เฉลย แบบฝึกหัด พระพุทธ ศาสนา ม.3 บท ที่ 5

Category Archives: :: พุทธศาสนา ม.3 ::

13/05/2019 · 2:38 am

  1. พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?
    1. ธรรมชาติ
    2. อริยสัจ ๔
    3. ทางแห่งความพ้นทุกข์
    4. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
  2. ข้อใดกล่าวถึงธัมมจักกัปวัตตนสูตรได้ถูกต้อง?
    1. ปฐมเทศนา
    2. ปฐมสาวก
    3. เอหิภิกขุอุปสัมปทา
    4. อุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนา
  3. มัชฌิมาปฏิปทา หมายถึงข้อใด?
    1. ไตรสิกขา
    2. อนัตตจลักขณสูตร
    3. อัตตกิลมถานุโยค
    4. พระอภิธรรมปิฎก
  4. ข้อใดแสดงถึงประโยชน์ของการสร้างพระพุทธรูป?
    1. มีพระพุทธรูปไว้กราบไหว้บูชา
    2. ท่าให้ชาวพุทธไม่ลืมพระพุทธเจ้า
    3. มีความเข้าใจพระพุทธศาสนามากขึ้น
    4. เป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้าในการเคารพบูชา
  5. ข้อใดคือเครื่องหมายแสดงความแตกต่างระหว่างพระพุทธรูปและรูปพระสาวก?
    1. พระศก
    2. พระรัศมี
    3. พระเกตุมาลา
    4. พระหัตถ์
  6. พระอัญญาโกณทัญญะ เป็นพุทธสาวกที่สําคัญตามข้อใด ?
    1. เป็นพุทธอุปฐาก
    2. เป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา
    3. เป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางธุดงค์
    4. เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้า
  7. พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” แก่ผู้ใดเป็นครั้งแรก?
    1. พระอานนท์
    2. พระสารรีบุตร
    3. เหล่าปัญจวัคคีย์
    4. พระอัญญาโกณฑัญญะ
  8. พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่าทางสุดโต่งที่บรรพชิตไม่ควรพึงปฏิบัติคือข้อใด?
    1. การหมกมุ่นในกามและการทรมานตนให้ล่าบาก
    2. การละเลยต่อการปฏิบัติธรรม
    3. การบ่าเพ็ญเพียรในระยะเวลาที่ยาวนาน
    4. การสนั่งสมาธินานเกินไป
  9. จากแนวคิดที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบเรื่องมนุษย์กับดอกบัว ๔ เหล่านั้น สอดคล้องกับ ข้อความใด ?
    1. คนทุกคนเกิดมามีความแตกต่างกัน
    2. การแก้ปัญหาของมนุษย์ต้องเป็นไปตามขั้นตอน
    3. ทางสายกลางคือความพอดีส่าหรับการปฏิบัติธรรม
    4. สัตว์โลกมีสติปัญญาที่จะเข้าใจในพระธรรมแตกต่างกัน
  10. พระพุทธเจ้าทรงมุ่งมั่นที่จะไปสอนธรรมแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ด้วยเหตุผลข้อใด ?
    1. ทรงต้องการยกย่องปัญจวัคคีย์
    2. ทรงต้องการประกาศพระพุทธศาสนา
    3. ทรงต้องการให้ปัญจวัคคีย์ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    4. ทรงต้องการสักขีพยานแห่งการตรัสรู้และแก้ไขความใจผิดของปัญจวัคคีย
  11. พระพุทธรูปปางมารวิชัยให้ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องใด?
    1. การแสดงธรรมะแก่สัตว์โลกทั้งปวง
    2. การเผยแผ่ธรรมะไปยังหมู่คนที่ไม่รู้
    3. การต่อสู้กับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ
    4. การที่พระพุทธเจ้าต้องเอาชนะเจ้าลัทธิต่าง ๆ
  12. พระพุทธรูปปางลีลาสื่อความหมายเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอย่างไร?
    1. การเสด็จไปโปรดเหล่าเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฎ
    2. การเสด็จไปโปรดพระประยูรญาติ
    3. การเสด็จเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    4. การเสด็จออกบิณฑบาต
  13. พระพุทธรูปปางใดที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของเหตุการณ์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า?
    1. พระพุทธรูปปางลีลา
    2. พระพุทธรูปปางสมาธิ
    3. พระพุทธรูปปางร่าพึง
    4. พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร
  14. พระพุทธรูปประจําวันเกิด ข้อใดไม่ถูกต้อง ?
    1. วันอาทิตย์ – พระพุทธรูปปางถวายเนตร
    2. วันจันทร์ – พระพุทธรูปปางห้ามญาติ
    3. วันอังคาร – พระพุทธรูปปางนาคปรก
    4. วันพฤหัสบดี – พระพุทธรูปปางสมาธิ
  15. พระพุทธรูปปางสําหรับวันจันทร์ บอกถึง พุทธประวัติตอนใด
    1. ตรัสรู้
    2. ปรินิพพาน
    3. แสดงปฐมเทศนาง
    4. เสด็จไปห้ามพระประยูรญาติที่จะท่าสงครามกัน
  16. ลักษณะของพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาคือข้อใด
    1. ประทับนั่งขัดสมาธิ ท่านิ้วพระหัตถ์ขวาเป็นวงกลม พระหัตถ์ซ้ายประคองพระหัตถ์ขวาไว้
    2. ประทับนั่งขัดสมาธิภายใต้เศียรพระยานาคทั้ง 7พระหัตถ์ขวาวางทับพระหัตถ์ซ้าย
    3. ประทับยืน พระหัตถ์ขวาตั้ง หันฝ่าพระหัตถ์ไปเบื้องหน้า
    4. ประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางทับบนพระหัตถ์ขวา
  17. สาระสําคัญซึ่งเป็นหลักคําสอนในพระพุทธศาสนาซึ่งปรากฎในโอวาทปาติโมกข์ คือข้อใด
    1. สัจจะ ทมะ สันติ จาคะ
    2. ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    3. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    4. ไม่ท่าความชั่ว ท่าแต่ความดี ท่าจิตใจให้บริสุทธ
  18. ผลดีของการแสดงโอวาทปาติโมกข์คือข้อใด
    1. ได้พระสงฆ์ที่บรรลุพระอรหันต์ทั้งหมด
    2. พระพุทธเจ้าได้สาวกเพิ่มขึ้นอีก 1,250 องค์
    3. มีผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น
    4. พระสงฆ์มีแนวปฏิบัติในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นแนวเดียวกัน
  19. การที่พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบปัญญาของมนุษย์กับดอกบัว 4เหล่าสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันสําคัญทางพระพุทธศาสนาวันใด
    1. วันมาฆบูชา
    2. วันวิสาขบูชา
    3. วันอาสาฬหบูชา
    4. วันเข้าพรรษา
  20. ทุกข้อเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชายกเว้นข้อใด
    1.  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
    2. เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบองค์สาม
    3. เป็นวันที่เกิดพระสงฆ์องค์แรกในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ
    4. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร

30/12/2016 · 5:42 am

:: หลักธรรมพื้นฐานศาสนาพุทธ ::

อริยสัจ 4

อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงที่ทำให้คนเป็นอริยะ หรือผู้ประเสริฐ ( อริยะ = ประเสริฐ + สัจ = ความจริง ) มี 4อย่าง คือ

  1. ทุกข์ (ความทุกข์)ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสบสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความไม่ได้ดังปรารถนา โดยสรุปขันธ์อันเป็นเหตุให้ยึดมั่นถือมั่นนั่นแหละทุกข์
  2. สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) ได้แก่ ตัณหา 3 ประการ คือ
    1. กามตัณหา ความพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
    2. ภวตัณหา ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
    3. วิภวตัณหา ความอยากพ้นไปจากการได้ การมี การเป็นที่ตนไม่พอใจ
  3. นิโรธ (ความดับทุกข์) ได้แก่ นิพพาน
  4. มรรค (ทางดับทุกข์) ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8  คือ เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามยามชอบ ระลึกชอบและตั้งใจมั่นชอบ

หลักธรรมสำหรับการพัฒนาตนเอง

  1. หลักการสร้างปัญญา หลักการฝึกฝนให้เกิดความรู้มีอยู่ 2 หลัก จะใชหลักใดหลักหนึ่งก็ให้ผลเท่ากันดังนี้
    1. หลักพหูสูต วิธีฝึกฝนให้เป็นผู้มีความรู้แตกฉานในเรื่องต่างๆ จนเป็น ผู้คงแก่เรียน มีขึ้นตอนปฏิบัติดังนี้
      1. ชั้นตอนที่ 1 ฟังให้มาก ต้องทำตนให้เป็นผู้กระหายความรู้ ใคร่ฟังใคร่ศึกษา คำว่า ฟังมาก รวมถึงการอ่านตำรับตำรา หรือการเรียนรู้ด้วยวิธีการอื่นๆ เช่น สอบถาม ปรึกษา หรือผู้รู้ต่างๆ ด้วย
      2. ขั้นตอนที่ 2 จำได้ เมื่อได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน อะไรแล้ว ต้องพยายามจดจำหลัก หรือสาระไว้ให้ได้
      3. ขั้นตอนที่ 3 คล่องปาก ท่องบ่นให้จำได้คล่องปลา ใครสอบถามหรือต้องการรู้เมื่อใด ต้องพูดชี้แจงได้ทันที
      4. ขั้นตอนที่ 4 เจนใจ ใส่ใจนึกคิดในเรื่องนั้นจนเจนใจ นึกถึงครั้งใดก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัดเจน มองเห็นโล่งตลอดทั้งเรื่อง
      5. ชั้นตอนที่ 5 ขบคิดจนแตกฉานและนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้ จะต้องนำเรื่องที่จำได้คล่องปาก เจนใจนั้นมาขบคิด วิเคราะห์เหตุผลโยงความสัมพันธ์ของข้อความนั้นๆ กับเรื่องอื่นๆ ได้
    2. หลักวุฒิธรรม คือ หลักสร้างความเจริญงอกงามแห่งปัญญามีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
      1. เสวนากับผู้รู้ คือ ให้คบหาผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ
      2. ฟังครูอาจารย์ คือ เอาใจใส่สดับฟังคำบรรยาย คำแนะนำสั่งสอนของครูอาจารย์ เรื่องใดไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่แจ่มแจ้งก็ซักถามปรึกษาหารือเพื่อให้หายสงสัย
      3. คิดแยบคาบ คือ คิดหาเหตุผลโดยวิธีที่ถูกต้องเพื่อให้เข้าใจชัดเจนนั้น
      4. ปฏิบัติให้ถูกหลัก คือ ให้ถูกเป้าหมายและหลักการ
  2. หลักสร้างความสำเร็จในการทำงาน ในทางพระพุทธศาสนา มีหลักสร้างความสำเร็จเรียกว่า อิทธิบาท 4 ได้แก่
    1. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้นๆ เต็มใจทำ คือ ทำอะไรก็ทำด้วยความเต็มอกเต็มใจ หรือด้วยความรักในสิ่งนั้น
    2. วิริยะ พากเพียรประกอบในสิ่งนั้น คือ แข็งใจทำ เป็นการทำด้วยจิตใจที่กล้าแข็ง กล้าสู้ กล้าบุก ไม่ว่าจะลำบากเพียงใด
    3. จิตตะ เอาใจใส่ในสิ่งนั้น หรือ ตั้งใจทำ หมายถึง เอาใจจดจ่ออยู่กับเรื่องนั้น คนที่รักงานยอ่มจะคิดถึงงาน เมื่อเอาใจใส่งานที่ทำไม่ทอดทิ้งงาน ย่อมจะสำเร็จลุล่วงไปได้ในที่สุด
    4. วิมังสา พิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น หรือ เข้าใจทำ หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ หรือใช้ปัญญากำกับในการทำงานนั้นเอง
  3. หลักสร้างตนให้เป็นคนดี
    1. มีความกตัญญูกตเวที คือ ความรู้จักบุญคุณคนอื่นและกระทำตอบแทน
    2. รู้จักกาละเทศะ คือ ต้องรู้จักวางตัว ปฏิบัติตนให้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเวลา และสถานที่รู้ว่าควรทำสิ่งใด ควรพูด หรือไม่ควรพูดคำใดอย่างใดกับบุคคลใด เวลาใด ที่ไหน
    3. ซื่อสัตย์สุจริต คือ มีการกระทำที่ซื่อตรง มีความประพฤติดี ประพฤติชอบ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง บุคคลอื่น ต่อหน้าที่การงาน ต่อสังคมและประเทศชาติ
    4. ไม่เห็นแก่ตัว คือ เป็นคนที่คำนึงถึงส่วนรวม ทำสิ่งใดก็มิได้มุ่งหมายแต่จะเอามาเพื่อตนเองฝ่ายเดียว หรือเป็นคนที่มีความเมตตากรณาและเสียสละสูง

25/11/2016 · 2:48 am

:: O-NET พุทธ ม.3 ::

