PowerPoint
จากขั้นตอนสร้างงาน Presentation พร้อมทั้งทดลองตรวจสอนเสร็จเรียบร้อยแล้วขั้นตอนสุดท้ายคือ การบันทึกไฟล์ PowerPoint ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งการบันทึกไฟล์ PowerPoint มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่ม (Office)
2. คลิกบันทึก
3. เลือกตำแหน่งที่ใช้ในการเก็บเอกสาร ในช่องบนทึกใน (Save in)
4. ตั้งชื่อเอกสารในช่องชื่อแฟ้ม (File name) ในตัวอย่างผู้เขียนใช้ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
5. คลิกปุ่มบันทึก เพื่อยืนยันการบันทึก
6. ปรากฏชื่อไฟล์ที่บันทึกบนแท็บชื่อหัวเรื่อง (Titlebar)

2.4 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ที่มาของการจักสาน
การจักสาน เป็นงานหัตถกรรมอย่างหนึ่งและนับเป็นงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ได้ด้วย การจัก สานเป็นการนา วัสดุขนาดเล็กและยาว มาขัด หรือสาน กันจนเป็นชิ้นงาน เช่น เสื่อ หรือภาชนะอื่นๆ เช่น ตะกร้า เข่ง หรือของใช้อื่นๆ เช่น ลูกตะกร้อเป็นต้น วัสดุที่ใช้ในงานจักสาน มักเป็นวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่หวาย ปอกระจูดเป็นต้น ในภายหลังมีการใช้ผักตบชวาและวัสดุเลียนแบบธรรมชาติทา ใหม่ ความทนทานมากขึ้น แต่มีสีสันและคุณลักษณะภายนอกคล้ายวัสดุธรรมชาติต่างๆ แต่ก็ไม่สามารถนำมาใช้ ได้ทุกอย่างการสานนั้น มีลักษณะคล้ายกับการทอผ้านั่น คือใช้วัสดุขนาดเล็กและยาว ที่เรียกว่า ตอก หรือ ต้น ไผ่ที่นา มาขัดจนกลายเป็นเส้นเล็กๆ มาขัดประสานกัน แต่ตอกในการจักสานนั้นมีขนาดใหญ่กว่า เส้นด้าย มากลวดลายของงานจึงมีขนาดใหญ่และมีความแตกต่างไปจากงานทอ
สำหรับการสานเสื่อนั้น ยังมีการใช้เครื่องทอเสื่อคล้ายหูกทอผ้าแต่มีขนาดเล็กกว่า การสร้างเครื่อง จักสานจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยตามสภาพภูมิศาสตร์รวมถึงประเพณี ความเชื่อศาสนาและวัสดุในท้องถิ่นนั้นๆ ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องจักสานในรูปแบบและลวดลายต่าง ๆ หลักฐานเกี่ยวกับการทา เครื่องจักสานของมนุษย์ นั้นได้พบในหลายที่หลายแห่งทั่ว โลกไม่ว่า จะเป็น หลักฐานเครื่องจักสานขอองชาวอียิปโบราณ หรือหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องจักสานของมนุษย์ยุคหินในบริเวณแหลมมาลายู ซึ่งมีลักษณะเป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “ล่วม” สานด้วยใบไม้ชนิดหนึ่งกองรวมอยู่ ในกลุ่มเครื่องใช้ข้องคนตายแสดงให้เห็นว่าเครื่องจักสานได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อของมนุษย์นอกเหนือจากทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน
เครื่องจักสาน เป็นงานศิลปะหัตถกรรมอย่างหนึ่งคิดค้นขึ้นโดยมนุษย์เพื่อใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ ในชีวิตประจำวันผลิตขึ้นโดยการสอดขัดและสานของวัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นริ้วเพื่อให้ได้ลวดลาย ที่สวยงาม และเพื่อให้เกิดความคงทนของเครื่องจักสาน ปัจจุบัน เครื่องจักสานของไทยได้รับความสนใจจาก ชาวต่างชาติเป็นอันมากเนื่องจากเป็นงานหัตถกรรมอันมาก ทรงคุณค่าผลิตขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือ อันประณีตของคนไทยและมีการออกแบบที่ทันสมัยประกอบกับเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ทำขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ ซึ้งมีความงดงามตามธรรมชาติอยู่แล้ว กระด้งเป็นเครื่องมือจักสานชนิดหนึ่งที่ทา จากไม้ไผ่โดยการทำ เป็น ตอกแล้วเอามาจักสาน มีลักษณะแบนกลม มีขอบสูงขึ้นมาเล็กน้อยเรียกว่า ขอบกระด้ง ขอบกระด้งทำด้วย ไม้ไผ่ขัดเป็นวงรีถักติดกับลายสานด้วยหวาย มีหลากหลายขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้กระด้ง นอกจากฝัดข้าวสารแล้ว ยังใช้ฝัดข้าวเปลือก หรือเมล็ดพันธุ์อย่างอื่นได้ด้วย
ความสำคัญของการจักสาน
นับพันปีมาแล้ว ที่มนุษย์ได้รู้จักวิธีการนำวัตถุดิบที่อยู่ใกล้ตัว มาดัดแปลงเป็นสิ่งของเครื่องใช้ จากขั้นตอนที่ง่ายจนวิวัฒนาการสู่ความละเอียดอ่อน ประณีตงดงามในเชิงศิลปะและประโยชน์ใช้สอย จนสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี และสืบทอดมาจนปัจจุบัน กรรมวิธีดังกล่าว ช่วยให้มนุษย์ได้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เราเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า “หัตถกรรม” อันหมายถึง การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยมือ เครื่องมือ ภูมิปัญญา เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน และถ้าสิ่งประดิษฐ์นั้นมีค่ามากกว่าการใช้สอย โดยรวมความงาม เน้นให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ ประณีตงดงามเป็นความละเอียดอ่อนในทางศิลปะ เรามักเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า “ หัตถกรรมศิลป์ ”
เครื่องจักสานถือได้ว่าเป็นแขนงหนึ่งในงานหัตถกรรมและหัตถกรรมศิลป์ ที่ได้ทำหน้าที่รับใช้มนุษย์มานานนับพันปีเช่นเดียวกัน จนปัจจุบันเครื่องจักสานก็ยังคงทำหน้าที่ไม่น้อยกว่ายุคสมัยที่ผ่านมา พร้อมกับการพัฒนาวิธีการผลิต รูปแบบและการตลาด จนสามารถกระจายแพร่หลายอย่างทั่วถึงทั้งในและต่างประเทศ จนสามารถเป็นสินค้าออกที่เชิดหน้าชูตาได้ดีประเภทหนึ่ง เช่นการนำผักตบชวามาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ การนำเอาเสื่อจันทบูร มาตัดเย็บเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นของชำร่วย จนถึงของใช้ เช่นกระเป๋าถือ และแฟ้มใส่เอกสาร รวมถึงงานที่ประณีตด้วยฝีมือ อย่างย่านลิเภา
ชนิดของไม่ไผ่ที่ใช้ในการจักสาน
1.ไม้ไผ่บง
ไผ่บงบ้าน
ลำไผ่โตปานกลาง ปล้องยาวประมาณ 15 นิ้ว แต่ไม่เกน 18 นิ้วผิวคายหม่นเห็นได้ชัด สันข้อและเนื้อไผ่หนา กอไผ่ค่อนข้างห่างไม่อัดกันแน่น เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นโดยประมาณ 4-5 นิ้ว มักจะพบเห็นในหมู่บ้านชนบททั่วไป
ไผ่บงป่า
ลำไผ่ค่อนข้างเล็กกว่าไผ่บงบ้าน แต่ปล้องไผ่จะยาวกว่าไผ่บงบ้าน ผิวคาย หม่นเหมือนกัน
สันข้อจะตื้นไม่หนามากเหมือนไผ่บงบ้าน เนื้อไผ่หนา
ไผ่บงบ้านและไผ่บงป่า
นิยมนำมาทำเครื่องจักรสานได้หลากหลายชนิด เพราะเส้นตอกเหนียวและจักตอกได้ทีละหลายปล้อง โดยทั่วไปจะนำมาจักตอกแนวตะแคงเพราะ จะได้เส้นตอกมาก สามารถใช้สานตะกร้า กระบุง กระด้ง
2.ไม้ไผ่ซาง
ไผ่ซางบ้าน
ลำไผ่โตปานกลาง ปล้องไผ่ยาวประมาณ 12 นิ้ว ถึง 16 นิ้ว ผิวไผ่ซางจะเขียวเป็นมัน สันข้อตื้นเล็ก กอไผ่จะไม่อัดกันแน่นนักเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 นิ้ว เนื้อไม้ไผ่หนาเท่ากับไผ่บงบ้าน พบเห็นได้ตามชนบททั่วๆไป

