Administration Department คือ

งานปกครอง

Administration

กรมการปกครอง Department of Provincial Administration กระทรวงมหาดไทย Ministry of Interior กรุงเทพมหานคร Bangkok Metropolitan Administration การจดทะเบียน Registration กำนัน Subdistrict Headman กิ่งอำเภอ Minor District เขต District แขวง Subdistrict เจ้าพนักงานปกครอง Governing Officer เจ้าหน้าที่บริหารงานปกครอง 6 Administrative Officer 6 งานทะเบียนทั่วไป General Registration Subsection งานบัตรประจำตัวประชาชน Identification Card Subsection ตำบล Subdistrict ที่ทำการกำนัน Office of the Subdistrict Headman ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน Office of the Village Headman ที่ว่าการกิ่งอำเภอ Minor District Office of...หรือ…Minor District Office ที่ว่าการอำเภอ District Office of… หรือ … District Office เทศบาล Municipality นายกเมืองพัทยา Pattaya City Mayor นายทะเบียนท้องถิ่น Local Registrar นายทะเบียนอำเภอ District Registrar นายอำเภอ District Chief ประธานสภาเมืองพัทยา Chairman of the Pattaya City Council ปลัดเมืองพัทยา Pattaya City Manager ปลัดจังหวัด Deputy Governor ปลัดอำเภอ Deputy District Chief ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ Minor District Chief ปลัดอำเภออาวุโส Senior Deputy District Chief ผู้ใหญ่บ้าน Village Headman ผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ Assistant District Registrar ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน Assistant Village Headman ผู้ว่าราชการจังหวัด Governor ฝ่ายทะเบียนและบัตร Registration and Identification Card Section ฝ่ายทะเบียนราษฎร Civil Registration Section เมืองพัทยา The City of Pattaya รองปลัดเมืองพัทยา Assistant Pattaya City Manager รองผู้ว่าราชการจังหวัด Vice Governor ศาลากลางจังหวัด Provincial Hall สภาเมืองพัทยา Pattaya City Council สำนักงานเทศบาล Municipality Office of… หรือ …Municipality Office สำนักงานงานทะเบียน หรือสถานที่ที่เราใช้เก็บทะเบียนต่างๆ Registry Office สำนักทะเบียน หรือสถานที่ที่เราไปจดทะเบียนต่างๆ Register Office สำนักปลัดเมืองพัทยา Office of the Pattaya City Manager หมู่บ้าน Village หมู่บ้าน Village องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) Provincial Administration Organization องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) Subdistrict Administration Organization อำเภอ District อำเภอ/ เขต District ปฏิบัติราชการแทน... For…ชื่อตำแหน่ง… รักษาราชการแทน... Acting…ชื่อตำแหน่ง… ที่มา: กรมการปกครอง [http://www.dopa.go.th/web_pages/m03050000/namee.html]

งานแอดมิน (Admin) หรือคนส่วนใหญ่จะรู้จักกันว่าคืองานธุรการ ถึงชื่อของตำแหน่งแอดมิน (Admin) จะฟังดูไม่ยิ่งใหญ่เหมือนตำแหน่งผู้บริหาร เซลล์ (Sales) หรือเอชอาร์ (HR) แต่หารู้ไม่ว่าตำแหน่งแอดมิน (Admin) คือตำแหน่งพื้นฐานที่สำคัญของทุกองค์กรซึ่งถือเป็นฝ่ายสนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

เพราะอะไรผมถึงกล้าพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่างานแอดมิน (Admin) คืองานที่สำคัญงานหนึ่งในองค์กร? ก็เพราะว่างานแอดมิน (Admin) คืองานที่ถูกสอดแทรกในทุกชิ้นงาน ทุกโครงการ หรือทุกๆ รายละเอียดที่ต้องใช้ในการวางกลยุทธ์หรือการขับเคลื่อนให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานให้สำเร็จตามเป้าหมายได้นั่นเอง วันนี้เราจะมาเรียนรู้ความสำคัญของงานแอดมิน (Admin) กัน

แอดมิน (Admin) ทำงานอะไร?

