ปัจจัย สํา คั ญ ที่ ทํา ให้ วัฒนธรรม ดนตรี ตะวันตก เข้ามา มีบทบาทในสังคมไทย

ปัจจัย สํา คั ญ ที่ ทํา ให้ วัฒนธรรม ดนตรี ตะวันตก เข้ามา มีบทบาทในสังคมไทย



อีกหนึ่งมุมมองของอิทธิพลดนตรีตะวันตกที่มีต่อดนตรีไทยตามประวัติศาสตร์ 

     อิทธิพลดนตรีตะวันตกที่มีต่อดนตรีไทยนั้น  จะเห็นได้จากหลักฐานต่างๆ  เช่น คำบอกเล่า จดหมายเหตุต่างๆ  วรรณกรรมต่างๆ  บันทึกต่างๆ  หนังสือพิมพ์  เป็นต้น.

     เริ่มมีหลักฐานที่ชัดเจนมาตั้งแต่  สมัยกรุงธนบุรี  เมื่อคราวสมโภชพระแก้วมรกตก็ปรากฏว่ามีการบรรเลงมโหรีไทยสลับกับมโหรีแขก  ญวน  และเขมรอยู่หลายวัน  ปรากฏตามหมายรับสั่งตอนหนึ่งว่า  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้พิณพาทย์ไทย  พิณพาทย์รามัญ  และมโหรีไทย  มโหรีแขก  ฝรั่ง  ญวน  เขมร  ผลัดเปลี่ยนกันสมโภชสองเดือนกับสิบสองวัน

ครั้นมาถึง  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น นั้น  อิทธิพลของดนตรีตะวันตกเริ่มมีมากขึ้นในสมัยของ  รัชกาลที่ 4  ดังปรากฏตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ได้ทรงบันทึกไว้ว่า  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2  (วังหน้า) ได้ทรงคิดประดิษฐ์ระนาดทุ้มเหล็กขึ้น  โดยยึดหลักจากกล่องเพลงที่ฝรั่งนำมาขายสมัยนั้น  กล่องเพลงนี้ภายในมีโลหะคล้ายรูปหวี  มีขนาดสั้นเรียงไปหายาว  เมื่อไขลานแล้วจะมีแท่งโลหะรูปทรงกระบอกหมุนบนผิวกระบอกนั้นมีปุ่มโลหะซึ่งจัดไว้ให้หมุนไปสะกิดหวีโลหะนั้น เหมือนเราใช้เล็บกรีดหวีเล่น  ก็จะเกิดเป็นเสียงออกมา  และในช่วงรัชกาลที่ 4 – 5 นั้นได้เกิดวงแตรวง โยธวาธิต ขึ้นมา  เป็นวงที่ใช้ในยุโรปและสหรัฐอเมริกามาแต่โบราณ  เข้ามามีบทบาทในไทยสมัยมีการฝึกแถวทหารแบบอังกฤษ  โดยมีครูฝึกดนตรีเพื่อการสวนสนามเข้ามาวางรากฐานให้  เช่น ร.อ.  น็อกซ์  ร.อ.  อิมเปย์  ภายหลังสมเด็จฯเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพัธ์  กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  เสนาบดีกระทรวงทหารเรือและทหารบก  ได้นดนตรีเครื่องเปล่ามาเล่นเพลงพระนิพนธ์ซึ่งเป็นเพลงไทยดัดแปลงและเพลงไทยใหม่  จากนั้นก็ได้รับความนิยมแพร่หลายจากกองทัพสู่ประชาชนในเวลาต่อมา  ทำให้เกิดแตรวงชาวบ้านขึ้นมา  ในอดีตจนถึงปัจจุบัน  คนไทยนิยมใช้แตรวงประโคมแห่ในงานพิธีกรรมที่มีชาวบ้านมาชุมนุมกัน เช่น งานบวชนาค  ทำขวัญ  งานแห่ขันหมาก  งานศพ ฯลฯ  บทเพลงที่แตรวงนำมาบรรเลงมีนานาประเภททั้งเพลงไทยแบบแผนดั้งเดิม  ไปจนถึงเพลงรำวง  เพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง  เพลงมารช์  เป็นต้น  ชาวแตรวงสามารถจดจำมาเล่นได้อย่างสนุกสนาน  เครื่องดนตรีในวงแตรวงประกอบด้วยเครื่องเป่าลมไม้  เครื่องเป่าทองเหลือง  และเครื่องกระทบจังหวะเป็นหลัก  นอกจากนี้อาจผสมเครื่องอื่นๆเข้าไปด้วย  เช่น  ตะโพน  เปิงมางคอก  กลองแขก คีย์บอร์ด  เบสไฟฟ้า และเครื่องกระทบอื่นๆ  เป็นต้น                    สำหรับวงโยธวาธิต (Military  Band)  เป็นการผสมวงดุริยางค์เครื่องเป่าที่มีแบบแผนกว่าแตรวงชาวบ้าน  เมื่อเริ่มแรกมักเล่นกันในหมู่ทหาร  จึงตั้งชื่อว่า  Military Band  ปัจจุบันตามโรงเรียนต่างๆ  ส่งเสริมให้มีการจัดวงดนตรีชนิดนี้ขึ้น  ใช้บรรเลงเดินแถว  สวนสนาม  แปลขบวน  เรียกชื่ออีกอย่างว่า  มาร์ชชิงแบนด์ (Marching Band)

    นอกจากอิทธิพลของดนตรีตะวันตกดังกล่าวแล้ว  มาถึงในยุคสมัยรัชกาลที่  นั้น  การติดต่อค้าขายมีความสัมพันธ์ไมตรีเจริญแล้ว  จึงมีอิทธิพลด้านภาษา  การค้า  การบริโภค  แนวความคิด  งานศิลปะ  จึงมาเกี่ยวข้องกับสังคมไทยในยุคนั้นมาก  ศิลปินชาวไทยจึงนำเอาเครื่องดนตรีของต่างชาติเข้ามาผสมกับเครื่องดนตรีไทยเป็นวงบรรเลงขึ้นใหม่  และนำเอาเครื่องเล่นมาดัดแปลงสู่ระเบียบวิธีแบบไทย  ในรัชกาลที่ พระองค์ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ไว้มาก ราวๆ  60  ชื่อ  แต่บรรดาศักดิ์เฉพาะนักดนตรีไทยนี้สัมผัสกันกับกองเครื่องสายฝรั่งหลวงด้วย  เพราะถือว่าสัมพันธ์กัน  และรัชกาลที่  ท่านทรงโปรดเกล้าฯ  ให้ตั้งโรงเรียนพรานหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น  ให้เด็กๆ นักเรียนศึกษาวิชาสามัญและวิชาศิลปะต่างๆ  ตามสังกัด (โขน,ละคร,ดนตรีไทย,ดนตรีฝรั่ง)  เมื่อจบแล้วก็เข้ารับราชการในกรมมหรสพ  หรือกรมอื่นๆในพระราชสำนัก  นับเป็นรัชกาลที่การโขนละครและดนตรีไทยและดนตรีฝรั่งเจริญอย่างสูงสุด

     ต่อมาในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  7  อิทธิพลทางดนตรีตะวันตกที่มีผลต่อดนตรีไทย นั้น  จะเห็นได้จาก  เพลงพระราชนิพนธ์  ของพระองค์  เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง ซึ่งแลเห็นได้ว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก  ได้แทรกซึมเข้ามาในพระราชหฤทัยมิใช่น้อย ในการพระราชนิพนธ์บทเพลง

