การขออนุญาต กิจการดูแลผู้ สูงอายุ

การขออนุญาต กิจการดูแลผู้ สูงอายุ

18มี.ค.64- นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศกฏกระทรวงฉบับใหม่ เกี่ยวกับกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม เป็นต้นมา โดยกิจการดูแลผู้สูงอายุฯ ทั้งรายเก่า/รายใหม่จะต้องขออนุญาตเปิดกิจการ ส่วนผู้ให้บริการในกิจการดูแลผู้สูงอายุฯ ต้องขึ้นทะเบียนกับกรม สบส. ผ่านเว็บไซต์ www.esta.hss.moph.go.th ทั้งนี้ จากที่ได้รับรายงานพบว่าทั่วประเทศมีกิจการดูแลผู้สูงอายุฯ กว่า 3,000 แห่ง ขณะนี้มีกิจการมายื่นขออนุญาตประกอบกิจการในระบบ เป็นจำนวนกว่า 100 แห่ง โดย 90% เป็นกิจการประเภทที่มีการดูแลและประคับประคองผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงโดยมีการพักค้างคืน ส่วนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการฯนั้น ขณะนี้มียื่นขอขึ้นทะเบียนฯเข้ามาในระบบกว่า 1,000 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม 2564) คาดว่าทั้งประเทศมีผู้ให้บริการฯ 28,000 ราย

ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. ได้กล่าวว่า สำหรับผู้ให้บริการในกิจการดูแลผู้สูงอายุฯนั้น จะต้องจบหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 420 ชม. แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 

1) กลุ่มที่จบและมีวุฒิบัตร/ประกาศนียบัตรหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุฯ ไม่น้อยกว่า 420 ชม.ก่อนที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ต้องรีบขอขึ้นทะเบียนภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 หากพ้นกำหนดจากนี้ ต้องเทียบเคียงหรือไปสมัครเรียนหรืออบรมใหม่จากสถาบันที่ได้รับรองหลักสูตรจากกรม สบส.เท่านั้น

2) ผู้ที่เริ่มเรียนหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 420 ชม. ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ และได้รับวุฒิหลังวันที่ 27 มกราคม 2564 ให้ยื่นขอขึ้นทะเบียนภายใน 6 มกราคม 2565 และ

3) กลุ่มสุดท้าย คือผู้ที่เริ่มเรียนหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชม. หลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ จะสามารถขึ้นทะเบียนได้ก็ต่อเมื่อเรียนจบจากสถาบันที่ได้รับรองหลักสูตรจากกรม สบส.เท่านั้น โดยต้องขึ้นทะเบียนก่อนที่จะปฏิบัติงานด้วย

   "เราจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพเป็นพนักงานดูแลผู้สูงอายุฯในกิจการดูแลผู้สูงอายุฯ มาขึ้นทะเบียนตามวันที่กฎหมายกำหนดข้างต้น ในส่วนของเจ้าของกิจการดูแลผู้สูงอายุฯนั้น หากเป็นรายเก่าที่เปิดกิจการก่อนที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ให้ยื่นขออนุญาตภายในวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 ส่วนรายใหม่ต้องมีใบอนุญาตก่อน จึงจะสามารถเปิดกิจการได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ทางสายด่วนกรม สบส. 1426 .   "รองอธิบดีกล่าว

กฎหมายคุมกิจการดูแลผู้สูงอายุ มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้ สธ. ย้ำผู้ประกอบกิจการรายใหม่ทุกราย ต้องขออนุญาตก่อนเปิดกิจการ ส่วนรายเดิมต้องผ่านการอบรม สอบ มีใบอนุญาต

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกกฎกระทรวง กิจการการดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ที่ออกตาม พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 มาตรา 3(3) โดย กฎหมายคุมกิจการดูแลผู้สูงอายุ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 มกราคม 2564 นี้ เป็นต้นไป

การขออนุญาต กิจการดูแลผู้ สูงอายุ

สำหรับกฏกระทรวงดังกล่าว ผู้ประกอบ กิจการการดูแลผู้สูงอายุ รายใหม่ทุกราย ต้องขออนุญาตก่อนเปิดกิจการ ส่วนผู้ดำเนินการต้องผ่านการอบรม ผ่านการสอบ และมีใบอนุญาตจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ผู้ให้บริการหรือพนักงานทุกรายที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุต้องผ่านการอบรม จบจากหลักสูตรที่กรม สบส. รับรอง และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ ก่อนที่จะปฏิบัติงาน

