ตัวอย่าง เศรษฐกิจ พอ เพียง ในระดับบุคคล

ตัวอย่างการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิต

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ทรงให้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดนานกว่า ๓๐ คือ ใช้จ่าย ๓ ส่วน และเก็บออม ๑ ส่วน ฉันและครอบครัวได้นำมาปฏิบัติทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ครอบครัวของฉันอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ดังนี้
.พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน ๒-๓ ต้น พอที่จะมีไว้กิน เองในครัวเรือน แบ่งให้เพื่อนบ้านบ้าง เหลือจึงขายไป

ตัวอย่าง เศรษฐกิจ พอ เพียง ในระดับบุคคล
                                                           

ขอขอบคุณ thipaksorn13.wordpress.com

.พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) คุณพ่อของฉันและฉันมักเน้นเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าและน้ำประปา ท่านให้พวกเราช่วยกันประหยัด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือโรงเรียน ก็ควรปิดน้ำ ปิดไฟ เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง

ตัวอย่าง เศรษฐกิจ พอ เพียง ในระดับบุคคล
ขอขอบคุณ www.kwcd-cincinnati.com/                                                         

.พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ชีวิต โดยจะอยู่ในกิจกรรม “ออมวันนี้ เป็นเศรษฐีวันหน้า

ตัวอย่าง เศรษฐกิจ พอ เพียง ในระดับบุคคล

ขอขอบคุณ www.childanddevelopment.com/สอนลูกให้รู้ค่าของเงิน/

.เมื่อมีรายได้แต่ละเดือน จะแบ่งไว้ใช้จ่าย ๓ ส่วน เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าจิปาถะ ที่ใช้ในครัวเรือน รวมทั้งค่าเสื้อผ้า เครื่องใช้บางอย่างที่ชำรุด เป็นต้น

                                    ขอขอบคุณ infographic.in.th/infographic/ฝากเงินที่ไหนดี

.ฉันจะยึดความประหยัด ตัดทอนรายจ่ายในทุกๆ วันที่ไม่จำเป็น ลดละความฟุ่มเฟือย
การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ “ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง”
ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต “ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ”

ตัวอย่าง เศรษฐกิจ พอ เพียง ในระดับบุคคล

ขอขอบคุณ uknowledge.org/author/knowlageteam/page/11

ตัวอย่างการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 ด้านการใช้จ่ายเงินในครอบครัว คือ ในครอบครัวจะมีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวัน รวมถึงตัวของเราเองก็จะมีการวางแผนหรือจดบันทึกเพื่อที่จะได้ทราบว่าในแต่ละวันเราใช้จ่ายไปเท่าไหร่ ครอบครัวเราใช้จ่ายอะไรบ้างในแต่ละวัน ซึ่งเราจะได้รู้ถึงหลักการในการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมภายในครอบครัว

 ด้านการใช้เงิน คือ ตั้งแต่เราได้เงินมาโรงเรียนจากพ่อแม่เราก็เริ่มวางแผนการใช้จ่ายเงินในวันนั้นว่าจะ ต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง และ เงินส่วนที่เหลือก็ให้เป็นส่วน ของเงินเก็บ เพื่อนำไปฝากธนาคาร หรือ นำไปใช้ในยามที่จำเป็นจริงๆ

– ด้านการเลือกซื้อของ คือ เวลาเราจะเลือกซื้อของชิ้นใดชิ้นหนึ่งนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมว่าของสิ่งนั้นเหมาะสมกับเราหรือเปล่า ราคาเหมาะกับสินค้าหรือไม่และการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และต้องเข้ากับหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงด้วย คือไม่ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย และซื้อของที่จำเป็นจริงๆ เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล https://thkingblog.wordpress.com/

                    เศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วนสาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยม

                    ในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง

     ห่วง 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

    ห่วง 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น    

      ห่วง 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข

    1. เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

   2. เงื่อนไข คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

 เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มที่ตัวเอง

    การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง"  คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย   สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง  เช่น  ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง     สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล    คือ  มีความสุขที่แท้  ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง   หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี   จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม โดย

- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้

- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ

- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต

- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย 

- มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง

- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย

- ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือ ทุนทางสังคม

- ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรง ปัญญาที่เฉียบแหลม นำความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถีชีวิตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

แนวทางการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

         1.เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย

      2.ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ – ลิสต์รายการของที่จำเป็นต้องซื้อ และเลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่าและมีประโยชน์

      3.จดบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ

      4.มีเป้าหมายในการออม จากนั้นจึงกำหนดรายจ่ายในแต่ละวัน แล้วจึงประหยัดรายจ่ายด้วยการจ่ายน้อยกว่าหรือเท่ากับเป้าหมายที่กำหนดไว้

เศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคลมีอะไรบ้าง

ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว มุ่งเน้นให้บุคคลและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข ทั้งทางกายและทางใจ พึ่งพาตนเองอย่างเต็มความสามารถ ไม่ท าอะไรเกินตัว ด าเนินชีวิตโดยไม่ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมทั้งใฝ่รู้และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคงในอนาคต และ เป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้ในที่สุด เช่น หาปัจจัย ...

เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวคืออะไร

การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง" คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองใน ...

ข้อใดคือการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับครอบครัว

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว ต้องยึดมั่นหลักการ “พึ่งตนเอง” ด้วยการบริหารจัดการอย่างพอดีและประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกแต่ละคนจะต้องรู้จักตนเอง เช่น รู้ข้อมูลรายรับ –รายจ่ายของตนเองและครอบครัว รักษาระดับการใช้จ่ายของตนเองไม่ให้เป็นหนี้และสมาชิกจะต้องรู้จักดึงความสามารถที่มีอยู่ในตนอง ...

บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือใคร

นายผาย สร้อยสระกลางเป็นบุคคลสำคัญที่ได้ส่งเสริมให้ชุมชนและคนในชุมชนได้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ด้วยการทำเป็นตัวอย่างในเรื่องากรทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และนำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อในชุมชน ทำให้คนในชุมชนได้รู้จักการอุดรูรั่วของตนเอง ค่อยเป็นค่อยไปจากเล็กไปหาใหญ่ มีขันติ วิริยะ สัจจะ ก็จะทำให้ ...