การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวรูปแบบต่าง ๆ ในการเล่นกีฬา

การเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เพราะคนเราต้องเดิน วิ่ง ปรับเปลี่ยนลักษณะท่าทางของร่างกาย ไปจนถึงการยกและดึงสิ่งของต่าง ๆ ล้วนต้องอาศัยทักษะในการเคลื่อนไหวของร่างกายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวร่างกายประเภทต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกายตอนออกกำลังกายอย่างถูกวิธี โดยไม่เสียเวลาเปล่า

การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวรูปแบบต่าง ๆ ในการเล่นกีฬา

Show

การเคลื่อนไหวของร่างกาย คือ การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่ต่อเนื่องกัน โดยส่วนที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ได้แก่ กลไกการทำงานของข้อต่อ กล้ามเนื้อและระบบประสาท ซึ่งการเคลื่อนไหวเบื้องต้นของร่างกายโดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

1. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ 

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เป็นการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนลักษณะท่าทางของร่างกายเพื่อปฏิบัติกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนที่ไปยังทิศทางต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เช่น การเดิน (walk) , การวิ่ง (Run) , การกระโดดเขย่ง (Hop) , การกระโดด (Jump) , การกระโจน (Leap) , กระโดดสลับเท้า (Skip) , การสไลด์ (Slide) และ การควบม้า (Gallop)

การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวรูปแบบต่าง ๆ ในการเล่นกีฬา

2. การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่  

การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่ เป็นการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเคลื่อนไหวโดยที่ร่างกายอยู่กับที่ เช่น การอ้าปาก หุบปาก การยกไหล่ขึ้นลง และการกระพริบตา ส่วนท่าทางในการปฏิบัติภารกิจประจำวัน และท่าทางที่ใช้ในการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาโดยทั่วไป ดังนี้

การก้ม คือ การงอพับตัวให้ร่างกายส่วนบนลงมาใกล้กับส่วนล่าง

การยืดเหยียด คือ การเคลื่อนไหวในทางตรงข้ามกับการก้ม โดยพยายามยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การบิด คือการทำส่วนต่าง ๆ ของร่างกายบิดไปจากแกนตั้ง เช่น การบิดลำตัว

การดึง คือ การพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาหาร่างกายหรือทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

การดัน คือ การพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ห่างออกจากร่างกาย เช่น การดันโต๊ะ

การเหวี่ยง คือ การเคลื่อนไหวสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยหมุนรอบจุดให้เป็นเส้นโค้งหรือรูปวงกลม เช่น การเหวี่ยงแขน

การหมุน คือ การกระทำที่มากกว่าการบิด โดยกระทำรอบ ๆ แกน เช่น การหมุนตัว

การโยก คือ การถ่ายน้ำหนักตัวจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีกส่วนหนึ่ง โดยเท้าทั้งสองแตะพื้นสลับกัน

การเอียง คือ การทิ้งน้ำหนักไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งโดยไม่ถ่ายน้ำหนัก เช่น ยืนเอียงคอ

การสั่นหรือเขย่า คือ การเคลื่อนไหวสั่นสะเทือนส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซ้ำ ๆ ต่อเนื่องกัน เช่น การสั่นหน้า เขย่ามือ สั่นแขนขา

การส่าย คือ การบิดไปกลับติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง เช่น การส่ายสะโพก ส่ายศีรษะ

การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวรูปแบบต่าง ๆ ในการเล่นกีฬา

3. การเคลื่อนไหวร่างกายแบบใช้อุปกรณ์ประกอบ

การเคลื่อนไหวร่างกายแบบใช้อุปกรณ์ประกอบ เป็นกิจกรรมทางกาย ที่ผู้ปฏิบัติต้องมีทักษะในการเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน และยังต้องมีทักษะการใช้อุปกรณ์ควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การขว้างลูกบอล , การเตะฟุตบอล และการโยนลูกบอล 

การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวรูปแบบต่าง ๆ ในการเล่นกีฬา

4. การเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน

การเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน หมายถึงการนำทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายขั้นพื้นฐาน ทั้งแบบ

