ผู้แต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี

ประวัติผู้แต่งมหาเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์

 1.เจ้าพระยาพระคลัง(หน)

ประวัติ

เจ้าพระยาพระคลังท่านนี้ เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ มีบุตรธิดาหลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ เจ้าจอมพุ่ม ในรัชกาลที่ ๒, เจ้าจอมมารดานิ่ม พระมารดาสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง) ในรัชกาลที่ ๒, นายเกต และนายพัด ซึ่งเป็นกวีและครูพิณพาทย์ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นต้นสกุล บุญ-หลง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และถึงแก่อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๔๘ ผลงานด้านวรรณคดีที่ท่านได้แต่งไว้หลายเรื่องด้วยกัน

  พระราชนิพนธ์ ในมหาเวสสันดรชาดก 2 กัณฑ์ คือ มัทรี กุมาร


2. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส

ประวัติ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระนามเดิม พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ได้ผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ พระตำหนักท่าวาสุกรี วัดพระเชตุพนฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส สมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับการสถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ รวมพระชนมายุ ๖๔ พรรษา งานพระนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่ ตำราฉันท์มาตราพฤติและวรรณพฤติ ลิลิตตะเลงพ่าย สมุทรโฆษคำฉันท์ ทรงนิพนธ์ต่อจากพระมหาราชครูและสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งค้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ๑๑ กัณฑ์ เว้นกัณฑ์มหาพนและกัณฑ์มัทรี เพราะทรงเห็นว่าพระเทพโมลี (กลิ่น) และเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งกัณฑ์มัทรีไว้ดีแล้ว

 พระราชนิพนธ์ ในมหาเวสสันดรชาดก 4 กัณฑ์ คือ ทศพร หิมพานต์ มหาราช นครกัณฑ์

3. พระบาทสมเด็จพระจอมเก้าเจ้าอยู่หัวฯ
ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ

 พระราชนิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก 3 กัณฑ์ คือ วนปเวสนื จุลพน สักบรรพ

4. พระเทพโมลี ( กลั่น )
ประวัติ

พระเทพโมลี (กลิ่น) ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๓ รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเชื้อสายรามัญ ท่านบรรพชา-อุปสมบท วัดตองปุ อยุธยา สมัยพระเจ้าเอกทัศน์เมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ท่านพระมหาศรี พระขุน พระเทพโมลี ครั้งเป็นพระกลิ่น หลบภัยข้าศึก ล่องลงมาทางใต้ ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านและคณะกลับมาอยู่วัดกลางนา(วัดตองปุ หรือวัดชนะสงคราม)กรุงเทพฯต่อมาทราบข่าวพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ เป็นที่พระญาณสังวรเถร ทั้งสามท่านจึงตามมาอยู่วัดพลับ เรียนขอเล่าเรียน พระกรรมฐานมัชฌิมา แบลลำดับด้วยประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๘ พระมหากลิ่น และคณะ ทราบว่าพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ ทรงเชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐาน ท่าน และคณะซึ่งเป็นเชื้อสายรามัญ จึงได้เข้าไปกราบนมัสการขออนุญาต พระมหาสุเมธาจารย์เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางนา (วัดตองปุ หรือวัดชนะสงคราม) ซึ่งเป็นพระสงฆ์นิกายรามัญ เพื่อมาศึกษาพระกรรมฐานในสำนักพระญาณสังวรเถร (สุก)

 นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก 1 กัณฑ์ คือ มหาพน

5. สำนักวัดถนน

 ประวัติ

นายทองอยู่ เกิดที่บ้านไผ่จำศีล อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่ออายุ 10-11 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ได้ผ่านวัดอยู่วัดหนึ่ง เรียกว่า “วัดถนน” จึงได้พักอยู่วัดนี้ ได้อุปสมบท เรื่อยมา ท่านทองนับว่าเป็นสถาปนิกชั้นเยี่ยม ท่านได้สร้างเจดีย์ที่งดงาม รวมถึงได้แต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทานกัณฑ์แล้ว ยังแต่งบททำขวัญนาคไว้อย่างไพเราะอีกด้วย

 นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก 1 กัณฑ์ คือ ทานกัณฑ์

6. สำนักวัดสังข์จาย

ประวัติ

สำนักวัดสังข์กระจายเป็นชื่อสำนักที่ท่านผู้แต่งบวชอยู่ วัดนี้อยู่ริมคลองบางกอก เป็นวัดโบราณ ส่วนท่านผู้แต่งกัณฑ์ชูชกนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงนุภาพทรงสันนิษฐานว่า คือ พระเทพมุนี(ด้วง) แต่ประวัติของท่านยังไม่เป็นที่แน่ชัด ในพ.ศ. 2332 คราวเกิดอสุนีบาตตกต้องมุขพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาทติดเป็นเพลิงไหม้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระแสงของ้าวเร่งข้าราชการดับเพลิงจนสงบ แล้วทรงปริวิตกว่าเห็นจะเป็นอัปมงคลนิมิตแก่บ้านพระราชาคณะที่เป็นปราชญ์ ต่างได้ลงชื่อถวายชัยมงคล ซึ่งรายนามพระสงฆ์ที่ถวายพระพรครั้งนั้นมีพระเทพมุนีวัดสังข์กระจายด้วยรูปหนึ่ง นอกจากนี้ พระเทพมุนีรูปนี้ยังถวายเทศน์กัณฑ์ชูชกในรัชกาลที่ ทั้งยังเคยถวายแก้ข้อกังหาปัญหาธรรมและพระราชปุจฉาในรัชกาลที่ 1 อีกด้วย

 นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก 1 กัณฑ์ คือ ชูชก

ใครคือผู้แต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี

ผู้แต่งเรื่องมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี คือ เจ้าพระยา พระคลัง นามเดิมว่า หน เป็นเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า เดิม เป็นหลวงสรวิชิต เคยตามเสด็จพระราชด าเนินราชการสงคราม ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อครั้งหลวงสรวิชิตรับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี มีความดีความชอบมาก โดยเฉพาะฝีมือในการเรียบเรียงหนังสือ รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็น ...

ผู้แต่งเรื่องมหาเวสสันดรชาดกมีใครบ้าง

มหาชาติ หรือมหาเวสสันดรชาดก มีผู้ประพันธ์หลายท่าน ดังนี้ - สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๔) - กวีสานักวัดถนน - กวีสานักวัดสังข์กระจาย - พระเทพโมลี (กลิ่น) - เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ Page 4 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ...

ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด

ลักษณะคำประพันธ์ ลักษณะคำประพันธ์ มหาเวสสันดรชาดกเป็นมหาชาติกลอนเทศน์ มีลักษณะคำประพันธ์เป็นร่ายยาวที่มีคาถาบาลีนำ

ผู้แต่งแต่งวรรณคดีเรื่องมหาเวสสันดรชาดกเพื่ออะไร

เป็นร่ายยาว วิธีแต่งยกคาถาภาษาบาลีขึ้นเป็นหลัก แล้วแปลแต่งเป็นภาษาไทยด้วยร่ายยาว ภาษาบาลีที่ยกมานั้นจะยกมาเป็นตอน ๆ สั้นบ้าง ยาวบ้างตามลักษณะเรื่อง แล้วแปลเป็นภาษาไทยอีกทีหนึ่ง จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อที่จะนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาสอนประชาชน