การขอเปลี่ยนสภาพ ที่ดิน สาธารณประโยชน์

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา
นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร

ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร
และมีพระพลานามัยแข็งแรงโดยเร็ววัน

เทศบาลเมืองไทรม้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ลงนามถวายพระพร เข้าสู่หน้าหลัก

        ตามปกติแล้วผู้เยาว์จะทำนิติกรรมต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแล้ว จะทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ แต่มีนิติกรรมบางประเภทที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ตามลำพังตนเอง และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมเหล่านี้มีดังนี้คือ
        1. นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือนิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง (มาตรา 22)
                1.1 นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง เช่น นาย ก. มอบเงินให้เด็กชาย ข. ผู้เยาว์ 20,000 บาท โดยไม่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน เด็กชาย ข. สามารถทำสัญญารับเงินจำนวนนี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม เพราะสัญญาให้เงินนี้ผู้เยาว์เป็นผู้ได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว ผู้เยาว์ไม่เสียประโยชน์เลย แต่ถ้าสัญญานี้มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันแล้ว ผู้เยาว์ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน เช่น นาย ก. ให้เงินเด็กชาย ข. โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อนาย ก. แก่ชรา เด็กชาย ข. ต้องมาเลี้ยงดูนาย ก. เช่นนี้ถ้าเด็กชาย ข. ต้องการรับเงินนั้น จะต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน
                1.2 นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น เด็กชาย  ข. ผู้เยาว์เป็นหนี้นาย ก. อยู่ 10,000 บาท ต่อมานาย ก. ต้องการจะปลดหนี้รายนี้ให้เด็กชายข. ซึ่งจะทำให้หนี้รายนี้ระงับสิ้นไป สัญญาปลดหนี้รายนี้เด็กชาย ข.ไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม เพราะเป็นสัญญาที่ทำให้เด็กชาย ข. หลุดพ้นจากการที่จะต้องชำระหนี้ให้กับนาย ก.
        2. นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว (มาตรา 23) นิติกรรมเช่นนี้ผู้เยาว์ทำได้เองโดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม เช่น การรับรองบุตร
        ตัวอย่าง ผู้เยาว์อายุ 19 ปีมีบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน ผู้เยาว์จดทะเบียนรับรองบุตรคนนี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม
        3. นิติกรรมซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูป และจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควรของผู้เยาว์
        ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร (มาตรา 24) เช่น ผู้เยาว์เป็นนักเรียนต้องซื้อเครื่องเขียนแบบเรียน ต้องซื้อเสื้อผ้า รองเท้าเพื่อใส่ไปโรงเรียน การซื้อเช่นนี้เป็นการสมแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ และเป็นการจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร แต่ถ้าผู้เยาว์ต้องการซื้อรถยนต์เพื่อขับไปโรงเรียน ถ้าเป็นสิ่งที่เกินฐานะและเกินความ จำเป็นแล้ว ผู้เยาว์จะต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน
        4. ผู้เยาว์ทำพินัยกรรม
        ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม (มาตรา 25) ถ้าผู้เยาว์ทำพินัยกรรมโดยมีอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ พินัยกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ (มาตรา 1703)
        5. ผู้เยาว์ประกอบธรุกิจการค้าหรือทำสัญญาเป็นลูกจ้าง
        ในกรณีผู้เยาว์ประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานนั้นต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 27)