อยู่กับที่ แบบเคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ ผสมผสานให้มีการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน เพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางกาย เช่น การทำงาน , การออกกำลังกาย , การเล่นเกม และการพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ

การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวรูปแบบต่าง ๆ ในการเล่นกีฬา

การใช้ชีวิตประจำวันของคนเราในทุกวันนี้ ตั้งแต่ตื่นเช้าลืมตาขึ้นมาไปตลอดจนถึงเวลาเข้านอน ไม่่ว่าจะต้องทำกิจกรรมใด ๆ แน่นอนว่าต้องอาศัยการเคลื่อนไหวในแบบต่าง ๆ อยู่แล้ว ดังนั้น การเรียนรู้หลักการเคลื่อนไหวร่างกายประเภทต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะทำให้เราเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยกับร่างกายเป็นที่สุด

สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก เราขอแนะนำคอร์ส PRACTICAL ANATOMY MOVEMENT TUTOR คอร์สที่จะทำให้คุณเข้าใจชัดเจนมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องจําคําศัพท์ยาก ๆ เน้นการปรับใช้ และเข้าใจการทํางานของท่าออกกําลังกายต่าง ๆ ทำให้สามารถออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวรูปแบบต่าง ๆ ในการเล่นกีฬา

คลิกชมคอร์ส

ชมรายละเอียดเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 

เพิ่มพูนทักษะการเคลื่อนไหว 

ตัวชี้วัดช่วงชั้น

1. วิเคราะห์ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ ในการเล่นกีฬา (พ 3.1 ม. 4-6/1)
2. ใช้ความสามารถของตนเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและสังคม (พ 3.1 ม. 4-6/2)
3. เล่นกีฬาไทย กีฬาสากลประเภทบุคคล/คู่ กีฬาประเภททีมได้อย่างน้อย 1 ชนิด (พ 3.1 ม. 4-6/3)
4. แสดงการเคลื่อนไหวได้อย่างสร้างสรรค์ (พ 3.1 ม. 4-6/4)
5. เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอกโรงเรียนและนำหลักการแนวคิดไปปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนและสังคม (พ 3.1 ม. 4-6/5)
6. ออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่เหมาะสมกับตนเองอย่างสม่ำเสมอและใช้ความสามารถของตนเองเพิ่มศักยภาพของทีม ลดความเป็นตัวตน คำนึงถึงผลที่เกิดต่อสังคม (พ 3.2 ม. 4-6/1)
7. อธิบายและปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิ กฎ กติกา กลวิธีต่างๆในระหว่างการเล่น การแข่งขันกีฬากับผู้อื่น และนำไปสรุปเป็นแนวปฏิบัติและใช้ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง (พ 3.2 ม. 4-6/2)
8. แสดงออกถึงการมีมารยาทในการดู การเล่น และการแข่งขันกีฬาด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา และนำไปใช้ปฏิบัติทุกโอกาสจนเป็นบุคลิกภาพที่ดี (พ 3.2 ม. 4-6/3)
9. ร่วมกิจกรรมทางกายและเล่นกีฬาอย่างมีความสุข ชื่นชมในคุณค่าและความงามของการกีฬา (พ 3.2 ม. 4-6/4)

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมาประยุกต์ใช้ในการเล่นกีฬา

1.1 ความหมายและความสำคัญของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว
1.2 หลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬา
1.3 การนำหลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมาใช้ในการเล่นกีฬา

2. กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิต

2.1 ความหมายและความสำคัญของกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิต
2.2 หลักในการเลือกกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิต
2.3 การวางแผนสร้างเริมสมรรถภาพทางกายและทางจิต
2.4 ตัวอย่างรูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิต

3. บทบาทและมารยาทในการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ

3.1 ความหมายของคำที่เกี่ยวข้อง
3.2 ความสำคัญของกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ
3.3 มารยาทที่ดีในการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมนันทนาการ
3.4 บทบาทของการเป็นผู้นำและผู้ร่วมกิจกรรมที่ดี

