วิเคราะห์ เรื่อง สังข์ ทอง ตอน กํา เนิ ด พระสังข์

สังข์ทอง ตอน กําเนิดพระสังข์

Show

       ณ เมืองยศวิมลนคร อันมีท้าวยศวิมลเป็นเจ้าเมือง พระมเหสีจันเทวีได้คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์ จึงถูกพระนางจันทา มเหสีรอง 

ใส่ร้ายว่าเป็นกาลีบ้านเมือง จนถูกขับออกจากเมืองไปอยู่กระท่อมตายายที่ชายป่า จนกระทั่งพระสังข์ที่ซ่อนอยู่ในหอย ได้ออกมาพบแม่

สร้างความยินดีกับพระนางจันเทวี ข่าวล่วงรู้ไปถึงนางจันทา จึงได้ส่งคนมาจับพระสังข์ไปถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์พญานาคราชช่วยเอาไว้    

 และส่งให้ไปอยู่กับ นางพันธุรัต พระสังข์รู้ว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์จึงขโมยรูปเงาะ ไม้เท้า เกือกแก้ว เหาะหนีมาอยู่บนเขา นางพันธุรัตตาม

มาทันแต่ ไม่สามารถขึ้นไปหาพระสังข์ได้ จึงได้มอบมนต์มหาจินดา เรียกเนื้อเรียกปลาให้แก่พระสังข์ก่อนที่จะอกแตกสิ้นใจตายที่เชิงเขา 

นั่นเอง พระสังข์เหาะมาจนถึงเมืองสามล ท้าวสามลและนางมณฑากำลังจัดพิธีเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด แต่รจนาพระธิดาองค์สุดท้อง ไม่ยอม

เลือกใครเป็นคู่ ท้าวสามลจึงให้คนไปตามเจ้าเงาะมาให้เลือก รจนาเห็นรูปทองที่ซ่อนอยู่ในรูปเงาะจึงเสี่ยงมาลัยไปให้ สร้างความพิโรธให้

ท้าวสามลจึงถึงกับขับไล่รจนาให้ไปอยู่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ ท้าวสามลหาทางแกล้งเจ้าเงาะ โดยการให้ไปหาเนื้อหาปลาแข่งกับเขย

ทั้งหก เจ้าเงาะให้มนต์ที่นางพันธุรัตให้ไว้เรียกเนื้อ เรียกปลามารวมกันทำให้หกเขยหาปลาไม่ได้ จึงต้องยอมตัดปลายหูและปลายจมูกแลกกับ

เนื้อและปลา ท้าวสามลพิโรธมากจนถึงกับคิดหาทางประหารเจ้าเงาะ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องหาทางช่วยโดยการลงมาท้าตีคลีชิงเมือง กับท้าว

สามล ท้าวสามลส่งหกเขยไปสู้ก็สู้ไม่ได้ จึงต้องยอมให้เจ้าเงาะไปสู้แทน เจ้าเงาะถอดรูปเป็นพระสังข์และสู้กับพระอินทร์ จนชนะ ท้าวสามลจึง

ยอมรับพระสังข์กลับเข้าเมืองและจัดพิธีอภิเษกให้ พระอินทร์ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล เพื่อบอกเรื่องราวทั้งหมด ท้าวยศวิมลจึงออกตามหาพระนาง

จันเทวีจนพบ และได้เดินทาน ไปเมืองสามลนครเพื่อพบพระสังข์ โดยพระนางจันเทวีได้ปลอมเป็นแม่ครัวในวังและได้แกะสลักเรื่องราวทั้งหมด

บนชิ้นฟัก ให้พระสังข์ เสวย ทำให้พระสังข์รู้ว่าแม่ครัวคือพระมารดานั่นเอง พระสังข์และรจนาจึงได้เสด็จตามท้าวยศวิมลและพระนาง จันเทวีกลับ

        พระสังข์ทองนำพระมารดากลับไปอยู่ที่เมืองพาราณสี พระสังข์ทอง ปกครองเมืองพาราณสีจนเจริญรุ่งเรือง กิติศัพท์แพร่ไปยังนครอื่น ๆจนถึงเมืองพรหมนคร ชาวเมืองพรหมนครก็อพยพมาอยู่เมืองพาราณสี เสนาอำมาตย์เมืองพรหมนครจึงทูลเสนอพระเจ้าพรหมทัตว่าพระสังข์ทองพระราชโอรสครองเมืองพาราณสีมีความสามารถทำให้รุ่งเรืองจึงเห็นสมควรที่จะอัญเชิญพระสังข์ทองมาครองเมืองพรหมนครเพื่อสร้างความเจริญ พระเจ้าพรหมทัตเมื่อทรงทราบว่าพระโอรสยังมีชีวิตอยู่และมีความสามารถก็ยินดี และสำนึกผิดให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ไปเมืองพาราณสีและทูลเชิญพระสังข์ทองและพระนางจันทราเทวีกลับเมืองพรหมนคร พระสังข์ทองสงสารพระบิดาจึงอ้อนวอนพระมารดาให้อภัยพระเจ้าพรหมทัตและเดินทางกลับเมืองพรหมนคร พระเจ้าพรหมทัตก็มอบราชสมบัติให้พระสังข์ทองปกครองบ้าน เมืองเป็นสุขสืบมา

