สิ่งประดิษฐ์จากของ เหลือใช้ ใน โรงเรียน

โรงเรียนบ้านคลองยาง มุ่งเน้นการอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีความต้องการที่จะนำขยะหรือเศษวัสดุไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียนได้รู้คุณค่าของขยะ ฝึกความประหยัดการทำงานแบบมีส่วนร่วม และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เน้นการปฏิบัติจริง สร้างความตระหนักในการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

­

ปัญหาที่พบ

1. นักเรียนทิ้งขยะไม่เป็นที่

2. นักเรียนไม่เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของขยะ

3. นักเรียนขาดความรู้ในการคัดแยกขยะ

­

แนวทางแก้ไข

1. จัดการเรียนการสอนบูรณาการ ข้ามกลุ่มสาระตามความเหมาะสม

2. ประดิษฐ์ของใช้ของประดับจากเศษวัสดุเหลือใช้

­

คุณลักษณะที่พึงประสงค์

1. ด้านเจตคติ

1.1 นักเรียนเห็นคุณค่าของขยะหรือเศษวัสดุเหลือใช้

1.2 นักเรียนมีความตั้งใจ มีสมาธิในการประดิษฐ์

1.3 เสริมสร้างจิตสำนึกของการทิ้งขยะให้ถูกที่

­

2. ด้านทักษะ

2.1 นักเรียนมีทักษะในการคัดแยกขยะ และมีนิสัยในการทิ้งขยะให้ถูกที่

2.2 นักเรียนได้ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการประดิษฐ์

2.3 นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบงานประดิษฐ์

2.4 นักเรียนกล้าแสดงออกในการนำเสนอผลงาน

­

3. ด้านความรู้

3.1 ความรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน, การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น วิธีการคัดแยกขยะ

3.2 ความรู้ในเรื่องการประยุกต์ใช้สิ่งของเหลือใช้ เศษวัสดุ และวิธีการประดิษฐ์ของใช้ของประดับต่างๆ จากเศษวัสดุเหลือใช้

3.3 ความรู้ในเรื่องการออกแบบงานประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับเศษวัสดุแต่ละประเภท เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ ขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ

3.4 ความรู้เรื่องประโยชน์ของงานประดิษฐ์ของใช้ของประดับจากเศษวัสดุเหลือใช้

การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการฐานการเรียนรู้

­

หลักการมีเหตุผล

1. จัดการขยะให้มีปริมาณลดน้อยลง

2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทิ้งขยะ

3. ฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ

4. ใช้ขยะหรือเศษวัสดุเหลือใช้อย่างคุ้มค่า

5. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

6. ลดรายจ่าย - เพิ่มรายได้ระหว่างเรียน

7. รักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

8. มีผลงานการประดิษฐ์ของใช้ของประดับที่สร้างสรรค์และหลากหลาย

9. ใช้เป็นของขวัญของฝาก, ของที่ระลึก

­

หลักความพอประมาณ

1. ด้านเวลา ให้นักเรียนได้มีเวลาศึกษาเกี่ยวกับประเภทของขยะหรือเศษวัสดุ, การออกแบบการประดิษฐ์, การนำเสนอผลงาน และการเผยแพร่ผลงาน

2. ด้านสถานที่ บริเวณโรงเรียนและชุมชนสะอาด ไม่มีขยะเกลื่อนกลาด

3. ด้านความสามารถของครูผู้สอน และวัยของผู้เรียนแต่ละระดับชั้น

4. พอประมาณกับภาระงาน/ชิ้นงานตามวัยของผู้เรียนแต่ละระดับชั้น

­

หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

1. การวางแผนการปฏิบัติงานอย่างรอบคอบ เช่น การใช้วัสดุ / อุปกรณ์ ขั้นตอนการทำงาน และการนำเสนอผลงาน

2. ประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น การนำเศษวัสดุกลับมาใช้ใหม่ (re-use )

3. นักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เพราะมีความชอบในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์

4. นักเรียนมีวินัย ทิ้งขยะถูกที่

5. นักเรียนมีความรักและความภาคภูมิใจในผลงานประดิษฐ์ นำไปใช้ประโยชน์ได้

6. สภาพแวดล้อมของโรงเรียน/ชุมชน เกิดความสะอาด เป็นระเบียบ

­

เงื่อนไขคุณธรรม

1. ความประหยัด นักเรียนรู้จักใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุอย่างรู้คุณค่า

2. ความสามัคคี นักเรียนรู้จักการทำงานสิ่งประดิษฐ์ร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม

3. ความรับผิดชอบ นักเรียนรับผิดชอบต่อชิ้นงาน และส่งตรงเวลาที่กำหนด

4. ความมีน้ำใจ นักเรียนรู้จักแบ่งปันสิ่งของ เศษวัสดุ และช่วยกันประดิษฐ์สิ่งของร่วมกัน

5. ความอดทน นักเรียนฝึกความอดทนผ่านงานประดิษฐ์ที่ต้องใช้เวลาในการทำงานมาก

6. ความมีวินัย นักเรียนฝึกความมีระเบียบวินัยในตนเอง สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้สำเร็จ