4. กีฬาเพื่อชีวิต

4.1 กีฬาตะกร้อลอดห่าง
4.2 กีฬาแบดมินตัน

ประโยชน์จากการเรียน
    รู้และเข้าใจรูปแบบและทักษะการเคลื่อนไหวในกิจกรรมกีฬา สามารถนำหลักการหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมาปรับใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเล่นกีฬา นำหลักในการเลือกกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิตมาใช้ปรับปรุงและสร้างเสริมสมรรถภาพของตนเองและผู้เกี่ยวข้องได้สมารถปฏิบัติทักษะกีฬาตะกร้อลอดห่วงและกีฬาแบดมินตันอย่างถูกต้องตามทักษะและกฎกติกามารยาท และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

ลองคิด ลองตอบ
- วิทยาศาสตร์ การเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ในด้านใดบ้าง
- การเคลื่อนไหวเชิงเส้นแตกต่างจากการเคลื่อนไหวเชิงมุมอย่างไร
- อวัยวะส่วนใดของร่างกายที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของแรง
- นักเรียนมีแนวทางในการเลือกกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิตอย่างไร
- กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางจิตมีประโยชน์กับนักเรียนอย่างไร

วิดีโอ YouTube

    วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ให้ความรู้และความเข้าใจในการศึกษาที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายของคนเรา โดยอาศัยองค์ความรู้สำคัญที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวทางกายวิภาคศาสตร์ กลศาสตร์ และสรีรวิทยา ความรู้ที่ศึกษาจากองค์ความรู้ดังกล่าวจะช่วยให้เข้าใจในหลักการต่างๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และในการเล่นกีฬาให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การรู้จักเลือกกิจกรรมและวางแผนโปรแกรมสำหรับสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิตยังเป็นอีกองค์ความรู้หนึ่งที่จะนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพของเราให้สมบูรณ์แข็งแรงสมารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมาประยุกต์ใช้ในการเล่นกีฬา

    การเคลื่อนไหวร่างกายขณะปฏิบัติกิจกรรมกีฬา จะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากการเคลื่อนไหวร่างกายในขณะปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันปกติ ทั้งนี้เนื่องจากกิจกรรมกีฬาแต่ละประเภทนอกจากใช้ทักษาการเคลื่อนไหวพื้นฐานเบื้องต้นแล้ว ผู้ที่ปฏิบัติกิจกรรม(เล่นกีฬา) ยังจะต้องเข้าใจในหลักการและทักษะเฉพาะของกีฬาชนิดนั้นๆ ตลอดจนสามารถนำทักษะที่เป็นรูปแบบเฉพาะของกีฬาชนิดนั้นมาใช้ และหากต้องการที่จะประสบความสำเร็จสูงสุดในแง่ของการปฏิบัติด้วยแล้ว ก็ควรจะนำความรู้และหลักการทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวเข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย ดังนั้น การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมาประยุกต์ใช้ในการเล่นกีฬา จึงเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนที่จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ ซึ่งจะส่งผลให้การเล่นกีฬาดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนเกิด ความปลอดภัยในขณะปฏิบัติและหลังการปฏิบัติกิจกรรม

    1.1 ความหมายและความสำคัญของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว

    วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว (kinesiology) เป็นการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาในเรื่องการเคลื่อนไหวของมนุษย์ โดยใช้องค์ความรู้ที่สำคัญทางด้านกายวิภาคศาสตร์1 กลศาสตร์2 และสรีรวิทยา3 เข้ามาประยุกต์ใช้ ดังนั้น วิชานี้จึงเกี่ยวข้องกับกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และองค์ความรู้ในวิชากลศาสตร์โดยเฉพาะศาสตร์ที่เรียกว่า ชีวกลศาสตร์

    หากพิจารณาในแง่ความสำคัญของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวในภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมาประยุกต์ใช้ในการเล่นกีฬาแล้วสรุปได้ ดังนี้

    1. นำมาใช้วิเคราะห์รูปแบบและท่าทางของการเคลื่อนไหวร่างกายที่เหมาะสมในกีฬาแต่ละประเภทหรือแต่ละชนิด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เล่นกีฬาหรือผู้ฝึกสอนกีฬาเข้าใจทักษะของการเคลื่อนไหวที่จำเป็นได้อย่างถูกต้อง

    2. ช่วยให้ผู้เล่นกีฬาหรือผู้ฝึกสอนกีฬาสามารถที่จะนำทฤษฎีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหลักของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวทางกลศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นต้นว่า กฎแห่งการเคลื่อนไหวของนิวตันที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวของคนเรา หรือหลักของการเคลื่อนไหวร่างกายบนพื้นผิว(ฐานที่รองรับ) ในลักษณะต่างๆ หรือหลักของคานกับการเคลื่อนไหวร่างกาย

    3. ช่วยให้ผู้เล่นกีฬาหรือผู้ฝึกสอนกีฬาสามารถที่จะเลือกรูปแบบ หรือพัฒนารูปแบบของทักษะกีฬาแต่ละชนิดที่นำมาใช้ฝึกหัด หรือฝึกสอนได้อย่างเหมาะสมกับรูปร่างของผู้เล่นกีฬา

    4. ช่วยให้ผู้เล่นกีฬาหรือผู้ฝึกสอนกีฬาสามารถเลือกอุปกรณ์กีฬาทั้งในเรื่องของขนาดรูปทรงที่จะนำมาใช้ประกอบการเล่น หรือประกอบการฝึกทักษะของกีฬาแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม
    5. ช่วยให้ผู้เล่นกีฬาหรือผู้ฝึกสอนมีความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมความปลอดภัย และป้องกันการเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือการเคลื่อนไหวที่ผิดลักษณะ

    1.2 หลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬา

    เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ควรได้ทำความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. กายวิภาคศาสตร์ (anatomy) หมายถึง การศึกษาโครงสร้างรูปร่าง ลักษณะ ตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับร่างกายของคนเรา

2. กลศาสตร์ (mechanics) หมายถึง การศึกษาในเรื่องปฏิกิริยาของแรงที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว

3. สรีรวิทยา (physiology) หมายถึง การศึกษาถึงหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการทำงานของอวัยวะต่างๆ

4. ชีวกลศาสตร์ (biomechanics) หมายถึง การนำความรู้ในวิชาฟิสิกส์และกลศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้แรงภายในในการเคลื่อนไหวร่างกายของตนเอง และการใช้แรงปะทะกับแรงภายนอกของคนเราในขณะมีการเลื่อนไหว

1. รูปแบบและทักษะการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในกิจกรรมกีฬา

รูปแบบและทักษะการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในกิจกรรมกีฬา สรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการเคลื่อนไหวในกิจกรรมกีฬา มี 3 รูปแบบสำคัญ ได้แก่ การเคลื่อนไหวเชิงเส้น การเคลื่อนไหวเชิงมุม และการเคลื่อนไหวแบบเชิงเส้นและเชิงมุมผสมผสานกัน โดยแต่ละรูปแบบมีรายละเอียด ดังนี้

1) การเคลื่อนไหวเชิงเส้นหรือการเคลื่อนไหวแบบย้ายตำแหน่ง (translator motion or linear motion) หมายถึง การที่วัตถุหรือการที่ร่างกายของผู้เล่นเคลื่อนย้ายตำแหน่งจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย

(1) การเคลื่อนไหวเชิงเส้นเป็นเส้นตรง (rectilinear motion) เช่น การนั่งในรถยนต์ที่เคลื่อนไปบนถนนที่เป็นเส้นตรงหรือการเคลื่อนของลูกโบว์ลิ่งที่ถูกโยนให้กลิ้งไปตามลู่ทางวิ่งของลูกโบว์ลิ่ง

(2) การเคลื่อนไหวเชิงเส้นเป็นเส้นโค้ง (curvilinear motion) เช่น การเคลื่อนที่ของลูกบาสเกตบอลที่นักบาสเกตบอลโยนออกไปในวิถีโค้งเพื่อให้ลงห่วง

(3) การเคลื่อนไหวแบบผสมผสานกัน (rectilinear combine curvilinear motion) โดยมีทั้ง 2 รูปแบบ เช่น ท่าทางการเดินของคนเราเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวแบบผสมผสานทั้งเส้นตรงและเส้นโค้ง เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวร่างกายขณะเคลื่อนที่ไปในแต่ละส่วน