  1. พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนในข้อใดมากที่สุด
    1. อ่อนน้อม
    2. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
    3. รู้จักให้อภัยทาน
    4. ใช้ชีวิตด้วยสติปัญญา
  2. ในการประกอบศาสนพิธีทั่วไป สิ่งแรกที่กระทำ คือข้อใด
    1. ฟังธรรมเทศนา
    2. ถวายปัจจัย
    3. กรวดน้ำ
    4. รับศีล
  3. ข้อใดต่อไปนี้คือ สภาวะทุกข์
    1. กรเสียใจที่ไม่ผ่านการคัดเลือกเป็นนักฟุตบอล
    2.  กิ่ง เสียดายที่ทำเงินตกหายไป300 บาท
    3.  เกดต้องใช้ไม้พยุงตัวเพราะอายุมาก
    4. กิจกังวลใจที่จะต้องย้ายโรงเรียน
  4. ข้อใดเรียงลำดับพุทธประวัติถูกต้อง
    1. เสด็จออกบรรพชา บำเพ็ญทุกรกิริยา
    2. ตรัสรู้ธรรมทอดพระเนตรเห็นเทวทูต
    3. ปฏิบัติตามทางสายกลางพระราหุลประสูติ
    4. แสดงปฐมเทศนาพระมารดาสิ้นพระชนม์
  5. การสังคายนาพระไตรปิฎก มีความสำคัญอย่างไร
    1. เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย
    2.  เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็น
    3. เพื่อตรวจสอบคำสอนให้ถูกต้อง
    4. เพื่อเพิ่มเติมคำอธิบายให้ชัดเจน
  6. การกระทำข้อใด เป็นการให้อภัยทานที่ดีที่สุด
    1. รดน้ำมนต์
    2. เจริญเมตตา
    3.  ตั้งใจฟังธรรม
    4. บวชเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  7. แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ดีที่สุด คือข้อใด
    1. ชาวพุทธทุกคนปฏิบัติตนเป็นแบอย่างที่ดีตามคำสอน
    2.  ถ่ายทอดการจัดงานวันสำคัญทางศาสนาไปทั่วโลก
    3.  สนับสนุนชาวต่างชาติให้มาอุปสมบทหมู่ทุกปี
    4.   ตั้งสำนักสงฆ์ไทยให้แพร่หลาย
  8. ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม 
    1. ละหมาด-แสดงความเคารพต่อเทพบริวาร
    2. เมกกะ-เมืองศูนย์กลางของศาสนา
    3.  อิสลาม-ความนอบน้อม สันติ
    4. ศีลอด-เดือนรอมฎอน
  9. อะไรคือข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดของแต่ละศาสนา
    1. ความเชื่อเกี่ยวกับอัครสาวก
    2. การนอบน้อมต่อพระเจ้า
    3. เครื่องบูชา สักการะ
    4. เป้าหมายสูงสุด
  10. การที่ความเชื่อของคนไทยมีพื้นฐานอิงอยู่กับพระพุทธศาสนาส่งผลต่อสังคมไทยอย่างไร
    1. คนในสังคมมีนิสัยเอื้อเฟื้อแบ่งปัน
    2.   คนในสังคมตระหนักถึงผลของการกระทำดีและการกระทำชั่ว
    3.   คนในสังคมให้ความสำคัญกับประเพณีและเทศกาลต่างๆ ของไทย
    4.   คนในสังคมให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาหลักธรรมทางศาสนา
  11.  การบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระพุทธเจ้าให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร
    1. การปฏิบัติตนพอเหมาะพอควร ไม่เคร่งครัดหรือย่อหย่อนมากเกินไป
    2. การใช้สติสัมปชัญญะและปัญญาพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ
    3. การเตือนตนเองให้มีสติอยู่อย่างสม่ำเสมอ ให้รู้ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก
    4. การรู้จักข่มจิตตนเองให้มีความอดทนอดกลั้นต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
  12.  ข้อใดไม่ใช่หลักธรรมที่ควรเจริญในการนำสู่หนทางดับทุกข์
    1. กรรมฐาน 2
    2. สิกขา 3
    3.  มงคล 38                 
    4. ธาตุ 4
  13.  วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการมีลักษณะเป็นอย่างไร
    1.  คิดพิจารณาตามสภาพแวดล้อม
    2.  คิดพิจารณาจากความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
    3.   คิดพิจารณาจากสิ่งที่น่าพึงพอใจ
    4.   คิดพิจารณาจากสิ่งที่ถูกต้องอย่างถูกวิธี
  14. การปฏิบัติตนโดยใช้หลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการตามหลักการพอเพียงจะช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
    1.   เป็นการใช้ปัญญาใคร่ครวญถึงวิธีการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า
    2. เป็นการใช้ปัญญาใคร่ครวญถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    3.   เป็นการคิดพิจารณาถึงการกระทำที่เป็นคุณและโทษต่อสิ่งแวดล้อมและวิธีการแก้ไขปัญหา
    4.   เป็นการคิดพิจารณาถึงคุณและโทษของการใช้ทรัพยากรแต่ละประเภท
  15.  การใช้คำพูดที่สุภาพไพเราะเกี่ยวข้องกับการบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานด้านใดมากที่สุด
    1.   การปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม
    2.   การช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวัด
    3.  การช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีภายในวัด
    4.   การช่วยรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในวัด
  16. การทำ “คันถธุระ”ของพระภิกษุสามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติของบุคคลทั่วไปอย่างไร
    1.   การศึกษาหาความรู้ในสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
    2.  การมีความยับยั้งต่อกิเลสและเจริญสติไม่ให้เกิดความเศร้าหมอง
    3.  การฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง
    4.  การระลึกถึงบุญกุศลและการแผ่เมตตาให้กับเหล่าสรรพสัตว์
  17. พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยทุกด้าน ยกเว้นข้อใด
    1.   การสร้างสรรค์งานศิลปกรรม
    2.   การให้ความเคารพผู้ที่มีอาวุโสกว่า
    3.   การออกบวชเพื่อลบล้างการกระทำผิด
    4.   การนำหลักธรรมมาปรับใช้ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวัน
  18. เทวทูต 4 ที่ปรากฏแก่เจ้าชายสิทธัตถะสามารถสะท้อนได้ถึงข้อคิดใด
    1.   การมองโลกในแง่ดีช่วยให้เรามีความสุขง่ายขึ้น
    2.  การดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท
    3.   ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นย่อมเป็นไปตามผลของการกระทำทั้งสิ้น
    4.   การยอมรับสภาพความเป็นไปของชีวิตตามยถากรรม
  19. การเข้าใจและเห็นคุณค่าของหลักอริยสัจ 4 ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร
    1.  สามารถนำหลักธรรมมาปรับใช้เพื่อพัฒนาชีวิตตนเองและครอบครัวได้
    2.   ทำให้สามารถพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยหลักโกศล 3
    3. ทำให้สามารถละสภาวะที่ต้องกำหนดรู้ได้
    4.  สามารถแก้ไขการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตได้ด้วยการเจริญกรรมฐาน 2
  20. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม ให้ประโยชน์แก่ผู้ที่นำมาปฏิบัติอย่างไรมากที่สุด
    1. การใช้สติสัมปชัญญะใคร่ครวญการกระทำและวาจาเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น
    2. รู้จักการเป็นผู้ให้และเสียสละในความสุขส่วนตนเพื่อส่วนรวม
    3. เกิดปัญญาเห็นคุณค่าและประโยชน์ที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ
    4.   กลายเป็นผู้ได้รับการนับหน้าถือตาจากบุคคลรอบข้าง
  21.  การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกับหลักอัปปมาทะอย่างไร
    1.  คิดพิจารณาอย่างถ่องแท้แยกยะคุณค่าแท้-คุณค่าเทียมได้
    2.   ดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามความเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริง
    3.   คิดพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแยกแยะคุณ-โทษได้
    4.   ความมีสติและไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต
  22.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถาน
    1.  หลักการบำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัดใช้ได้กับพระพุทธศาสนาเท่านั้น
    2.   การช่วยกิจกรรมของวัดเหมาะสมสำหรับฆราวาสชายมากกว่าฆราวาสหญิง
    3.   การบำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัดเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคน
    4.   การบำรุงรักษาวัดเป็นสิ่งที่ช่วยสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาว
  23. การไหว้เพื่อแสดงความเคารพต่อระรัตนตรัยมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร
    1.  นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วนิ้วชี้จรดหน้าผาก
    2.   นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ที่ปลายจมูก นิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว
    3.   นิ้วหัวแม่มืออยู่ระหว่างอกหรือหน้าอกหรือหน้านิ้วชี้อยู่ที่ปลายจมูก
    4.  นิ้วหัวแม่มือยู่ที่คางนิ้วชี้อยู่ที่ปลายจมูก
  24. ข้อที่ตัวเลือกใดสัมพันธ์กันมากที่สุดเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรปออสเตรเลีย และอเมริกา
    1.   ประเทศอังกฤษ ติดต่อกับสมาคมมหาโพธิ์ ในศรีลังกา
    2.   ประเทศเยอรมนี ดร.คาร์ลไซเคลสติกเกอร์ ก่อตั้งสมาคมพระพุทธศาสนาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
    3.   ทวีปออสเตรเลีย – จัดตั้งพุทธสมาคมเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    4.   ทวีปอเมริกา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทย จีน อินเดีย ศรีลังกาที่จะเข้าไปตั้งหลักฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกา
  25.  “ทำให้คนไทยมีเกราะทางจิตใจที่แข็งแกร่งขึ้นเพราะหากสามารถปรับจิตใจให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปได้ก็เหมือนกับชีวิตได้รับวัคซีนป้องกันภัยให้จิตใจชั้นดีข้อความนี้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในองค์ประกอบใด
    1.   ความพอประมาณ
    2. ความมีเหตุผล
    3.   การมีภูมิคุ้มกันที่ดี
    4. คุณธรรมและจริยธรรม
  26. ใครเป็นมิตร ร่วมทุกข์ร่วมสุข
    1.  กานต์ส่งของขวัญแสดงความยินดีกับความสำเร็จของเพื่อน
    2.   เขตต์บอกเพื่อนว่าถ้ามีเวลาว่างให้มาหาจะเลี้ยงข้าว
    3.   คณิตช่วยเพื่อนที่ยากจนด้วยการหางานให้ทำ
    4.  จารึกห้ามไม่ให้เพื่อนทะเลาะวิวาทกับอันธพาลในซอย
  27.  “เป็นเรื่องของธรรมชาติ น้ำมาเดี๋ยวก็ไหลไป อยู่ใต้ฟ้าไปกลัวอะไรกับฝนผู้กล่าวข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า มีแนวโน้มว่ายึดหลักธรรมใด
    1.   อนัตตา : ความไม่มีตัวตนมายึดติด
    2.   ปรมัตถะ :ประโยชน์จุดหมายสูงสุด
    3.   กรรมวัฏฏ์ :สังขาร ภพ
    4.  สัมมาวาจา :เจรจาชอบ
  28. วิชาชีวิตที่ดีต้องเรียนรู้จากวิกฤติมหาอุทกภัยควรปฏิบัติอย่างไรที่จะทำให้คนไทยอยู่กับน้ำอย่างมีความสุข
    1.   อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ : ตนนั่นแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
    2.   ปมาโท มจฺจุโท ปทํ : ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
    3.   ธมฺมจารี สุขํ เสติ  : ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
    4.   สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ : ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา
  29. สายบัวคิดว่า สาเหตุที่สอบตกเพราะตื่นสาย การนอนตื่นสายเพราะนอนดึกและการนอนดึกเพราะชอบดูทีวีจะสอดคล้องกับทฤษฎีใด
    1.   ทฤษฎีแห่งความเป็นจริง
    2.  ทฤษฎีความเข้าใจ
    3. ทฤษฎีวงแหวน
    4. ทฤษฎีความรู้
  30.  ใครปฏิบัติตามข้อคิดที่ได้จากเรื่องสุวรรณหังสชาดก
    1. เก๋ชอบทำบุญ
    2. ติ๋มพูดกับแพรวด้วยวาจาที่สุภาพ
    3. ตูมตามพอใจกับค่าขนมที่แม่ให้ทุกวัน
    4.   นุ่นพยายามปฏิบัติธรรมเพื่อให้เรียนดีขึ้น
  31. ใครปฏิบัติตนตามทิศเบื้องขวาได้อย่างเหมาะสม
    1.  ฝนขาดเรียนโดยไม่ลาครู
    2.  ฟ้ากราบพระอาจารย์แบบเบญจางคประดิษฐ์
    3.  ดาวช่วยครูกวาดขยะในห้องพักครู
    4.   เดือนหยอกล้อครูด้วยความสนิทสนม
  32. ใครปฏิบัติตนในการสนทนากับพระภิกษุได้ถูกต้อง
    1.  กษิดิศปรึกษาปัญหาเรื่องแฟนกับพระอาจารย์
    2.  มังกรเล่าเรื่องในครอบครัวให้พระอาจารย์ฟัง
    3.  ชยานันท์สนทนากับพระอาจารย์เป็นเวลา 3 ชั่วโมง
    4.   จุลภาคแสดงกิริยาและใช้วาจาสุภาพปรึกษากับพระอาจารย์เรื่องวิธีการเรียนหนังสือให้เก่ง
  33. การกล่าวถึงคุณความดีของพระสงฆ์ตามหลักพระพุทธศาสนาเรียกว่าอย่างไร
    1.   พระพุทธคุณ             
    2. พระธรรมคุณ
    3. พระสังฆคุณ             
    4. อริยสัจ  4
  34. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของวัฏฏะ 3
    1.  กรรม
    2. ตัณหา
    3.  กิเลส
    4. วิบาก
  35. ข้อใดคือความหมายของ”กรรม”
    1.   การกระทำที่มีเจตนา
    2. การกระทำที่ไม่เจตนา
    3.   การกระทำที่เจตนาและไม่เจตนา
    4. การกระทำที่ประมาท
  36. สมชายใช้ชีวิตอย่างพอเพียง   สมชายปฏิบัติตนตรงกับธรรมะข้อใด
    1. ธัมมัญญุตา     
    2. อัตตัญญุตา
    3. มัตตัญญุตา     
    4. กาลัญญุตา
  37. ภาวนามยปัญญาเป็นปัญญาขั้นสูงสุดของทางพระพุทธศาสนา  เพราะเหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น
    1.    เพราะเป็นความรู้ที่แท้จริง
    2. เพราะเป็นความรู้ใหม่
    3.   เพราะเป็นความรู้ที่เกิดจากภาคทฤษฎี
    4.   เพราะเป็นความรู้ที่เกิดจากภาคปฏิบัติ
  38. อารีย์มีพฤติกรรมในทำนองว่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัวหรือเห็นชั่วเป็นดี แสดงว่าอารีย์ขาดหลักปฏิบัติข้อใด
    1.   สัมมาทิฏฐิ    
    2. สัมมาสังกัปปะ
    3.  สัมมาอาชีวะ
    4. สัมมากัมมันตะ
  39. บุคคลใดมีสัปปุริสธรรมเป็นแนวทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน
    1. แก้วใส่เสื้อเขียวปงานศพญาติ
    2.  อ้วนรู้ว่าตนไม่ชอบวิชาพระพุทธศาสนาจึงไม่เข้าเรียน
    3. ก้อยซื้อของที่ตนเองชอบมาให้ในงานวันเกิดของก้อย
    4. อ้อยรีบทำการบ้านให้เสร็จก่อนออกไปเล่นกับเพื่อน
  40. กานดามีอาชีพขายของผิดกฎหมาย  แสดงว่ากานดาขาดหลักธรรมใด
    1.   สัมมาอาชีวะ 
    2. สัมมาสังกัปปะ
    3.  สัมมาวายามะ
    4.  สัมมากัมมันตะ
  41. ใครที่ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามหลักธรรมสัมมาสติ 
    1.   มะลิมักเตือนตนเองเสมอว่า  “ดื่มแล้วไม่ขับ”
    2.   กุหลาบเตือนตนเองเสมอว่า  “ตั้งสติก่อนสตาร์ท”
    3.  ชบาเตือนตนเองเสมอว่า  “ข้ามถนนระวังรถ ขับรถระวังคน”
    4.   ถูกทุกข้อ
  42. มรรคมีองค์ 8 หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร
    1.   ปปัญจธรรม      
    2. ทิฏฐธัมมิกัตถะ
    3.   มัชฌิมาปฏิปทา
    4. สัมปรายิกัตถะ
  43. การเผยแผ่พระศาสนาเกิดขึ้นในสมัยใด
    1. พระอานนท์
    2. พระมหากัสปะ
    3. พระเจ้าอโศกมหาราช
    4. พระอุบาลี
  44. อาณาจักรใดของเกาหลีที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปแห่งแรก
    1.   ชิลลา
    2.  เจนละ
    3.   ปีกเช
    4. โกคุริโอ
  45. ในประเทศญี่ปุ่นพุทธศาสนิกชนนับถือลัทธิใดควบคู่กับพระพุทธศาสนา
    1.    นิกายเชน
    2.   นิการนิชิเรน
    3.   นิการเถรวาท
    4. นิกายวัชรยาน
  46. ประเทศใดต่อไปนี้ที่มีการนับถือพระพุทธศาสนาเก่าแก่ที่สุด
    1. เนปาล                    
    2. ญี่ปุ่น
    3.  เกาหลี
    4. จีน
  47. วัดไทยแห่งแรกในทวีปยุโรป  คือวัดอะไร
    1.   วัดพุทธรังษี
    2. วัดพุทธประทีป
    3.  วัดพุทธอาศรม
    4. วัดพุทธสมาคม
  48. อะไรคือมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา
    1.  ทรงต้องการที่จะพ้นจากโลก
    2.   ทรงเบื่อหน่ายชีวิตในราชสำนัก
    3.  ทรงพิจารณาเมื่อเห็นเทวทูตทั้ง 4
    4.   ทรงเบื่อหน่ายที่จะอยู่เป็นฆราวาส
  49. ข้อใด มิใช่  การบำเพ็ญทุกรกริยาของพระพุทธเจ้า
    1.   เดินลุยไฟ     
    2. อดพระกายาหาร
    3.  กลั้นลมหายใจเข้า-ออก
    4.   กดพระทนต์กับพระทนต์แล้วเอาลิ้นกดที่เพดานปาก
  50. วิธีคิดของพระพุทธเจ้าที่สอดคล้องกับวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์  คือข้อใด                  
    1.   สังคหวัตถุ   4
    2. พรหมวิหาร  4
    3.  อิทธิบาท  4
    4. อริยสัจ 4
  51. บุคคลใดมีวิธีคิดตามหลักพระพุทธเจ้า
    1.  เกสรคิดว่าการสอบตกเป็นเรื่องของกรรรมเก่า
    2.   กุหลาบคิดว่าสอบได้คะแนนดีเป็นเรื่องของโชคช่วย
    3.   ดาวเรืองคิดหาอุบายลอกข้อสอบเพื่อนเพื่อให้สอบได้
    4.  วิชัยนำข้อสอบที่สอบแล้วได้คะแนนไม่ดีมาศึกษาหาสาเหตุว่า ทำไมจึงสอบได้คะแนนต่ำ
  52. ข้อใดคือองค์ประกอบอารยวัฒิ 5
    1.    อายุ  วรรณะ สุขะ  โภคะ  พละ
    2.   ศรัทธา  ศีล  สุตะ  จาคะ  ปัญญา
    3.   ศรัทธา วิริยะ   สติ   สมาธิ   ปัญญา
    4.   ศรัทธา ศีล  พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา
  53. การประพฤติตนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมตรงกับความหมายของธรรมะข้อใด
    1.  ทาน
    2. ปิยวาจา
    3.  อัตถจริย
    4. สมานัตตตา
  54. พระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระพุทธรูปที่แสดงพุทธประวัติในเรื่องใด
    1.   เมื่อทรงอ้างแม่พระธรณีเป็นพยานแก่พระยามาร
    2.  เมื่อทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
    3.  เมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    4.    เมื่อทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
  55. สุวัณณหังสชาดกให้ข้อคิดในเรื่องใด
    1.   การรู้จักเสียสละ
    2. การรู้คุณคน,การตอบแทนบุญคุณ
    3.   การไม่โลภเกินประมาณ
    4. การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน
  56. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงตรัสชาดกเรื่องโคนันทิวิสาลให้พระสงฆ์ฟัง
    1.  การพูดเสียดแทงให้เจ็บใจของพระภิกษุฉัพพัคคีย์
    2.  ความเป็นผู้ว่ายากสอนยากของพระภิกษุชาวเมืองสาวัตถี
    3.   การไม่แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
    4.  การไม่รู้จักประมาณในการบริโภคกระเทียมของพระภิกษุณีถูลนันทา
  57. ข้อใดคือหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่เป็นรากฐานของอารยธรรมสำหรับผู้นำ
    1.  ทศพิธราชธรรม
    2. อริยสัจ  4
    3.   ไตรสิกขา(ศีล  สมาธิ  ปัญญา)
    4. อิทธิบาท  4
  58. บุคคลควรพอใจในสิ่งที่ตนมีและยินดีในสิ่งที่ตนได้คำกล่าวนี้สอดคล้องกับชาดกเรื่องใด
    1.   สุวัณณหังสชาดก
    2.  มิตตวินทุกชาดก
    3.   นันทิวิศาลชาดก
    4.  ราโชวาทชาดก
  59. พระพุทธรูปปางใดที่มีเครื่องประกอบทำเป็นดอกบัวรองเป็นฐานที่ประทับ
    1.   ปางประทานพร
    2. ปางมหาปาฏิหาริย์
    3.   ปางประทานอภัย
    4. ปางปฐมเทศนา
  60. พระพุทธรูปปางนาคปรกเป็นพระพุทธรูปที่แสดงพุทธประวัติตอนใด
    1.   ประสูติ
    2. ตรัสรู้
    3. ปรินิพาน
    4.  เสวยวิมุตติสุข
  61. ถ้านักเรียนต้องการเป็นคนดีในสังคมควรปฏิบัติตนตามหลักธรรมในข้อใด
    1.  ปัญญา 3
    2. วัฏฏะ 3
    3.  ไตรลักษณ์
    4. สัปปุริสธรรม 7
  62. การทำบุญด้วยการฟังธรรมจะได้รับประโยชน์ในข้อใดมากที่สุด      
    1.  ได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธที่ดี
    2.   ได้คบหากับผู้ที่มีความประพฤติดี
    3.  ได้นำหลักธรรมไปอธิบายให้ผู้อื่นฟัง
    4.   ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์
  63. อุทัยมองเห็นว่าร่างกายนี้ย่อมมีความเปลี่ยนแปลงดำรงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้และไม่สามารถบังคับให้อยู่ได้แสดงว่าอุทัยเข้าใจในหลักธรรมข้อใด
    1. อัตถะ3
    2. ปัญจธรรม 3
    3.  วัฏฏะ3
    4. สามัญลักษณะ3
  64. สมชายชอบมองตัวเองว่าเป็นคนต่ำต้อยยากจน ไม่มีความสามารถ  จึงรู้สึกท้อแท้ใจไม่อยากทำอะไร  แสดงว่าสมชายเป็นคนอย่างไร
    1.   มีตัณหาจัด
    2. มีทิฏฐิมากเกินไป
    3.   มีมานะในตัวเองสูง     
    4. มีอัตตายึดถือตัวเองมากเกินไป
  65. การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงเป็นการปฏิบัติตนตรงกับธรรมะข้อใด
    1.  ธัมมัญญุตา    
    2. อัตตัญญุตา
    3.  กาลัญญุตา
    4. มัตตัญญุตา    
  66. บุคคลที่มีพฤติกรรมในทำนองว่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัวหรือเห็นชั่วเป็นดีแสดงว่าขาดหลักธรรมใด
    1. สัมมาสังกัปปะ     
    2.  สัมมาทิฏฐิ  
    3. สัมมาอาชีวะ  
    4. สัมมากัมมันตะ
  67. พุทธศาสนสุภาษิตบทว่า  สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํเกี่ยวข้องกับหลักธรรมใดมากที่สุด
    1.   ศีล
    2. สมาธิ
    3.   บารมี
    4. ปัญญา
  68. ข้อใดคือ ความหมายของพระรัตนตรัย
    1.   ศีล สมาธิ ปัญญา
    2. พระพุทธเจ้า
    3.   พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์   
    4. ดอกไม้ ธูป เทียน
  69. ข้อใดหมายถึงสาวกของพระพุทธเจ้า 
    1.   พระพุทธรูป
    2. พระธรรม
    3.  พระไตรปิฎก
    4. พระสงฆ์
  70. พระไตรปิฎก คืออะไร
    1. คัมภีร์บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า
    2. หนังสือเรียน
    3. นิทาน
    4.  หนังสือบันทึกคำสอนของอิสลาม
  71. ข้อใดคือความหมายของคำว่า  สังฆคุณ
    1.   คุณความดีของหลักธรรม
    2. คุณความดีพระพุทธเจ้า
    3.  คุณความดีของฆราวาส
    4. คุณความดีของพระสงฆ์
  72. อุชุปะฏิบันโน   มีความหมายว่าอย่างไร
    1. เป็นผู้ปฏิบัติดี
    2. เป็นผู้ปฏิบัติตรง
    3.   เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
    4.  เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
  73. กานดาทนไม่ได้ที่เห็นรูปร่างของตนเองเปลี่ยนแปลง  ทั้งอ้วนและแก่แสดงว่ากานดาขาดหลักธรรมใดในการดำเนินชีวิต
    1.   ไตรลักษณ์
    2. ปปัญจธรรม 3
    3.   สัปปุริสธรรม
    4. บุญกริยาวัตถุ 10
  74. ดารุณีเป็นคนเชื่อคนง่าย  ไร้เหตุผล  แสดงว่าดารุณีขาดหลักธรรมใด
    1.   ทิฎฐธัมมิกัตถะ
    2. สัมปรายิกัตถะ
    3.   ธัมมัญญุตา
    4. อัตถัญญุตา
  75. อรุณีเป็นเด็กกล้าแสดงออก  มั่นใจในตนเอง  ชอบช่วยเหลือผู้อื่นครูประจำชั้นจึงแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าห้องแสดงว่าครูประจำชั้นปฏิบัติตนตามหลักธรรมใด
    1.   มัตตัญญุตา
    2. กาลัญญุตา
    3.   ปริสัญญุตา
    4. ปุคคลัญญุตา
  76. ข้อใดคือความหมายของคำว่า  อุบาสกรรม 7
    1.   ธรรมหรือหลักปฏิบัติของอุบาสก รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่นับถือศาสนาพุทธ
    2.   ธรรมหรือหลักปฏิบัติของบุคคลทั่วไปที่นับถือศาสนาคริสต์
    3.  ธรรมหรือหลักธรรมของบุคคลทั่วไปที่นับถือศาสนาอิสลาม
    4.   ธรรมหรือหลักธรรมของบุคคลทั่วไปที่นับถือศาสนาพราหมณ์
  77. แก้วพยายามหลีกเลี่ยงและไม่กระทำตามเมื่อเพื่อนมาชวนไปทำเรื่องผิดกฎหมายแสดงว่าแก้วปฏิบัติตามหลักธรรมใด
    1.   สัมมากัมมันตะ
    2. สัมมาอาชีวะ
    3. สัมมาวายามะ
    4. สัมมาสติ
  78. ข้อใดคือความหมายของคำว่า  ภาวนามยปัญญา
    1.  ความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการฟัง
    2.   ความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากความคิด
    3.   ความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากกรปฏิบัติ
    4.   ความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการมีสติ
  79. พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็นกี่หมวดหมู่
    1.   2   หมวดหมู่
    2.   3  หมวดหมู่
    3.   4  หมวดหมู่
    4. 5  หมวดหมู่
  80. หลักธรรมใดเป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติสำหรับผู้ครองเรือน
    1.   อิทธิบาท  4
    2. พละ  4
    3.  กถุลจิรัฎฐิติธรรม 4
    4. ฆราวาสธรรม4
  81. บุคคลใดปฎิบัติตนได้ถูกต้องตามมงคลชีวิตข้อที่  26
    1. แก้วเป็นนักพูดที่ดีที่สุดของโรงเรียน
    2.   ก้อยมีความสามารถในการแกะสลัก
    3.   กุ้งเป็นเด็กที่สนใจธรรมะมักฟังธรรมอยู่เสมอ
    4.   อ้วนมีกิริยามารยาทที่ดีเมื่อพบพระสงฆ์
  82. ประเทศไทยมีการนำพระไตรปิฎกจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเล็ก ๆ ซึ่งมีทั้งหมดกี่เล่ม
    1.   40   เล่ม
    2. 45 เล่ม
    3.   50  เล่ม
    4. 55  เล่ม
  83. พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธัมมจักรกัปปวัตนสูตรแก่ผู้ใดเป็นครั้งแรก
    1.  พระอัญญาโกณฑัญญะ
    2. เหล่าปัญจวัคคีย์
    3.   พระสารีบุตร
    4. พระอานนท์
  84. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเปลี่ยนการนับถือศาสนาอื่นมาเป็นศาสนาพุทธเพราะเหตุใด
    1.   ทรงได้สดับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า
    2.   เสื่อมศรัทธาศาสนาเดิม
    3.   นับถือตามพระประยูรญาติ
    4.   สนใจพระพุทธศาสนาตั้งแต่ทรงพระเยาว์
  85. พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในเรื่องใด
    1.   ด้านการมีฤทธิ์
    2. ด้านการมีประสบการณ์มาก
    3.   ด้านการมีปัญญา
    4. ด้านความกตัญญู
  86. พระนางประชาบดีโคตมีประพฤติตนเป็นแบบอย่างในด้านใด
    1.   เป็นผู้มีความตั้งใจแน่วแน่
    2. ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
    3. เป็นผู้แสดงธรรมได้อย่างดีเยี่ยม
    4. เป็นผู้ที่ชอบทำบุญ
  87. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระนางเขมาเถรีมีความเป็นเลิศในด้านใด
    1.  มีจิตตั้งมั่น
    2. แสดงธรรมเป็นเลิศ
    3.   มีความกตัญญู
    4. มีปัญญามาก
  88. พระอัญญาโกณฑัญญะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อพระรัตนตรัยในเรื่องใด
    1. เป็นผู้ทำนายลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ
    2.  เป็นภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
    3.  เป็นผู้อุปฐากดูแลพระสิทธัตถะในขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา
    4.   เป็นผู้นำปัญจวัคคีทั้งห้า
  89. พระนางประชาบดีโคตมีมีศักดิ์เป็นอะไรกับเจ้าชายสิทธัตถะ
    1.   เป็นพระชายา
    2. เป็นพระพี่นาง
    3.  เป็นพระน้านาง
    4. เป็นพระน้องนาง
  90. หลักธรรมข้อใดที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้พระอัญญาโกณฑัญญะฟังจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
    1.   โอวาทปาติโมกข์
    2. อนัตตลักขณสูตร
    3.   อาทิตตปริยายสูตร
    4. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
  91. พุทธสาวิกาท่านใดที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าให้เป็นพระอัครสาวิกาเบื้องขวา
    1. พระเขมาเถรี
    2. พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
    3.   พระกีสาโคตมีเถรี
    4. พระอุบลวัณณาเถรี
  92. ข้อใดเป็นผลงานของพระอัญญาโกณฑัญญะ
    1.  แสดงธรรมให้พระเจ้าปเสนทิโกศลฟังจน เลื่อมใสพระพุทธศาสนา
    2.   ชักชวนพระปุณณมันตานีบุตรบวชในพระพุทธศาสนา
    3.  เป็นพระอุปัชฌาย์ของพระเขมาเถรี
    4.   เป็นปฐมบัญญัติการบวชด้วยครุธรรม 8 ประการ
  93. เพราะเหตุใดพระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จผนวช
    1.   เบื่อการครองเรือน
    2.  เลื่อมใสศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    3.   ต้องการหาความสงบให้กับชีวิต
    4.  พระโอรสและพระธิดาเสด็จผนวชหมดแล้ว
  94. หลินเข้าใจสิ่งที่ครูสอนทันทีและสามารถอธิบายขยายความให้เพื่อนเข้าใจได้ดีด้วยพฤติกรรมของหลินสอดคล้องกับพุทธสาวกหรือพุทธสาวิกาท่านใด
    1.   พระเขมาเถรี 
    2. พระเจ้าปเสนทิโกศล
    3. พระอัญญาโกณฑัญญะ 
    4. พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
  95. หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลมีความเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพในฐานะใด
    1.   เป็นศิษย์                  
    2. เป็นพระธิดา
    3.    เป็นนัดดา
    4. เป็นที่ปรึกษา
  96. งานพระนิพนธ์ชิ้นแรกที่ทำให้พระนามของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลเป็นที่รู้จักแพร่หลาย คือเรื่องใด
    1.   หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก  เรื่อง ศาสนคุณ
    2.   ประเพณีไทย
    3. สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น
    4.  ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
  97. หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลทรงมีความรอบรู้ในเรื่องต่าง ๆ เพราะท่านมีนิสัยส่วนตัวตามข้อใด
    1.   ขยันและอดทน
    2. ใฝ่เรียนใฝ่รู้
    3.   มีความริเริ่มสร้างสรรค์
    4. ยึดมั่นในพระรัตนตรัย
  98. เพราะเหตุใด   ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์จึงได้รับฉายาอีกอย่างหนึ่งว่า หลวงตา
    1.   บวชเป็นพระตอนแก่
    2. มีความรู้เรื่องพระพุทธศาสนา
    3.  ชอบเข้าวัด ฟังธรรม และนั่งสมาธิ
    4. ถูกทุกข้อ
  99. ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งก่อนถึงแก่อสัญกรรม คือตำแหน่งใด
    1.   ประธานองคมนตรี
    2.    เลขานุการพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย
    3.   ประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
    4.   ที่ปรึกษาพิเศษด้านพระพุทธศาสนาขององค์การ พ.ส.ล.
  100. พระอัญญาโกณฑัญญะเกิดในวรรณะใด
    1.   กษัตริย์
    2. พราหมณ์
    3.   ศูทร
    4. จัณฑาล
  101. สตรีที่จะเข้ามาบวชจะต้องปฏิบัติตามธรรมใด
    1.   ครุธรรม 7 ประการ
    2. ครุธรรม 8 ประการ
    3.  ไตรสิกขา
    4. ฆราวาสธรรม
  102. ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คิดว่าพระพุทธเจ้าจะล้มเหลวจึงพากันหนีไปที่ใด
    1.   ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
    2. ป่าไผ่
    3.    ป่าเวฬุวัน
    4.  ป่าสน
  103. ครูแก้วกานกำลังสอนนักเรียนครูแก้วกานจัดอยู่ในหลักทิศใด
    1.   ทิศเบื้องบน
    2. ทิศเบื้องซ้าย
    3.   ทิศเบื้องขวา  
    4. ทิศเบื้องล่าง
  104. ข้อใดไม่สัมพันธ์กัน
    1.   ทิศเบื้องบน-พระสงฆ์
    2. ทิศเบื้องซ้าย – มิตรสหาย
    3.  ทิศเบื้องหน้า –บิดามารดา
    4.  ทิศเบื้องหลัง – ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา 
  105. ข้อใดคือหน้าที่ของชาวพุทธตามพุทธปณิธาน 4
    1.  สืบทอดพระพุทธศาสนา
    2. สังคายนาพระไตรปิฎก
    3.   สงเคราะห์พระพุทธศาสนา
    4.   เข้าใจหลักธรรมอย่างแจ่มแจ้ง ประพฤติดีปฏิบัติชอบและเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  106. องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกมีเป้าหมายสูงสุดในเรื่องใด
    1. มุ่งสันติภาพของโลก        
    2. เผยแผ่หลักธรรม
    3.   รวมนิกายพระพุทธศาสนา
    4.  ส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา
  107. ใครมีหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาวัด
    1.  พระภิกษุ
    2. ไวยาวัจกร
    3.  ศรัทธาวัดนั้น ๆ         
    4. ทุก ๆ คนร่วมกัน
  108. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของศาสนา
    1.   สาวก
    2. คัมภีร์
    3.   ศาสดา
    4. สังฆภัณฑ์
  109. ข้อความใดไม่ถูกต้อง
    1.   ชิญ  ใช้พูดกับพระสงฆ์ว่า   นิมนต์
    2.   นอน  ใช้พูดกับพระสงฆ์ว่า  จำวัด
    3. อาบน้ำใช้พูดกับพระสงฆ์ว่า  สรงน้ำ
    4.   เจ็บป่วย  ไม่สบาย  ใช้พูดกับพระสงฆ์ว่า  อาพาน
  110. แก้วเข้าไปสนทนาธรารมกับพระสงฆ์รูปหนึ่งภายในห้องที่ลับตา  พระสงฆ์รูปนั้นทำผิดวินัย  การผิดวินัยเช่นนี้ เรียกว่าอะไร
    1.    วิบัติ
    2.  อาบัติ
    3.  สมบัติ
    4. สมาบัติ
  111. ผู้มีมารยาทชาวพุทธ  ต้องปฏิบัติตนตามข้อใด
    1.  ผู้หญิงสามารถสนทนาธรรมกับพระสงฆ์สองต่อสองได้
    2.   เวลาเริ่มต้นพูดกับพระสงฆ์ให้พนมมือแต่ถ้าคุยนานๆไม่ต้องพนมมือก็ได้
    3.   การกราบพระสงฆ์ควรกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
    4. ถ้าเป็นญาติกับพระสงฆ์สามารถพูดจาล้อเล่นได้
  112. หากนิมนต์พระทั่วไปมาทำพิธีควรใช้คำแทนตัวท่านว่าอย่างไร
    1.   หลวงพี่
    2. หลวงลุง
    3.  พระคุณเจ้า   
    4. ท่านเจ้าคุณ
  113. การนิมนต์พระสงฆ์ในงานสวดพระอภิธรรมควรนิมนต์พระกี่รูป
    1.  4  รูป
    2. 5  รูป
    3.  7  รูป
    4.  9  รูป
  114. ข้อใด เป็นคำกรวดน้ำแบบสั้น
    1.    สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ      
    2.   อิทังเม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
    3.   ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง    
    4.  อิมินา  ปุญญกัมเมนะ  อุปัชฌายา  คุณุตตะรา
  115. จุดมุ่งหมายของการกรวดน้ำคืออะไร
    1.   อุทิศส่วนบุญ              
    2. แสดงความเคารพ    
    3.   ตั้งจิตอธิษฐาน
    4.  เพื่อให้เทวดารับรู้
  116. ข้อใดเป็นวิธีประเคนของพระสงฆ์ที่ถูกต้อง
    1.  พระศรรับถาดอาหารจากมือโยมแม่
    2. ก้อยกับเพื่อนช่วยกันยกโต๊ะอาหารถวายพระ
    3.   น้อยถวายอาหารในเวลาบ่าย  
    4.   กุหลาบวางปิ่นโตอาหารลงบนผ้ากราบของพระสงฆ์
  117. ข้อใด จัดเป็นงานอวมงคล
    1.  อุสาทำบุญอุทิศให้นางแสน
    2. ชวนชมทำบุญอายุครบ 60 ปี
    3.  ช้างทำบุญขึ้นบ้านใหม่  
    4. ออนทำบุญครบรอบวันแต่งงาน
  118. ข้อใด  ไม่ใช่  เหตุการณ์สำคัญในวันวิสาขบูชา
    1.   พระพุทธเจ้าตรัสรู้       
    2. พระพุทธเจ้าประสูติ
    3.  พระพุทธเจ้าปรินิพาน
    4. พระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชา
  119. ข้อใด ไม่ใช่ความหมายของการบริหารจิต
    1. การฝึกจิตให้เกิดสมาธิ
    2. การทำให้จิตใจเกิดสมาธิ
    3.   การปฏิบัติที่ทำให้จิตใจสูงขึ้น
    4.  การทำให้จิตเกิดความสงบเงียบ
  120. วันไหนเรียกว่าวันจาตุรงคสันติบาต
    1.   มาฆบูชา
    2. วิสาขบูชา
    3.  อัฏฐมีบูชา
    4. อาสาฬหบูชา
  121. ข้อใด เป็นหลักโยนิโสมนสิการที่ใช้วิธี คิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน
    1.   คิดฝันถึงอนาคตอันรุ่งเรืองสดใส
    2.   คิดถึงความผิดพลาดในอดีตที่ผ่านมา
    3.  ใช้สติควบคุมความคิดไม่ให้โลดแล่นไปไกล
    4.   มีสติกำกับอยู่กับเรื่องที่คิดและทำในขณะปัจจุบัน
  122. หลังจากการบริหารจิตและเจริญปัญญานักเรียนต้องปฏิบัติพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาข้อใด
    1.  แผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล
    2.  รดน้ำขอพรจากญาติผู้ใหญ่
    3.   อาราธนาศีลและสมาทานศีล
    4.   กล่าวปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะr6m

