คนท้องควรหยุด ทํา งาน ตอนกี่เดือน

หลังจากที่ลาคลอดมาสักพักแล้ว คุณแม่อาจจะกำลังเริ่มคิดว่า จะกลับไปทำงานช่วงไหนดี และต้องวางแผนอะไรบ้าง ก่อนที่จะกลับไปทำงานหลังคลอด เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมทั้งคุณแม่ และเจ้าตัวเล็ก เรามีข้อแนะนำดี ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการกลับไปทำงานอีกครั้งของคุณแม่มาฝากกันค่ะ

ช่วงเวลาไหนดี ที่เหมาะกับการไปทำงานหลังคลอด

โดยปกติแล้ว ในประเทศไทยสามารถลาคลอดได้เป็นเวลาไม่เกิน 98 วัน หรือประมาณ 3 เดือน สิ่งที่คุณแม่ต้องประเมินเป็นอันดับแรกคือ วันลาที่เหลืออยู่ทั้งหมด มีมาก หรือน้อยขนาดไหน เพื่อกำหนดวันที่จะกลับไปทำงาน แนะนำให้คุณแม่กลับไปเริ่มทำงานในวันพุธ ซึ่งเป็นกลางสัปดาห์พอดี

สาเหตุที่แนะนำให้เริ่มงานในวันพุธ เนื่องจากเป็นช่วงเวลากลางสัปดาห์ และเหลือเวลาอีก 2 วัน ในการทำงานสัปดาห์นั้น เพื่อลดความกระชั้นชิดในการทำงานสัปดาห์แรก และยังช่วยให้คุณแม่ประเมินเวลาในการทำงาน และเวลาในการเลี้ยงลูกได้อีกด้วย ว่าเราต้องใช้เวลามาก หรือน้อยขนาดไหน

ในบางองค์กรอาจจะมีสวัสดิการ หรือมีความยืดหยุ่นในการทำงานให้กับพนักงานที่ลาคลอด สามารถขยายเวลาลาคลอดเพิ่ม หรือเปลี่ยนเป็นการทำงานที่บ้านแทนการเข้าออฟฟิศแทน เพื่อให้ได้ใช้เวลากับลูกน้อยมากขึ้น คุณแม่สามารถสอบถามไปยังฝ่ายบุคคล หรือปรึกษากับหัวหน้าฝ่าย เพื่อประกอบการวางแผนในการกลับไปทำงานหลังคลอดได้

เช็กงานล่วงหน้าเพื่อวางแผน

บอกได้เลยว่า อาทิตย์แรก ๆ ที่คุณแม่กลับมาทำงานหลังคลอด อาจจะเต็มไปด้วยความโกลาหลพอสมควร ยิ่งถ้าหากคุณแม่เป็นหน่วยหลักของทีมในที่ทำงานด้วยแล้ว ทุกคนในทีมอาจจะรอการกลับมาของคุณแม่ เพื่อสานต่องานอย่างใจจดใจจ่อ

เพื่อเตรียมตัวกลับไปทำงาน แนะนำให้คุณแม่สอบถาม และพูดคุยกับทีมในที่ทำงานเบื้องต้น ก่อนสัปดาห์ที่จะเข้าไปทำงาน เพื่อติดตามงานที่คุณแม่จะต้องกลับไปสานต่อ มีงานอะไรบ้าง มีชิ้นไหนที่ต้องรีบจัดการหรือไม่ หรือในช่วงที่คุณแม่กำลังจะเข้าไป มีงานชิ้นที่กำลังประสบปัญหาอยู่

การทำแบบนี้ จะช่วยให้คุณแม่ติดตามงานได้เร็วขึ้น และยังช่วยลดการทำงานที่โหลด หรือหนักเกินไป ซึ่งอาจจะไปกระทบสุขภาพ และช่วงเวลาที่ต้องกลับไปเลี้ยงลูกที่บ้านได้

เวลางาน และเวลาให้ลูกต้องบาลานซ์

ไม่ว่างานจะมากมาย ท่วมล้นขนาดไหน คุณแม่ก็อย่าลืมว่า ตอนนี้เราไม่ได้ตัวคนเดียวแล้วนะ ยังมีลูกน้อย และครอบครัวที่กำลังรอเราอยู่ ดังนั้นการแบ่งเวลางาน และเวลาให้ลูกกับครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญ อย่าทำงานหนักจนไม่มีเวลาให้ลูกน้อย

เวลาสำหรับการทำงาน และเวลาให้ลูกน้อย จะต้องบาลานซ์กัน แรก ๆ อาจจะฟังเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แนะนำให้คุณแม่ลองแบ่งเวลาคร่าว ๆ ค่ะ ว่าเวลาไหนที่เราจะหยุดทำงาน หรือเวลาไหนที่เราจะเลี้ยงลูก ค่อย ๆ ปรับตารางเวลาในแต่วันให้ลงตัวค่ะ