2) การเคลื่อนไหวเชิงมุมหรือการเคลื่อนไหวโดยการหมุน (rotatory motion or angular motion) เป็นการเคลื่อนไหวของวัตถุหรือขงร่างกายรอบจุดศูนย์กลางของการหมุน หรือ จุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวเชิงมุมแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบประกอบด้วย

(1) การเคลื่อนไหวแบบหมุนอยู่นอกแกนของวัตถุ (angular motion) เช่น การแกว่งตัวของนักกีฬายิมนาสติกรอบบาร์เดี่ยว

(2) การเคลื่อนไหวแบบหมุนโดยมีจุดหมุนซ้อนทับอยู่บนแกนกลางของจุดหมุน (rotation motion) เช่น การยืนตัวตรงหมุนบิดลำตัวสลับวนไปมาซ้าย-ขวา ในการทำท่ากายบริหาร

3) การเคลื่อนไหวแบบเชิงเส้นและเชิงมุมผสมผสานกัน (combine motion) เป็นการเคลื่อนไหวที่มีรูปแบบการผสมผสาน ทั้งการเคลื่อนไหวแบบเชิงเส้นและเชิงมุมในขณะเดียวกัน ซึ่งหากวิเคราะห์จะพบว่า เป็นภาพรวมของการเคลื่อนไหวโดยทั่วไปของคนเรา และการเคลื่อนไหวในการเล่นกีฬา ซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นการเคลื่อนไหวแบบเชิงเส้นและเชิงมุมผสมผสานกัน

2. ทักษะการเคลื่อนไหวที่นำมาใช้ในกิจกรรมกีฬา ทักษะที่สำคัญในการนำมาใช้หรือเกิดขึ้นในการเล่นกีฬามี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย

1) ทักษะการเคลื่อนไหวที่อยู่กับที่ เป็นเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่มีการย้ายตำแหน่ง เช่น การยืนก้ม-เงยของนักกีฬาในการทำท่ากายบริหาร

2) ทักษะการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายโดยมีการย้ายตำแหน่ง เช่น การกระโดดไปข้างหน้า

3) ทักษะการเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์ เป็นทักษะที่มีการเคลื่อนไหวทั้งแบบเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่โดยมีอุปกรณ์กีฬาประกอบขณะเคลื่อนไหว เช่น การยืนฝึกเล่นลูกบอลสองมือล่าง (ลูกอันเดอร์) อยู่กับที่แล้วเคลื่อนที่ไปมา

การฝึกเล่นลูกบอลสองมือล่างในการฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอล เป็นตัวอย่างทักษะการเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์

อย่างไรก็ตามหากวิเคราะห์ถึงทักษะการเคลื่อนไหวที่นำมาใช้ในกิจกรรมกีฬาแล้ว ก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกับรูปแบบการเคลื่อนไหว คือ เป็นทักษะการเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน จึงสรุปได้ว่า รูปแบบและทักษะการเคลื่อนไหวที่นำมาใช้ในกิจกรรมกีฬาโดยภาพรวมจะเป็นรูปแบบแบบผสมผสานทั้งสิ้น

2. หลักการและทฤษฎีของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว

จากความหมายและความสำคัญของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและองค์ความรู้ที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อนำมาวิเคราะห์จะได้หลักการของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. หลักการทั่วไปของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว

วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวเกิดจากการนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวทางร่างกายมนุษย์ (anatomical kinesiology) และองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวทางกลศาสตร์ (mechanical kinesiology) มาบูรณาการเป็นองค์ความรู้ที่นำมาใช้วิเคราะห์รูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกายของคนเราในขณะปฏิบัติกิจกรรมกีฬาหรือกิจกรรมโดยทั่วไป เพื่อให้ได้รูปแบบของการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เกิดความปลอดภัยในขณะปฏิบัติกิจกรรม

2. หลักการและทฤษฎีเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกาย

จากหลักการทั่วไปของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านร่างกายมนุษย์หรือด้านกายวิภาคศาสตร์ และส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านกลศาสตร์และเมื่อวิเคราะห์ลักษณะของการเคลื่อนไหวร่างกายจะสรุปได้ว่า