งานแอดมิน (Administrative) หรือตำแหน่งงานธุรการคือการสนับสนุนการทำงานของแผนกข้างในบริษัทให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น กับตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายนอกด้วย เป็นหน้าที่ที่ต้องทำการประสานการ ดูแลด้านงานเอกสาร และ ใส่ใจในรายละเอียดความเรียบร้อยของงานทุกอย่าง

หน้าที่แต่ก่อนของแอดมินอาจจะให้ความสำคัญแค่การรับโทรศัพท์ การพิมพ์เอกสาร หรือเดินเอกสาร แต่สำหรับแอดมิน (Admin) ในยุค 4G ถือว่างานแอดมิน (Admin) เป็นงานหิน งานโหด แต่ต้องได้รับความสำคัญงานหนึ่งเลยทีเดียว

ผมต้องออกตัวก่อนว่า ในประเทศไทยหลายบริษัทอาจจะมองว่างานแอดมินเป็นงานที่น่าเบื่อและไม่ท้าทาย อย่างไรก็ตาม งานแอดมินก็สามารถทำให้เราเติบโตไปยังตำแหน่งที่ดีกว่าเดิมได้ง่าย เพราะเป็นงานที่เปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง และ ทำงานกับหลายแผนก เพราะฉะนั้นหากเราได้ทำงานแอดมิน เราก็ควรตั้งในหาวิธีเรียนรู้กระบวนการในบริษัทให้มาก ซึ่งในส่วนของทักษะผมจะอธิบายเพิ่มเติมอีกทีครับ

เพราะงานแอดมิน (Admin) เรียกได้ว่าต้องรับผิดชอบรอบด้าน ต้องเป็นกูรูด้านข้อมูล ด้านการประสานงาน ไหนจะเป็นตัวกลางระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรกับลูกค้าภายนอกอีก และยิ่งถ้าต้องเป็นแอดมิน (Admin) ในองค์กรต่างชาติ ทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศยิ่งต้องห้ามด้อยให้ขายหน้า รวมๆ แล้วก็ เรียกได้ว่างานแอดมิน (Admin) คืองานสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของทีม ซึ่งตำแหน่งแอดมิน (Admin) จะต้องมีอยู่ในทุกๆ แผนกขององค์กร ยกตัวอย่างเช่น

1) HR – เช่น จองห้องประชุมออเรียนเตชัน (Orientation) พนักงานใหม่ ประสานงานประกันสังคมเพื่อแจ้งเข้า-แจ้งออพนักงาน หรือกำหนดและสื่อสารเกี่ยวกับนโยบาย (Policy) ขององค์กรให้กับพนักงานทุกคนทราบ

2) Sales – เช่น จัดทำเอกสารใบเสนอราคา (Proposal) ประสานงานโรงพิมพ์เพื่อจัดทำสื่อการขาย ตอบคำถามลูกค้าทางแชทหรือโทรศัพท์ หรือการนัดหมายเพื่อนำเสนอขายงานระหว่างลูกค้ากับผู้จัดการ

3) Marketing – เช่น ประสานงานสถานที่ภายนอกเพื่อจัดอีเวนท์ (Event) หรือการนัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการโปรโมทสินค้าหรือบริการ เป็นต้น

ที่กล่าวมาข้างต้น ผมได้ยกตัวอย่างของงานแอดมิน (Admin) ที่แต่ละทีมจะต้องมีตำแหน่งนี้เพื่อให้การสนับสนุนและช่วยขับเคลื่อนการทำงานของทีมอยู่ข้างในองค์กร เพื่อให้คนอื่นๆ เช่นพนักงานขาย (Sales) หรือผู้จัดการฝ่ายการตลาด (Marketing Manager) จะได้เอาเวลาที่ต้องใช้กับงานจุกจิกเหล่านี้ไปลงมือปฏิบัติในส่วนที่สำคัญไม่แพ้ไปกว่ากัน เช่น ไปพรีเซนต์ขายงานที่บริษัทลูกค้า ซึ่งองค์กรก็จะได้ประโยชน์มากกว่า

และเช่นเดียวกับงานประสานงานอื่นๆ หากเราทำงานกับคนที่เก่ง มีความรับผิดชอบ เราก็จะสามารถเติบโตได้ง่าย

แอดมินมีหน้าที่อะไรบ้าง?