คนท้องควรหยุด ทํา งาน ตอนกี่เดือน
คนท้องควรหยุด ทํา งาน ตอนกี่เดือน

สต็อกนมให้พร้อม

อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการสต็อกน้ำนมให้ลูกน้อย ลองสังเกตจำนวนน้ำนมที่ลูกต้องการในแต่ละวัน ว่ามีมากหรือน้อยขนาดไหน อย่างไรก็ตามลูกน้อยอาจจะมีความต้องการในแต่ละวันไม่เท่ากัน คุณแม่ควรปั๊มนมเก็บสต็อกไว้ให้มากกว่าจำนวนปกติอีกเท่าตัว นอกจากนี้ คุณแม่อาจจะปั๊มนมที่ทำงานเพื่อเก็บสต็อกนมเพิ่มในแต่วันเพิ่มด้วยก็ได้

          อ่านบทความแนะนำ: ปั๊มนมทำสต็อกก่อนแม่กลับไปทำงาน

ตามหาคนมาเลี้ยงลูกแทน

ในบางบ้าน อาจจะได้คุณปู่ คุณย่า หรือญาติ ๆ มาช่วยเลี้ยงลูกตั้งแต่หลังคลอด แต่ในบางบ้านอาจจะเป็นคุณแม่ และคุณพ่อช่วยดูแลกันเอง เรื่องการหาคนมาช่วยเลี้ยง อาจจะเป็นสิ่งที่ต้องทำตั้งแต่เนิ่น ๆ หลังคลอด เพื่อเลือกคนที่เหมาะสมในการเลี้ยงดูลูกน้อยแทนเรา

ไม่ว่าจะเป็นพี่เลี้ยงเด็ก หรือญาติ ที่จะต้องมารับหน้าที่ดูแลลูกน้อยในช่วงที่เราทำงาน คุณแม่ควรแนะแนว และลองฝึกเลี้ยงด้วยกันก่อน เพื่อให้เมื่อถึงเวลาจริง พี่เลี้ยง หรือญาติที่มารับหน้าที่แทนเรา จะสามารถรับมือกับการเลี้ยงดูได้อย่างไม่มีปัญหา

ในช่วงแรก ๆ คุณแม่อาจจะกังวลกับหลาย ๆ เรื่อง เมื่อต้องห่างจากลูกน้อย แต่การวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมก่อนกลับไปทำงานหลังคลอด จะช่วยให้คุณแม่คลายความกังวลใจไปได้ ในระหว่างวันที่ทำงาน คุณแม่อาจจะติดต่อกับคนบ้าน เพื่ออัปเดตเรื่องลูกน้อย ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาที่เหนื่อยสักหน่อย แต่เชื่อว่า เมื่อกลับบ้านมาเห็นหน้าลูกน้อยของเรา ความเหนื่อยก็หายเป็นปลิดทิ้งเลย

References

  • https://bit.ly/3pgLTYB
  • https://bit.ly/3uBnyh4

จะบอกที่ทำงานอย่างไร? เมื่อคุณแม่ตั้งท้อง และเตรียมลาคลอด

เมื่อว่าที่คุณแม่ทราบข่าวดีแล้วว่าตัวเองตั้งท้อง เรื่องต่อไปที่ต้องเตรียมการ คือการแจ้งที่ทำงาน เพื่อเตรียมตัวลาคลอด แต่ควรบอกช่วงไหน และอย่างไรดี สำหรับคุณแม่ส่วนใหญ่ มักเลือกแจ้งข่าวการตั้งท้องของตัวเอง หลังจากผ่านพ้นการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก เพื่อความมั่นใจในเรื่องของสุขภาพครรภ์

แล้วจะบอกอย่างไรดี?

ถ้าหากคุณแม่ทำงานในองค์กรขนาดเล็ก การแจ้งข่าวการตั้งครรภ์อาจจะไม่ต้องผ่านหลายคนมากนัก เวลาที่ควรจะแจ้ง ขึ้นอยู่กับความสะดวกของตัวเราเอง อาจจะเริ่มจากหัวหน้า หรือลูกน้องในทีม เพื่อแจ้งข่าวของเรา รวมถึงอาจจะเริ่มวางแผนงานคร่าว ๆ ในช่วงที่เราลาคลอดกับทีมก็เป็นสิ่งที่ดีเช่นกัน

วางแผนเตรียมลาคลอด

เมื่อเราแจ้งข่าวแล้ว สิ่งที่คุณแม่ควรเตรียมตัวต่อมา คือการวางแผนเตรียมลาคลอด โดยหลัก ๆ ที่ต้องเตรียม ดังนี้