ไผ่ซางป่า
ไผ่ซางป่าพบเห็นได้มากในเขตภาคเหนือตอนบน ในเขตป่าเขามีมากกว่าไผ่ชนิดอื่น ขึ้นเป็นผืนป่าบริเวณกว้าง ผิวไผ่ซางป่าจะเขียวเป็นมัน สันข้อตื้นเล็ก แต่เนื้อไผ่บางกว่าไผ่ซางบ้าน
ไม้ไผ่ซางป่า และ ไม้ไผ่ซางบ้าน
สามารถทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ได้หลากหลายทั้งงานจักสาน เครื่องเรือนไม้ไผ่ ทำเป็นแพโดยนำมามัดรวมกันเป็นแพลอยน้ำ งานจักสานไม้ไผ่ส่วนมากจะเป็นงานค่อนข้างหยาบ เช่น เข่งใส่ผัก หรือเข่งใส่ผลไม้ ส่วนมากจะนิยมนำมาทำนั่งร้านในงานก่อสร้างอาคารสูงๆ
3.ไม้ไผ่ไร่
เป็นไผ่ที่ขึ้นตามชายป่าเชิงเขา จะพบมากในเขตป่าเขาภาคเหนือตอนบนลำต้นไม่ค่อยโต เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2 นิ้ว ผิวไผ่คายไม่เป็นมัน ลำต้นไม่สูงมากนัก กอไผ่ทรงพุ่มแน่น ปล้องระหว่างข้อไผ่ค่อนข้างยาว จากโคนต้นขึ้นมาประมาณ 2 ฟุต ลำต้นจะตัน หน่อไผ่ไร่ถือว่าเป็นหน่อไม้ เศรษฐกิจ เพราะเป็นหน่อไม้ที่มีคุณภาพและมีจำนวนมาก
ไผ่ไม้ มักนิยมนำมาทำเครื่องจักสานที่ค่อนข้างไปทางงานละเอียด เพราะเส้นตอกนิ่ม และเหนียวมาก เช่น กระติบใส่ข้าวเหนียว กระเป๋าไม่ไผ่สานสามารถนำไปทำเครื่องเรือนไม้ไผ่ได้ เช่น พวกโต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ ฯลฯ ลักษณะพิเศษของไผ่ไร่ ลำต้นจากโคนตันขึ้นมาประมาณ 2 ฟุต สามารถดัดโค้งงอได้โดยใช้ความร้อน
4.ไม้ไผ่เฮี้ยะ
เป็นไผ่ที่ชอบขึ้นตามป่าชื้นเชิงเขาใกล้แหล่งน้ำเป็นที่ลำปล้องยาวมากบางต้นมีลำปล้องยาวถึง 4 ฟุต กอไผ่ห่าง ผิวไผ่จะออกคายเหลือง หรือเขียวหม่นๆ ผิวไผ่ไม่มัน เนื้อไผ่เฮี้ยะบาง สันข้อตื้น ลำต้นตั้งตรง ยาวประมาณ 6-8 เมตร สังเกตได้ว่าจะไม่มีแขนงไผ่ยื่นออกมา ไผ่เฮี้ยะเป็นไผ่ที่ให้เนื้อไม้ไผ่ไม่มาก ลำต้นกลวงนิยมนำมาสานเป็นฝากระท่อมในชนบทไม้ไผ่เฮี้ยะเป็นตัวประกอบของงานจักสานได้เป็นบางส่วน เพราะเนื้อไม้ไผ่เมื่อแห้งจะกรอบ
5.ไม้ไผ่ข้าวหลาม
เป็นไผ่ที่ชอบขึ้นตามป่าชื้นเชิงเขาใกล้แหล่งน้ำเหมือนไผ่เฮี้ยะ ผิวเป็นคายออกเขียวจัด ไม้ข้าวหลามบางปล้องยาวประมาณ 2 ฟุต แต่เนื้อไม้หนากว่าไม้ไผ่เฮี้ยะ สันข้อหนา ลำต้นตั้งตรง ยาวประมาณ 6-7 เมตร ข้อสังเกตไม้ไผ่ข้าวหลาม ผิวไม้จะชุ่มชื้นกว่าไม้ไผ่เฮี้ยะ ไม้ไผ่ข้าวหลามนิยมนำมาทำเป็นกระบอกข้าวหลามในบางฤดูกาล เส้นตอกจะเหนียวและได้เส้นตอกที่กว้าง สามารถนำมาสานเป็น กระด้ง ตะแกรง ตอกมัดข้าว ถักป็นเส้นเปีย นำมาเย็บเป็นหมวก
6.ไม้ไผ่สีสุก
เป็นไม้ไผ่ที่กอไผ่ค่อนข้างใหญ่ ทรงแผ่ออกกว้าง มีแขนงหนามโดยรอบกอ จะพบใกล้แหล่งน้ำในชนบท ขึ้นไม่ไกลจากหมู่บ้านมากนัก มักจะเป็นไผ่ที่ชาวบ้านนำไปปลูกแพร่ขยายพันธุ์เอง ลำต้นสูงใหญ่ ผิวไผ่เป็นมัน เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 7 นิ้ว ปล้องแต่ละปล้องยาวประมาณ 1-2 ฟุต ลำต้นตั้งตรง แนงไผ่มาก เนื้อไม้ไผ่สีสุกมีความหนากว่าไม้ไผ่ที่กล่าวมาข้างต้นไผ่สีสุก เป็นไม้ไผ่ที่มีคุณค่าในการจักสานได้ทุกชนิดตั้งแต่ กระบุง ตะกร้า กระด้ง ตะแกรง เข่ง ไซดักปลา สุ่มปลา ฯลฯ และยังสามารถนำมาทำโครงสร้างเรือนไม้ไผ่ เป็นไม้ไผ่ที่สามารถสร้างสรรค์งานได้ทั้งงานหยาบและงานละเอียด เพราะเนื้อไม้ไผ่ค่อนข้างเหนียวทนทาน
7. ไม้ไผ่รวก
เป็นไผ่ที่พบเห็นได้ทั่วๆไป ทั้งไผ่รวกบ้านและไผ่รวกป่า ไผ่รวกบ้านนิยมปลูกขยายพันธุ์ในเชิงธุรกิจได้ เพราะลำไผ่รวกบ้านใหญ่กว่าไผ่รวกป่า ไผ่รวก กอไม่ใหญ่นัก ลำต้นตรง แขนงไผ่มีไม่มาก ลำต้นยาวถึง 12 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นไม่เกิน 3-4 นิ้ว ไผ่รวกเป็นไผ่เอนกประสงค์สามารถใช้ในงานจักสานได้หลากหลายประเภท

กระบุง

วัตถุดิบ
1.ไผ่สีสุก สำหรับจักสานเป็นตอก และขอบตะกร้า
2. หวาย สำหรับถักรัดขอบตะกร้า หวายที่นิยมในงานจักสานโดยเฉพาะ “หวายหอม” ที่สำหรับทำเส้นหวายให้มีขนาดตามที่ต้องการ
อุปกรณ์ที่สำคัญ
มีดโต้หรือพร้า สำหรับผ่า เหลาและจักไม้ไผ่ให้เป็นตอก ขอบปากและไผ่ขัดก้นตะกร้า รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่จำเป็น
เลื่อยมือ สำหรับตัดผ่าแบ่งไม้
วิธีทำ
ขั้นตอนแรก นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 50 ซม.
ขั้นตอนที่ 2แล้วผ่าแบ่งก่อนจะนำมาจักเป็นตอก โดยเหลาให้ปลายตอกทั้งสองด้านเท่ากัน จากนั้นนำตอกมาสานเป็นลายสองธรรมดา
ขั้นตอนที่ 3 แล้วเหลาไม้ไผ่เป็นซี่สองอันให้ปลายแต่ละด้านแหลมเรียวก่อนจะนำไปสอดขัดกับตอกที่สานเป็นพื้นเพื่อให้แข็งแรงงานที่ได้ในช่วงนี้คือส่วนของพื้นหรือก้นตะกร้า
ขั้นตอนที่ 4 จากนั้นสานแบบบังคับทิศทางให้เป็นรูปทรงกลมตามแบบที่ต้องการก่อนจะใช้ตอกอีกส่วนหนึ่งไพล่เป็นเส้นเล็กสานขวางขัดกับตอกยืนจนสุดขอบปากตะกร้าก่อนจะพับปลายตอกยืนให้เขาไปในรอยตอก ทำไปจนรอบใบจะได้ตะกร้าที่สวยงาม

กระจาด

วัสดุ
ไผ่สีสุก และหวาย
เครื่องมือ ได้แก่
มีดโต้ และเลื่อยมือ สำหรับตัดผ่าแบ่งไม้
การสาน
ตะกร้าเริ่มจาก การเตรียมอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วย ไม้ไผ่สีสุก สำหรับจักสานเป็นตอก และขอบตะกร้า, หวายสำหรับถักรัดขอบตะกร้า หวายที่นิยมในงานจักสานโดยเฉพาะ “หวายหอม”, ที่เลียดสำหรับทำเส้นหวายให้มีขนาดตามที่ต้องการ, มีดหรือพร้าสำหรับผ่า เหลาและจักไม้ไผ่ให้เป็นตอก ขอบปากและไผ่ขัดก้นตะกร้า รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่จำเป็น
ขั้นตอนแรก นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 50 ซม. แล้วผ่าแบ่งก่อนจะนำมาจักเป็นตอก โดยเหลาให้ปลายตอกทั้งสองด้านเท่ากัน จากนั้นนำตอกมาสานเป็นลายสองธรรมดา แล้วเหลาไม้ไผ่เป็นซี่สองอันให้ปลายแต่ละด้านแหลมเรียว ก่อนจะนำไปสอดขัดกับตอกที่สานเป็นพื้นเพื่อให้แข็งแรง งานที่ได้ในช่วงนี้คือส่วนของพื้นหรือก้นตะกร้า
จากนั้นสานแบบบังคับทิศทางให้เป็นรูปทรงกลมตามแบบที่ต้องการก่อนจะใช้ตอกอีกส่วนหนึ่งไพล่เป็นเส้นเล็กสานขวางขัดกับตอกยืนจนสุดขอบปากตะกร้า ก่อนจะพับปลายตอกยืนให้เขาไปในรอยตอก ทำไปจนรอบใบจะได้ตะกร้าที่สวยงาม

บุ้งกี๋

วิธีทำ
ไม้ไผ่บ้าน ซึ่งมีอายุประมาณ ๒-๓ ปี (สังเกตจากติวไม้)นำมาเหลาให้เป็นเส้น ๆ ลักษณะแบน กว้างขนาด ๑.๕ เซนติเมตร ยาวตามขนาดของ ลำไม้ไผ่ นำมาสาน “ลายขัด”จนแล้วเสร็จเก็บปลายไม้ไผ่ให้เรียบร้อย แล้วนำหวายมาดัดได้รูปเพื่อนำมาหูบุ้งกี๋ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่นิยมทำขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ตามต้องการ

ฝาชี

อุปกรณ์
ไม้ไผ่ กรรไกร มีด หวาย มีดจักตอก เหล็กมาดปลายแบน ส่วนปลายแบนใช้เจาะร้อยตอก เหล็กมาดปลายแหลม ใช้เจาะร้อยหวาย คีมไม้ สีย้อมฝ้าย

วิธีการทำ
นำมาไผ่มาผ่าให้เป็นเส้นบาง ๆ เรียกว่า จักเป็นเส้นบาง ๆ จะได้ตอก นำตอกมาขัดหรือสานกันจนเป็นลวดลาย นำขึ้นรูปเป็นทรงต่าง ๆ จนเป็นภาชนะนำไปใช้ใช้ตามต้องการ