ทั้งนี้ ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 ทำให้กิจการดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิง เช่น เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ หรือโรงพยาบาลผู้สูงอายุ เป็นต้น ที่ปัจจุบันมีประมาณ 3,000 แห่ง ซึ่งทุกแห่งต้องได้มาตรฐาน ทั้งด้านสถานที่ การบริการ และความปลอดภัย

การกำหนดให้ กิจการดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิง เป็นกิจการที่ต้องได้รับการดูแลมาตรฐาน ภายใต้ พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพฯ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีกฎหมายนี้ เพราะจะส่งเสริมให้สถานประกอบการ มีคุณภาพมาตรฐาน และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ ใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคง และมีศักดิ์ศรี เป็นการขับเคลื่อนระบบการคุ้มครองผู้บริโภคของไทย ให้เป็นที่ยอมรับ และมีศักยภาพ สามารถแข่งขันในระดับอาเซียนและระดับโลกได้

การขออนุญาต กิจการดูแลผู้ สูงอายุ

ดังนั้น จึงขอให้ผู้ประกอบกิจการดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิง และพนักงานที่ทำอาชีพนี้ ยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการ ขอใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการ และขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ ในวันที่ 27 มกราคม 2564 – 25 กรกฎาคม 2564 ได้ที่ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จของกรม สบส. ตั้งอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข ซ.สาธารณสุข 8 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

ส่วนภูมิภาคติดต่อที่ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1-12 หรือทางเว็บไซต์ www.esta.hss.moph.go.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง HOT LINE 1426 (โทรฟรีทุกเครือข่าย ในวันและเวลาราชการ)

ส่วนผู้ดำเนินการอยู่แล้ว ต้องผ่านการอบรม ผ่านการสอบ และมีใบอนุญาตจากกรม สบส. ขณะที่ผู้ให้บริการ หรือพนักงานทุกราย ที่ทำหน้าที่ ดูแลผู้สูงอายุ ก็ต้องผ่านการอบรม จบจากหลักสูตรที่กรม สบส. รับรอง และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการก่อนที่จะปฏิบัติงาน

สำหรับรายเก่า ที่เปิดกิจการอยู่ก่อนแล้ว และพนักงานที่ประกอบอาชีพนี้อยู่แล้ว ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ ใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการ และขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการที่กรม สบส. ภายในวันที่ 27 มกราคม 2564 – 25 กรกฎาคม 2564

การขออนุญาต กิจการดูแลผู้ สูงอายุ

จากนั้น เมื่อยื่นคำขอแล้ว ก็สามารถประกอบกิจการ หรือประกอบอาชีพต่อไปได้ จนกว่าจะได้รับแจ้งคำสั่ง ไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่รับขึ้นทะเบียนจากกรม สบส. แล้วแต่กรณี

ขณะที่อัตราค่าธรรมเนียม การขอใบอนุญาต จะคิดตามประเภท และขนาดพื้นที่ สถานประกอบการ โดยอัตราค่าธรรมเนียมต่ำสุด เริ่มต้นที่ 500 บาท สูงสุด 10,000 บาท แต่ยกเว้นค่าธรรมเนียม สำหรับกิจการ ที่ดำเนินการโดย หน่วยงานของรัฐ มูลนิธิ หรือองค์การสาธารณกุศล

ใบอนุญาต เป็นผู้ดำเนินการ มีค่าธรรมเนียมฉบับละ 1,000 บาท (ตลอดชีพ) สำหรับการขอขึ้นทะเบียน เป็นผู้ให้บริการ ไม่มีธรรมเนียมแต่อย่างใด ทั้งรายเก่าและรายใหม่

ทั้งนี้ หาก กิจการการดูแลผู้สูงอายุ ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ จะมีความผิด ฐานเปิดสถานประกอบการเพื่อสุขภาพเถื่อน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ด้านผู้ดำเนินการ ถ้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท นอกจากนี้ ผู้ประกอบกิจการต้องรับพนักงาน ดูแลผู้สูงอายุ ที่ผ่านการขึ้นทะเบียน เป็นผู้ให้บริการจากกรม สบส. แล้วเท่านั้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

  • นับถอยหลัง กฎหมายคุม ‘ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ’ รวมเรื่องต้องรู้ ที่นี่
  • เตรียมตัว! ขึ้นทะเบียน กิจการดูแลผู้สูงอายุ ภายใน 180 วัน หลัง 28 ม.ค. 64
  • รู้ไว้ดีกว่า! 13 สิทธิพื้นฐาน ‘ผู้สูงอายุ’ ที่เขียนไว้ในกฎหมาย