2.1) หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกายของเรา

“การเคลื่อนไหวร่างกายของคนเราต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างระบบต่างๆ ในร่างกาย ระบบที่ทำหน้าที่โดยตรงและมีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างชัดเจนจะประกอบไปด้วยระบบกล้ามเนื้อ ระบบโครงร่าง (ข้อต่อ) และระบบประสาท ระบบประสาทจะทำหน้าที่เป็นตัวการในการสั่งงานในร่างกาย ส่วนระบบกล้ามเนื้อจะทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดของแรง ซึ่งเป็นผลมาจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ระบบโครงร่าง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ข้อต่อ ซึ่งเป็นบริเวณรอยต่อของชิ้นกระดูก จะทำหน้าที่เป็นจุดหมุน เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวจะส่งแรงดึงรั้งกระดูกโดยอาศัยข้อต่อเป็นจุดหมุนที่คอยควบคุมทิศทางและขอบเขตของการเคลื่อนไหว”

2.2) หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์

    ความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกายที่นักเรียนควรทราบ มีเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้

ข้อต่อกับลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกาย

    ข้อต่อ (joints) หมายถึง บริเวณรอยต่อระหว่างกระดูกกับกระดูกหือระหว่างกระดูกกับกระดูกอ่อน หรือกระดูกอ่อนกับกระดูกอ่อนมาเชื่อมต่อกัน โดยมีเอ็นหรือพังผืดมาเป็นตัวช่วยยึดเหนี่ยว

    1) การจำแนกชนิดของข้อต่อ หากจำแนกชนิดของข้อต่อตามลักษณะรูปแบบประสิทธิภาพของการเคลื่อนไหว จะแบ่งได้ 3 ชนิด ได้แก่

    (1) ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้เลย (fibrous or immovable joints) เป็นข้อต่อที่หน้ารอยต่อ ของกระดูกยึดติดกันด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เป็นพังพืด (fibrous connective tissue) หรือลักษณะ การเชื่อมต่อของกระดูกที่มีร่องรอยหยักคล้ายฟัน (suture) ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนบริเวณกะโหลกศีรษะ เช่น บริเวณรอยต่อระหว่างกระดูกหน้าผากกับกระดูกข้างศีรษะ (coronal suture) รอยต่อระหว่างกระดูกข้างศีรษะและกระดูกท้ายทอย (suture lombdoidal)

    (2) ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย (cartilaginous or slightly movable joints) เป็นข้อต่อที่หน้ารอยต่อของกระดูกยึดติดกันด้วยกระดูกอ่อน (cartilage)

    ตำแหน่งของข้อต่อบริเวณนี้ ได้แก่ ข้อต่อระหว่างชั้นของกระดูกสันหลัง (intervertebral discs) ข้อต่อระหว่างกระดูกหัวเหน่า (interpubic joint)

    (3) ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุด (synovial or freely movable joints) เป็นข้อต่อที่พบได้เกือบทุกจุดในร่างกาย และเป็นข้อต่อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกายมากท่สุด ลักษณะข้อต่อชนิดนี้จะมีส่วนปลายของกระดูกเชื่อมติดด้วยเอ็น (hyaline cartilage) หุ้มอยู่และล้อมรอบด้วยถุงหุ้มข้อต่อ (fibrous capsule) โดยมีเนื้อเยื่อบางๆ (synovial membrane) ทำหน้าที่ขับน้ำหล่อลื่นให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้สะดวก

    บริเวณที่พบข้อต่อชนิดนี้ ได้แก่ ข้อต่อที่สะโพก (hip joint) ข้อต่อที่หัวไหล่ (shoulder joint) หัวเข่า (knee joint) ข้อต่อที่ข้อศอก (elbow joint)

    2) รูปร่างและลักษณะการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มาก ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มาก (synovial joints) แบ่งตามรูปร่างและลักษณะการเคลื่อนไหวของข้อต่อได้ 6 รูปแบบ ดังนี้