ถ้าจะจำกัดความให้เข้าใจกันสั้นๆ ว่าแอดมิน (Admin) มีหน้าที่อะไร ก็สามารถบอกได้ว่างานแอดมิน (Admin) คืองานซัพพอร์ตหรืองานสนับสนุน (Support) และจัดการธุระต่างๆ แทนคนภายในทีมจะได้ให้เขาไปทำงานด่านหน้าหรืองานวางแผนและกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า โดยหลักๆ แล้วงานแอดมิน (Admin) จะประกอบไปด้วย

  1. งานติดต่อประสานงานทั้งกับคนจากแผนกอื่น เช่น นัดหมายการประชุม โต้ตอบทางอีเมลล์ (e-mail) หรือการจัดหาและรวบรวมเอกสารให้เป็นระเบียบและกับคนภายนอก เช่น ประสานงานกับเวนเดอร์ (Vendor) พาร์ทเนอร์ (Partner) แมสเซ็นเจอร์ (Messenger) หรือการนัดหมายลูกค้า (Customer) เป็นต้น
  2. ตอบข้อซักถามของลูกค้า ให้ความช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าที่มีการติดต่อเข้ามาทางโทรศัพท์ แชทไลน์ เฟสต์บุ๊กส์หรือช่องทางโซเชี่ยลมีเดีย (Social Media) อื่นๆ
  3. มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับงานด้านเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำ การสรุปข้อมูล รวบรวม หรือการตรวจสอบให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และส่งมอบให้ถึงมือผู้ที่เกี่ยวข้องหรือลูกค้าอย่างรวดเร็วและตรงเวลา
  4. ดูแลความเรียบร้อยและความสะอาดของสำนักงาน หรือให้คำแนะนำแม่บ้านหรือพนักงานรักษาความปลอดภัยถึงขั้นตอนหรือวิธีการทำงานตามกฎเกณฑ์ของบริษัท
  5. เป็นตัวแทนของทีมในการประสานงานด้านและสรุปข้อมูลที่สำคัญเพื่อสื่อสารกับคนภายในทีม

ดูผิวเผินงานแอดมิน (Admin) เหมือนงานพื้น ๆ ทั่วไปที่อาจไม่มีน้ำหนักกับการสร้างรายได้ให้กับองค์กรสักเท่าไหร่ แต่ผมว่าหากเปรียบกับการสร้างบ้าน งานแอดมิน (Admin) ก็เหมือนกับงานฐานรากที่ต้องแข็งแรงพอในการประคับประคองโครงสร้างบ้านทั้งหลังให้มีความทนทาน แข็งแรง และใช้งานได้นาน เหมือนกับการทำงานหากไม่ได้รับข้อมูล หรือเอกสารที่ถูกต้องจากแอดมิน (Admin) ของทีมอย่างรวดเร็ว ทันเวลาก็อาจทำให้งานด่านหน้าล้มเหลวหรือไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ก็ได้

ต้นกำเนิดของงานแอดมินก็คือแนวคิดที่ว่า พนักงานแต่ละคนมีเวลาและทักษะไม่เท่ากัน ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดก็คือเรื่องของการขาย ที่พนักงานบางคนอาจจะมีทักษะด้านการขายหรือการเข้าหาผู้คนสูง แต่อาจจะไม่มีทักษะเรื่องงานเอกสารหรือเรื่องการประสานงานลงรายละเอียดมากนัก ในส่วนนี้หากไม่มีแอดมินเข้ามาช่วย ทีมฝ่ายขายอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถจัดทำเอกสารได้ถูกต้องตามที่แผนกอื่นกำหนดไว้

อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยก็คือหน้าที่ของผู้บริหาร ซึ่งส่วนมากมักจะเว้นไว้สำหรับการตัดสินใจระดับสูง หรือการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบเยอะ (หมายถึงเยอะกว่างานอื่นๆในบริษัท) หากจะให้มองในมุมความคิดนี้ เราก็จะเห็นว่าผู้บริหารหลายคนไม่มีเวลามานั่งทำงานลงรายละเอียด งานจุกจิก ด้วยตัวเอง โดยรวมแล้วผู้บริหารก็ต้องกระจายหน้าที่ต่างๆให้กับพนักงานคนอื่นด้วย เช่นการกระจายงานประสานงานกับลูกค้า ให้กับแอดมินเป็นต้น

แอดมินต้องมีทักษะอะไรบ้าง?