     ต่อมาถึงช่วงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย   ในสมัยรัชกาลที่  8 – 9  รัชกาลปัจจุบัน   อิทธิพลดนตรีตะวันตกที่มีต่อดนตรีไทยหลักๆ จะเห็นได้จาก  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  พระองค์ท่านทรงมีพระปรีชาสามารถในทางดนตรีตะวันตกอย่างเชี่ยวชาญ  ทรงพระราชนิพนธ์เพลงขึ้นไว้หลายเพลง  พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ  พระราชทานทุนให้กรมศิลปากร  จัดพิมพ์เพลงไทย  เป็นโน้ตสากลออกจำหน่าย  และโปรดเกล้าฯ  ให้อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ตรวจวัดความสั่นสะเทือนเสียงเครื่องดนตรีไทยเพื่อวัดระดับเสียงเพื่อที่จะวางมาตรฐานของดนตรีไทย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ทรงเกี่ยวข้องกับเรื่องดนตรีต่างๆนั้น  เริ่มตั้งแต่สมัยที่ยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช  ในรัชกาลที่  ทรงศึกษาอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์  โดยทรงฝึกเครื่องดนตรีที่โปรดมากที่สุด เครื่องในตระกูลเครื่องลมไม้  เช่น  คลาริเนต  แซกโซโฟน  โดยทรงฝึกตามโน้ตและการบรรเลงแบบคลาสสิค  ทั้ง ๆ ที่ทรงมีพระราชหทัยโปรดที่จะทรงดนตรีแบบแจ๊ส  ภายหลังเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติจึงได้ฝึกทรงเปียโนเพิ่มขึ้นด้วย  เพื่อทรงใช้ประกอบการพระราชนิพนธ์เพลง  และทรงเปียโนเพื่อร่วมกับวงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์อีกด้วย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  รัชกาลที่ 8  และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ในรัชกาลปัจจุบัน)  ทรงสนพระทัยการพระราชนิพนธ์เพลง  และทรงทราบว่า  ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ  ทรงเป็นนักแต่งเพลง  จึงได้นัดหมายให้มาเข้าเฝ้าให้ทรงช่วยแต่งคำร้องด้วย  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงทรงมีการพระราชนิพนธ์เพลงขึ้นและได้โปรดเกล้าฯ  พระราชทานไปยังวงดนตรีต่างๆในสมัยนั้น  เช่น  วงดนตรีสุนทราภรณ์  วงดนตรีดุริยโยธิน  รวมทั้งวงดนตรีประจำมหาวิทยาลัยต่างๆ ในโอกาสต่อมา  เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์เพลงแรกคือ  เพลงแสงเทียน  พ.ศ. 2489  เป็นเพลงบลูส์  แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะแก้ไขให้ดีขึ้น  จึงยังไม่โปรดเกล้าฯ พระราชทานออกมา  แต่ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลง  ยามเย็น  และเพลง  สายฝน  ซึ่งเป็นที่ซาบซึ้งและประทับใจของพสกนิกรอย่างมาก  และเพลงลำดับต่อมาเป็นเพลง  ใกล้รุ้ง  ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในสมัยยังทรงเป็นพระอนุชาธิราช  ของรัชกาลที่  ตอนปลายรัชสมัย  คำร้องภาษาไทยโดย  ศ.ดร.ปะเสริฐ  ณ นคร  และ  ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริฯ  ทรงช่วยแก้ไขให้ด้วย  เพลงนี้โปรดเกล้าฯให้นำออกบรรเลงครั้งแรกในงานของสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในวันที่  มิถุนายน  พ.ศ. 2489  บรรเลงโดยวงดนตรีสุนทราภรณ์