01/05/2015 · 8:53 am

แบบฝึกหัด

  1. ติตติรชาดกจะเกี่ยวข้องกับสัตว์ขนิดคือ คือ …
  2. ช้างรู้จักต้นไทรเมื่อไหร่………………………….
  3. ลิงรู้จักต้นไทรเมื่อไหร่……………………………
  4. นกกระทารู้จักต้นไทรเมื่อไหร่…………………..
  5. สัตว์ที่อาวุโสที่สุด คือ……………………………
  6. ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ…………………………

01/05/2015 · 8:46 am

:: นางวิสาขา ::

นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี บิดาชื่อ ธนัญชัย มารดาชื่อ สุมนาเทวี เมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามารดามาอยู่เมืองสาเกต ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองพาราณสี เมื่อนางวิสาขามีอายุได้ 7 ขวบ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่ออายุได้ 16 ปี นางได้แต่งงานกับชายหนุ่มชื่อ ปุณณวัฒน ซึ่งเป็นลูกเศรษฐีในเมืองสาวัตถี

นางวิสาขา มีคุณสมบัติที่พรั่งพร้อมด้วยเบญจกัลยาณี หมายถึงลักษณะงดงามพร้อมทั้ง 5 ประการ ได้แก่

  1. ผมงาม คือ ผมดำสลวยเป็นเงางาม
  2.  เนื้องาม คือ เหงือกงามและริมฝีปากงาม
  3. กระดูกงาม คือ ฟันขาวงามเป็นระเบียบ
  4. ผิวงาม คือ ผิวเกลี้ยงเกลางามไม่มีไฝฝ้า และ
  5. วัยงาม คือ มีความงามเหมาะสมกับวัยของตน

วันหนึ่งนางวิสาขาได้จัดงานทำบุญเลี้ยงพระที่คฤหาสน์ของตน ได้นิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกมาฉันอาหาร นางวิสาขาได้ส่งคำเชิญไปยังมิคารเศรษฐีบิดาสามีของตนซึ่งยังไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาให้มาร่วมทำบุญ เมื่อมิคารเศรษฐีได้เฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมซึ่งไม่เคยฟังมาตลอดชีวิต ฟังจบก็สำเร็จอริยบุคคลชั้นโสดาบัน

นางวิสาขาเป็นผู้ริเริ่มการถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุผู้เข้าพรรษา เพราะนางทราบว่าภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนไม่เหมาะสม ดูประหนึ่งชีเปลือย จึงขออนุญาตพระพุทธเจ้าถวายผ้าอาบน้ำฝน ต่อมาจึงเป็นประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝนมาถึงทุกวันนี้
นางวิสาขาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะ (เลิศกว่าผู้อื่น) ในด้านการถวายทาน มีอายุยืนยาวถึง 120 ปี มีบุตรชาย 10 คน บุตรสาว 10 คน เป็นสาวิกาที่อุปถัมถ์พระพุทธศาสนาที่สำคัญคนหนึ่งคู่กับอนาถบิณฑิกเศรษฐี

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

  1. เป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
  2. เป็นผู้มีความเชื่อฟังบิดา มารดา และมีความซื่อสัตย์มั่นคงต่อสามี
  3. เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ใช้หลักธรรมแก้ปัญหาในครอบครัวได้
  4. เป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนความเชื่อถือของบิดาสามี ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา

30/04/2015 · 1:44 pm

:: แบบทดสอบ 8 ::

  1. ข้อใดสอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
    1. พึ่งตนเอง เดินสายกลาง ไม่เน้นการแข่งขัน
    2. มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุข พอประมาณ
    3. บริโภคน้อย ใช้จ่ายน้อย มีเงินเหลือเก็บ
    4. ทำงานน้อย มีเงินใช้สอยพอควร
  2. การพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางของพระพุทธศาสนา มีลักษณะเช่นไร
    1. การพัฒนาโดยเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า
    2. การพัฒนามนุษย์ให้รู้จักสิ่งต่างๆ และปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างเหมาะสม
    3. การพัฒนาที่มีการร่วมมือกันของคนในสังคมปัจจุบัน
    4. เพื่อคนในสังคมอนาคตได้มีชีวิตอย่างมีความสุข
  3. การพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง โดยใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการปฏิบัติหลักธรรมในข้อใดของพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
    1. ขันธ์ 5 ไตรลักษณ์ วัฏฏะ
    2. ปปัญจธรรม 3 อัตถะ 3 มรรค 8
    3. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไตรสิกขา อริยสัจ 4 อิทธิบาท 4 ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4
  4. สวนผลไม้ของนายชอบได้รับความเสียหายจากศัตรูพืช เมื่อนายชอบรู้สาเหตุแล้วก็ดำเนินการแก้ไข ในเวลาต่อมา ไม่นานนายชอบก็มีผลไม้ขาย มีรายได้เป็นที่น่าพอใจ นายชอบนำหลักธรรมข้อใดมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
    1. ขันธ์ 5
    2. อริยสัจ 4
    3. ไตรสิกขา
    4. ไตรลักษณ์
  5. หมู่บ้านดอนไทรตั้งอยู่บนเชิงเขา มีน้ำตกสวยงาม จึงมีประชาชนมาท่องเที่ยวจำนวนมาก หัวหน้ากลุ่มของชาวบ้านได้นำชาวบ้านวางระบบการดูแลรักษาความปลอดภัย และการบริการนักท่องเที่ยว จัดระบบการจำหน่ายสินค้าซึ่งเป็นของที่ระลึก บุคคลดังกล่าวได้ปฏิบัติตามหลักธรรมใด
    1. อริยสัจ ขันธ์ 5
    2. อัตถะ 3 ขันธ์ 5
    3. ไตรสิกขา มรรค 8
    4. ขันธ์ 5 ไตรลักษณ์
  6. “ชมรมรักษ์บ้านเกิด เป็นชมรมที่มีสมาชิกไม่มากนัก แต่ทุกคนก็ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหมู่บ้าน สมาชิกทุกคนในหมู่บ้านมีงานทำประกอบอาชีพสุจริต และอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข สมาชิกชมรมรักษ์บ้านเกิดปฏิบัติตามหลักธรรมใด
    1. มรรคมีองค์ 8 ไตรสิกขา
    2. ขันธ์ 5 ไตรลักษณ์
    3. วัฏฏะ 3 ปปัญจธรรม 3
    4. อัตถะ 3 อิทธิบาท 4
  7. “เจิดได้รับการยกย่องว่า เป็นเกษตรกรดีเด่นของจังหวัด ทั้งๆ ที่เขาเป็นชาวนามีที่ดินของตนเองเพียง 5 ไร่ แต่เขาสามารถเก็บออมเงินจนมีฐานะที่มั่นคง นอกจากนั้นยังช่วยเหลือผู้ที่มีฐานะด้อยกว่า” เจิดปฏิบัติตนตามหลักธรรมใด
    1. ขันธ์ 5
    2. อัตถะ 3
    3. ไตรลักษณ์
    4. ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4
  8. หลักธรรมในข้อใดสอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง
    1. สันโดษ
    2. ไตรสิกขา
    3. อิทธิบาท
    4. สัมมากัมมันตะ
  9. การกระทำในข้อใดสอดคล้องกับความสันโดษ
    1. การตัดกิเลสทั้งปวงได้สำเร็จ
    2. การละทิ้ง หรือหลีกเลี่ยงการได้ลาภสักการะ
    3. การเสียสละลาภ ยศ เงินทอง ให้เหลือเพียงเล็กน้อย
    4. การรู้จักยับยั้งความปรารถนาของตนให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม
  10. คำพังเพยในข้อใดสอดคล้องกับความสันโดษ
    1. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
    2. ช้าช้าได้พร้าเล่มงาม
    3. จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
    4. ความพยายามเป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จ
  11. หลักธรรมใดที่พุทธศาสนิกชนทุกคนควรยึดถือเป็นวิถีการ ดำเนินชีวิต
    1. อัตถะ 3
    2. วัฏฏะ 3
    3. ปปัญจธรรม 3
    4. บุญกิริยาวัตถุ 3
  12. การกระทำในข้อใดจัดเป็นอามิสทาน
    1. ดวงแขกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติทุกวัน
    2. ครูเมตตาและครูปราณี ชอบฝึกมารยาทให้แก่นักเรียน
    3. นักเรียนร่วมกันบริจาคเงินและสิ่งของแก่ผู้ประสบอุทกภัย
    4. ณรงค์ แนะนำให้ยอดชาย งดเว้นการตกปลา และไปปฏิบัติธรรมที่วัด
  13. “จงรักพระเจ้าด้วยสิ้นสุดจิตใจ สุดความคิด และสุดกำลังของท่าน และจงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” เป็นหลักสำคัญของศาสนาใด
    1. ศาสนาคริสต์
    2. ศานาอิสลาม
    3. พระพุทธศาสนา
    4. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  14. พิธีมิสซา หรือพิธีนมัสการของศาสนาคริสต์จะกระทำที่ใด และกระทำเมื่อใด
    1. ที่โบสถ์ในวันอาทิตย์
    2. ที่โบสถ์ในทุกวันตอนเช้า
    3. ที่โบสถ์หรือสถานที่เหมาะสมในวันปีใหม่
    4. ที่โบสถ์หรือตามอาคารบ้านเรือน หรือสถานที่เหมาะสมในวันคริสต์มาส
  15. ศีลใดจัดเป็นพิธีกรรมแรกสำหรับผู้ที่จะเข้าถือคริสต์ ศาสนา
    1. ศีลกำลัง
    2. ศีลมหาสนิท
    3. ศีลล้างบาป
    4. ศีลอภัยบาป
  16. การละหมาดของศาสนาอิสลาม มีความมุ่งหมายสำคัญอย่างไร
    1. เพื่อให้ชาวมุสลิมมารวมกันในโบสถ์ทุกวัน
    2. เพื่อฝึกให้ผู้กระทำรู้จักเสียสละและมีความอดทน
    3. เพื่อให้ชาวมุสลิมได้กล่าวปฏิญาณตนต่อพระอัลลอฮ์
    4. เพื่อขัดเกลาจิตใจผู้กระทำให้สะอาดบริสุทธิ์ ยับยั้งการประพฤติในสิ่งไม่ดี
  17. พิธีกรรมใดของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่ฝึกให้เป็นผู้เสียสละ มีความเมตตา
    1. พิธีฮัจญ์
    2. การถือศีลอด
    3. การปฏิญาณตน
    4. การบริจาคซะกาต
  18. ศาสนาใดที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับวรรณะ
    1. ศาสนาคริสต์
    2. ศาสนาอิสลาม
    3. พระพุทธศาสนา
    4. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  19. ข้อความเกี่ยวกับเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูข้อใดถูกต้อง
    1. พระศิวะเป็นเทพผู้รักษาและคุ้มครองโลก
    2. พระนารายณ์เป็นเทพเจ้าองค์แรกในตรีมูรติ
    3. พระพรหมเป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลกและจักรวาล
    4. พระวิษณุเป็นเทพผู้ทำลาย จะทำลายโลกเมื่อมีปัญหา
  20. ข้อความเกี่ยวกับเป้าหมายสูงสุดของแต่ละศาสนา ข้อใด ไม่ถูกต้อง
    1. ศาสนาอิสลาม – การไปอยู่ในอาณาจักรของพระเจ้า
    2. ศริสต์ศาสนา – การมีชีวิตนิรันดรอยู่ในอาณาจักรของพระเจ้าบนสวรรค์
    3. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู – การได้อยู่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกลมกลืนกับพรหม
    4. พระพุทธศาสนา – การขึ้นสวรรค์เป็นที่สุดของการประพฤติปฏิบัติธรรม

30/04/2015 · 1:29 pm

::แบบทดสอบ 7 ::

  1. ข้อใดเป็นบทสรรเสริญพระพุทธคุณ
    1. สัพเพ สัตตา…
    2. อิติปิโส ภะคะวา…
    3. สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม…
    4. สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
  2. การแผ่เมตตามีผลดีต่อผู้ปฏิบัติอย่างไร
    1. ได้บุญกุศลที่ทำไป
    2. มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า
    3. มีจิตใจอ่อนโยน สงบ เยือกเย็น
    4. ผู้ที่ได้การแผ่เมตตาสำนึกถึงบุญคุณ
  3. การบริหารจิตมีผลดีในข้อใด
    1. เป็นหนทางไปสู่นิพพาน
    2. สามารถตัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิง
    3. แผ่เมตตาให้แก่ตนเองและผู้อื่นได้ดี
    4. มีสติ จิตใจมั่นคง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. การบริหารจิตแบบอานาปานสติมีข้อดีอย่างไร
    1. ร่างกายสงบและผ่อนคลาย
    2. สุขภาพจิตดีเป็นเวลานาน
    3. ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้ง่าย
    4. จิตสงบนิ่งดีกว่าวิธีปฏิบัติสมาธิแบบอื่น
  5. สิ่งสำคัญต่อการบริหารจิต คืออะไร
    1. สติ
    2. สถานที่
    3. อุปกรณ์การฝึก
    4. ผู้นำในการฝึก
  6. เพราะเหตุใดคนเราจึงต้องพัฒนาการคิดและปัญญาอยู่เสมอ
    1. มนุษย์มีสมองที่ฉลาด
    2. คนเราต้องคิดอยู่เสมอ
    3. เพื่อความอยู่รอดของตนเอง
    4. เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในความจริงของโลกและชีวิต
  7. การกระทำใดที่แสดงว่า ใช้วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คุณครูบอกให้นักเรียนลอกข้อความบนกระดานลงสมุด
    1.  ใจสืบหาข้อมูลของน้ำเน่าในคลองจนรู้สาเหตุของน้ำเน่า
    2. แช่มเชื่อหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ลงข่าววิธีการ
    3. เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
    4. เก๋นำหลักฐานการทุจริตสินค้าของบริษัทส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  8. ข้อใดสอดคล้องกับการกระทำที่ใช้วิธีคิดแบบอริยสัจ
    1. บอยรู้ว่าเขาได้คะแนนไม่ดี เพราะขี้เกียจอ่านหนังสือ
    2. อ้อมฝึกทำโจทย์คณิตทุกวันจนทำให้ได้คะแนนสูงขึ้นมากจากเดิมซึ่งเคยสอบตก
    3. สารู้ว่านักกีฬาวอลเลย์บอลทุกคนมีความหวังในชัยชนะของทีม
    4. ก้องชวนเพื่อนไปเดินเล่นที่หน้าโรงเรียนเป็นการออกกำลังกาย
  9.  ข้อใดสอดคล้องกับวิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
    1. โต๊ะเรียนมีรอยขีดเขียน เพราะนักเรียนทำตามใจตัวนักเรียนขาดวินัย
    2. โต๊ะเรียนชำรุดดังนั้นผู้มีหน้าที่ซ่อมจะต้องทำงานหนัก
    3. นักเรียนทุกคนช่วยกันทำความสะอาดโต๊ะเรียนทุกเดือน
    4. โต๊ะเรียนมีรอยขีดเขียน เป็นเรื่องปกติ นักเรียนทุกคนช่วยกัน
  10. ข้อใดสอดคล้องกับวิธีคิดแบบอริยสัจ
    1. เมื่อเรารู้ตัวคนเผาป่าแล้วเราจะแก้ไขปัญหาลักลอบการถางป่าให้หมดไป
    2. ไฟป่าเป็นเรื่องของธรรมชาติซึ่งยากต่อการแก้ไข
    3. การปลูกต้นไม้ให้แน่นทึบจะเป็นวิธีหนึ่งในการทดแทนป่าที่ถูกไฟเผา
    4. การควบคุมดูแลป่านั้นเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้

30/04/2015 · 1:17 pm

:: แบบทดสอบ 6 ::

  1. การเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยใด
    1. สุโขทัย
    2. ธนบุรี
    3. อยุธยา
    4. รัตนโกสินทร์
  2. ในสมัยรัชกาลใดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่จัดให้มีเทศน์ปฐมสมโพธิกถาในวันวิสาขบูชา
    1. รัชกาลที่ 2
    2. รัชกาลที่ 3
    3. รัชกาลที่ 4
    4. รัชกาลที่ 5
  3. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใดที่ได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติให้เป็นวันสำคัญสากลนานาชาติ
    1. วันมาฆบูชา
    2. วันวิสาขบูชา
    3. วันออกพรรษา
    4. วันเข้าพรรษา
  4. การปฏิบัติตนในวันวิสาขบูชามีหลายประการ ยกเว้นข้อใด
    1. ทำบุญตักบาตร
    2. ฟังธรรม
    3. เวียนเทียน
    4. แห่เทียน
  5. ประเพณีแห่เทียนพรรษาและประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝนเกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในข้อใด
    1. วันมาฆบูชา
    2. วันเข้าพรรษา
    3. วันออกพรรษา
    4. วันวิสาขบูชา
  6. วันอัฏฐมีบูชามีความสำคัญอย่างไร
    1. วันแสดงปฐมเทศนา
    2. วันที่พระพุทธเจ้าทรงปลงสังขาร
    3. วันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน
    4. วันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
  7. ประเพณีใดเกี่ยวเนื่องกับวันออกพรรษา
    1. การทอดกฐิน
    2. การถวายเทียนพรรษา
    3. การแห่เทียนพรรษา
    4. การถวายผ้าอาบน้ำฝน
  8. ให้นำหมายเลขหน้าข้อความไปเรียงลำดับขั้นตอนในพิธีงานมงคลให้ถูกต้อง
    1. อาราธนาศีล
    2. อาราธนาพระปริตร
    3. จุดเทียนที่โต๊ะบูชา
    4. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์และสวดถวายพรรับศีล
    5. ถวายเครื่องไทยธรรม
    6. เจ้าภาพประเคนภัตตาหาร
    7. กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
      1. 1), 2), 5), 3), 4), 8), 6), 7)
      2. 3), 1), 5), 2), 4), 7), 6), 8)
      3. 3), 2), 1), 5), 4), 6), 7), 8)
      4. 4), 3), 1), 5), 2), 8), 7), 6)
  9. คำกล่าวใดเป็นคำกรวดน้ำ
    1. ยถา วาริ วหา…
    2. อิมานิ มยํ ภนเต…
    3. อิทํ เม ญาตินํ โหตุ…
    4. อิมํ สูปพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ…
  10. การกรวดน้ำมีเป้าหมายสำคัญอย่างไร
    1. การทำจิตให้สงบ
    2. เป็นการแผ่เมตตาให้แก่ทุกคน
    3. การอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่เป็นญาติ
    4. อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

30/04/2015 · 1:03 pm

:: แบบทดสอบ 5 ::

  1. การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวัจนะนั้น สอดคล้องกับข้อใด
    1. การเรียนรู้หลักวิชาด้วยการปฏิบัติ
    2. การฝึกฝนปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ
    3. การเรียนธรรมะเพื่อมีความรู้ความเข้าใจชัดเจน
    4. การเรียนรู้หลักวิชาเพื่อเกื้อกูลและสนับสนุนการปฏิบัติธรรมให้เกิดผลดี
  2. การที่พระสงฆ์เผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มีความสำคัญในข้อใดมากที่สุด
    1. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา
    2. ทำให้ประชาชนที่นับถือศาสนาต่างๆ มีความสนใจในพระพุทธศาสนา
    3. ประชาชนเข้ามาร่วมพิธีกรรมต่างๆ ของพระพุทธศาสนา และทำบุญที่วัดมากขึ้น
    4. สังคมมีความสามัคคีกลมเกลียวกันอย่างแน่นแฟ้น
  3. เมื่อพระสงฆ์มาถึงบ้านที่มีงานทำบุญ เจ้าบ้านควรปฏิบัติตนอย่างไร
    1. นิมนต์ให้แสดงพระธรรมเทศนา
    2. สนทนากับพระสงฆ์ จนถึงเวลาประกอบพิธี
    3. นิมนต์ให้นั่งในที่ที่จัดไว้ แล้วถวายของรับรอง
    4. สนทนากับหัวหน้าพระสงฆ์ที่มาประกอบพิธีทำบุญ
  4. ศิษย์พึงปฏิบัติต่อครู-อาจารย์ ในข้อใดเหมาะสมที่สุด
    1. เรียนศิลปวิทยาด้วยความตั้งใจ
    2. เข้าไปพบครูที่ห้องพักครูทุกเช้า
    3. นำของขวัญมาให้ครูอย่างสม่ำเสมอ
    4. ให้ความคุ้มครองและปกป้องครู-อาจารย์ให้พ้นจากมิจฉาชีพ
  5. การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีด้วยการเคารพครู-อาจารย์ตรงกับทิศ 6 ในข้อใด
    1. ทิศเบื้องขวา
    2. ทิศเบื้องซ้าย
    3. ทิศเบื้องล่าง
    4. ทิศเบื้องหน้า
  6. เมื่อมีการกล่าวจาบจ้วงให้ร้ายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พุทธศาสนิกชนจึงร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเป็นการปฏิบัติตนตามพุทธปณิธานในข้อใด
    1. ปกป้องพระพุทธศาสนา
    2. ปฏิบัติตนตามหลักธรรม
    3. ปฏิบัติตามขั้นตอนของพหูสูต
    4. เผยแผ่และสืบทอดพระพุทธศาสนา
  7. การแสดงตนเป็นพุทธมามกะมีความสำคัญอย่างไร
    1. ป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา
    2. เป็นการรวบรวมสมาชิกผู้นับถือ พระพุทธศาสนา
    3. เป็นการฝึกให้ชาวพุทธร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
    4. เป็นการประกาศย้ำความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี นับถือพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
  8. วิธีการที่จะเข้าใจพระพุทธศาสนาได้อย่างแจ่มแจ้งนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักใด
    1. หลักปฏิบัติ
    2. หลักพหูสูต
    3. หลักการบริหารจิต
    4. หลักการบริหารจัดการ
  9. การรวมตัวขององค์กรชาวพุทธมีผลสำคัญในเรื่องใด
    1. สร้างความเป็นปึกแผ่นขององค์กร
    2. สืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    3. ทำให้มีการผลิตตำราด้านพระพุทธศาสนา
    4. ชาวต่างชาติมีความชื่นชม และศรัทธาในพระพุทธศาสนา
  10. เพราะเหตุใด จึงต้องมีการปลูกจิตสำนึกให้ชาวพุทธช่วยกันบำรุงรักษาวัด
    1. เพราะวัดเป็นโบราณสถาน
    2. เพราะวัดเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์
    3. เพราะวัดเป็นที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา
    4. เพราะวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจด้านต่างๆ ของชาวพุทธ

30/04/2015 · 12:57 pm

:: แบบทดสอบ 4 ::

  1. กานดาฟังรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค ทำให้กานดามีความรู้มากขึ้นการกระทำของกานดาสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตในข้อใด
    1. ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
    2. ธมฺมจารี สุขํ เสติ
    3. สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ
    4. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
  2. แก้วตาไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่เธอรู้ว่าถ้าอ่านหนังสือน้อยจะทำให้สอบตก เธอจึงพยายามตั้งใจฝืนความรู้สึกอ่านหนังสือทุกวัน ถึงแม้ว่าบางวันจะต้องนอนดึกก็ตาม การกระทำของแก้วตาสอดคล้องกับหลักธรรมใด
    1. สติ ทมะ ขันติ
    2. ฉันทะ สติ วิริยะ
    3. ทุกข์ เวทนา ขันติ
    4. รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน
  3. ข้อใดคือขั้นตอนของพหูสูต
    1. ศึกษา ฟัง พูด อ่าน เขียน
    2. ฟังมาก เขียนมาก คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้
    3. ฟังมาก เขียนมาก จำได้ คล่องแคล่ว ใช้เป็น
    4. ฟังมาก จำได้ คล่องปาก เจนใจ ประยุกต์ใช้เป็น
  4. การกระทำในข้อใดสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิต“ชนะตนนั่นแลดีกว่า”
    1. ดวงแข่งขันกีฬาเทนนิสชนะทุกทีม
    2. เดี่ยวถือศีล 5 เฉพาะวันพระเท่านั้น
    3. เด่นถูกเพื่อนตำหนิ แต่เธอก็ห้ามใจไม่โต้ตอบ
    4. ดาวตั้งใจว่าจะเดินทางไปต่างประเทศ แต่ก็เปลี่ยนใจไปต่างจังหวัด
  5. พระพุทธเจ้าตั้งพระทัยว่า “ตราบใดที่พระพุทธศาสนายังไม่แพร่หลาย พุทธบริษัททั้ง 4 ยังไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนพระองค์จะไม่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน” ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับข้อใด
    1. พุทธปณิธาน
    2. พระไตรปิฎก
    3. พระวินัยปิฎก
    4. เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก
  6. พระอภิธรรมปิฎกจะมีเนื้อหาสาระสำคัญในข้อใด
    1. เทศนาของพระสาวกสำคัญบางองค์
    2. พิธีกรรมต่างๆ ในพระพุทธศาสนา
    3. ศีลของพระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีสงฆ์
    4. พระสูตรหรือเทศนาที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่บุคคลต่างๆ
  7. นิพนธ์รู้ว่าการพนันเป็นอบายมุข ดังนั้นเขาจึงหลีกเลี่ยงการเล่นการพนันทุกชนิด การกระทำของนิพนธ์สอดคล้องกับข้อใด
    1. ศึกษา ชี้แจง
    2. ศึกษา ปฏิบัติ
    3. ศึกษา วิเคราะห์
    4. วิเคราะห์ ขยายความ
  8. ข้อใดคือคุณสมบัติของพุทธบริษัท 4 ตามพุทธปณิธาน
    1. ศึกษา ปฏิบัติ ชี้แจง ปกป้อง
    2. ศึกษา ชี้แจง ปฏิบัติ พัฒนา
    3. ศึกษา วิเคราะห์ ปฏิบัติ นำไปใช้
    4. ศึกษา ปฏิบัติ ประยุกต์ใช้ พัฒนา
  9. บุคคลใดปฏิบัติตามพุทธศาสนสุภาษิต “ธมฺมจารีสุขํ เสติ”
    1. โชติมีสติ ทมะ และขันติ
    2. สิทธิหมั่นฟังธรรมะทุกวัน
    3. ก้านถือศีล 5 และปฏิบัติธรรม 5
    4. จักรปฏิบัติตนตามหลักอิทธิบาท 4
  10. คำกล่าวว่า “ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย”สอดคล้องกับข้อใด
    1. คนที่ประมาทจะมีอันตรายถึงชีวิต
    2. คนที่ประมาทเป็นคนที่ชอบคิดฟุ้งซ่าน
    3. คนที่ประมาทเป็นคนที่ทำความเดือดร้อน
    4. คนที่ประมาทเป็นผู้ที่ขาดสติทำให้เกิดความเสียหาย

30/04/2015 · 12:19 pm

:: แบบทดสอบ 2 ::

  1. เพราะเหตุใดพระพุทธองค์จึงทรงตัดสินพระทัยแสดง ปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์
    1. ปัญจวัคคีย์เคยปรนนิบัติรับใช้พระพุทธองค์เป็นระยะเวลานาน
    2. ต้องการเทศนาสั่งสอนให้ปัญจวัคคีย์มีความเข้าใจในธรรมะที่ถูกต้องด้วยพระองค์เอง
    3. ทรงมองเห็นการณ์ไกลในผลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางไปในดินแดนต่างๆ
    4. ต้องการให้เป็นสักขีพยานแห่งการตรัสรู้ และแก้ความเข้าใจผิดว่าการทรมานตนด้วยการอดอาหารไม่ใช่ทางบรรลุถึงนิพพาน
  2. พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในข้อใดที่แสดงถึงการทบทวนผลงานของธรรมทูตชุดแรกและปฐมนิเทศธรรมทูตคณะใหม่
    1. อริยสัจ 4
    2.  มรรคมีองค์ 8
    3. โอวาทปาฏิโมกข์
    4. ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
  3. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงแต่งตั้งให้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องขวาและเบื้องซ้าย
    1. ได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์สาวกส่วนใหญ่
    2. ต้องการให้ผู้ที่มีความสามารถช่วยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    3. พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะปรนนิบัติรับใช้พระพุทธเจ้า
    4. พระพุทธองค์เห็นว่า ทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความเพียรอย่างสูง
  4. พระพุทธรูปปางใดที่เป็นสัญลักษณ์แสดงว่า พระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะกิเลสทั้งปวงได้
    1. ปางลีลา
    2. ปางมารวิชัย
    3. ปางประจำวันเกิด
    4. ปางแสดงปฐมเทศนา
  5. พระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนาให้ข้อคิดสำคัญเกี่ยวกับอะไร
    1. ประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก
    2. แสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์
    3. เกิดศรัทธาและมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    4. ประกาศศาสนาออกไปยังดินแดนต่างๆ
  6. ข้อใดเป็นคุณธรรมอันเป็นแบบอย่างของพระอัญญาโกณฑัญญะ
    1. เป็นคนสันโดษ
    2. มีความอดทนสูง
    3. มีความกตัญญูเป็นเลิศ
    4. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  7. พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจาก พระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะในด้านใด
    1. ผู้มีวินัย
    2. ผู้แสดงธรรม
    3. ผู้มีฤทธิ์มาก
    4. ผู้มีประสบการณ์
  8. พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาด้วยการรับหลักปฏิบัติในข้อใด
    1. ศีล 5
    2. ศีล 8
    3. ศีล 10
    4. ครุธรรม 8 ประการ
  9. คุณธรรมอันควรถือเป็นแบบอย่างของพระเขมาเถรีคือข้อใด
    1. มีปฏิภาณ
    2. เป็นแบบอย่างด้านความประพฤติ
    3. มีความเสียสละและอดทนเป็นเลิศ
    4. เป็นผู้ที่รักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
  10. พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งพระเขมาเถรีเป็นเอตทัคคะด้านใด
    1. มีปัญญามาก
    2. ใฝ่เรียน ใฝ่รู้
    3. มีใจกว้าง มีน้ำใจ
    4.  มีความเสียสละเป็นเลิศ
  11. คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างของพระเจ้าปเสนทิโกศลคืออะไร    
    1. มุ่งมั่นในการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนา
    2. เสียสละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม
    3. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
    4. มีความอดทนสูงยิ่ง
  12. หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล มีคุณธรรมอันควรถือเป็นแบบอย่างในข้อใด  
    1. เป็นแบบอย่างของพลเมืองดี
    2. มีความกตัญญูกตเวที
    3. ซื่อสัตย์สุจริต
    4. ใฝ่เรียนรู้
  13. ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์เป็นผู้มีคุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างในข้อใด
    1. มีความอดทนสูง มีปัญญามาก
    2. มีปฏิภาณ เป็นพหูสูต
    3. ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูกตเวที
    4. มีปัญญามาก มีปฏิภาณ
  14. นันทิวิสาลชาดก ให้ข้อคิดเตือนใจในเรื่องใด
    1. ควรยินดีในสิ่งที่ตนพึงได้ ไม่โลภเกินประมาณ
    2. การเป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้ ย่อมทำให้ประสบความสำเร็จ
    3. ควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของคนทั่วไป
    4. ควรพูดแต่คำไพเราะรื่นหู เป็นที่พอใจของคนอื่น
  15. ภาพใดคือพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร (3)

เฉลย แบบฝึกหัด พระพุทธ ศาสนา ม.3 บท ที่ 5

30/04/2015 · 12:17 pm

:: แบบทดสอบ 3 ::

  1. ข้อความเกี่ยวกับสังฆคุณ 9 ที่กล่าวว่า “ายปฏิปนฺโน”สอดคล้องกับข้อใด
    1.  เป็นผู้ปฏิบัติตรง
    2. เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง
    3. เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
    4. เป็นผู้ควรแก่ของทำบุญ
  2. สรพงศ์เห็นรูปดาราสาวสวยวางอยู่จำได้ว่า เคยดูการแสดงของเธอจึงเอื้อมมือไปหยิบมาเพราะอยากได้ การกระทำดังกล่าวสอดคล้องกับธรรมในข้อใด
    1. ขันธ์ 5
    2. เวทนา
    3. อนัตตา
    4. ไตรลักษณ์
  3. ข้อใดจัดเป็นไตรลักษณ์
    1. ทุกข์ สมุทัย นิโรธ
    2. ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
    3. ศีล สมาธิ ปัญญา
    4. อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา
  4. “โชคชอบคิดถึงอดีตที่เคยเป็นเด็ก เติบโตเป็นหนุ่ม และปัจจุบันนี้เขาเป็นชายชราที่รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต” ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับข้อใด
    1. อนิจจตา
    2.  ทุกขตา
    3. วัฏฏะ
    4. ขันธ์ 5
  5. ชัชเป็นผู้ที่ประพฤติตนดีทั้งกาย วาจา และใจ จัดได้ว่าชัชเป็นผู้ที่ทำบุญในเรื่องใด
    1. ทำบุญด้วยการให้
    2. ทำบุญด้วยการรักษาศีล
    3. ทำบุญด้วยการอบรมจิตใจ
    4. ทำบุญด้วยการประพฤติตนอ่อนน้อม
  6. “กล้าไปฟังธรรมที่วัดอยู่เสมอ ช่วยทางวัดพัฒนาอาคารสถานที่ เขามีความศรัทธาต่อพระสงฆ์ เมื่อฟังธรรมแล้วนำมาปฏิบัติ และฝึกตนเองให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย มีศีล” การกระทำของกล้าสอดคล้องกับหลักธรรมใด
    1. ปรมัตถะ
    2. ธรรมที่ควรละ
    3. สัมมาสังกัปปะ
    4. อุบาสกธรรม 7
  7. การทำบุญด้วยการฟังธรรมจะได้รับประโยชน์ในข้อใด มากที่สุด
    1. ได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธที่ดี
    2. ได้คบหากับผู้ที่มีความประพฤติดี
    3. ได้นำหลักธรรมไปอธิบายให้ผู้อื่นฟัง
    4. ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์
  8. การพบสมณะนั้น ได้ประโยชน์ในข้อใดมากที่สุด
    1. ได้ทำบุญสร้างวัด
    2. ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนา
    3. ได้ช่วยเหลือพระสงฆ์ตามกำลังศรัทธา
    4. ได้ข้อคิดหรือธรรมะที่จะส่งผลต่อการพัฒนาตน
  9. “เสริม เล่นการพนันเสียเงินไปมาก เขาเอาเงินของบริษัทไปใช้หนี้การพนัน เมื่อเขาถูกจับได้จึงถูกไล่ออกจากงานเมื่อไม่มีเงินใช้เขาก็ไปลักขโมยของที่ร้านค้า จึงถูกตำรวจจับ” ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับหลักธรรมใด
    1. ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
    2. กิเลส กรรม วิบาก
    3. อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา
    4. รูป เวทนา สัญญา
  10. ข้อใดจัดเป็นหลักธรรมที่ควรบรรลุ
    1. อัตถะ 3
    2. วัฏฏะ 3
    3. มรรคมีองค์ 8
    4. บุญกิริยาวัตถุ 10
  11. “ถึงแม้ว่านิดจะทำข้อสอบไม่ได้แต่เธอก็ไม่คิดลอกข้อสอบของเพื่อน” การกระทำของนิดสอดคล้องกับข้อใด
    1. สัมมาสติ
    2. สัมมาสมาธิ
    3. สัมมาอาชีวะ
    4. สัมมาวายามะ
  12.  “เจตน์ ฟังคุณพ่อตักเตือนว่า เมื่อเป็นนักเรียนต้องตั้งใจเรียน เจตน์คิดได้ว่าเขาไม่ค่อยทำการบ้านส่งครู ดังนั้นเจตน์จึงเริ่มตั้งใจทำการบ้านส่งครูทุกครั้ง” การกระทำของเจตน์สอดคล้องกับธรรมะข้อใด
    1. ปัญญา 3
    2. อัตถะ 3
    3. วัฏฏะ 3
    4. สัมมาสมาธิ
  13. ถ้านักเรียนต้องการประสบความสำเร็จในการเรียนและการประกอบอาชีพ ควรนำหลักธรรมใดไปเป็นหลักในการพัฒนาตน
    1. สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    2. วุฑฒิธรรม 4 อิทธิบาท 4
    3. สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
    4. สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา
  14. ถ้านักเรียนต้องการเป็นคนดีในสังคมควรปฏิบัติตนตามหลักธรรมในข้อใด
    1. ปัญญา 3
    2.  วัฏฏะ 3
    3. ไตรลักษณ์
    4. สัปปุริสธรรม 7
  15. การฟังธรรมด้วยจิตเป็นกุศล ควรปฏิบัติอย่างไร
    1. ทำสมาธิ
    2. นั่งฟังในห้องพระ
    3. สวดมนต์ แผ่เมตตาก่อนฟังธรรม
    4. ฟังธรรมด้วยความเคารพ ใช้ความคิดพิจารณาไปโดยลำดับ

30/04/2015 · 3:37 am

:: แบบทดสอบหน่วย 1 ::

  1. ประเทศใดเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทยและพม่าในสมัยโบราณ
    1. จีน
    2. อินเดีย
    3. ญี่ปุ่น
    4. ศรีลังกา
  2. ข้อใดคือความแตกต่างของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยโบราณกับสมัยปัจจุบัน
    1. การเทศน์
    2. การปฏิบัติธรรม
    3. อินเทอร์เน็ต
    4. การรวมกลุ่มเป็นองค์กรทางพระพุทธศาสนา
  3. ดร.อัมเบดการ์ เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศใด
    1. จีน
    2. ญี่ปุ่น
    3. อังกฤษ
    4. ศรีลังกา
  4. ปัจจุบันชาวจีนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ ไปกับลัทธิหรือศาสนาใด
    1. ขงจื๊อ เต๋า
    2. ชินโต ขงจื๊อ
    3. เชน เต๋า
    4. ชินโต เต๋า
  5. ลักษณะการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นสอดคล้องกับข้อใด   
    1. พระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    2. เริ่มจากชนชั้นสูงก่อนแล้วค่อยแพร่หลายไปในหมู่ประชาชน
    3. การรวมกลุ่มของบุคคลในองค์กรชาวพุทธหลายองค์กรผนึกกำลังความสามัคคี
    4. สมณทูตจากเกาหลีมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับชาวญี่ปุ่น
  6. วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษมีความคล้ายคลึงกับประเทศเยอรมนีในเรื่องใด   
    1. การเทศนาสั่งสอน การใช้อินเทอร์เน็ต
    2. การสั่งการและการวางตนเป็นแบบของคนชั้นสูง
    3. ผู้นำประเทศเห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกคนต้องปฏิบัติตาม
    4. การพิมพ์หนังสือเผยแพร่ การก่อตั้งสมาคมของชาวพุทธ การสร้างวัด
  7. ในการนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปต่างๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ยกเว้น ทวีปใด   
    1. ทวีปอเมริกาเหนือ
    2. ทวีปอเมริกาใต้
    3. ทวีปออสเตรเลีย
    4. ทวีปแอฟริกา
  8. การที่พระพุทธศาสนามีหลักธรรมคำสอนที่สอนให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตนตามทิศ 6 นั้น ส่งผลดีในด้านใด
    1. การจัดระเบียบสังคม
    2. การเมือง การปกครอง
    3. สถาบันและองค์กรหลักของประเทศ
    4. ความสามัคคีปรองดองกันของบุคคลทั่วไป
  9. ข้อความใดที่สอดคล้องกับคำกล่าวว่า พระพุทธศาสนาสร้างสรรค์อารยธรรมให้แก่โลก   
    1. ผู้ที่มีจิตเป็นสุขสงบและเลื่อมใสพระพุทธศาสนาร่วมมือกันสร้างวัดและเจดีย์
    2. ชุมชนเล็กๆ ในชนบทจะยึดมั่นและปฏิบัติตนตามหลักธรรมอย่างเคร่งครัดมากกว่าชุมชนใหญ่
    3. ประเทศที่เจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุจะหันมาพัฒนาคุณภาพทางด้านสังคม
    4. ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางการอยู่ร่วมกันได้ดีกว่าระบอบการปกครองอื่น
  10. หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาที่สอนให้ชาวโลกมีความประพฤติดี เสียสละ อดทน เอาชนะความชั่วด้วยทำความดี ย่อมส่งผลสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในข้อใด   
    1. ความสงบสุข
    2. ความเจริญในทุกด้าน
    3. ความเจริญทางด้านจิตใจ
    4. ความสามัคคีกลมเกลียวกันของประชาชน

13/07/2014 · 5:35 am

:: o-net พุทธศาสนา ม.3 ::