ปิดท้ายกันด้วยเรื่องของทักษะที่สำคัญของคนที่ต้องทำงานแอดมิน (Admin) เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทีมเข้มแข็งและเดินหน้าได้ตามเป้าหมาย แอดมิน (Admin) จะต้องมีทักษะที่สำคัญดังต่อไปนี้

  1. มีความละเอียดถี่ถ้วน (Carefully) ยิ่งเป็นงานด้านข้อมูลหรือเอกสารที่สำคัญที่คนอื่นจะต้องนำไปใช้งานต่อ ยิ่งต้องจัดทำ ตรวจสอบหรือสรุปอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อไม่ให้งานเกิดความผิดพลาดจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรในภายหลังได้
  2. รวดเร็วทันใจ (Quickly) เพราะแอดมิน (Admin) เปรียบเสมือนคลังข้อมูลที่สำคัญของทีม ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูล การตอบข้อซักถาม หรือการแก้ปัญหาแอดมิน (Admin) ก็ต้องทำให้ไวและเร็วพอต่อความต้องการของคนในทีมหรือลูกค้าเพื่อให้ได้มาซึ่งความพึงพอใจต่อการขอใช้บริการ
  3. ทักษะการคิดและแก้ไขปัญหา (Thinking & Problem Solving) ในเมื่อเราคือคลังข้อมูล ดังนั้นเราจึงมีข้อมูลเพียงพอในการช่วยคิด ช่วยวางแผน เพื่อเป็นแนวทางเดินต่อไปข้างหน้า หรือช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจสร้างผลกระทบให้เกิดความเสียหายในภายหลัง
  4. สำคัญที่สุดสำหรับทักษะของแอดมิน (Admin) ในยุค 4G คือต้องคิดวิเคราะห์ (Analytic) และทำอะไรอย่างมีระเบียบแบบแผน (Procedure) เพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ เพราะสื่อโซเชี่ยลไปไวและเร็วมาก แอดมิน (Admin) จึงต้องตามให้ทัน จะตอบแชท ทักไลน์ จะโปรโมทขาย จะจัดส่วนลดก็ต้องสื่อสารให้ไว และรวบรวมข้อมูลมาให้ทีมวิเคราะห์วางแผนไปข้างหน้าให้ได้ จะได้แซงคู่แข่งแบบไม่เห็นฝุ่น

ทั้งหมดนี้ก็อยากจะบอกว่าตำแหน่งแอดมิน (Admin) มีความสำคัญไม่แพ้กับตำแหน่งใหญ่ๆ ในองค์กร เพราะแอดมิน (Admin) คือผู้สนับสนุนหลักขององค์กรที่จะช่วยทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ไวขึ้น

Administration หมายถึงอะไร

(n) การบริหารรัฐกิจ administration. (n) คณะบริหาร, See also: คณะจัดการ

Administrator หมายถึงอะไร

(n) ผู้บริหาร, See also: ผู้บริหารกิจการ, ผู้ดำเนินการ, ผู้จัดการ

Africaแปลว่าอะไร

(แอฟ' ริกา) n. ทวีปแอฟริกา african. (แอฟ' ริเคิน) adj., n. เกี่ยวกับแอฟริกา, ชาวแอฟริกา., Syn. Afric.

Department เป็นคําอะไร

(n) แผนก, See also: ภาค, คณะ, กรม, Syn. agency, branch, division, group. departmental. (adj) เกี่ยวกับแผนก, See also: เกี่ยวกับกรม, เกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐบาลหรือองค์กร