สุ่มไก่

วิธีการสานสุ่มไก่
1.วัดความยาวของขนาดไม้ไผ่ตามความต้องการ จากนั้นใช้มีดพร้าตัดข้อปล้องของไม้ไผ่เพื่อทำการผ่าปล้องไม้ไผ่
2.ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ
3.จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่ มีตาไผ่)ความกว้างและความยาวของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน ยาว 150 – 200 ซม. กว้าง1.5–2.5 ซม. ตอกยาว ยาว ประมาน 8 ม. กว้าง 1 – 2 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม. ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ ตอกยืนที่ใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ
2.การสานสุ่มไก่
2.1 ใช้ตอกยาว สานเป็นวงหัว
2.2 นำ วงหัว มาสานกับตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด
2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาว
แต่ละเส้นเปลี่ยน ตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม การนำลายขัดที่สานแล้ว มาสานกับตอกยาวเพื่อขึ้นรูป
2.4 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 2- 5 เส้น เพื่อทำให้ฐานสุ่มไก่แข็งแรง
2.5 ใช้มีดพร้าตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวออกมาตรงตีนสุ่มไก่ทิ้งไป เพื่อมีฐานที่เท่ากัน

กรงนก

.
วัสดุ/อุปกรณ์ใช้ทำกรงนก มีดังนี้
สว่านเจาะไม้ เครื่องเจียรไม้ เครื่องทำลายดอก มีดแกะสลัก กระดาษทรายขัด กระดาษลายดอก ก้านไม้กรงนก ไม้ทำกรงนก หัวแขวนกรงนก แล๊กเกอร์ ดินสอ และ กาวทาไม้
วิธีทำ
1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ
2.นำไม้มาผ่าเป็นชิ้นเล็กๆให้ขนาดเท่ากัน ตามขนาดที่ต้องการ และนำมาขัดกับกระดาษทรายเพื่อนำมา เป็น3.เสากรงนก – แกะสลักทำลายดอกตามแบบที่ต้องการ
4.นำไม้มาประกอบเป็นกรงนกตามแบบที่ต้องการ นำไม้ไผ่หรือไม้ตาลโตนดมาเหลาให้เป็นซี่เล็กๆ
ตามขนาดที่ต้องการ และนำก้านกรงนกมาประกอบเป็นกรงนก
5.นำอุปกรณ์เสริมมาใส่ในกรงนก เช่น ถ้วยสำหรับใส่น้ำ ใส่อาหาร หัวกรงสำหรับแขวน
6.ขั้นตอนสุดท้าย ทาแล๊กเกอร์แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง นำก้านมาประกอบและใส่หัวกรงนก

พัด

ใช้เป็นของชำรอุปกรณ์
1.ไม้ไผ่สีสุก 2.มีด 3.สีย้อมผ้า 4.แบบพิมพ์รูปพัด 5.ดินสอ
6.กรรไกล 7.กิปติดผม 8.เป็กตอกเย็บพัด 9.แปรงทาสี 10.สว่านเจาะด้ามพัด
วิธีการทำ
1.การย้อมสีตอก (สีที่ใช้เป็นสีย้อมผ้า อาจจะเป็นสีซองหรือกระป๋องก็ได้)
2.รีบนำตอกที่ย้อมสีแล้ว ไปล้างน้ำสะอาดเพื่อไม่ให้สีจับที่ตอกหนาเกินไปเวลา สานสีตอกจะได้ไม่ติดมือ
3. นำตอกที่ล้างน้ำแล้วไปผึ่งแดดจนแห้ง ก็นำไปสานพัดได้
4.การสานก่อเป็นแผงนำตอกที่ย้อมสีแล้วมาสานก่อ โดยมากนิยมสานเป็นลาย 3 หมายถึง ยกตอก
5.เส้น ขัดตอก 3 เส้น หรือเรียกว่ายก 3 ข่ม 3 เป็นขั้นบันได แต่ถ้าจะให้เป็นลาย เป็นดอกหรือเป็นรูปทรงอะไรนั้น อยู่ที่เทคนิคของผู้สาน
6.การตัดพัดให้เป็นรูปเล่มตามแบบ เมื่อสานพัดเป็นแผงเสร็จขนาดประมาณ 1 ฟุต แล้วนำแบบไม้หรือแบบกระดาษที่ทำเป็นรูปใบโพธิ์ หรือรูปตาลปัตร ที่นิยมกัน มาทาบแล้วตัดตามแบบ (สำหรับพัดหยาบนั้นนิยมทำเป็นรูปตาลปัตร เพราะใหญ่ใช้งานได้)

กระเป๋า

วัสดุ
1. ไม้ตอกจากไม้ไผ่ไร่
2. โครงเหล็กสำหรับทำกระเป๋าแบบต่าง ๆ
3. ผ้าบุรองกระเป๋าด้านใน
4. กาวลาเทค
5. กระดาษชาร์ทแข็ง
6. กรรไกร
7. กาวแลคเกอร์
วิธีทำ
1. นำไม้ไผ่มาจักตอกและรีดตอกให้เป็นเส้นบาง เพื่อใช้สานกระเป๋า
2. นำตอกที่ได้ไปรมควันไฟให้เกิดเป็นสีต่าง ๆ คือ สีดำ น้ำตาล เหลือง เมื่อนำมาสานจะทำให้เกิดลวดลายตามสี
ของตอกไม้ไผ่
3. ตอกไม้ไผ่ที่ได้นำมาสานลวดลายตามต้องการ
4. นำไม้ไผ่ที่สานแล้วมาตัดตามแบบที่ต้องการ ตัดผ้ากาวตามแบบและอัดผ้ากาวติดกับไม้แผ่นที่สาน
5. ทำการขึ้นแบบตามโครงกระเป๋า และเย็บตามแบบกระเป๋าทาแลกเกอร์เพื่อความคงทนและเงางาม ทิ้งไว้ให้แห้ง
พร้อมติดอุปกรณ์ตกแต่งเพื่อความสวยงาม

