ปัจจุบัน หาก ประเทศไทย ยังใช้ ระบบ รัตนโกสินทร์ ศก ปัจจุบัน จะตรงกับ รัตนโกสินทร์ ศก ใด

ความสับสนของศักราช ไทยเคยใช้ทั้ง จ.ศ.- ร.ศ.ก่อนเป็น พ.ศ.!แต่ พ.ศ.ของไทยก็ไม่ตรงกับ พ.ศ.ของหลายชาติ!!

เผยแพร่: 19 ก.พ. 2564 09:11   ปรับปรุง: 19 ก.พ. 2564 09:11   โดย: โรม บุนนาค

ปัจจุบัน หาก ประเทศไทย ยังใช้ ระบบ รัตนโกสินทร์ ศก ปัจจุบัน จะตรงกับ รัตนโกสินทร์ ศก ใด

“ศักราช” ก็คือสิ่งที่กำหนดขึ้นหรือสมมุติขึ้นตามแต่ที่มา โดยนับเวลาเป็นปี เป็นภูมิปัญญาของมนุษย์เพื่อให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด และเกิดก่อนหลังกันนานแค่ไหน

ในสมัยกรุงสุโขทัย เราใช้มหาศักราช (ม.ศ.) ซึ่งเป็นศักราชที่กำหนดขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะ แห่งอินเดีย โดยเริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระองค์มีชัยต่อแว่นแคว้นโดยรอบใน พ.ศ.๖๒๒ เป็นมหาศักราชที่ ๑ มหาศักราชจึงมีขึ้นหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี และได้แพร่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิพร้อมกับอารยธรรมอินเดีย ใช้ในย่านนี้มาก่อนกรุงสุโขทัย ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกต่างๆ

ส่วนจุลศักราช (จ.ศ.) ตั้งขึ้นโดยสังฆราชบุตุโสระหัน แห่งพม่า หลังจากที่สึกออกมาชิงราชบัลลังก์ได้ใน พ.ศ.๑๑๘๒ จากนั้นได้แพร่เข้าในล้านนา เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ มีการติดต่อกับพม่าอย่างใกล้ชิดในฐานะประเทศราช จุลศักราชจึงถูกนำมาใช้ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปี ๒๑๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้รัตนโกสินทร์ศกแทนจุลศักราช

รัตนโกสินศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๒ โดยยึดถือเอาปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ.๒๓๒๕ เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ ๑ และปีที่ประกาศใช้เป็นปี ร.ศ.๑๐๘ แต่ใช้อยู่ถึง ร.ศ.๑๓๑ แค่๒๔ ปีก็สิ้นสุด เปลี่ยนมาใช้ พ.ศ.ในต้นรัชกาลที่ ๖

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในเรื่องเปลี่ยนศักราชนี้ไว้ในจดหมายเหตุรายวันว่า

“...ศักราชรัตนโกสินทร์ ซึ่งใช้อยู่ในราชการเดี๋ยวนี้ มีข้อบกพร่องสำคัญอยู่ คือเป็นศักราชที่สั้นนัก จะกล่าวถึงเหตุการณ์ใดๆในอดีตภาคก็ขัดข้อง ด้วยว่าพอกล่าวถึงเรื่องราวก่อนสร้างกรุงขึ้นไปแล้ว ก็ต้องหันไปใช้จุลศักราชบ้าง มหาศักราชบ้าง และในข้างวัดใช้พุทธศักราช ฝ่ายคนไทยสมัยใหม่ที่อยากจะกล่าวถึงเหตุการณ์อันมีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ก็มักหันไปใช้คฤศตศักราช ซึ่งดูเป็นการเสียรัศมีอยู่ จึ่งเห็นว่าควรใช้พุทธศักราชจะเหมาะดีด้วยประการทั้งปวง เปนศักราชที่คนไทยเรารู้จักซึมทราบดีอยู่แล้ว ทั้งในประกาศใช้พุทธศักราชอยู่แล้ว และอีกประการ ๑ ในเวลานี้ก็มีแต่เมืองไทยเมืองเดียวที่มีพระเจ้าแผ่นดินถือพระพุทธศาสนา...”

