เฉลย ใบงาน เรื่อง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

Uploaded by

Anonymous vmunQcDA

0% found this document useful (0 votes)

509 views

8 pages

Original Title

ใบความรู้ที่1.4

Copyright

© Attribution Non-Commercial (BY-NC)

Available Formats

DOC, PDF, TXT or read online from Scribd

Share this document

Did you find this document useful?

Is this content inappropriate?

Report this Document

0% found this document useful (0 votes)

509 views8 pages

ใบความรู้ที่1 4

Original Title:

ใบความรู้ที่1.4

Uploaded by

Anonymous vmunQcDA

Full description

ใส่ความเห็น

Enter your comment here...

Fill in your details below or click an icon to log in:

อีเมล (ต้องการ) (Address never made public)

ชื่อ (ต้องการ)

เว็บไซต์

You are commenting using your WordPress.com account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

You are commenting using your Twitter account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

You are commenting using your Facebook account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

ยกเลิก

Connecting to %s

Notify me of new comments via email.

Notify me of new posts via email.

Δ

ในรายวิชาของ ครูพิชาภพ ศรีทองมาศ
เมื่อนักเรียนทำเสร็จแล้วให้แนบไฟล์พร้อมส่งมาที่

วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

จัดเรียง 

ใบงานที่ 1 การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์อย่างไร 
ใบงานที่ 2 เครื่ิองมือทางภูมิศาสตร์ ตามไฟล์ที่แนบ  
ใบงานที่ 3 การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สืบค้นข้อมูลภูมิอากาศ ตามไฟล์ที่แนบ 
ใบงานที่ 4 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ตามไฟล์ที่แนบ 
ใบงานที่ 5 ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ตามไฟล์ที่แนบ 

แสดง 5 รายการ

หน่วยการเรียนรู้ที่๒ ปรากฎการณ์ทางภูมิศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5                                         เวลาเรียน  4  ชั่วโมง

ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2559

1.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

       ส 5.1   ม.4-6/1   ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ

                             อย่างมีประสิทธิภาพ

2.สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

       เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีความสำคัญต่อการให้ข้อมูล และข่าวสารภูมิลักษณ์ ภูมิอากาศ และภูมิสังคมไทย และภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก

3.สาระการเรียนรู้

 3.1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

  3.2 ภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์

4.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

       4.1   ความสามารถในการสื่อสาร

       4.2   ความสามารถในการคิด

       4.3   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต                    

5.คุณลักษณะอันพึงประสงค์                                        

       1.     มีวินัย                                                     

       2.  ใฝ่เรียนรู้

       3.     มุ่งมั่นในการทำงาน

6.ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

    ป้ายนิเทศ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์

7.การวัดและการประเมินผล

7.1    การประเมินก่อนเรียน

       -    แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และ

            ภูมิสารสนเทศศาสตร์

          7.2     การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

              1) ใบงานที่ 1.1   เรื่อง  เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

              2)  ใบงานที่ 1.2   เรื่อง  การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สืบค้นข้อมูลภูมิอากาศ

              3)  ใบงานที่ 2.1   เรื่อง  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

              4)  ใบงานที่ 2.2   เรื่อง  วิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

              5)  ประเมินการนำเสนอผลงาน

              6)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

       7.3   การประเมินหลังเรียน

       -    แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และ

            ภูมิสารสนเทศศาสตร์

       7.4   การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

       -    ประเมินป้ายนิเทศ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์

8.กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1-2 (วิธีสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์)

           1.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์

2.  ครูสนทนาทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทต่าง ๆ และ

วิธีการใช้เครื่องมือแต่ละประเภท

3.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน ตามความสมัครใจให้แต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลความรู้เรื่อง เครื่องมือ

ทางภูมิศาสตร์ จากหนังสือเรียน หรือหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม หรือแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ตามความเหมาะสม ในหัวข้อต่อไปนี้

    1)   แผนที่

         - ความหมายของแผนที่                      - ชนิดของแผนที่

       -  องค์ประกอบของแผนที่                    - การอ่านแผนที่

       -  ประโยชน์ของแผนที่

     2)     ลูกโลกจำลอง

       -  รูปทรงของโลก                             - ข้อมูลที่แสดงบนลูกโลกจำลอง

    3)   รูปถ่ายทางอากาศ

       -  ประเภทของรูปถ่ายทางอากาศ               - หลักการแปลความหมายจากรูปถ่ายทางอากาศ

       -  ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศ

   4)    ภาพจากดาวเทียม

       -  ชนิดของดาวเทียม                            - การแปลความหมายจากภาพถ่ายดาวเทียม

       -  ประโยชน์ของข้อมูลจากดาวเทียม

4.   นักเรียนแต่ละกลุ่มนำความรู้ที่ได้ศึกษามาร่วมกันตอบคำถามในใบงานที่ 1.1 เรื่อง เครื่องมือ

ทางภูมิศาสตร์

5.      ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 1.1 แล้วร่วมกันสรุปสาระสำคัญ

เรื่อง เครื่องมือ ทางภูมิศาสตร์

6.      นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์คุณค่า และความสำคัญของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อ

การดำเนินชีวิต ของมนุษย์

7.      ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภูมิอากาศในประเทศไทย

หรือภูมิภาคต่างๆ ในโลก ในช่วงเวลา 1 เดือนนี้ โดยใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ตามความ

เหมาะสม

       8.   นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกและตัดสินใจใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มาประกอบการสืบค้นข้อมูล

       9.   สมาชิกแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภูมิอากาศในประเทศไทย หรือภูมิภาคต่างๆ

ในโลก แล้วนำเสนอตามหัวข้อที่กำหนดในใบงานที่ 1.2 เรื่อง การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สืบค้นข้อมูลภูมิอากาศ

       10. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานจากการสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อในใบงาน

ที่ 1.2 ที่หน้าชั้นเรียนโดยให้นักเรียนกลุ่มผู้ฟังช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ครูเป็นผู้ตรวจสอบ

ความถูกต้อง

ชั่วโมงที่ 3-4  (วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม) 

11. ครูนำข่าวเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลที่มีการสนับสนุนประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บางพื้นที่ที่สามารถปลูกยางพาราได้ จากการใช้ข้อมูลสารสนเทศทำให้รู้ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพ

ภูมิอากาศและดินเหมาะสมกับการปลูกยางพารา จากนั้นครูให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างการนำ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในหน่วยงานต่างๆ

       12. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์

แล้วครูอธิบายความรู้เกี่ยวกับภูมิสารสนเทศศาสตร์ ให้นักเรียนฟังในหัวข้อต่อไปนี้

            1)     ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

            2)     การรับรู้จากระยะไกล

            3)     ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

       13. นักเรียนแต่ละกลุ่ม (กลุ่มเดิมจากกิจกรรมที่ 1) ศึกษาความรู้เรื่อง ภูมิสารสนเทศศาสตร์ จากหนังสือ

            เรียน หรือหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม ตามความเหมาะสม

        14. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เสร็จแล้วนักเรียน

และครูช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 2.1

        15. ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น

ในบริเวณต่างๆ ของโลกในรอบเดือน แล้วนำมาตอบคำถามตามหัวข้อที่กำหนดในใบงานที่ 2.2 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลทางภิมิศาสตร์

       16. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน แล้วให้กลุ่มอื่นที่เป็นผู้ฟังช่วยกัน

แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

17. ครูให้นักเรียนทำป้ายนิเทศ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ โดยให้ครอบคลุม

ประเด็นตามที่กำหนด

18.   นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

และภูมิสารสนเทศศาสตร์

9.   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

9.1    สื่อการเรียนรู้

1)  หนังสือเรียน ภูมิศาสตร์ ม.4-ม.6

2)  หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม

(1)  แผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม, กรม. แผนที่ประเทศไทย. มปท., มปป.

(2)  ทรงกต ทศานนท์. หลักการรับรู้จากระยะไกล. เอกสารประกอบการสอนวิชา 106601.

     นครราชสีมา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2550.

(3)  พรทิพย์ กาญจนสุนทร. แผนที่และการแปลตีความแผนที่. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชา

     ภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2541.

(4)  สัญญา สราภิรมย์. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. เอกสารประกอบการสอนวิชา 10611.

     นครราชสีมา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2550.

3)   เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ แผนที่ ลูกโลกจำลอง รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม

4)   ตัวอย่างข่าว

5)     ใบงานที่ 1.1 เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

6)     ใบงานที่ 1.2 เรื่อง การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สืบค้นข้อมูลภูมิอากาศ

7)  ใบงานที่ 2.1 เรื่อง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์      

8)  ใบงานที่ 2.2 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

          9.2  แหล่งการเรียนรู้

              1)  ห้องสมุด

              2)  แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                   www.thaigoodview.com/node/59898

                     th.wikipedia.org/wiki/ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

                     en.wikipedia.org/wiki/Geographic_information_system

                   www.navy.mi.th/dockyard/doced/.../Sara.../sara_remote.html

                   guru.sanook.com/enc_preview.php?...การรับรู้จากระยะไกล