    (1) ข้อต่อรูปบานพับ (hinge joint) เป็นข้อตอที่เคลื่อนไหวทำมุมได้ทางเดียวคล้ายกับบานพับประดู โดยมีลักษณะหน้าต่อของกระดูกชิ้นหนึ่งเล็ก และอีกชิ้นหนึ่งนูน ประกอบกันเป็นข้อต่อ

    ข้อต่อที่มีรูปร่างและการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ เช่น ข้อต่อที่ข้อศอก (elbow joint) หรือข้อต่อของขากรรไกรล่าง (temporomandibular joint)

    (2) ข้อต่อรูปร่างแปลก หรือมีรูปร่างไม่แน่นอน (condyloid or plane joint) เป็นข้อต่อที่ไม่มีแกนในการเคลื่อนไหว การเคลื่อนที่ของข้อต่อจึงเป็นไปในลักษณะเลื่อนไถลไปมา

ข้อต่อที่มีรูปร่างและลักษณะการเคลื่อนไหวแบบนี้ เช่น ข้อต่อที่ข้อมือ (radiocarpal joint)

    (3) ข้อต่อรูปอานม้า (saddle joint) เป็นข้อต่อที่ปลายกระดูกชิ้นหนึ่งมีลักษณะคล้ายอานม้า อีกชิ้นหนึ่งมีลักษณะนูนสอดทับกัน ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้ 2 ทาง คือ เคลื่อนไหวในลักษณะงอ-เหยียด (flexion-extension) กางออก-หุบเข้า (abduction-adduction)

    ข้อต่อที่มีรูปร่างและลักษณะการเคลื่อนไหวแบบนี้ เช่น ข้อต่อของกระดูกฝ่ามือของนิ้วหัวแม่มือกับกระดูกข้อมือชื้นที่ 1

    (4) ข้อต่อรูปไข่ (ellipsoidorovoid joint) เป็นข้อต่อที่ปลายกระดูกชิ้นหนึ่งมีลักษณะคล้ายไข่ (นูนกลม) เข้าไปประกบกับกระดูกอีกชิ้นหนึ่งทำให้สามารถเคลื่อนไหวในลักษณะการเคลื่อนไปข้างหน้า การเคลื่อนไปข้างหลังและข้างๆ ในลักษณะงอและเหยียดได้

    ข้อต่อที่มีรูปร่างและลักษณะการเคลื่อนไหวแบบนี้ เช่น ข้อต่อของกระดูกระหว่างกระดูกปลายแขนด้านนอก (radius bone) กับ กระดูกข้อมือ (carpal bone)

    (5) ข้อต่อรูปบอลในเบ้า (ball and socket joint) เป็นข้อต่อที่มีหัวกระดูกชิ้นหนึ่งมีลักษณะกลมสวมลงไปที่ปลายกระดูกอีกชิ้นที่มีลักษณะเป็นบ่อหรือเบ้ากลวงข้อต่อในลักษณะนี้สามารถหมุนได้รอบตัวทั้งในลักษณะการงอ เหยียด กางออก หุบเข้า หมุนเป็นกรวยหรือหมุนไปรอบตัว

    ข้อต่อที่มีรูปร่างและลักษณะการเคลื่อนไหวแบบนี้ เช่น ข้อต่อสะโพก (hip joint) ข้อต่อบริเวณหัวไหล่ (shoulder joint)

    (6) ข้อต่อรูปไขควง (pivot joint) เป็นข้อต่อที่ปลายกระดูกชิ้นหนึ่งสอดเข้าไปในกระดูกอีกชิ้นหนึ่งที่เป็นวงทำให้สามารถหมุนได้รอบตัวข้อต่อที่มีรูปร่างและลักษณะการเคลื่อนไหว

    ข้อต่อที่มีรูปร่างลักษณะการเคลื่อนไหวแบบนี้ เช่น ข้อต่อของกระดูกคอชิ้นที่ 1 และชิ้นที่ 2 (atlantoaxial joint) ข้อต่อ ข้อมือ บริเวณ รอยต่อของปลายแขน (radio-ulnar joint)

สมหมาย  แตงสกุล และคณะ.  สุขศึกษาและพลศึกษา 3 ม.4-6.  กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์วัฒนาพานิช                จำกัด,  (ม.ป.ป).