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เริ่มใช้พุทธศักราชเป็นศักราชในราชการมาตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖
พุทธศักราช เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยก็มีการใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่นิยมใช้ในทางศาสนาเท่านั้น แต่เมื่อมีการประกาศใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้แล้ว พ.ศ.ของไทยที่ใช้ในลาวและเขมรด้วย ก็ไม่ตรงกับ พ.ศ.ในแบบของลังกาที่นิยมใช้ในอินเดียและพม่า คือพุทธศักราชแบบไทย ลาว เขมร เริ่มนับพุทธศักราชในวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาครบ ๑ ปี เป็น พ.ศ. ๑ แต่แบบลังกา อินเดีย พม่า นับตั้งแต่พระพุทธเจ้านิพพานเป็นพุทธศักราช ๑ จึงเร็วกว่าไทย ๑ ปี อย่างในปีนี้ของเราเป็น พ.ศ.๒๕๖๔ แต่ของลังกา อินเดีย พม่า เป็น พ.ศ.๒๕๖๕ แล้ว

การเริ่มนับศักราช จะเริ่มนับจากจุดใดจุดหนึ่งที่เห็นว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญ อย่าง คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับในปีที่พระเยซูประสูติ ส่วนฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มนับในปีที่นบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลาม เริ่มอพยพชาวมุสลิมออกจากนครเมกกะใน พ.ศ.๑๑๖๕ ไปตั้งฐานใหม่ที่เมืองเมดินะห์ ซึ่งเป็นการอพยพครั้งสำคัญของศาสนาอิสลาม

ปัจจุบัน มีประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ใช้พุทธศักราชในราชการ โดยเปลี่ยนพุทธศักราชในวันแรกของเดือนมกราคม

ศรีลังกา ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และใช้พุทธศักราชในทางพุทธศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชา

เมียนม่า ใช้จุลศักราชเป็นปีราชกาล และใช้พุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชาเช่นกัน

กัมพูชา ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และใช้พุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์
ส่วนลาว ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และพุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์
แต่อย่าลืมว่า ถ้าไปเจอคนลังกา อินเดีย หรือพม่า เขาบอกว่าเกิดใน พ.ศ.เดียวกับเรา ไม่ใช่เขาอายุเท่าเรานะ แต่แก่กว่าเรา ๑ ปี

ปัจจุบัน หาก ประเทศไทย ยังใช้ ระบบ รัตนโกสินทร์ ศก ปัจจุบัน จะตรงกับ รัตนโกสินทร์ ศก ใด

21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 รัชกาลที่ 6 ประกาศยกเลิกใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) หลังใช้มาได้เพียง 24 ปี (พ.ศ. 2432-2455)

.

รัตนโกสินทร์ศก หรือ รัตนโกสินทร์ศักราช (ร.ศ.) ถูกกำหนดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยเริ่มนับจากปีที่มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง คือ พ.ศ. 2325 นับเป็นรัตนโกสินทร์ศก 1 (ร.ศ. 1) แต่ในทางพระพุทธศาสนา ยังคงใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) ตามธรรมเนียมที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

.

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงมีพระราชดำริว่าประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา และเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศต่างๆที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 (พ.ศ. 2455) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “พระพุทธศักราช” ในราชการทั่วไป โดยถือเอาวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 เป็นวันเปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

รู้หรือไม่ ?

• ก่อนหน้าที่จะใช้พุทธศักราชและรัตนโกสินทร์ศก ประเทศไทยเคยใช้ “มหาศักราช” (ม.ศ.) และ “จุลศักราช” (จ.ศ.) มาก่อน

ร.ศ. = พ.ศ. – 2324

ม.ศ. = พ.ศ. – 621

จ.ศ. = พ.ศ. – 1181 

• ประเทศไทย กัมพูชาและ สปป.ลาว เริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี ส่วนที่ศรีลังกาและเมียนมา เริ่มนับปีพุทธศักราชตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือเมื่อ 544 ปีก่อนคริสตศักราช พุทธศักราชของศรีลังกาและเมียนมาจึงเร็วกว่าไทย 1 ปี

#สำนักข่าวสับปะรด