          • เลือกวันที่จะเริ่มลาคลอด ให้อิงตามกำหนดคลอดของเรา ล่วงหน้าสัก 1 – 2 อาทิตย์ และกำหนดวันที่จะกลับมาทำงานได้
          • ในบางองค์กร มีสวัสดิการสนับสนุนคุณแม่ลาคลอด คุณพ่อลาคลอด และสวัสดิการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบสวัสดิการเหล่านี้ เพื่อประกอบการวางแผนลาคลอด
          • ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ลูกจ้างสามารถลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน ซึ่งรวมวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย และนับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลา นอกจากนี้ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงที่ลาคลอด แต่ไม่เกิน 45 วัน
          • คุณแม่ควรวางแผนการทำงานในช่วงก่อนลาคลอด แบ่งงานในหน้าที่ของตัวเองต้องส่งต่อให้ใครดูแล หรือมีอะไรที่ต้องจัดการให้เสร็จก่อนลาคลอดหรือไม่
          • ในช่วงระหว่างลาคลอด ถ้าหากคุณแม่มีความจำเป็นต้องทำงาน ควรประเมินล่วงหน้า ว่าสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้ สามารถทำงานได้ในช่วงเวลาไหน ทำงานจากที่บ้านได้หรือไม่ ควรปรึกษา และวางแผนกับเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้า

สิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ ที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือสุขภาพของเรา อย่าพยายามโหมงาน เพื่อเคลียร์ทุกอย่างให้เสร็จก่อนลาคลอด หรือระหว่างในช่วงที่ลาคลอด ควรทำเท่าที่สามารถทำได้ค่ะ

References

  • https://bit.ly/3gJONmh
  • https://bit.ly/33c1I8J

hospital-bag-checklist-for-pregnancy

สำหรับคุณแม่มือใหม่ การเตรียมของไปคลอดที่โรงพยาบาล อาจเป็นเรื่องที่ชวนวิตกกังวล...
อ่านต่อ

อยู่บ้านเลี้ยงลูกหรือกลับไปทำงานดี?

*/ เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่หลายคนคงเคยมีคำถามว่าตนเองจะอยู่บ้านเลี้ยงลูกหรือกลับไปทำงานดี...
อ่านต่อ

เครียดหลังคลอดจนส่งผลต่องาน ทำไงดี

การใช้ชีวิตเป็นคุณแม่ลูกอ่อนอยู่กับบ้านในแต่ละวัน บางครั้งคุณแม่ก็เจอกับปัญหาต่างๆ...
อ่านต่อ

ควรลาคลอดกี่เดือน

ตามกฎหมายแรงงานได้กำหนดให้คุณแม่สามารถลาคลอดได้ 90 วัน ขณะที่คุณแม่มือใหม่บางท่าน ยังไม่ทราบถึงความสำคัญในการลาคลอด และเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับการเป็นคุณแม่ จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลา 90 วันหลังคลอด ทั้งในเรื่องของสภาพร่างกาย จิตใจ และการเลี้ยงดูลูกช่วงแรกเกิด จากข้อมูลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ลาคลอดกันกี่วัน

ตามกฎหมายใหม่ปี 2565 ลาคลอดบุตรได้กี่วันนะ? ตามกฎหมายใหม่นั้น ปัจจุบันคุณแม่สามารถที่จะลาคลอดได้นานถึง 98 วันค่ะ ซึ่งในระยะเวลา 98 วันของการลาคลอดนี้ จะนับรวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย โดยแบ่งเป็นลาคลอดบุตร 90 วัน และลาเพื่อไปตรวจครรภ์อีก 8 วัน รวมเป็น 98 วัน

ปกติลาคลอดลูกตอนกี่สัปดาห์

คุณหมอส่วนใหญ่แนะนำให้คุณแม่วางแผนลาพักงานในช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ หรือมีเวลา 1 เดือนก่อนคลอด เพื่อที่จะได้มีเวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ ให้ร่างกายพร้อมสู่วันกำหนดคลอด และมีเวลาเตรียมตัวจัดกระเป๋า จัดของลูก จัดการเรื่องต่าง ๆ ในช่วงโค้งสุดท้าย หรือหากคุณแม่คนขยันกังวลเรื่องงาน โดยทั่วไปมักจะใช้สิทธิลาคลอดในช่วง 1-2 ...

แม่ท้องทำงานหนักได้ไหม

เป็นแม่ท้องแล้ว ต้องหลีกเลี่ยงการยกของหนักเลยนะคะ แต่ถ้าหากจำเป็นต้องยกจริงๆ ก็ควรยกให้ถูกวิธีค่ะ ให้ใช้วิธีงอเข่าเหยียดหลังตรง ปล่อยน้ำหนักไว้ที่ต้นขา จะช่วยลดโอกาสการปวดหลังในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ค่ะ