  1. พระมหากัสสปะเป็นประธานในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่เท่าไร
    1. ครั้งที่ 1
    2. ครั้งที่ 2
    3. ครั้งที่3
    4. ครั้งที่4
  2. พระนาม “สิทธัตถะ” มีความหมายตรงกับข้อใด
    1. ผู้ยิ่งใหญ่
    2. ผู้กล้าหาญ
    3. ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    4. ผู้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์
  3. วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาคือวัดใด
    1. วัดพระเชตวัน
    2. วัดบุปผาราม
    3. วัดมหาวิหาร
    4. วัดเวฬุวันมหาวิหาร
  4. คุณธรรมที่เด่นชัดที่สุดของอนาถบิณฑิกเศรษฐี คือข้อใด
    1. จิตใจใฝ่ธรรม
    2. ตั้งใจฟังธรรม
    3. เป็นครูที่ดี
    4. เป็นผู้มั่นคงในการทำบุญ
  5. เมื่อเรามีความทุกข์เกิดขึ้น ควรปฏิบัติสิ่งใดเป็นอันดับแรก
    1.  ดับทุกข์
    2. หาสาเหตุ
    3. หาวิธีการดับทุกข์
    4. แก้ไขสาเหตุของความทุกข์
  6. ความสัมพันธ์ระหว่างการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมทางภาษาข้อใดไม่ถูกต้อง
    1. ฝ่ายเถรวาทได้นำภาษาบาลีเข้ามา
    2. ฝ่ายมหายานได้นำภาษาสันสกฤตเข้ามา
    3. ไทยเรารับอิทธิพลจากภาษาบาลีและสันสกฤต
    4. หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่เขียนด้วยภาษาขอม
  7. วัดมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของคนไทยเสมอ ยกเว้นข้อใด
    1. เป็นที่พักของคนเดินทาง
    2. เป็นสถานที่จัดงานเทศกาล
    3. เป็นศูนย์กลางทางการเมือง
    4. เป็นสโมสรที่ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์
  8. ข้อใดเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณทูตออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนอื่น
    1. ต้องการแสดงความเป็นมหาอำนาจ
    2. ต้องการครอบครองดินแดนเหล่านั้นทางอ้อม
    3. ไม่ต้องการให้ประชาชนนับถือพระศิวะ
    4. เพิ่อให้บุคคลทั่วไปได้เห็นคุณค่าของพระธรรมคำสั่งสอนและยึดถือปฏิบัติ
  9. ศาสนาใดที่เกิดใกล้เคียงกับศาสนาพุทธ และพระพุทธเจ้าเองก็เคยใช้การบำเพ็ญทุกรกิริยาของศาสนานั้น
    1. ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
    2. ศาสนาขงจื้อ
    3. ศาสนาเชน
    4. ศาสนาคริสต์
  10. พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับเรื่องใดต่อไปนี้มากเป็นอันดับแรก
    1. ปัญญา
    2. ความศรัทธา
    3. ความจงรักภักดี
    4. ความมีระเบียบ
  11. สำนวนไทยที่ว่า “ทำนาบนหลังคน” แสดงว่าขาดหลักธรรมข้อใดในเรื่องอริยมรรค
    1. สัมมาทิฏฐิ
    2. สัมมาสังกัปปะ
    3. สัมมากัมมันตะ
    4. สัมมาอาชีวะ
  12. ธีรวิทย์รู้ว่าความสุขนั้นเป็นผลมาจากการทำความดี แสดงว่าธีรวิทย์รู้จักหลักธรรมข้อใดในสัปปุริสธรรม 7
    1. ธัมมัญญุตา
    2. กาลัญญุตา
    3. อัตตัญญุตา
    4. ปริสัญญุตา
  13. พระสงฆ์ผู้เป็นสุปฏิปันโน หมายความว่าอย่างไร
    1. พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีแล้ว
    2. พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว
    3. พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
    4. พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว
  14. บทสวดพระสังฆคุณเป็นการเตือนให้เราระลึกถึงพระคุณของอริยสงฆ์ ว่าท่านมีความดีครบถ้วนกี่ประการ
    1. 1 ประการ
    2. 2 ประการ
    3. 3 ประการ
    4. 4 ประการ
  15. พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าและพระสาวกปรากฏอยู่ในข้อใด
    1. อรรถกถา
    2. พระสุตตันตปิฎก
    3. พระวินัยปิฎก
    4. พระอภิธรรมปิฎก
  16. พรหมจรรย์ เป็นชื่อเดิมของอะไร
    1. อรรถกถา
    2. พระสุตตันตปิฎก
    3. พระวินัยปิฎก
    4. พระอภิธรรมปิฎก
  17. ในการเริ่มฝึกสมาธิในครั้งแรกๆ จิตใจจะเป็นอย่างไร
    1. จิตใจสงบ
    2. จิตใจฟุ้งซ่าน
    3. จิตใจสบาย
    4. จิตใจมีความสุข
  18. สิ่งสำคัญในการฝึกอานาปานสติอยู่ที่ข้อใด
    1. อยู่ที่คำบริกรรม
    2. อยู่ที่ระยะเวลาในการทำสมาธิว่านานเพียงใด
    3. อยู่ที่ความสงบเรียบร้อย ไม่มีสิ่งรบกวนขณะทำสมาธิ
    4. อยู่ที่สติจะกำหนดลมหายใจเข้าและออกได้นานเพียงใด
  19. วันจาตุรงคสันนิบาต หมายถึงวันใด
    1. วันมาฆบูชา
    2. วันวิสาขบูชา
    3. วันเข้าพรรษา
    4. วันอาสาฬหบูชา
  20. การกระทำใดจัดเป็นอามิสบูชา
    1. ฟังธรรม
    2. ถือศีล
    3. ทำสมาธิทุกเช้า
    4. จัดโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูป
  21. วัดพุทธประทีป ตั้งอยู่ในประเทศใด
    1. สหรัฐอเมริกา
    2. อินเดีย
    3. อังกฤษ
    4. ออสเตรเลีย
  22. สมาคมบาลีปกรณ์ จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร
    1. เผยแพร่ศาสนาต่างๆ ที่สำคัญให้แก่ชาวยุโรป
    2. เป็นการรวมกลุ่มของผู้นับถือศาสนาพุทธในยุโรป
    3. จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษออกเผยแพร่
    4. ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน
  23. พุทธศาสนาในแคนาดาส่วนใหญ่เป็นนิกายใด
    1. นิกายสุขาวดี
    2. นิกายมหายาน
    3. นิกายเถรวาท
    4. ไม่มีข้อถูก
  24. ข้อใดจัดเป็นพุทธบริษัท
    1. ภิกษุ ภิกษุณี แม่ชี สามเณร
    2. ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร อุบาสก
    3. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
    4. ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
  25. สำนวนไทยที่ว่า “รู้เขารู้เรา” ตรงกับหลักสัปปุริสธรรม 7 ข้อใด
    1. ธัมมัญญุตา + ปุคคลัญญุตา
    2. มัตตัญญุตา + ปริสัญญุตา
    3. อัตตัญญุตา + ปุคคลัญญุตา
    4. ปุคคลัญญุตา + กาลัญญุตา
  26. แม้ว่าเอกจะสอบเรียนต่อ ม.4 โรงเรียนชื่อดังไม่ได้ แต่เอกก็ยินดีกับอ้อยที่สอบเข้าโรงเรียนชื่อดังได้ นักเรียนคิดว่าการกระทำของเอกตรงกับบุญกิริยาวัตถุ 10 ข้อใด
    1. อปจายนมัย
    2. ปัตตานุโมทนามัย
    3. เวยยาวัจจมัย
    4. ธัมมเทสนามัย
  27. สุสฺสูสํ ลภเต ปญญํ  มีความหมายตรงกับข้อใด
    1. ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา
    2. คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
    3. คบคนเช่นไรย่อมได้ผลเช่นนั้น
    4. ปัญญาเป็นเครื่องหมายแห่งนรชน
  28. ไตรปิฎก” มีความหมายว่าอย่างไร
    1. ตะกร้า 3 ใบ
    2. พรหมจรรย์ 3 ประการ
    3. คัมภีร์ 3 เล่ม
    4.  เทวโองการ 3 เรื่อง
  29. วิธีการถ่ายทอดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาลปฏิบัติกันอย่างไร
    1. จารึกลงใบลาน
    2. จารึกลงในใบตาล
    3. ท่องจำด้วยปากเปล่า
    4. จารึกลงในศิลาจารึก
  30. ชาวพุทธควรยึดมั่นสิ่งใดเป็นที่พึ่งทางใจ
    1. พระพุทธรูป
    2. เครื่องราง
    3. โบสถ์ วิหาร
    4. พระรัตนตรัย
  31. ข้อใดคือท่านั่งสมาธิทีีถูกต้อง
    1. นั่งขัดสมาธิ เอามือขวาทับมือซ้าย เท้าขวาทับเท้าซ้าย
    2. นั่งพับเพียบ เอามือขวาทับมือซ้าย เท้าขวาทับเท้าซ้าย
    3. นั่งขัดสมาธิ เอามือซ้ายทับมือขวา เท้าซ้ายทับเท้าขวา
    4. นั่งพับเพียบ เอามือขวาทับมือซ้าย เท้าซ้ายทับเท้าขวา
  32. ในการเรียนหนังสือของนักเรียนสามารถทำสมาธิได้ในขั้นใด
    1. ขณิกสมาธิ
    2. อัปปนาสมาธิ
    3. อุปจารสมาธิ
    4. มิจฉาสมาธิ
  33. นักเรียนได้ประโยชน์อะไรจากการทำสมาธิ
    1. เรียนหนังสือได้ยากยิ่งขึ้น
    2. มีอำนาจวิเศษสามารถหยั่งรู้จิตใจคน
    3. มีจิตใจที่มั่นคงมากขึ้น
    4. ได้เพื่อนที่ทำกิจกรรมเหมือนกับตน
  34. หากพระพุทธศาสนาเปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ รากแก้ว คือ ธรรมะ นักเรียนคิดว่าส่วนเปลือกของไม้เปรียบได้กับอะไร
    1.  ศาสนสถาน
    2. นิพพาน
    3. ศาสนพิธี
    4. วิมุตติ
  35. พระสงฆ์ที่มาประชุมในวันจาตุรงคสันนิบาตแตกต่างจากพระสงฆ์อื่นอย่างไร
    1. มีจำนวน 1,250 รูป บรรลุโสดาบัน
    2.  มีจำนวน 1,250 รูป เป็นพระอรหันต์แล้วทั้งสิ้น
    3.  มีจำนวน 2,500 รูป สามารถบรรลุนิพพานได้
    4. มีจำนวน 2,500 รูป เป็นพระสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าบวชให้ทั้งสิ้น
  36. สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คืออะไร
    1. หลักธรรม
    2. ทางดับทุกข์
    3. ไตรสิกขา
    4. อริยสัจ
  37. นางวิสาขาได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในด้านใด
    1. ความกตัญญู
    2. การถวายทาน
    3. ความมีปัญญา
    4. การปกป้องพระพุทธศาสนา
  38. การศึกษาและฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขา หมายถึงข้อใด
    1. ศีล สมาธิ ปัญญา
    2. ศีล สมาธิ วิปัสสนา
    3. ศีล ปัญญา กรรมฐาน
    4. ศีล สติ ปัญญา
  39. วันอัฐมีบูชามีความสำคัญอย่างไร
    1. เป็นวันพระพุทธเจ้า
    2. เป็นวันที่มีจาตุรงคสันนิบาต
    3. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าปลงสังขาร
    4. เป็นวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
  40. วันใดที่มีพระรัตนตรัยครบองค์ 3
    1. วันเข้าพรรษา
    2. วันวิสาขบูชา
    3. วันมาฆบูชา
    4. วันอาสาฬหบูชา
  41. “ศาสนา” มีความหมายที่ตรงกับข้อใดมากที่สุด
    1. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์
    2. คำสอนที่ให้มนุษย์ยึดมั่นอยู่ในคุณงามความดี
    3. เหตุแห่งการเกิดพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์
    4. การยึดมั่นอยู่ในกฎแห่งธรรมชาติ
  42. ศาสนาในข้อใดเป็นศาสนาอเทวนิยม
    1. ศาสนาคริสต์
    2. ศาสนาพราหมณ์
    3. ศาสนาพุทธ
    4. ศาสนาอิสลาม
  43. พระพุทธศาสนา สอนให้คนไทยมีหลักความเชื่อในข้อใด
    1. ความมีเมตตากรุณา
    2. การไม่อาฆาตจองเวร
    3. กรรมและผลของกรรม
    4. ความละอายต่อบาปทั้งปวง
  44. พระสารีบุตรทำหน้าที่อะไรในการบวชพระราหุล
    1. เป็นพระอุปัชฌาย์
    2. เป็นพระคู่สวด
    3. เป็นพระพี่เลี้ยง
    4. เป็นหนึ่งในคณะสงฆ์
  45. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับพระโมคคัลลานะ
    1. เป็นพระอุปัชฌาย์บวชพระราหุล
    2. เกิดความง่วงในขณะปฏิบัติธรรม
    3. เป็นผู้มีความกตัญญเป็นเลิศ
    4. เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ
  46. พระไตรปิฎกที่จารึกไว้บนแผ่นหินอ่อนบริเวณเชิงเขาเมืองมัณฑเลย์สร้างขึ้นโดยกษัตริย์พระองค์ใดของพม่า
    1. พระเจ้ามินดง
    2. พระเจ้าปะดุง
    3. พระเจ้าบุเรงนอง
    4. พระเจ้าอโนรามังช่อ
  47. พระพุทธศาสนาเข้าสู่กัมพูชาเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด
    1. พระเจ้าชัยวรมัน
    2. พระเจ้านโรดมสีหนุ
    3. พระเจ้าสุริยชัยวรมันที่1
    4. พระเจ้าชัยสุริยวรมัน
  48. พระพุทธรูปปางห้ามญาติมีลักษณะตามข้อใด
    1. พระพุทธรูปยืน ยกพระหัตถ์ซ้ายและขวาขึ้น
    2. พระพุทธรูปยืน ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นข้างเดียว
    3. พระพุทธรูปนั่งยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นข้างเดียว
    4. พระพุทธรูปนั่งยกพระหัตถ์ขวาขึนข้างเดียว
  49. พระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างขึ้นในพุทธประวัติตอนใด
    1. แสดงธรรมครั้งแรก ณ ป่ าอิสิปตนมฤคทายวัน
    2. ประทับนั่ง ณ ริมแม่่น้ำเนรัญชรา ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    3. เสด็จโปรดพระมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    4. เสด็จโปรดพระบิดา ณ กรุงกบิลพัสดุ์
  50. นักเรียนคิดว่า ตัวละครที่ชื่อแดจังกึม มีคุณธรรมข้อใดที่ตรงกับหลักทิฏฐธัมมิกัตถะมากที่สุด
    1. อุฏฐานสัมปทา
    2. กัลยาณมิตตตา
    3. อารักขสัมปทา
    4. สมชีวิตา
  51. ศาสนาอิสลามมีการบริจาคสิ่งของให้กับผู้อื่นที่เรียกว่า ซะกาต ซึงตรงกับหลักธรรมเรื่องสัมปรายิกัตถะข้อใด
    1. สัทธาสัมปทา
    2. จาคสัมปทา
    3. สีลสัมปทา
    4. ปัญญาสัมปทา
  52. ปรัตถะ อ่านว่าอย่างไร
    1. ปะ – รัด – ถะ
    2. ปะ – รัด – ตะ – ถะ
    3. ปะ – ระ – รัต – ถะ
    4. ปะ – รัด – ตะ – ถัง
  53. หากนักเรียนหญิงจำเป็นต้องนั่งเก้าอี้เดียวกับพระสงฆ์ ควรนั่งอย่างไร
    1. นั่งหันข้างให้พระ
    2. ให้ผู้ชายนั่งคั่น กลาง
    3. นั่ง หันหลังให้พระ
    4. นั่งติดพระได้เลยเพราะจำเป็น
  54. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
    1. กราบโดยใหเ้ ข่าทั้ง 2 ข้าง มือ 2 ข้าง และหน้าผากจรดพื้น 3 ครั้ง
    2. กราบโดยให้ขา 2 ข้าง มือ 2 ข้าง และหน้าผากจรดพื้น 3 ครั้ง
    3.  กราบโดยใช้เข่า 2 ข้าง แขน 2 ข้าง และมืดจรดพื้น 3 ครั้ง
    4. กราบโดยให้ขาทั้ง 2 ข้าง มือ 2 ข้าง และแขนจรดพื้น 2 ครั้ง
  55. การถวายทานแก่ผู้ใดที่พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีผลมากที่สุด
    1. พระพุทธเจ้า
    2.  เจ้าอาวาส
    3. พระอริยสงฆ์
    4. พระสงฆ์โดยไม่เจาะจง
  56. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับการบริหารจิตไม่ถูกต้อง
    1. เป็นการบำรุงรักษาจิตให้มีความเข้มแข็ง
    2. เป็นการทำให้จิตมีพลังและมีประสิทธิภาพ
    3. เป็นการทำให้จิตสงบจดจ่อต่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว
    4. เป็นการทำให้จิตใจอ่อนไหวไม่หยาบกระด้าง สามารถแปรเปลี่ยนได้รวดเร็ว
  57. วิธีการฝึกจิตแบบอานาปานสติเป็นการฝึกแบบใด
    1. กำหนดลมหายใจเข้าออก
    2. ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า
    3. พิจารณาธาตุ 4
    4. เพ่งเปลวเทียน
  58. ในปีที่มีอธิกมาส วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันใด
    1. วันเพ็ญกลางเดือน 3
    2. วันเพ็ญกลางเดือน 7
    3. วันเพ็ญกลางเดือน 6
    4. วันเพ็ญกลางเดือน 8
  59. ศาสนามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะเหตุใด
    1. ศาสนาทำให้เกิดความสงบ
    2. ศาสนาเป็นข้อบังคับของสังคม
    3. ศาสนาทำให้มนุษย์มีความเมตตา
    4. ศาสนาจะเป็นเครื่องช่วยเตือนสติในมนุษย์
  60. นักเรียนเข้าใจว่าทุกศาสนานั้นมีแนวคิดอย่างไร
    1. ทุกศาสนาให้นับถือศาสดาคนเดียวกัน
    2. ทุกศาสนาจะมีจุดหมายปลายทางที่แตกต่างกัน
    3. ทุกศาสนามุ่งให้ผู้คนประพฤติในสิ่งที่ดีงาม
    4. ทุกศาสนาสอนให้ทุกคนอยู่ในวรรณะที่เท่ากัน
  61. ในศาสนาพุทธเชื่อว่า จุดหมายสูงสุดของชีวิตคืออะไร
    1. ไปอยู่กับพระเจ้า
    2. การหลุดพ้นจากกิเลส
    3. การเสียสละชีวิตเพื่อศาสนา
    4. การประกอบพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด
  62. การที่เราศึกษาพุทธศาสนสุภาษิต เพราะจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
    1. เรียนรู้ภาษาบาลี
    2. เพื่อคอยเตือนสติตนเอง
    3. นำไปสอนผู้อื่น
    4. นำไปพูดคุยกับพระสงฆ์ได้
  63. พระพุทธศาสนาเข้ามายังประเทศพม่าที่เมืองใด
    1. ย่างกุ้ง
    2. เมาะตะมะ
    3. สะเทิม
    4. มินมะนา
  64. พระพุทธศาสนาเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิในสมัยของกษัตริย์อินเดียพระองค์ใด
    1. พระเจ้าอชาติศัตรู
    2. พระเจ้าพิมพิสาร
    3. พระเจ้าปเสนทิโกศล
    4. พระเจ้าอโศกมหาราช
  65. “นาลันทา” มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร
    1. มหาสถูปที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย
    2. โรงพยาบาลสงฆ์แห่งแรกของโลก
    3. มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก
    4. สถานที่แสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร
  66. หลักธรรมใดถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
    1. ไตรลักษณ์
    2. บุญกิริยาวัตถุ 10
    3. สัปปุริสธรรม 7
    4.  โอวาทปาฏิโมกข์
  67. ข้อใดจัดเป็นสัมมาวาจา
    1. ธาวิน กอดคอคุยกับครูสอนพิเศษ
    2. ปาริตา พูดกับครูด้วยอาการอ่อนน้อม
    3. เวียงแก้ว พูดเยาะเย้ยเพื่อนเมื่อตอบคำถามครูผิด
    4. ขวัญชัย บอกเพื่อนเรื่องตนเป็นเทวดากลับชาติมาเกิด
  68. แนวทางที่ดีเกียวกับการได้ประโยชน์ – เสียประโยชน์ ที่ควรทำอย่างยิ่งคือข้อใด
    1. ตนเองได้ประโยชน์ คนอื่นได้ประโยชน์
    2. ตนเองได้ประโยชน์ คนอื่นเสียประโยชน์
    3. ตนเองเสียประโยชน์ คนอื่นได้ประโยชน์
    4. ตนเองเสียประโยชน์ คนอื่นเสียประโยชน์
  69. ธมฺจารี อ่านว่าอย่างไร
    1. ธะ – มะ – จา – รี
    2. ธัม – มะ – จา – รี
    3. ธะ – มะ – จา – รัง
    4. ธัม – มะ – จา – รัง
  70. สุสฺสูสํง อ่านว่าอย่างไร
    1. สุ – สะ – สู – สง
    2. สุ – สะ – สูง – สัง
    3. สุด – สะ – สู – สัง
    4. สุด – สะ – สู – สัง
  71. การเวียนว่ายตายเกิดเกี่ยวข้องกับศัพท์ทางพุทธศาสนาคำใด
    1. ศรัทธา
    2. อกุศล
    3. สังขาร
    4. วัฏสงสาร
  72. ปมาโท มจฺจุโน ปทํ  หมายความว่าอย่างไร
    1. ชนะตนนั้่นแลดีกว่า
    2. ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา
    3. ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
    4. ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
  73. ผู้ที่จะเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้นั้นต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
    1. เป็นชาวพุทธโดยกำเนิด
    2. จำหลักธรรมของศาสนาได้แม่นยำ
    3. บวชเรียนก่อนอย่างน้อย 1 พรรษา
    4. เข้าใจและปฏิบัติตามหลักธรรมอย่างถูกต้อง
  74. ปัจจุบันชาวบ้านมักจะชอบขูดขอเลขจากต้นไม้ประหลาด หรือสิ่งแปลกรวมทั้งมีการทำเสน่ห์ เวทมนตร์ นักเรียนควรทำอย่างไรเพื่อขจัดความเชื่อดังกล่าวให้ได้มากที่สุด
    1. ต้องลงโทษผู้งมงาย
    2. ทำลายลัทธิหรือสิ่งที่ชาวบ้านนับถือ
    3. ปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้ถูกต้อง
    4. สร้างภาพพจน์ให้พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้มีวิชาแกร่งกล้า
  75. ข้อใดคือการฝึกจิตด้วยวิธีอานาปานสติ
    1. สมถกรรมฐาน
    2. เทวดานุสติ
    3. กายคตาสิต
    4. วิปัสสนากรรมฐาน
  76. ภาวนาปัญญา หมายถึงข้อใด
    1. ปัญญาเกิดจากความคิด
    2. ปัญญาเกิดจากการลงมือกระทำ
    3. ปัญญาเกิดจากความมีสติ
    4. ปัญญาเกิดจากการประเมินผล
  77. การพัฒนาปัญญาทำให้เกิดประโยชน์หลายประเภท ยกเว้นข้อใด
    1. ทำให้แก้ปัญหาชีวิตได้
    2. ทำให้เราสามารถวินิจฉัยสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง
    3. ทำให้เป็นคนมีเหตุผล ใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
    4. ทำให้สามารถสร้างฐานะความร่ำรวยให้แก่บุคคลทีีสามารถปฏิบัติได้
  78. คำว่า “สาธุ” มีความหมายว่าอย่างไร
    1. ผู้ให้
    2. ผู้รับ
    3. ดีแล้ว
    4. ตกลง
  79.  ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
    1. ทุกศาสนาต่างมุ่งให้คนประพฤติสิ่งดีงาม
    2. ทุกศาสนามีจุดหมายปลายทางแตกต่างกัน
    3. ผู้นับถือศาสนาต่างกันไม่ควรทำงานร่วมกัน
    4. ทุกศาสนามีศาสดาองค์เดียวกัน
  80. วิธีที่จะเข้าถึงศาสนาต้องทำอย่างไร
    1. ปฏิบัติธรรม
    2. ฝึกวิปัสสนา
    3. ออกบวช
    4. ปฏิบัติทั้ง 3ประการ
  81. ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ประพฤติตามคำสั่งสอนของศาสนา สังคมนั้นจะเกิดอะไร
    1. การไม่มีศาสนา
    2. ศาสนาเสื่อมโทรม
    3. ไม่เกิดอะไรดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
    4. ความทุกข์ยาก เดือดร้อน สับสนวุ่นวาย
  82. บุคคลเช่นใดที่ถือว่าเป็นผู้มีศาสนา
    1. ผู้ที่มีการศึกษาดี
    2. ผู้ที่เกิดในตระกูลสูง
    3. ผู้ที่พูดเรื่องธรรมะได้เก่ง
    4. ผู้ที่สามารถควบคุมจิตใจตนเองได้
  83. เพราะเหตุใดผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมที่ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางคำสั่งสอนของศาสนา สังคมนั้นจึงมีความสุข
    1. ศาสนาเป็นสิ่งที่ดี
    2. ศาสนามีกฎและข้อห้ามให้ไว้ปฏิบัติ
    3. ศาสนายึดเหนี่ยวคนให้ทำแต่ความดีละเว้นความชั่ว
    4. ศาสนาเป็นแนวทางให้คนประพฤติตามสภาพของสังคม
  84. “สังคมใดมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สังคมนั้นก็จะประสบแต่ความสุขความเจริญ” จากข้อความดังกล่าวแสดงว่า
    1. ศาสนาทำให้สังคมเป็นสุข
    2. ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
    3. ผู้ที่นับถือศาสนาจะมีความสุข
    4. ศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
  85. วรรณคดีเรื่องใดที่ไม่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา
    1. พระอภัยมณี
    2. สามัคคีเภทคำฉันท์
    3. ไตรภูมิพระร่วง
    4.  มหาชาติคำหลวง
  86. บุคคลในข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด
    1. ใบตาล กล่าวว่าวัฒนธรรมไทยมีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่
    2. ใบตอง กล่าวว่าพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้นำภาษาบาลีเข้ามาในประเทศไทย
    3. ใบตาด กล่าวว่าวัฒนธรรมด้านภาษาและศิลปะเท่านั้นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา
    4. ใบเตย กล่าวว่าวรรณกรรมไทยทุกเรื่องมีอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา
  87. ข้อใดไม่สัมพันธ์กับคุณประโยชน์ของความอดทนตามหลักพระพุทธศาสนา
    1. ความอดทนทำให้รํำ่รวย
    2. ความอดทนนำมาซึ่งประโยชน์สุข
    3. ความอดทนห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน
    4. ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
  88. แบบแผนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านานเรียกว่าอะไร
    1. ประเพณี
    2. ศิลปะ
    3. วัฒนธรรม
    4. อารยธรรม
  89. การไปหาพระสงฆ์ที่วัด เราจำเป็นจะต้องสำรวมมรรยาทให้มากทั้งนี้เป็นเพราะอะไร
    1. เป็นการแสดงความเคารพ
    2. ป้องกันผู้อื่นตำหนิ
    3. ช่วยกันรักษาธรรมเนียมไทย
    4. จะได้เป็นสิริมงคล
  90. เมื่อเราไปหาพระสงฆ์ที่วัด ขั้นตอนแรกสุดที่เราต้องทำคืออะไร
    1. ทำความเคารพ
    2. ซักถามทุกข์สุข
    3. แจ้งกิจธุระ
    4. ถวายสิ่งของ
  91. “น้อมกายเมื่อพบเคารพคุณครูผู้ใหญ่ มรรยาทอ่อนหวานแบบไทยซึ่งใจน่ารักหนักหนา” ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อคนไทยในด้านใด
    1. จิตใจ
    2. ประเพณี
    3. ศิลปะ
    4. ภาษา
  92. ข้อใดไม่ใช่อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อศิลปะของไทย
    1. ปราสาทหินพนมรุ้ง
    2. เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
    3. พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
    4. ภาพพุทธประวัติ
  93. ข้อใดไม่จัดเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
    1. ถวายสังฆทาน
    2. ตักบาตรเทโว
    3. ถวายเทียนพรรษา
    4. เวียนเทียน
  94. ข้อใดเป็นมรรยาทที่ชาวพุทธพึงสำรวมให้มากที่สุดขณะไปวัด
    1. รักษาความสะอาด
    2. ไม่พูดตลกคึกคะนอง
    3. มีสิ่งของไปถวายพระ
    4. แต่งกายให้สวยงาม
  95. เหตุผลที่สำคัญของชาวพุทธที่พึงรักษามรรยาทขณะไปวัดเพราะอะไร
    1. ทำให้เกิดความเลื่อมใส
    2. จะได้เป็นแบบอย่างที่ดี
    3. แสดงออกถึงความเคารพ
    4. เหตุผลถูกต้องทั้ง 3 ข้อ
  96. การกระทำในข้อใดเน้นสิ่งที่ไม่ควรประพฤติปฏิบัติขณะไปวัด
    1. สวมกางเกงขาสั้น ใส่รองเท้าแตะ
    2. ปรึกษาปัญหาเรื่องงานในเขตวัด
    3. นำเด็กเล็กไปร่วมทำบุญที่วัดด้วย
    4. ถอดรองเท้าเดินในเขตพระอุโบสถ
  97. วัดถือเป็นพุทธสถานอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นชาวพุทธจึงควรประพฤติสิ่งใดขณะไปวัด
    1. สำรวมกาย วาจา ใจ
    2. บริจาคทรัพย์บำรุงวัด
    3. ไม่ทำให้วัดเสื่อมเสีย
    4. สนทนาเรื่องของวัด

15/03/2014 · 8:43 am

:: หน่วยที่ 6 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ::

1. เหตุใดจึงกำหนดให้มีการเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ?