เข่งใส่ผลไม้

วัสดุที่ใช้
ไม้ไผ่นำมาจักเป็นตอกเพื่อใช้สานเป็นเข่ง
วิธีการทำ
ขั้นแรก
เป็นการเลือกไม้ก่อน ไม้ที่ทำจะใช้ไม้ ไผ่บ้าน เพราะมีขนาดใหญ่จักเป็นตอกได้ง่าย อายุไม้ไม่ควรต่ำกว่าหนึ่งปี ยิ่งแก่เท่า ใดยิ่งดี เพราะไม้ที่อ่อนจะทำให้เข่ง ไม่แข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน โดยจะ ตัดเอาส่วนต้น การจักเป็นตอกจะลำบากถ้า เอาส่วนปลายเส้นต้องไม่สม่ำเสมอและไม้มักจะ ปลายด้วน เพราะจักแล้วเส้นตอกมักจะขาดและ ไม่มีแมลงเจาะเพราะไม้ที่มีแมลงเจาะแล้ว เมื่อจักเป็นตอกจะได้เส้นตอกน้อย
ขั้นที่สอง
นำไม้มาตัดเป็นท่อน ๆ ประมาณ2-3 วาแล้วผ่าซีกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า “จักตอก” โดยการผ่าจากลำต้นไป ทางปลายไม้ให้ได้ขนาดความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร หนาประมาณ 1 มิลลิเมตร ใช้เป็นส่วนที่ใช้สานเรียก ว่า “ตอกสาน” และแยกทำเป็นชิ้นเล็ก ๆ หนาประมาณ 1 มิลลิเมตรกว้าง 2 มิลลิเมตร เพื่อใช้สาน ตรงขอบปากเข่งเพิ่มความแข็งแรงอีก 5- 11เส้นเรียก ตอกไพ ตัดไม้ให้ได้ตามความ ยาวอีก 3-4 ศอก แล้วผ่าจักเป็นตอก หนา 1.5 กว้าง 1 เซนติเมตร ใช้เป็นโครงสร้าง ของเข่งเรียกว่า ตอกทางชั่ง
ขั้นที่สาม
เริ่มสานโดยใช้ตอกทางชั่ง สานลายขัดจน ได้ขนาดเท่ากับเข่งแม่แบบ แล้วนำไปวาง ไว้ที่ก้นเข่งแม่แบบ แล้วตักตอกให้งอ ไปตามเข่งแม่แบบแล้วใช้ตอกสานโดยสาน ขัดไปเรื่อย ๆ จนเหลือขอบแข่งประมาณ2 นิ้ว เปลี่ยนมามาใช้ตอกไฟ สานแทนจนถึงขอบ เข่งแล้วหักพับตอกชั่งสอดสานย้อนกลับมา ทางกันเข่งแล้วใช้ตอกสอดทำเป็นหูหิ้ว ทั้งสองข้างจะได้เข่ง 1 ใบเทคนิคการทำ เข่ง

กระติบข้าว

วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1. ไม้ไผ่บ้าน 2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่ 4. กรรไกร
5. มีดโต้ 6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม) 8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก 10. เครื่องกรอด้าย
ขั้นตอนการสานกระติบข้าว
1.การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน
การเลือกไม้ไผ่ จะเลือกไม้ที่มีข้อปล้องยาวและตรง มีผิวเรียบเป็นมันนำมาตัดข้อปล้องทางหัวและท้ายออก โดยใช้เลื่อยตัดรอบไม้ไผ่เพื่อป้องกันผิวไผ่ฉีก ขนาดของปล้องไม้ไผ่หนึ่ง ควรมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียว ของมันออกและตากแดดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน
2.เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย
3.เมื่อได้ตอกมาประมาณ 100-150 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานกระติบข้าวได้ บางครั้งผู้สานต้องการเพิ่มลวดลายในการสานกระติบก็จะย้อมสีตอกก่อนก็มี ส่วนใหญ่จะใช้สีผสมลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาย้อมตอกให้เป็นสีสันตามที่ตัวเองต้องการ
เมื่อลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร เมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ 3 เซนติเมตรให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียน
การสานกระติบให้ประกบซ้อนกันเป็นสองชั้น ก็เพื่อช่วยเก็บความร้อนให้อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งพอที่จะทำให้ได้กินข้าวเหนียวที่ไม่แข็งเกินไป นอกจากนั้นกระติบข้าวที่ทำจากไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับเอาหยาดน้ำที่อยู่ภายในที่จะเป็นตัวทำให้ข้าวเปียกหรือแฉะได้อีกด้วย
4.การขึ้นลายกระติบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของคนที่สานว่าต้องการใช้ลายอะไร เพราะแต่ละลายจะขึ้นต่างกัน ลายกระติบที่นิยมสาน คือ “ลายข้างกระแตสองยืนและสามยืน” การขึ้นลายสองนั้น จะยกตอก 2 เส้นแล้วทิ้ง 2 เส้น และเมื่อขึ้นลายไปได้ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของตอกแล้ว ก็จะสานต่อด้วยลายสามนอนหรือลายคุบ จากนั้นจึงสานด้วยลายสองยืนอีกครั้งเพื่อความแข็งแรงของกระติบข้าว จากนั้นจึงม้วนเก็บชายตอกด้วยการพับครึ่งเข้าไปข้างในทั้งสองข้างและบีบเพื่อตกแต่งให้สวยงาม
5.ส่วนก้นของกระติบข้าวนั้นจะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกันเข้าแล้วผูกติดกับส่วนตัวกระติบ เรียกขั้นตอนนี้ว่า “อัดตุ๋” ซึ่งมีการเย็บอยู่สองวิธีคือ การเย็บโดยใช้หวาย กับเย็บด้วยการใช้ด้ายเย็บ แต่การเย็บด้วยหวายนั้นให้ความสวยงามตามธรรมชาติ และมีความแข็งแรงกว่าการเย็บด้วยด้าย แต่ปัญหาก็คือหวาย จะหายากในปัจจุบัน
6.ฐานของกระติบ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า “ตีนติบข้าว” เป็นส่วนหนึ่งมี่ต้องรับน้ำหนักและจำเป็นที่จะต้องทำให้แข็งแรง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้ก้านตาลมาเหลาแล้วโค้งให้เป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นกระติบข้าว ก้านตาลที่ใช้จะต้องตรงไม่คดเบี้ยวและมีความยาวประมาณ 1 เมตรขึ้นไป นำก้านตาลที่ตัดได้มาเหลาเอาหนามตาลออก ผ่าตามความยาวของก้านตาล ซึ่งก้านตาล 1 ก้านใหญ่สามารถทำตีนกระติบได้ 1-2 อัน จากนั้นจึงผ่าเกลาให้เรียบเสมอกัน นำมาม้วนแล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 15-20 วันเป็นอย่างน้อย
7.ฝากระติบข้าวนั้นจะสานเช่นเดียวกับตัวกระติบเพียงแต่ให้ใหญ่กว่าเพื่อสวมครอบปิดเปิดได้ กระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่ายและมีมอดเจาะ และควรเก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