                  ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงการยกตัวอย่างอิทธิพลดนตรีตะวันตกที่มีต่อดนตรีไทยตามประวัติศาสตร์  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์บางส่วนเท่านั้น  ยังมีหลักฐานอื่นอีกมากซึ่งในที่นี้ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวถึง  เพื่อความรวบรัดในการนำเสนอ  แต่อย่างไรก็ตามอิทธิพลของดนตรีตะวันตกนั้น  ส่งผลต่อดนตรีของไทยเราเป็นอย่างมาก  ทั้งยังมีอิทธิพลโดยตรงต่อสังคม ประเทศชาติ อีกด้วย  ทำให้เกิดบทเพลง ประเภทเพลงเกียรติยศขึ้นมา  เช่น  เพลงชาติไทย  และ  เพลงสรรเสริญพระบารมี  กว่าจะมาเป็นเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมีในปัจจุบัน  ได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งเนื้อร้องและทำนองแล้วมาหลายครั้ง  แนวคิดเรื่องเพลงชาติของไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตกที่มีเพลงประจำชาติมาก่อน  โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ  โดยในปลายรัชกาลที่  พ.ศ. 2395  นายทหารอังกฤษ ร้อยเอกอิมเปย์  และร้อยเอกน็อกซ์  ซึ่งเข้ามาเป็นครูฝึกทหารในวังหลวงและวังหน้า  ได้ใช้เพลง  God Save the Queen  ซึ่งเป็นทั้งเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีของอังกฤษ  เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร  ต่อมาพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูล)  ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่ (ใช้ทำนองเดิม)  และตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า  จอมราชจงเจริญ  นับเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม  ต่อมาในปี  พ.ศ. 2414  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์  ในขณะนั้นสิงคโปร์เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอยู่  กองทหารดุริยางค์ของสิงโปร์บรรเลงเพลง  God Save the Queen  เพื่อถวายความเคารพ  พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็นที่จะต้องมีเพลงชาติเป็นของตัวเอง  เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติ  จึงได้โปรดให้คณะครูดนตรีไทยปรึกษาหาเพลงชาติที่มีความเป็นไทยมาใช้แทนเพลง  God Save the Queen  ได้นำเพลง  บุหลันลอยเลื่อน  ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2  นำมาเรียบเรียงใหม่ให้มีความเป็นสากลขึ้นโดย  เฮวุตเซน (Hevutzen)  นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ 2  ใช้บรรเลงในระหว่างปี  พ.ศ. 2414 – 2431  เพลงชาติไทยฉบับที่ คือเพลงสรรเสริญพระบารมี (ฉบับปัจจุบัน)  ประพันธ์โดย  ปโยตร์  สชู-โรฟสกี้ (Pyotr  Schurovsky)  นักประพันธ์ชาวรัสเซีย  คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ต่อมา รัชกาลที่ ได้ทรงแก้ไขเพิ่มเติมใช้บบรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่างปี พ.ศ. 2431 – 2475    เพลงชาติไทยฉบับที่ เป็นเพลงชาติที่ใช้ระหว่างการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่  24  มิถุนายน  2475  โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  (สนั่น  เทพหัสดิน  ณ อยุธยา)  ได้ประพันธ์คำร้องขึ้นและอาศัยทำนองของเพลงมหาชัย  จึงเรียกว่า  เพลงชาติมหาชัย  ทั้งนี่เพื่อใช้ขับร้องปลุกเร้าใจให้เกิดความรักชาติ สามัคคีในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  เนื่องจากเห็นว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นเป็นเพลงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์  เพลงชาติไทยฉบับที่ คือฉบับประพันธ์ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ  วาทยกร)  คำร้องโดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า  กาญจนาคพันธ์)  ใช้เป็นเพลงชาติแทนเพลงชาติมหาชัยหลังเหตุการณ์วันที่  24  มิถุนายน 2475  ไม่นานใช้มาถึงปี  พ.ศ. 2477  แต่ยังไม่ได้มีประกาศรับรองจากทางราชการ  เพลงชาติฉบับที่ 6 คือฉบับของพระเจนดุริยางค์  ที่เพิ่มคำร้องของ  นายฉันท์  ขำวิไล  เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา  โดยเป็นผลจากการจัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติขึ้น  ฉบับนี้ใช้ในปี  พ.ศ. 2477 – 2482 นับเป็นเพลงชาติที่ทางราชการรับรองเป็นฉบับแรก   ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม  ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม  เป็น ประเทศไทย  จึงเกิดปัญหาเรื่องเนื้อเพลงชาติซึ่งมีคำว่า  สยาม  อยู่หลายวรรค  รัฐบาลจึงจัดประกวดเพลงชาติอีกครั้งใน พ.ศ. 2482  โดยให้ใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์เดิม  แต่ให้เนื้อเพลงสั้นลงเหลือเพียงแปดววรค  ผลปรากฏว่าเนื้อร้องของ  พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล  ปาจิณพยัคฆ์)  ได้รับการคัดเลือก  รัฐบาลจึงประกาศให้ใช้เพลงชาติไทยฉบับใหม่นี้ตั้งแต่วันที่  10 ธันวาคม พ.ศ. 2482   อีกหนึ่งเพลงที่ได้รับอิทธิพลจากดนตรีตะวันตกคือเพลงมหาฤกษ์  เพลงมหาฤกษ์  เป็นอีกหนึ่งเพลงที่สำคัญ เป็นเพลงทำนองอัตราสองชั้น เพลงมหาฤกษ์ เป็นเพลงคู่กัน กับเพลงมหาชัย  เรียกติดปากกันว่า มหาฤกษ์มหาชัย  สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยทั่วไปใช้ในการเปิดสถานที่หรือเปิดงานตามฤกษ์ยามที่กำหนด  เนื่องจากการดำเนินทำนองเพลงมหาฤกษ์นั้นผู้ฟังจะได้ยินเสียงกระหึ่มของดนตรีที่บรรเลงพร้อมเพรียงกัน  ก่อให้เกิดความปิติยินดีและความศรัทธา  ต่อมาสมเด็จฯเจ้าฟ้าบริพัตรสขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  ทรงดัดแปลงมหาฤกษ์ทางไทย  ออกเป็นทางประสานเสียงตามแบบสากล  โดยยึดหลักทำนองเดิม  แต่แก้ไขเฉพาะตอนขึ้นต้นและลงท้ายให้สง่าผ่าเผยขึ้น  ซึ่งการประสานเสียงตามแบบสากลนี้ช่วยให้ผู้ฟังเกิดความเร้าใจขึ้นเป็นอันมาก  เพลงมหาชัย  มีปรากฏอยู่ในเพลงตับมโหรีเรื่องทำขวัญครั้งกรุงเก่า  ความหมายของเพลงมหาชัยนั้นบอกถึงการอวยชัยให้พร  พ.ศ. 2438  สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ขณะทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม  ทรงนิพนพธ์เพลงมหาชัยขึ้น  แล้วประทานให้พระยาวาทิตบรเทศ  นำไปแต่งแยกเสียงประสานสำหรับแตรวงทหารบรรเลงเป็นเพลงเดิน  และประทานให้  ร้อยตรี  ยาคอบ ไฟต์ (บิดา พระเจนดุริยางค์)  ครูแตรวงทหารบกในขณะนั้น  นำไปแยกเสียงประสานสำหรับแตรวงทหารม้า  ในสมัยรัชกาลที่ 6  สมเด็จฯเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  ทรงพิจารณาแก้ไขปรับปรุงให้เป็นทางสากลกะทัดรัดมากขึ้น  โดยให้วงดุริยางค์ทหารบกและทหารเรือบรรเลงกันเป็ฯเพลงเคารพ  หรือเพลงคำนับประทานของงานที่มีศักดิ์ (แต่ไม่เทียบเท่าเพลงสรรเสริญพระบรมีซึ่งใช้กับพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีเท่านั้น)  ปัจจุบันเพลงมหาชัยใช้บรรเลงแสดงความเคารพหรือต้อนรับบุคคลคือ  พระบรมวงศานุวงศ์และสมเด็จพระราชชนนี  ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  และนายกรัฐมนตรี. 