  1. เพื่อแสดงออกถึงความเคารพ
  2. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี
  3. เพื่อทำตามความนิยมที่ปฏิบัติต่อ ๆ กันมา
  4. เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย

2. การนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธี ข้อใดไม่ควรทำ ?

  1. นิมนต์พระสงฆ์ด้วยตนเอง
  2. นิมนต์ทางโทรศัพท์
  3. นิมนต์ด้วยวาจา
  4. ให้ผู้อื่นนิมนต์ให้

3. พิธีการใดเกิดขึ้นก่อน ?

  1. อาราธนาศีล
  2. จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
  3. อาราธนาพระปริตร
  4. ถวายเครื่องไทยทาน

4. ควรกรวดน้ำตอนใด ?

  1. เมื่อถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์
  2. เมื่อพระสงฆ์กล่าวคำขึ้นต้นด้วยคำว่า สัพพี…
  3. เมื่อพระสงฆ์กล่าวคำขึ้นต้นด้วยคำว่า ยถา…
  4. เมื่อพระสงฆ์เสร็จพิธีกล่าวคำให้พร

5. ขั้นตอนสุดท้ายของการประกอบพิธีในงานอวมงคล คืออะไร ?

  1. ประพรมน้ำมนต์
  2. กราบศพ
  3. ถวายไทยธรรม
  4. กรวดน้ำ

6. ข้อใดเป็นการสรุปเกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย ได้เหมาะสมที่สุด ?

  1. เป็นรากฐานประเพณีพิธีกรรมของไทย
  2. ทำให้มีเวลาปฏิบัติศาสนกิจ
  3. ช่วยสร้างความสงบสุขให้สังคม
  4. ช่วยลด เลิก ละ อบายมุข

7. ระหว่างที่พระสงฆ์กำลังฉันภัตตาหาร เจ้าภาพควรปฏิบัติเช่นไร จึงจะถือว่าเหมาะสม ?

  1. ชวนท่านสนทนาธรรม
  2. ซักถามถึงรสชาติของอาหาร
  3. ดูแลปรนนิบัติท่าน
  4. ป้องกันผู้อื่นรบกวน

8. ประเทศไทย จัดพิธีมาฆบูชาเป็นครั้งในสมัยรัชกาลใด ?

  1. รัชกาลที่ 1
  2. รัชกาลที่ 2
  3. รัชกาลที่ 3
  4. รัชกาลที่ 4

9. เหตุใดวันวิสาขบูชา จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นวันสำคัญสากลของโลก ?

  1. เพราะชาวพุทธมีทั่วโลก
  2. เพราะชาวโลกให้การยอมรับ
  3. เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมสั่งสอนมนุษย์
  4. เพราะเป็นศาสนาสากล

10. ประเทศไทยมีการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา ตั้งแต่สมัยใด ?

  1. สมัยกรุงสุโขทัย
  2. สมัยกรุงศรีอยุธยา
  3. สมัยกรุงธนบุรี
  4. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

11. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาควรตั้งด้านใดของพระสงฆ์องค์ประธาน ?

  1. ด้านขวา
  2. ด้านซ้าย
  3. ด้านขาวหรือซ้ายก็ได้
  4. ด้านใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่

12. ในการถวายข้าวพระพุทธ ควรปฏิบัติเช่นไร ?

  1. กราบ 3 ครั้งแล้วยกประเคน
  2. กราบ 3 ครั้ง กล่าวคำบูชา แล้วยกประเคน
  3. กล่าวคำบูชา แล้วยกประเคน
  4. ประนบมือ กล่าวคำบูชา แล้วยกประเคน

13. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางราชการ เมื่อปี พ.ศ.ใด ?

  1. พ.ศ. 2500
  2. พ.ศ. 2501
  3. พ.ศ. 2502
  4. พ.ศ. 2503

14. ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เราคิดปฏิบัติตนเช่นไร มากที่สุด ?

  1. หัดนั่งวิปัสสนา
  2. ประกอบศาสนกิจ
  3. ไปทำกิจกรรมที่วัด
  4. ละเว้นการทำชั่ว

15. ถ้าท่านจะทำการนิมนต์พระไปในงานอวมงคล ท่านควรนิมนต์พระกี่รูป จึงจะสอดคล้องกับธรรมเนียมนิยม ?

  1. จำนวนคี่ เช่น 7 หรือ 9 รูป
  2. จำนวนคู่ เช่น 8 หรือ 10 รูป
  3. จำนวนคี่ หรือจำนวนคู่ก็ได้
  4. ไม่จำกัดจำนวน

15/03/2014 · 8:39 am

:: หน่วยที่ 5 การบริหารจิตและการเจริญปัญญา ::

1. บุคคลผู้ที่จะมีสุตมยปัญญาได้นั้นต้องประพฤติตนตามข้อใด ?

  1. พยายามฟังให้มาก
  2. พยายามพูดให้มาก
  3. พยายามคิดให้มาก
  4. พยายามปฏิบัติให้มาก

2. ข้อใด เป็นวิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย ?

  1. แบบแยกแยะปัญหา
  2. แบบสอบสวนสืบสวน
  3. แบบแยกส่วนประกอบ
  4. แบบแก้ปัญหา

3. ผลจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ขณะที่อยู่ในสมาธิหรือออกจากสมาธิแล้ว จะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ส่งผลให้ผู้ฝึกสมาธิมีความรู้สึกอย่างไร ?

  1. ตื่นเต้น
  2. สดชื่น ตื่นตัวสุขสบาย
  3. เครียด
  4. วิตกกังวล

4. วิธีการในลักษณะใดทำให้เกิดจินตมยปัญญามากที่สุด ?

  1. คิดขณะที่จิตมีสมาธิ
  2. มุ่งมั่นคิดจนสำเร็จ
  3. ให้จิตคิดอย่างอิสระ
  4. ย้ำคิดจนเป็นนิสัย

5. ผู้นั่งสมาธิจะต้องตัดปลิโพธ คำว่า “ปลิโพธ” หมายถึงอะไร ?

  1. เหตุกังวล
  2. กิเลส
  3. ตัดสรรพสิ่ง
  4. ชำระศีลให้บริสุทธิ์

6. ในวัยของนักเรียนแนวทางการพัฒนาปัญญาที่เหมาะสมที่สุด ควรจะทำตามข้อใด ?

  1. ศึกษาด้วยตนเอง
  2. หาประสบการณ์จริง
  3. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
  4. ฝากตัวเป็นศิษย์วัด

7. วิธีคิดแบบอริยสัจ เป็นวิธีคิดแบบใด ?

  1. แบบแยกแยะปัญหา
  2. แบบสอบสวนสืบสวน
  3. แบบแยกส่วนประกอบ
  4. แบบแก้ปัญหา

8. ข้อใด ไม่ใช่ คุณประโยชน์โดยตรงที่ได้จากการฝึกสมาธิ ?

  1. มีบุคลิกภาพดี
  2. มีอารมณ์แจ่มใส
  3. มีสติปัญญาดี
  4. มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์

9. จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติสมาธิคืออะไร ?

  1. ลดละกิเลสตัณหา
  2. หวังบรรลุนิพพาน
  3. ควบคุมจิตให้สงบ
  4. เสริมสมรรถภาพทางกาย

10. ในขณะนั่งสมาธิควรจะเน้นหลักธรรมใดเป็นตัวนำ ?

  1. สติ
  2. ปัญญา
  3. ศีล
  4. ขันติ

11. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการคิดที่สมเหตุสมผลในการพัฒนาปัญญา ?

  1. อ๋อมคิดว่าคนทำชั่วได้ดีมีถมไป
  2. อ๋อยคิดว่ามีปัญญาดีกว่ามีทรัพย์
  3. อิ๋วคิดว่าชีวิตขึ้นอยู่กับพรหมลิขิต
  4. อุ๋ยคิดว่าทำบุญมากจะร่ำรวยมาก

12. ข้อใดเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดของการฝึกปฏิบัติสมาธิ ?

  1. รักษาท่านั่งให้ถูกต้อง
  2. ปฏิบัติให้ได้ทุกวัน
  3. ไม่ลืมนับลมหายใจ
  4. พยายามคุมจิตให้ได้

15/03/2014 · 8:36 am

:: หน่วยที่ 4 หน้าที่ชาวพุทธ ::

1. เหตุผลที่พระภิกษุพึงประพฤติตนให้เป็นที่เลื่อมใสแก่ผู้อื่นเพื่ออะไร ?

  1. ชาวบ้านจะได้ไม่ตำหนิติเตียน
  2. เป็นผู้มีศีล
  3. สังคมจะได้เคารพยกย่อง
  4. เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม

2. องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก มีเป้าหมายสูงสุดในเรื่องใด ?

  1. มุ่งสันติภาพของโลก
  2. รวมนิกายพระพุทธศาสนา
  3. เผยแผ่หลักธรรม
  4. ส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา

3. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของศาสนา ?

  1. ศาสดา
  2. คัมภีร์
  3. สาวก
  4. สังฆภัณฑ์

4. วัตถุประสงค์หลักของการรวมตัวขององค์กรชาวพุทธคืออะไร ?

  1. เพื่อร่วมกันประกอบพิธีกรรม
  2. เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  3. เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถูกต้อง
  4. เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

5. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย มุ่งเน้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่บุคคลกลุ่มใด ?

  1. บุคคลทั่วไป
  2. คนชรา
  3. เยาวชน
  4. พระภิกษุสามเณร

6. เมื่อพระสงฆ์มาถึงบริเวณพิธี เจ้าภาพพึงปฏิบัติเช่นใดเป็นลำดับแรก ?

  1. ถวายเครื่องรับรอง
  2. ประเคนภัตตาหาร
  3. นำชมบริเวณพิธี
  4. ชวนท่านสนทนาธรรม

7. แบบอย่างที่ดีของ ม.จ.พูนพิสมัย ดิสกุล ที่มีต่อพระพุทธศาสนาที่เด่นที่สุด คือเรื่องใด ?

  1. เผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ
  2. เป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย
  3. เป็นประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์โลก
  4. แต่งตำราพระพุทธศาสนา

8. การประกอบศาสนพิธีจะเริ่มต้นขึ้นนับจากเหตุการณ์ในข้อใด ?

  1. พระสงฆ์มาถึงบริเวณพิธี
  2. เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
  3. พิธีกรประกาศเชิญชวนแขก
  4. ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์

9. ใครมีหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาวัด

  1. ทุก ๆ คนร่วมกัน
  2. พระภิกษุ
  3. ไวยาวัจกร
  4. ศรัทธาวัดนั้น ๆ

10. คุณประโยชน์ใดที่เราจะได้รับจากการประกอบศาสนาพิธี ?

  1. เกิดความสบายใจ
  2. คลายความทุกข์
  3. รู้ซึ้งรสพระธรรม
  4. ช่วยลดกิเลสตัณหา

11. ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ สนใจศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเมื่อใด ?

  1. เมื่อเรียนอยู่ในระดับมัธยม
  2. เมื่อศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา
  3. เมื่อบวชอุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่
  4. เมื่อเป็นนายกรัฐมนตรี

12. พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะว่า พระภิกษุจะต้องปฏิบัติตนเพื่อประโยชน์สุขแก่ใครเป็นสำคัญ ?

  1. พระพุทธเจ้า
  2. พระภิกษุโดยรวม
  3. ตัวพระภิกษุเอง
  4. มหาชน

13. ตามหลักการของพระพุทธศาสนา ความเป็นวัดนั้นจะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

  1. มีศาสนวัตถุครบองค์ประกอบ
  2. มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่
  3. มีพื้นที่ทำกิจกรรม
  4. มีความสะอาด สงบ และสว่าง

14. หากนิมนต์พระทั่วไปมาทำพิธี ควรใช้คำแทนตัวท่านว่าอย่างไร ?

  1. ท่านเจ้าคุณ
  2. หลวงพี่
  3. หลวงลุง
  4. พระคุณเจ้า

15. จุดมุ่งหมายของการประกอบศาสนพิธีคืออะไร ?

  1. สร้างความเป็นสิริมงคล
  2. สะสมบุญไว้ชาติหน้า
  3. เชิดชูพระพุทธศาสนา
  4. แสดงตนเป็นชาวพุทธ

16. ในการประกอบศาสนาพิธี อาหารสำรับแรกสุดจะต้องจัดถวายหรือมอบให้ใคร ?

  1. พระพุทธรูป
  2. ประธานสงฆ์
  3. คณะสงฆ์
  4. แขกผู้ใหญ่

17. การดำรงรักษาวัด ควรมุ่งเน้นในด้านใดเป็นหลัก ?

  1. ด้านวัตถุนิยม
  2. ด้านจิตนิยม
  3. ด้านพิธีกรรม
  4. ด้านกิจกรรมสงเคราะห์

18. แบบอย่างที่ดีของศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ คือเรื่องใด ?

  1. การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  2. การแต่งตำราทางพระพุทธศาสนา
  3. เป็นประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์โลก
  4. การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้

19. หน้าที่ของชาวพุทธตามพุทธปณิธาน 4 คืออะไร ?

  1. สังคายนาพระไตรปิฎก
  2. สงเคราะห์พระพุทธศาสนา
  3. เข้าใจหลักธรรมอย่างแจ่มแจ้ง ประพฤติดีปฏิบัติชอบ และเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  4. สืบทอดพระพุทธศาสนา

20. หน้าที่ความรับผิดชอบประการใดของพระภิกษุที่สำคัญที่สุด ?

  1. ธำรงรักษาพระพุทธศาสนา
  2. ก่อสร้างถาวรวัตถุ
  3. ประกอบพิธีกรรม
  4. ดูแลรักษาศาสนสถาน

15/03/2014 · 8:33 am

:: ชาดก ::

1. นันทิวิสาล ชอบคนพูดจาแบบไหนถึงจะทำงาน ?

  1. พูดจาหยาบกระด้าง
  2. พูดจาเสียงดังฟังชัด
  3. พูดจาค่อย ๆ
  4. พูดจาไพเราะอ่อนหวาน

2. นันทิวิสาล เป็นสัตว์ชนิดใด ?

  1. ช้าง
  2. ม้า
  3. วัว
  4. ควาย

3. พระอัญญาโกณฑัญญะ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อพระรัตนตรัยในเรื่องใด ?

  1. เป็นผู้ทำนายลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ
  2. เป็นภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
  3. เป็นผู้นำปัญจวัคคีทั้งห้า
  4. เป็นผู้อุปฐากดูแลพระสิทธัตถะในขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา

4. ในเรื่อง “สุวรรณหังชาดก” พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้ามภิกษุณีในเรื่องใด ?

  1. ห้ามเลี้ยงสัตว์
  2. ห้ามพูดจาหยาบกระด้าง
  3. ห้ามร้องรำ
  4. ห้ามฉันกระเทียม

5. พระนางประชาบดีโคตมี มีศักดิ์เป็นอะไรกับเจ้าชายสิทธัตถะ ?

  1. เป็นพระน้องนาง
  2. เป็นพระน้านาง
  3. เป็นพระพี่นาง
  4. เป็นพระชายา

6. พระพุทธเจ้าปฏิบัติเช่นไร ให้พระนางเขมาสนพระทัยในทางธรรม ?

  1. กล่าวตักเตือนเรื่องความงามต่อพระนาง
  2. นิ่งเฉยเมื่อพระนางเสด็จมายังเวฬุวันมหาวิหาร
  3. เนรมิตหญิงสาวสวย กลายเป็นหญิงมีอายุ และวัยชรา
  4. สั่งสอนธรรมต่อพระนางเขมา

7. พระนางประชาบดีโคตมี ประพฤติตนเป็นแบบอย่างในด้านใด ?

  1. เป็นผู้แสดงธรรมได้อย่างดีเยี่ยม
  2. เป็นผู้ที่ชอบทำบุญ
  3. ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
  4. เป็นผู้มีความตั้งใจแน่วแน่

8. คติธรรมจากเรื่อง “สุวรรณหังชาดก” สอนให้เราประพฤติตนเช่นไร ?

  1. ให้พูดจาไพเราะอ่อนหวาน
  2. ไม่เป็นผู้โลภมาก
  3. ไม่ควรทรมานสัตว์
  4. ไม่ควรพูดเท็จ

9. ครุธรรม 8 ประการ เป็นหลักธรรมของบุคคลใดที่ควรปฏิบัติ ?

  1. ภิกษุ
  2. ภิกษุณี
  3. สามเณร
  4. อุบาสก อุบาสิกา

10. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงเปลี่ยนการนับถือศาสนาอื่นมาเป็นศาสนาพุทธเพราะเหตุใด ?

  1. ทรงได้สดับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า
  2. เสื่อมศรัทธาศาสนาเดิม
  3. นับถือตามพระประยูรญาติ
  4. สนใจพระพุทธศาสนาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

11. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระนางเขมาเถรีมีความเป็นเลิศในด้านใด ?

  1. มีปัญญามาก
  2. มีความกตัญญู
  3. แสดงธรรมเป็นเลิศ
  4. มีจิตตั้งมั่น

12. พระอัญญาโกณฑัญญะปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในเรื่องใด จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้า ?