จั่นใย

จั่นใย เป็นเครื่องมือสำหรับดักปลาตัวใหญ่ ๆ ในน้ำจืด เช่น ปลาค้าว ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลากรด ปลากะโห้ เป็นต้น
จั่นใย สานด้วยตอกผิวไม้ไผ่เหลาเส้นหนายาว ๆ สานเป็นรูปทรงกระบอกก้นกระสอบลึก ปากจั่นใยกว้างประมาณเกือบ ๑ เมตร จั่นใยทำจากไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ เมตร ผ่าเป็นซี่ประมาณ ๒๐ ซี่ ใช้ตอกผิวไม้สานจากก้นมาถึงปากการสานเป็นลายขัดห่าง ๆ กัน ๓ – ๕ เซนติเมตร ส่วนปลายปากจั่นใช้ซีกไม้ไผ่มัดด้วยหวายประกบทำเป็นขอบ ปากจั่นใยจะทำประตูไม้ไผ่ปิดเปิดได้ ที่ประตูจะใช้ไม่ไผ่ลำยาว ๆ สูงท่วมหัวคน ๒ ท่อน เพื่อทำเป็นหลักยึดคาน และใช้เส้นหวายพาดคานแล้วนำปลายเส้นหวายไปมัดกับปิ่น ซึ่งทำเป็นเดือยขัดกับไม้ขวางอีกท่อนหนึ่ง ภายในจั่นใย มีเส้นหวายมัดขวางอยู่ตรงกลาง ๔ – ๕ เส้น เรียกว่า สายใย เส้นหวายดังกล่าวจะยึดกับไม้ขวางที่นำมาขัดเดือยกับปิ่น เวลาปลาตัวใหญ่ ๆ เข้าไปในจั่นใย ปลาจะว่ายไปชนหวาย ๔ – ๕ เส้น เส้นที่เป็นสายใยนั้น ไม้ขวางขัดกับปิ่นจะหลุดออกจากกัน ประตูจั่นที่เปิดล่อปลาจะปิดอย่างรวดเร็ว การที่จะให้ประตูปิดอย่างเร็วนี้ ต้องใช้ก้อนหินถ่วงไว้ด้านบนประตูปากจั่นใย ไม้ไผ่ที่เป็นลำ ๆ ๒ ท่อนด้านปากประตูจะผูกเกราะติดไว้เวลาปลาติดอยู่ในจั่น ปลาจะดิ้นและเขย่าเกราะให้ดังขึ้นด้วยจึงเป็นสัญญาณทำให้รู้ว่าปลาติดจั่นใย แล้ว
วิธีใช้ จะนำจั่นใยไปดักในแม่น้ำลำคลอง ให้ปากประตูหันไปตามทิศทางที่แม่น้ำไหล ดักจั่นใยในบริเวณน้ำลึกระดับปริมาณแค่สะเอว หรือแค่คอคนเท่านั้น มักจะดักริมฝั่ง ในฤดูที่มีน้ำไหลแรงเพราะปลาจะว่ายเลาะริมตลิ่ง ใช้ใบไม้ กิ่งไม้ ปักเป็นแนวเรียกว่า หูช้าง ให้ปลาว่ายเข้าไปในช่องทางที่ดักจั่นใยไว้ ภายในจั่นไม่ใช้เหยื่อล่อใด ๆ จั่นใยในทุกวันนี้ไม่ค่อยจะมีใช้กันอีกแล้ว เพราะปลาตัวใหญ่ ๆ ลดน้อยไปทุกขณะ อีกทั้งชาวบ้านจะใช้อวนลาก และใช้เครื่องมือชนิดอื่น ๆ จับปลา เช่น ไฟฟ้าช๊อตหรือระเบิดขว้าง เป็นต้น