สังข์ทอง เป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายในสังคมไทยและในแถบเอเชียมายาวนาน โดยปรากฏในรูปแบบและสำนวนต่าง ๆ จำนวนมาก บทความนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องสังข์ทองสำนวนต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์ต่างสมัยกัน ได้แก่ สุวรรณสังขชาดก สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ และนิทานเรื่องกำเนิดพระสังข์ซึ่งยังไม่มีผู้ใดศึกษามาก่อน ในด้านจุดมุ่งหมายการแต่ง รูปแบบ ฉันทลักษณ์ ชื่อตัวละคร ฉาก และเนื้อเรื่อง ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบ ฉันทลักษณ์  ชื่อตัวละคร ฉาก และเนื้อเรื่องของสังข์ทองแต่ละสำนวนนั้นมีทั้งความเหมือนและต่างกันตามวัตถุประสงค์การแต่ง เช่น มีการดัดแปลง เติมแต่ง และตัดเนื้อหา ผลการศึกษานี้ทำให้เห็นถึงการสืบทอดและสร้างสรรค์วรรณกรรมเรื่องสังข์ทองที่ข้ามผ่านยุคสมัย ทั้งยังทำให้เห็นว่าสังข์ทองเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่า ไม่สูญหายไปตามกาลเวลา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

คุ้มครอง ศ., & พัดทอง ส. (2021). สังข์ทองตอนกำเนิดพระสังข์: กรณีศึกษาสุวรรณสังขชาดกสังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ และนิทานเรื่องกำเนิดพระสังข์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(1), 189–213. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.8

More Citation Formats

  • ACM
  • ACS
  • APA
  • ABNT
  • Chicago
  • Harvard
  • IEEE
  • MLA
  • Turabian
  • Vancouver

Download Citation

  • Endnote/Zotero/Mendeley (RIS)

ฉบับ

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (2021): มกราคม-มิถุนายน 2564

บท

บทความวิจัย

วิเคราะห์ เรื่อง สังข์ ทอง ตอน กํา เนิ ด พระสังข์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

References

ณัฐกาญจน์ นาคนวล. (2559). เรื่องเล่าทศชาติชาดก: การสืบทอดในสังคมไทยร่วมสมัย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตุ๊บปอง. (2561). กำเนิดพระสังข์ ชุดนิทานจากนามานุกรมวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: แปลนฟอร์ คิดส์.

ธำรงเจดียรัฐ, หลวง. (2471). ปัญญาสชาดก ปัจฉิมภาค ภาคที่ 193 สุวรรณสังขชาดก. กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรฒธนากร. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพอำมาตย์โท พระยาประเสริฐ สุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี))

ปราณี เชียงทอง. (2526). วรรณกรรมสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และพระมหาอมรวิชญ์ ชาครเมธี. (2559). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: แม็คเอ็ดดูเคชั่น.

พระราชรัตนรังสี (วีรยุทธ์ วียุทฺโธ). (2555). มหัศจรรย์แห่งพาราณสี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2540). บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ภิญญาพร นิตยะประภา. (2534). การผลิตหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. (2562). ปัญญาสชาดก. สืบค้นจาก http://ich.culture.go.th/index.php/

th/ich/folk-literature/252-folk/455--m-s

รัชรินทร์ อุดเมืองคำ. (2551). การศึกษาวรรณกรรมแนววัฒนธรรมประชานิยม เรื่อง สังข์ทองฉบับต่าง ๆ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ละครนอก ละครใน. (2562). สืบค้นจาก http://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/parameters/km/item/ละครนอก-ละครใน

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2546). แบบเรื่องนิทานสังข์ทอง การแพร่กระจายและความหลายหลาก. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัค มหาวรากร. (2547). การแปรรูปวรรณกรรมเรื่องสังข์ทอง (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, คณะมนุษยศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก.

สุปาณี พัดทอง. (2561). การประพันธ์ร้อยกรอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักราชบัณฑิตยสภา. 2556). พระโพธิสัตว์มหายาน. สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/?knowledges=พระโพธิสัตว์มหายาน-13-ตุ

อภิวัฒน์ ปรีชาประศาสน์. (2521). สังข์ทอง ฉบับปัญญาสสชาดกและฉบับพระราชนิพนธ์. วารสารวัฒนธรรมไทย, 17(4), 3-12.

อาทิตย์ ดรุนัยธร และ กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2562). สรรพสิทธิ์คำฉันท์: กลวิธีการดัดแปลงชาดกเป็นวรรณคดีชาดก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 1(1). 99-123.