  1. เป็นผู้มีประสบการณ์มาก
  2. เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ
  3. เป็นผู้มีฤทธิ์เป็นเลิศ
  4. เป็นผู้แสดงธรรมเป็นเลิศ

15/03/2014 · 8:29 am

:: หน่วย 2 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ::

  1. การ“ปฏิบัติถูกทาง” ของพระสงฆ์ หมายความว่าอย่างไร ?
    1. ปฏิบัติตามทางสายกลาง
    2. ปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์
    3. ปฏิบัติสมควรแก่ความเคารพนับถือ
    4. ปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระศาสดา
  2. การกระทำข้อใดแสดงถึงการเป็นผู้รู้กาล ?
    1. ทำการบ้านด้วยตนเอง
    2. ตั้งใจฟังครูสอน
    3. แบ่งเวลาอ่านหนังสือทุกวัน
    4. ไม่เอาเปรียบเพื่อนฝูง
  3. คำว่า “อัญชลิกรณีโย” หมายความว่าอย่างไร ?
    1. เป็นผู้ควรคำนับ
    2. เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้
    3. เป็นผู้ควรแก่การถวายทาน
    4. เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ
  4. คำว่า “วัฏฏะ” หมายความว่าอย่างไร ?
    1. ธรรมดาสามัญ
    2. การเปลี่ยนแปลง
    3. ความไม่เที่ยง
    4. การหมุนเวียน
  5. ข้อใดที่เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ ที่สำคัญที่สุด ?
    1. ความยากจน
    2. ความร้อน หนาว
    3. ความเจ็บป่วย
    4. ความอยาก
  6. การดำเนินชีวิตตามแนวทางมรรค 8 ต้องใช้อะไรเป็นเครื่องกำกับจึงจะได้ผลดี ?
    1. มุทิตา
    2. อุเบกขา
    3. ปัญญา
    4. วิริยะ
  7. คำว่า “ศิลปทางใจ” หมายความว่าอย่างไร ?
    1. มีใจเป็นศิลปะ
    2. คิดอย่างมีศิลปะ
    3. ฉลาดในการคิดพิจารณา
    4. มีศิลปะประจำใจ
  8. ข้อใดถือหลักของอนัตตา ?
    1. ไม่เป็นไปตามอำนาจของใคร
    2. มีแก่นสาร
    3. มีตัวตน
    4. มีเจ้าของ
  9. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ที่เกิดจากความเข้าใจในเรื่องไตรลักษณ์ ?
    1. เข้าใจความเป็นจริงของชีวิต
    2. เข้าใจกฎของธรรมชาติ
    3. ควบคุมธรรมชาติได้
    4. ไม่ยึดมั่นในตัวตน
  10. มรรค 8 สามารถเปรียบเทียบได้กับอะไร ?
    1. แนวทางกำจัดทุกข์
    2. เครื่องมือลิดรอนความทุกข์
    3. วิธีการค้นหาความทุกข์
    4. หนทางหลีกหนีความทุกข์
  11. ในปัญญา 3 ข้อใดสำคัญที่สุด ?
    1. สุตมยปัญญา
    2. จิตตมยปัญญา
    3. ภาวนามยปัญญา
    4. สำคัญเท่ากันทั้ง 3 ข้อ
  12. การฟังธรรมตามกาล ก่อให้เกิดประโยชน์ในข้อใดที่สำคัญที่สุด ?
    1. ได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
    2. มีความรู้แจ่มแจ้งขึ้น
    3. แก้ข้อสงสัยได้
    4. ได้แนวทางประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
  13. พระอภิธรรมแบ่งออกเป็นกี่คัมภีร์ ?
    1. 3 คัมภีร์
    2. 5 คัมภีร์
    3. 7 คัมภีร์
    4. 9 คัมภีร์
  14. สุชาติใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด เพราะตระหนักว่าครอบครัวของตนมีฐานะยากจน สุชาติมีคุณธรรมข้อใด ?
    1. รู้ตน
    2. รู้จักเหตุ
    3. รู้จักผล
    4. รู้บุคคล
  15. ข้อใดคือการได้รับประโยชน์สูงสุดหรือรจุดหมายสูงสุดของมนุษย์ ?
    1. การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
    2. ความอิ่มเอมใจ
    3. ความมั่นใจ
    4. ความหลุดพ้น
  16. หลักอนิจจัง มุ่งสอนให้มนุษย์ปฏิบัติตนเช่นไร ?
    1. เข้าใจความทุกข์
    2. อยู่ในความไม่ประมาท
    3. อยู่นิ่งเฉยไม่ยินดียินร้าย
    4. เข้าใจในความแน่นอนของสรรพสิ่ง
  17. นักเรียนเป็นอุบาสกที่ดี ควรปฏิบัติตนเช่นไร ?
    1. ไม่เชื่อถือโชคลาง
    2. ปฏิบัติตามหลักธรรม
    3. ศึกษาพระรัตนตรัย
    4. ประกอบอาชีพสุจรติ
  18. ข้อใดคือประโยชน์ของการประพฤติธรรม ที่สำคัญที่สุด ?
    1. มีความสงบสุข
    2. เป็นผู้ไม่ประมาท
    3. ไม่ก่อเวร
    4. เป็นผู้นำศาสนาให้เจริญ
  19. พระพุทธศาสนาสอนให้เราหลุดพ้น โดยตัดวงจรใดในวัฏฏะ 3 ?
    1. กิเลส
    2. วิบาก
    3. กรรม
    4. ผลกรรม
  20. ลักษณะเช่นไรถือว่ามีสัมมาทิฏฐิ ?
    1. กล่าวตำหนิผู้ทำผิด
    2. เข้าใจตนเอง
    3. กระทำในสิ่งที่ตนชอบ
    4. เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรม
  21. การที่เรายึดมั่นในความเชื่อ ทฤษฎี หรืออุดมการณ์ของตนเองจนเกินไป โดยไม่ฟังแนวความคิดของบุคคลอื่นถือว่าเราเป็นคนเช่นไร ในหลักปปัญจธรรม ?
    1. ตัณหา
    2. กิเลส
    3. ทิฏฐิ
    4. มานะ
  22. สัปปุริสธรรมมีความหมายตามนัยตรงตามข้อใด ?
    1. ธรรมที่ทำให้เป็นคนดี
    2. ธรรมสำหรับมวลชน
    3. ธรรมที่เป็นแนวทางชีวิต
    4. ธรรมที่ทำให้พ้นทุกข์
  23. การพบสมณะได้ประโยชน์อย่างไร ?
    1. ได้แสดงความเคารพ
    2. ได้ร่วมทำบุญ
    3. ได้ฝึกสมาธิ
    4. ด้เห็นแบบอย่างที่ดีของพระสงฆ์
  24. ข้อใดคือการได้รับประโยชน์ในปัจจุบัน ?
    1. การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
    2. ความอิ่มเอมใจ
    3. ความมั่นใจ
    4. ความหลุดพ้น
  25. ข้อใดมีความหมายตรงกับคำว่า “บุญกิริยาวัตถุ” ?
    1. หนทางทำความดี
    2. การทำบุญด้วยสิ่งของ
    3. การทำบุญด้วยการรักษาศีล
    4. การทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
  26. ในพุทธปณิธาน พระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพานเมื่อใด ?
    1. เมื่อถึงเวลาอันควร
    2. เมื่อสิ้นอายุขัย
    3. เมื่อเบื่อหน่ายโลกมนุษย์
    4. เมื่อพุทธบริษัทเข้าใจหลักธรรมอย่างแจ่มแจ้งและประพฤติดีปฏิบัติชอบแล้ว
  27. การประพฤติธรรม เป็นการประพฤติตามหลักการใด ?
    1. มโนสุจริต
    2. วจีสุจริต
    3. กายสุจริต
    4. กุศลกรรมบถ 10
  28. การประพฤติตนเช่นไร ถือว่าเป็นคนไม่ประมาท ?
    1. ทำดี ต้องให้คนเห็น
    2. ทำชั่ว อย่าให้ใครเห็น
    3. มีความละอายใจที่จะทำชั่วและกลัวผลของความชั่ว
    4. ไม่ทำอะไรที่เป็นการเสี่ยง
  29. คุณประโยชน์ที่เห็นได้เด่นชัดของธรรมสัปปุริสธรรม คืออะไร ?
    1. ช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม
    2. ป้องกันการทำร้ายกัน
    3. ส่งเสริมการทำความดี
    4. ทำให้บุคคลเป็นคนดี
  30. ข้อใดเป็นหน้าที่ของอุบาสกที่ดี ?
    1. หาทรัพย์สมบัติให้มาก
    2. ประกอบศาสนพิธีทุกวัน
    3. ไม่ละเลยการฟังธรรม
    4. ปรนนิบัติรับใช้พระสงฆ์

15/03/2014 · 8:22 am

:: หน่วยที่ 1 ::

  1. แนวทางที่พระพุทธเจ้ามุ่งเน้นให้มนุษย์สามารถไปสู่ “นิพพาน” ได้โดยวิธีใด ?
    1. การแสวงหาความสุขสบาย
    2. การทรมานตน
    3. การนิ่งเฉย
    4. การปฏิบัติตามทางสายกลาง
  2. ศาสนาดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่นคือศาสนาใด ?
    1. ศาสนาชินโต
    2. ศาสนาเซน
    3. ลัทธิบูชิโต
    4. ลัทธิเต๋า
  3. พระพุทธรูปที่เป็นพระประธานในอุโบสถส่วนใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางใด ?
    1. ปางสมาธิ
    2. ปางมารวิชัย
    3. ปางปฐมเทศนา
    4. ปางลีลา
  4. การ “ประกาศอิสรภาพของมนุษย์” ของพระพุทธศาสนาในสังคมอินเดียสมัยพุทธกาล คือการกระทำในข้อใด ?
    1. การประกาศพระศาสนา
    2. การต่อต้านศาสนาอื่น ๆ
    3. การยกเลิกพิธีกรรมต่าง ๆ
    4. การยกเลิกการบูชายัญ การไม่ถือชั้นวรรณะ
  5. สาเหตุหนึ่งที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่ในประเทศเยอรมนีคือ ?
    1. การล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์
    2. พรรคสังคมนิยมแห่งชาติสนับสนุนพระพุทธศาสนา
    3. การส่งพระสงฆ์ไทยไปเผยแผ่
    4. มีนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก
  6. “วันปฐมเทศนา” ตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใด ?
    1. วันวิสาขบูชา
    2. วันอาสฬหบูชา
    3. วันมาฆบูชา
    4. วันอัฏฐมีบูชา
  7. “หลักการ 3” ในโอวาทปาฏิโมกข์ประกอบด้วยหลักธรรมอะไรบ้าง ?
    1. ทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใส
    2. ศีล สมาธิ และปัญญา
    3. กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
    4. อโลภะ อโทสะ และอโมหะ
  8. พระพุทธรูป “ปางไสยาสน์” อยู่ในพระอิริยาบถใด ?
    1. นั่งขัดสมาธิ
    2. ยืน
    3. นอนตะแคง
    4. นั่งบนศิลา
  9. ชนเผ่าใดมักจะทำลายพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกาจนเสื่อมโทรม ?
    1. ชนเผ่าทมิฬ
    2. ชนเผ่าสิงหล
    3. ชนเผ่าอริยกะ
    4. ชนเผ่ามิลักขะ
  10. เหตุผลสำคัญที่พระพุทธศาสนาช่วยสร้างสรรค์อารยธรรมโลก คือเหตุผลใด ?
    1. พระพุทธศาสนาเป็น “ศาสนาแห่งปัญญา”
    2. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาสากล
    3. พระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปทั่วโลก
    4. พระพุทธศาสนามีแนวคิดเป็นวิทยาศาสตร์
  11. พระพุทธรูป “ปางนาคปรก” เป็นปางประจำวันเกิด สำหรับผู้เกิดในวันใด ?
    1. วันอาทิตย์
    2. วันพุธ
    3. วันศุกร์
    4. วันเสาร์
  12. ชาวพุทธในประเทศจีน นับถือศาสนาพุทธนิกายใด ?
    1. นิกายหีนยาน
    2. นิกายเถรวาท
    3. นิกายมหายาน
    4. นิกายเซน
  13. “โอวาทปาฏิโมกข์เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวัน “มาฆบูชา” สรุปเป็นหลักใหญ่ ๆ3 ประการคือ ?
    1. ทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใส
    2. หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6
    3. ศีล สมาธิ และปัญญา
    4. กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
  14. ประเทศเกาหลีใต้มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เก่าแก่ที่สุดชื่อว่าอะไร ?
    1. มหาวิทยาลัยสงฆ์เกาหลี
    2. มหาวิทยาลัยดองกุก
    3. มหาวิทยาลัยโคกุ
    4. มหาวิทยาลัยปักเช
  15. พระพุทธศาสนาถือว่าการเกิดสันติภาพที่แท้จริง จะต้องกระทำโดยวิธีใด ?
    1. การต่อต้านสงคราม
    2. การรณรงค์ให้เกิดสันติภาพในโลก
    3. การส่งเสริมให้มนุษย์มีความสามัคคีกัน
    4. ให้มนุษย์สามารถชนะใจตนเอง

29/10/2012 · 8:06 am

:: ใบงานที่ 4 ::

  1. อัตถะ หมายถึง ประโยชน์หรือคุณค่าที่เป็นจุดหมายของชีวิต แบ่งเป็น 3 ระดับคือ
  2. ทิฏฐธัมมิกัตถะ หมายถึง ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์ในโลกนี้ หรือประโยชน์ชั้นต้น เป็นจุดหมายทันตาเห็น ที่สำคัญคือ
    1. ความมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง สง่างาม ไร้โรค ตลอดจนมีอายุยืนยาว
    2. ความมีทรัพย์สินเงินทอง อย่างน้อยมีอาชีพการงาน พึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ ไม่มีหนี้สิน เป็นต้น
    3. การมีครอบครัวที่มั่นคงผาสุก ตลอดจนวงศ์ตระกูลเป็นที่นับถือ
    4. ความเป็นที่ยอมรับในสังคม มีสถานภาพดี มีชื่อเสียงเกียรติคุณ พรั่งพร้อมด้วยยศตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเกียรติยศ บริวารยศ หรืออิสริยยศ เป็นต้น
  3. สัมปรายิกัตถะ หมายถึง ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า หรือประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไป
  4. สัมปรายิกัตถะที่สำคัญเช่น
    1. การมีความสุขทางจิตใจ ด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย ซาบซึ้งในบุญกุศล และมั่นใจในการทำความดี
    2. ความอิ่มใจมั่นใจในชีวิตของตนที่มีความประพฤติสุจริตดีงาม ได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง
    3. ความอิ่มใจในความมีชีวิตที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์ ที่ได้เสียสละทำการสร้างสรรค์เกื้อกูลไว้แก่เพื่อนมนุษย์และสังคม
    4. ความแกล้วกล้ามั่นใจ และปลอดโปร่งเบิกบานใจ เนื่องจากมีความรู้ มีปัญญาที่จะแก้ปัญหาและจัดทำดำเนินกิจการต่าง ๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
    5. ความสบายใจมั่นใจในกรรมที่ได้ประกอบไว้อันเป็นบุญกุศลดีงามสุจริต เป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า สามารถจากโลกนี้ไปโดยไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยแห่งทุคติ
  5. ปรมัตถะหมายถึง ประโยชน์สูงสุด หรือจุดหมายสูงสุด คือพระนิพพาน
  6. ประโยชน์หรือจุดหมายทั้ง 3 ระดับนี้ ยังสามารถแยกออกเป็น 3 ด้าน คือ
    1. อัตตัตถะ หมายถึง ประโยชน์ตน คือ ประโยชน์ 3 ระดับที่กล่าวข้างต้นนั้นที่พึงกระทำให้เกิดแก่ตนเอง หรือพัฒนาชีวิตของตนเองให้สามารถบรรลุถึง
    2. ปรัตถะ หมายถึง ประโยชน์ผู้อื่น คือ ประโยชน์ที่พึงช่วยเหลือให้ผู้อื่นหรือเพื่อนมนุษย์ได้บรรลุถึง ด้วยการชักนำให้เขาพัฒนาชีวิตของเขาเองขึ้นไปจึงถึงตามลำดับ
    3. อุภยัตถะ หมายถึง ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ประโยชน์ร่วมกัน หรือประโยชน์แก่สังคมทั้งหมด โดยเฉพาะสภาพและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่พึงช่วยกันสร้างสรรค์บำรุงรักษา อันจะเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นเข้าถึงจุดหมายทั้ง 3 ระดับ

23/10/2012 · 8:15 am

:: ใบงานที่ 3 ::

  1. วัฏฏะ หมายถึง วน, วงเวียน หรือหมุนเวียนกันไปไม่มีที่สิ้นสุด
  2. องค์ประกอบวัฏฏะเป็นเหตุปัจจัยกัน 3 ประการคือ กิเลสวัฏฏ์  กรรมวัฏฏ์  วิปากวัฏฏ์
  3. กิเลสวัฏฏ์ หมายถึง วงจรกิเลส คือ ตัวสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งกระทำการต่าง ๆ
  4. กรรมวัฏฏ์ หมายถึง วงจรกรรม คือ กระบวนการกระทำหรือกรรมทั้งหลายที่ปรุงแต่งชีวิตให้เป็นไปต่าง ๆ
  5. วิปากวัฏฏ์ หมายถึง วงจรวิบาก คือสภาพช่วิตที่เป็นผลแห่งการปรุงแต่งของกรรม และกลับเป็นปัจจัยเสริมสร้างกิเลสต่อไป
  6. ปปัญจธรรม หมายถึง กิเลสเครื่องเนิ่นช้า หรือกิเลสที่เป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา หรือไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถูกจุด ประกอบด้วย
  7.  ปปัญจธรรม ประกอบด้วย ตัณหา ทิฏฐิ มานะ
  8. ตัณหา คือ ความทะยานอยาก, ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอ ปรนเปรอตนให้มีความสุข หรือความอยากได้อยากมี
  9. ทิฏฐิ คือ ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่าง ๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงาย หรือโดยอาการยกย่อง
  10. มานะ คือ ความถือตัว หรือสำคัญตนว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่หรือด้อยกว่าผู้อื่น หรือความอยากเด่นอยากยกตนให้ยิ่งใหญ่

23/10/2012 · 7:54 am

:: ใบงานที่ 2 ::

  1. ไตรลักษณ์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ
  2. ไตรลักษณ์ หมายถึง ทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ(ธรรมดา)
  3. หลักของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ มี 3 ประการได้แก่
  4. อนิจจตา หมายถึง อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา
  5. ทุกขตา หมายถึง ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัวเพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้
  6.  ทุกขเวทนานี้แบ่งออกเป็น 10 ประเภทคือ
    1. สภาวทุกข์ คือ ทุกข์ประจำสังขาร ได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    2. ปกิณณกทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ความเศร้าโศก ความเสียใจ น้อยใจ ความคับแค้นใจ เป็นต้น
    3. นิพัทธทุกข์ คือ ทุกข์เนืองนิตย์ เช่น ความหิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ร้อน หนาว เป็นต้น
    4.  พยาธิทุกข์ คือ ทุกข์เกิดขึ้นจากโรคภัย จากศาสตราอาวุธ เป็นต้น
    5. สันตาปทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความเร่าร้อนเพราะไฟ คือ กิเลส เช่น ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ แผดเผา
    6. วิปากทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากผลของกรรมชั่ว เช่น การถูกลงอาญา ถูกลงโทษทัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น
    7. สหคตทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา
    8. อาชีวทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดเพราะการทำมาหาเลี้ยงชีพ เช่น ความระกำลำบาก ความเหน็ดเหนื่อย ความวิตกกังวล เป็นต้น
    9. วิวาทมูลกทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท ถกเถียง ชกต่อยกัน การเป็นศัตรูคู่อาฆาตกัน เป็นต้น
    10. ขันธทุกข์ คือ  ทุกข์ที่เกิดจากการรักษาขันธ์ 5 คือ มีทุกข์ก็เพราะมีขันธ์ 5 หากไม่มีขันธ์ 5 ก็ไม่มีทุกข์หรือทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น
  7. อนัตตตา หมายถึง ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง
  8. ประโยชน์จากการรู้ไตรลักษณ์ คือ
    1. ทำให้เรามองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง  
    2. ทำให้เรามองเห็นสรรพสิ่งครบทุกด้าน เช่น ชีวิตของคนเรามีการเกิด แก่ เจ็บ และตายในที่สุด เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 
    3. ทำให้เราไม่ยึดถือ “ตัวเรา” “ของเรา” มากเกินไป กล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) 

20/10/2012 · 9:08 am

:: ใบงานที่ 1 ::

  1. คุณของพระสงฆ์ มี 9 ประการ เรียกว่า สังฆคุณ 9 
  2. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว หมายถึง พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตามทางสายกลาง (มัชฌิมปฏิปทา) ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติกลมเกลียวกับพระศาสนดา ไม่ปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน 
  3. อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง หมายถึง ไม่ปฏิบัติเป็นคนลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ปฏิบัติมุ่งตรงต่อข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ปฏิบัติตรงต่อพระศาสดา และเพื่อนพระสาวกด้วยกัน ไม่มีข้อลี้ลับที่จะปิดบังอำพรางไว้ในใจ 
  4. ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หมายถึง ปฏิบัติไม่ผิดเพี้ยนไปจากหลักคำสอนของพระศาสดา ไม่ผิดไปจากธรรมเนียมอันดีงาม ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบแบบแผน 
  5. สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆแปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติสมควร หมายถึง สมควรที่จะได้รับความเคารพนับถือ เป็นผู้ปฏิบัติตั้งอยู่ในสังวร ปฏิบัติเป็นผู้ตื่นอยู่ คือรู้ถึงเหตุการณ์อันเป็นไปอยู่ ไม่งมงาย รู้จักประพฤติกิริยาทางกาย และวาจาต่อผู้อื่นโดยไม่ทะนงตนมีใจหนักแน่นเผื่อแผ่ มีใจกว้างไม่คับแคบ 
  6. อาหุเนยฺโยแปลว่า  เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย หรือผู้ควรแก่ของคำนับ หมายถึง เป็นผู้ที่สมควรได้รับของถวายและได้รับการแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ 
  7. ปาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ หมายถึง พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง และเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ไม่ว่าท่านจะโคจรไปสู่ที่ใด ย่อมยังประโยชน์สุขและประโยชน์เกื้อกูลให้เกิด ณ ที่นั้น ผู้เลื่อมใสจึงเปิดประตูบ้านต้อนรับด้วยความปีติ ที่ได้พบเห็นอันถือเป็นมงคลในชีวิตอย่างหนึ่ง 
  8. ทกฺขิเณยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้บริสุทธิ์ สมควรที่จะได้รับของบริจาคทาน (ทักษิณาทาน) และจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน 
  9. อญฺชลิกรณีโยแปลว่า เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ หมายถึงพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้บริสุทธิ์ ย่อมตั้งอยู่ในฐานะที่ควรแก่กระทำอัญชลีคือการกราบไหว้ให้ความเคารพ ยกย่อง 
  10. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส แปลว่า ป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร และเป็นผู้บริสุทธิ สมควรได้รับการกราบไหว้บูชาแล้วการบริจาคทานแก่ท่าน 
  11. พระอริยบุคคล 4 คู่ 8 บุคคลคือ

    คู่ที่ 1 คือ พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล
    คู่ที่ 2 คือ พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล
    คู่ที่ 3 คือ พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล
    คู่ที่ 4 คือ พระอรหันตมรรค พระอรหันตผล