บทที่ 3
วิธีดำเนินงานโครงงาน

ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง การจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่นี้ ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
3.1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ (Asus K450cc-wx259D Third Generation Core i5-3337U (1.8GHz) Turbo boost up to 2.7 GHz Ram 4.0 GB DDR3 HDD 500 GB SATA DVDRW )
3.1.2 โปรแกรม DeskTop Author
3.1.3 โปรแกรม Power Point
3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.2.1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
3.2.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
3.2.3 ศึกษาการพัฒนาโครงงาน เรื่องการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ที่สร้างจากเอกสารที่ครูประจำวิชากำหนด และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่นำเสนอเกี่ยวกับจัดทำโครงงาน
3.2.4 จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา
3.2.5 ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ โดยการปฏิบัติงานตามแบบเสนอโครงร่างที่เสนอไว้แล้ว
3.2.6 จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม DeskTop Author ในการสร้าง
3.2.7 ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอที่ห้องคอมพิวเตอร์ อาคารกระดังงา โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม แล้วให้ครูที่ปรึกษาประเมินผลงาน และให้เพื่อนๆ ผู้สนใจเข้าร่วมประเมิน
3.2.8 นำเสนอผ่านเว็บไซต์ https://kwanbb4.wordpress.com เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาหาความรู้ต่อไป

บทที่ 4
ผลการดำเนินงานโครงงาน

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมด้านภูมิปัญญาในท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์การจักสานไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยไว้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่มากยิ่งขึ้น และค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับ การจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้
4.1 ผลการโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่นี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บไซต์ https://kwanbb4.wordpress.com โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว
4.2 ตัวอย่างการพัฒนาโครงงาน เรื่องการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่

บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่นี้ สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
5.1.1.1. เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจักสานไม้ไผ่
5.1.1.2. เพื่อศึกษากรรมวิธีการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่
5.1.1.3. เพื่อเผยแพร่การจักสานไม้ไผ่ของไทย
5.1.1.4. เพื่ออนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่ของไทยไว้
5.1.1.5. เพื่อนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปทำชิ้นงาน

5.2.2 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
5.2.2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ (Asus K450cc-wx259D Third Generation Core i5-3337U (1.8GHz) Turbo boost up to 2.7 GHz Ram 4.0 GB DDR3 HDD 500 GB SATA DVDRW )
5.2.2.2 โปรแกรม DeskTop Author
5.2.2.3 โปรแกรม Power Point
5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องการจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่นี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บไซต์ https://kwanbb4.wordpress.com ทั้งนี้เว็บไซต์ดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว
5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป
5.3.1.1 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ wordpress เป็นเว็บบล็อกสำเร็จรูปที่ใช้ทำเว็บไซต์ได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมก็จะส่งผลต่อการละเมิดลิขสิทธิ์และได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นผู้จัดทำควรเผยแพร่แต่สิ่งที่ดีๆให้บุคคลที่เข้ามาศึกษาได้ความรู้และสิ่งที่ดีๆ นำไปเผยแพร่ต่อเพื่อให้ผู้อื่นมาศึกษาความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป
5.3.1.2 ควรมีการจัดทำเนื้อหาโครงงานให้หลากหลายครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
5.3.1.3 ควรมีการจัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มเติม
5.3.2 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
5.3.2.1 การใช้โปรแกรมในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ยังไม่คล้องในการทำงาน

บรรณานุกรม

Hawa.2554.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา:http://www.noohawa.com.blogspot.com/2011/09/
educational-media-development.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2558.
Nattida23362.2556.ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์:http://thaigoodview.com/node/83814
เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2558.
รัตติยา กงจักร.2555.การใช้ Microsoft Office PowerPoint 2007 เบื้องต้น:http://acl-2rattiya-
kongjak.blogspot.com/2012/02/powerpoint.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2558.
http://www.payaptechno.ac.th/app/images/payap/qa/innovation/student/Projectท่องเที่ยว/โปรเจ็คจักสาน. pdf เข้าถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2558
https://totsapongfang.wordpress.com /การจักสาน/ความสัมคัญของการจักสาน/เข้าถึงวันที่
5 ธันวาคม 2558
http://forprod.forest.go.th/forprod/ebook /การจักสานผลิตภัณ์ไม้ไผ่/scan0001.pdf
เข้าถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2558

Click to access 1364264187_chapter1.pdf

เข้าถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2558
http://www.m-culture.in.th/moc_new/albumเข้าถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2558

ภาคผนวก
( ภาพการพัฒนาโครงงาน การจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ขั้นตอนการสร้าง Storyboard )

ข้อมูลผู้จัดทำ

นางสาววาสนา บรรเทาพิตร เกิดเมื่อวันที่ 12 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ที่สุรินทร์ จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านจบก ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนบุแกรงวิทยาคม ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์