        1. การได้มาโดยทางนิติกรรม
        2. การได้มาโดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรมหรือการได้มาโดยผลของกฎหมาย
ประเด็นเกี่ยวกับที่งอกริมตลิ่ง
        มาตรา ๑๓๐๘  ที่ดินแปลงใด เกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอก ย่อมเป็น ทรัพย์สิน ของเจ้าของที่ดิน แปลงนั้น
ลักษณะของที่งอกริมตลิ่ง
        ก.  ที่งอกริมตลิ่งต้องเป็นที่ซึ่งในฤดูน้ำตามปกติน้ำท่วมไม่ถึง
        ข.  ที่งอกริมตลิ่งจะต้องเป็นที่งอกจากที่ดินที่เป็นประธานออกไปในแม่น้ำ ลักษณะของการงอกจะต้องเป็นการงอกโดยธรรมชาติ
เกาะและริมทางน้ำตื้นเขิน
        มาตรา ๑๓๐๙ เกาะที่เกิดในทะเลสาบ หรือ ในทางน้ำ หรือ ในเขตน่านน้ำของประเทศ ก็ดี และ ท้องทางน้ำที่เขินขึ้นก็ดี เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น
        มาตรา ๑๓๑๐  บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้น เพราะสร้างโรงเรือนนั้น ให้แก่ ผู้สร้างแต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อ จะบอกปัดไม่ยอมรับ โรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไปและทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้ จะทำไม่ได้ โดยใช้เงินพอควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตาม ราคาตลาดก็ได้
ผลของการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นตามมาตรา 1310
         เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น แต่จะต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นแก่ผู้ สร้าง แต่ถ้าเจ้าของที่ดินแสดงได้ว่าไม่ได้มีความประมาทเลินเล่อ ก็มีสิทธิที่จะให้ผู้สร้างรื้อถอนออกไปพร้อมทั้งทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิมได้
         ความสุจริตตามมาตรา 1310 นั้น จะต้องมีมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจนกว่าจะสร้างเสร็จ
มาตรา ๑๓๑๐ ใช้กับที่ดินที่เป็นของเอกชนเท่านั้น ในกรณีที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะอ้างมาตรา 1310 ไม่ได้
สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
        มาตรา 1311 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นต้องทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิม แล้วส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่เจ้าของจะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ในกรณีเช่นนี้เจ้าของที่ดิน ต้องใช้ราคาโรงเรือน หรือใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้น แล้วแต่จะเลือกใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับมาตรา 1310
สร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น
        มาตรา 1312 บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และ จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม ต่อภายหลังถ้าโรงเรือนนั้นสลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดินจะเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสียก็ได้
        ถ้าบุคคลผู้สร้างโรงเรือนนั้น กระทำการโดยไม่สุจริต ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไปและทำที่ดินให้เป็นตามเดิม โดยผู้สร้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายก็ได้
ผลของการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
        มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าบุคคลผู้สร้างเรือนรุกล้ำนั้น เป็นเจ้าของ โรงเรือน ที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงิน ให้แก่ เจ้าของที่ดิน เป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และ จดทะเบียนสิทธิ เป็น ภาระจำยอม ต่อภายหลัง ถ้า โรงเรือนนั้น สลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดิน จะเรียกให้เพิกถอน การจดทะเบียนเสีย ก็ได้
เจ้าของที่ดินมีเงื่อนไขสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้น
        มาตรา 1313 ถ้าผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเงื่อนไขสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้น และ ภายหลังที่ดินตกเป็นของบุคคลอื่นตามเงื่อนไขไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย ลาภมิควรได้มาใช้บังคับ
“เจ้าของที่ดินมีเงื่อนไข” ตามความหมายของมาตรา 1313 อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ
        1. เป็นเจ้าของที่ดินที่มีเงื่อนไขบังคับหลัง (สิ้นผลเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จ)
        2. เป็นเจ้าของที่ดินที่มีเงื่อนไขห้ามโอนตามมาตรา 1700 หรือเรียกว่าข้อกำหนดห้ามโอนสร้างสิ่งอื่น ปลูกต้นไม้ หรือธัญชาติในที่ดินของผู้อื่น
        มาตรา 1314 ท่านให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 1310, 1311 และ 1313 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใดๆ ซึ่งติดที่ดิน และการเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติด้วยโดยอนุโลม
        แต่ข้าวหรือธัญชาติอย่างอื่น อันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี เจ้าของที่ดินต้องยอมให้บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตหรือผู้เป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีเงื่อนไขซึ่งได้เพาะปลูกลงไว้นั้น คงครองที่ดินจนกว่าจะเสร็จการเก็บเกี่ยว โดยใช้เงินคำนวณตามเกณฑ์ค่าเช่าที่ดินนั้น หรือเจ้าของที่ดินจะเข้าครอบครองในทันที โดยใช้ค่าทดแทนให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก็ได้
สร้างโรงเรือนหรือสิ่งก่อสร้างอย่างอื่นหรือการเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของตนเองด้วยสัมภาระของผู้อื่น
        มาตรา 1315 บุคคลใดสร้างโรงเรือน หรือทำการก่อสร้างอย่างอื่นซึ่งติดที่ดิน หรือ เพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของตน ด้วยสัมภาระของผู้อื่น ท่านว่าบุคคลนั้น เป็นเจ้าของสัมภาระแต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ
การเอาสังหาริมทรัพย์มารวมเข้ากันจนเป็นส่วนควบ
        มาตรา 1316 ถ้าเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันจนเป็นส่วนควบ หรือแบ่งแยกไม่ได้ไซร้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นเจ้าของรวมแห่งทรัพย์ที่รวมเข้ากัน แต่ละคนมีส่วน ตามค่าแห่งทรัพย์ของตนในเวลาที่รวมเข้ากับทรัพย์อื่น
การเอาสัมภาระของผู้อื่นมาทำเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นใหม่
        “มาตรา 1317 บุคคลใดใช้สัมภาระของบุคคลอื่นทำสิ่งใดขึ้นใหม่ไซร้ ท่านว่าเจ้าของสัมภาระเป็นเจ้าของสิ่งนั้น โดยมิต้องคำนึงว่าสัมภาระนั้นจะกลับคืนตามเดิมได้หรือไม่ แต่ต้องใช้ค่าแรงงานแต่ถ้าค่าแรงงานเกินกว่าค่าสัมภาระที่ใช้นั้นมากไซร้ ท่านว่าผู้ทำเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ทำขึ้น แต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ”
การได้มาโดยเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ
        มาตรา 1318 บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งสังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของโดยเข้าถือ เอา เว้นแต่การเข้าถือเอานั้นต้องห้ามตามกฎหมายหรือฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่ จะเข้าถือเอา สังหาริมทรัพย์นั้น
        มาตรา 1318 มีหลักเกณฑ์อยู่ ๒ ประการคือ
            1. สังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ
            2. ต้องมีการเข้าถือเอา
        เมื่อ เข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ประการนี้ ก็จะได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในตัวสังหาริมทรัพย์นั้น แต่ทั้งนี้การเข้าถือเอาจะต้องไม่ผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่ จะเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์นั้น
        มาตร 1319 ถ้าเจ้าของสังหาริมทรัพย์เลิกครอบครองทรัพย์ด้วยเจตนาสละกรรมสิทธิ์ไซร้ ท่านว่าสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีเจ้าของ
        มาตรา 1320 ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ท่านว่า สัตว์ป่าไม่มีเจ้าของตราบเท่าที่ยังอยู่อิสระ สัตว์ป่าในสวนสัตว์ และปลาในบ่อหรือในที่น้ำ งเจ้าของกั้นไว้นั้น ท่านว่าไม่ใช่สัตว์ไม่มีเจ้าของ
        สัตว์ป่าที่คนจับได้นั้น ถ้ามันกลับคืนอิสระและเจ้าของไม่ติดตามโดยพลันหรือเลิกติดตามเสียแล้ว ฉะนี้ท่านว่าไม่มีเจ้าของสัตว์ซึ่งเลี้ยงเชื่องแล้วถ้ามันทิ้งที่ไปเลย ท่านว่าไม่มีเจ้าของ
สัตว์ป่าตามมาตรา 1320 แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
        1. สัตว์ป่าที่ยังเป็นอิสระอยู่
        2. สัตว์ป่าที่ถูกจับแล้วและต่อมากลับคืนเป็นอิสระเพราะเจ้าของไม่ติดตามทันทีหรือว่าเลิกติดตามเสีย
        3. สัตว์ที่เลี้ยงเชื่องแล้วทิ้งที่อยู่ไป
        มาตรา 1321 ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ผู้ใดจับสัตว์ป่าได้ในที่รกร้างว่างเปล่าหรือในที่น้ำสาธารณะก็ดีหรือจับได้ ในที่ดินหรือที่น้ำมีเจ้าของโดยเจ้าของ มิได้แสดงความหวงห้ามก็ดี ท่านว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสัตว์
        มาตรา 1322 บุคคลใดทำให้สัตว์ป่าบาดเจ็บแล้วติดตามไป และบุคคลอื่นจับสัตว์นั้นได้ก็ดี หรือสัตว์นั้นตายลงในที่ดินของบุคคลอื่นก็ดี ท่านว่าบุคคลแรกเป็นเจ้าของสัตว์บุคคลเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย
        มาตรา 1323 บุคคลเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย ต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใด ดั่งต่อไปนี้
            1. ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ของหายหรือเจ้าของหรือบุคคลอื่น ผู้มีสิทธิจะรับ ทรัพย์สินนั้น หรือ
            2. แจ้งแก่ผู้ของหายหรือเจ้าของหรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น โดยมิชักช้า หรือ
            3. ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นภายในสาม วัน และแจ้งพฤติการณ์ตามที่ทราบ อันเป็นเครื่องช่วยในการสืบหาตัวบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น
แต่ถ้าไม่ทราบตัวผู้ของหาย เจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินก็ดีหรือบุคคลดั่งระบุนั้นไม่รับมอบ ทรัพย์สินก็ดี ท่านให้ดำเนินการตามวิธีอันบัญญัติไว้ในอนุมาตรา (3)
        ทั้งนี้ ท่านว่าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย ต้องรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ด้วยความระมัดระวังอันสมควรจนกว่าจะส่งมอบ
        ทรัพย์สินหาย หมายถึง ทรัพย์ที่มีเจ้าของหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นหาไม่พบหรือไม่อาจหาพบได้ แต่ถ้าเขายังติดตามอยู่และมีโอกาสที่จะพบได้ เช่นนี้ยังไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินหาย เพราะยังไม่ขาดจากการยึดถือครอบครองของเจ้าของหรือคนที่มีสิทธินั้น
หน้าที่ของผู้ที่เก็บทรัพย์สินหาย
        1. ต้องคืนให้แก่เจ้าของคนที่ทำหายหรือคนที่มีสิทธิจะรับไว้
        2. ต้องมอบให้แก่เจ้าของโดยไม่ชักช้าหรือมิฉะนั้นต้องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานอื่นในกรณีที่ไม่ทราบตัวผู้เสียหาย
        3. ต้องรักษาทรัพย์สินที่เก็บได้ด้วยความระมัดระวังตามสมควรจนถึงวันจะส่งมอบ