                  จากทั้งหมดที่นำเสนอมา เห็นได้ว่าอิทธิพลดนตรีตะวันตก  มีความสำคัญต่อ  ดนตรีไทย  สังคมไทย  พิธีกรรม ราชพิธี ต่างๆ เป็นอย่างมาก เห็นได้ชัดเจนจากเพลงชาติไทยเพราะเรารับเอาวัฒนธรรมดนตรีของชาติตะวันตกมาปรับเปลี่ยน ดัดแปลงเข้ากับวัฒนธรรมดนตรีของไทยเราเอง  จนเกิดมาเป็นเพลงชาติไทยที่เราร้องกันอยู่ถึงปัจจุบันนี้

อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัฒนธรรมดนตรีตะวันตกเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย

ดนตรีตะวันตก เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยและไทยรับมาใช้ในราชการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทหารชาวอังกฤษสองคนชื่อ นอกซ์ (Knox) และ อิมเป (Impey) ได้นำแตรฝรั่งเข้ามาเป่าแตรสัญญาณและบรรเลงเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ต่อมาจึงพัฒนาขึ้นมาเป็นแตรวงของทหาร ใช้บรรเลงนำขบวนแห่และบรรเลงเพลงไทย ...

ดนตรีมีความสําคัญต่อสังคมอย่างไรบ้าง

อิทธิพลของดนตรีกับบุคคลและสังคม ดนตรีถูกสร้างมาสนับสนุนการดาเนินชีวิตของมนุษย์ • ดนตรีช่วยจุดประกายแสงสว่างให้แก่เหตุการณ์สาคัญต่างๆ ทั้งในยามสุขและทุกข์ • ดนตรีช่วยให้บุคคลที่มีอารมณ์ตึงเครียดผ่อนคลายลงได้ • ดนตรีช่วยให้บุคคลมีความภาคภูมิใจในความเป็นหมู่คณะและความเป็นชาติของตน

เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่าดนตรีมีบทบาทในการสะท้อนสังคม

1. ดนตรีให้ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด ปลุกเร้าอารมณ์และจิตใจให้มีความสุข มีสุขภาพจิตดี 2. ดนตรีช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของคนในสังคมให้มีความรักชาติ ทำให้ชาติเป็นสังคมที่สงบสุข เช่น เพลงปลุกใจ เพลงชาติไทย

ดนตรีเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยอย่างไร

1. ดนตรีให้ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด ปลุกเร้าอารมณ์และจิตใจให้มีความสุข มี สุขภาพจิตดี 2. ดนตรีช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของคนในสังคมให้มีความรักชาติ ทาให้ชาติเป็นสังคมที่สงบ สุข เช่น เพลงปลุกใจ เพลงชาติไทย