7. ความขยันหมั่นเพียร นักเรียนตั้งใจทำงานให้เสร็จ

8. ความสะอาดในการทำงานประดิษฐ์ นักเรียนรู้จักการเก็บกวาดให้สะอาดเรียบร้อยทุกครั้ง

­

เงื่อนไขความรู้

1. นักเรียนได้ใช้ความรู้ในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและวิธีการคัดแยกขยะ

2. นักเรียนรู้วิธีการประดิษฐ์ของใช้ของประดับต่างๆจากเศษวัสดุเหลือใช้

3. นักเรียนใช้ความรู้ในการออกแบบงานประดิษฐ์กับเศษวัสดุแต่ละประเภท เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ ขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ

4. นักเรียนได้เรียนรู้การใช้ประโยชน์ของงานประดิษฐ์ของใช้ของประดับจากเศษวัสดุเหลือใช้

­

การเชื่อมโยง 4 มิติ

1. ด้านวัตถุ

- นักเรียนสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมา เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริม

- นักเรียนได้เรียนรู้ที่จะใช้เศษวัสดุ เพื่อเป็นการนำประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ (ลดรายจ่าย มีรายได้เสริม)

2. ด้านสิ่งแวดล้อม

- โรงเรียน และชุมชนสะอาด น่าอยู่น่าอาศัย

- นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาดให้แก่ตนเอง ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน

3. ด้านสังคม

- นักเรียน ผู้ปกครอง และคนชุมชนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรักสามัคคี ร่วมพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

- นักเรียนมีความสัมพันธ์กันดีต่อกัน ช่วยเหลือ แบ่งปัน และร่วมกันทำงานให้สำเร็จ

4. ด้านวัฒนธรรม

- การรักษาความสะอาดตั้งแต่ตนเอง ครอบครัว และชุมชน สอดคล้องกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลามในเรื่อง การรักความสะอาด

- ประชาชนรู้จักเคารพกฎกติกาของชุมชน ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดให้กับชุมชน

- นักเรียนปรับปรุงตนเองให้เป็นผู้มีวัฒนธรรม เคารพในกติกา มารยาทในการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการทิ้งขยะให้ถูกที่

ของประดิษฐ์จากของเหลือใช้มีอะไรบ้าง

1. การประดิษฐ์เก้าอี้จากขวดน้ำพลาสติก ซึ่งเป็นสิ่งของเหลือใช้ 2. การทำบ้านจากกล่องนม ซึ่งในภาพจะไม่ใช่กล่องนม แต่เรานำมาเป็นไอเดีย เพราะโรงเรียนในประเทศไทย กล่องนมเยอะมาก 3. การประดิษฐ์ตะกร้าใส่ผ้า หรือใส่ของ จากฝาขวดพลาสติก 4. การประดิษฐ์ชั้นวางรองเท้าด้วยถังน้ำพลาสติก เก๋ดีไปอีกแบบ

วัสดุที่เหลือใช้ในโรงเรียนมีอะไรบ้าง

1.1 วัสดุในโรงเรียน ส่วนใหญ่เป็นเศษวัสดุและวัสดุเหลือใช้ เช่น กระดาษ ขวดน้ำพลาสติก ขวดนม ริบบิ้น ไหมพรม ด้าย เศษผ้าแผ่นซีดี ลังกระดาษ ซึ่งวัสดุเหล่านี้สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของใช้ ของตกแต่งได้มากมาย เช่น โคมไฟจากขวดน้ำพลาสติก ที่วางโทรศัพท์เคลื่อนที่จากกระดาษ

เศษวัสดุเหลือใช้มีอะไรบ้าง

เศษไม้ เศษไม้ที่เราทิ้งหลังจากการใช้งานแล้ว เช่น ไม้ไอศกรีม ไม้เสียบลูกชิ้น เศษไม้เหลือจากการใช้ประโยชน์ นำมาประดิษฐ์เป็น เครื่องเรือน ไม้แกะสลัก ที่ใส่ปากกา กรอบรูป เศษกระดาษ เศษกระดาษที่เราไม่ใช้แล้วเช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ สมุดโทรศัพท์ นำมาประดิษฐ์ ดอกไม้ประดิษฐ์ ตะกร้า กระเป๋า โคมไฟกระดาษ กล่องของขวัญ เป็นต้น

สิ่งประดิษฐ์ทั่วไปมีอะไรบ้าง

๑. งานประดิษฐ์ทั่วไป เป็นงานประดิษฐ์ที่ไม่มีความเป็นมาจากบรรพบุรุษหรือท้องถิ่น กล่าวคือเป็นงานประดิษฐ์ที่บุคคล ทั่วไป สามารถเรียนรู้และนำไปประดิษฐ์ได้โดยอาศัยการศึกษาจากตำรา เช่น ดอกไม้จากเศษวัสดุเหลือใช้ หมวก ตุ๊กตา เครื่องใช้ต่าง ๆ - งานปั้น - งานประดิษฐ์ดอกไม้ต้นไม้ด้วยกระดาษหรือผ้า - งานประดิษฐ์จากเศษวัสดุหรือวัสดุ ...