กิจกรรม สร้างความสัมพันธ์ ครูกับ นักเรียน

ldquo;ครูrdquo; และ ldquo;ผู้ปกครองrdquo; คือ หุ้นส่วนใหญ่ ที่ช่วยในการนำพาเด็กไปสู่ความสำเร็จ เนื่องจากครูเป็นผู้ที่รับช่วงการอบรมเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง มีบทบาทสำคัญในการอบรมสั่งสอนวิทยาการความรู้ หล่อหลอมลักษณะนิสัย ปลดปล่อยศักยภาพ สร้างแรงบันดาลใจ และนำทิศทางเด็กให้ก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้ จึงกล่าวได้ว่าครูเป็นผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเด็กมากทีเดียว

เมื่อถือว่าครูเป็นหุ้นส่วนใหญ่ของผู้ปกครองเช่นนี้แล้ว ถามว่า ldquo;ผู้ปกครองรู้จักโรงเรียนหรือครูรู้จักเด็กเมื่ออยู่ที่ดีแค่ไหน?rdquo; คำตอบที่ได้รับอาจมีหลากหลายแตกต่างกันไป เช่น hellip; รู้จักแต่ชื่อ ไม่รู้จักอะไรมากไปว่านั้น hellip; รู้จักดีมากกับครูของเด็ก มีการนัดพูดคุยกันบ่อย ๆฯลฯ ผมไม่ห่วงสำหรับครูและผู้ปกครองที่รู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ผมเป็นห่วงหากทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ได้ทำความรู้จักกันเลย หรือหากรู้จักก็เพียงผิวเผินเท่านั้น การที่ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการทำความรู้จักกับครูของเด็ก ไม่ส่งผลดีใด ๆ เลยในการสร้างชีวิตเด็กได้ แตกต่างไปจากการที่ครูและผู้ปกครองมีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน ซึ่งจะส่งผลดีอย่างมากมายหลายประการเกิดขึ้นตามมา อาทิ

สามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากครูและผู้ปกครองมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีย่อมส่งผลให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม ในการดูแลและสร้างชีวิตเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ทั้งสองฝ่ายมีการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับเด็กระหว่างกันได้อย่างครบถ้วนในรายละเอียด ครูสามารถทราบอุปนิสัย ความชอบไม่ชอบของเด็กจากการที่ผู้ปกครองเล่าให้ฟัง ทำให้ครูสามารถจัดหาวิธีการเรียนการสอนที่ตรงกับเด็กในแต่ละคนได้อย่างเฉพาะเจาะจงลงไป ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก

สามารถลดช่องว่างระหว่างเด็กกับครู หากครูมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง ย่อมสามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อความในใจของเด็กที่มีต่อผู้ปกครอง และความในใจของครูที่มีต่อเด็กได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถการสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่างครูกับนักเรียน ส่งผลให้เด็กมีความสนใจและตั้งใจที่จะเรียนได้ดีมากขึ้น มีความกล้าในการพูดคุยและกล้ที่จะเข้าหาครูมากขึ้น

เมื่อเห็นถึงประโยชน์ในการทำความรู้จักกับครูของเด็กเช่นนี้แล้ว ครูและผู้ปกครองควรหาโอกาสในการสานสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเริ่มจาก

ให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับโรงเรียนและครูแก่ผู้ปกครอง

ครูควรให้ข้อมูลที่จำเป็นบางประการที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนแก่ผู้ปกครองควร เช่น ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนครูต่อนักเรียน ปรัชญาแนวทางการเรียนการสอนของโรงเรียน วิธีการติดต่อประสานงานกับทางโรงเรียน วิธีการวัดผลการศึกษา ตารางสอน ตารางสอบ กิจกรรมชมรมต่าง ๆ ฯลฯ รู้จักครูประจำชั้น ครูที่สอนเด็กในรายวิชาต่าง ๆ พร้อมเบอร์โทรที่สามารถติดต่อได้ในครูแต่ละคนยามฉุกเฉินหรือเมื่อต้องการขอคำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น

ผู้ปกครองควรแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน

การสานสัมพันธ์กับครูให้สนิทสนมอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นและก่อให้เกิดประโยชน์กับตัวเด็ก ดังนั้นครูและผู้ปกครองควรหาเวลาในการเข้าไปพูดคุยเป็นประจำ นอกเหนือจากวันที่โรงเรียนจัดไว้เพื่อพบปะผู้ปกครอง สร้างความรู้สึกเป็นเหมือนกับเป็นญาติสนิท โดยประเด็นในการสื่อสารพูดคุยกัน ได้แก่

ครูเล่าสภาพของเด็กเมื่ออยู่โรงเรียนให้ผู้ปกครองเนื่องจากสภาพต่าง ๆ ตอนที่อยู่ในโรงเรียนผู้ปกครองไม่อาจเห็นได้ เช่น เด็กขยันตั้งใจเรียนหรือไม่ เด็กสนใจและมีความถนัดในการเรียนวิชาใดเป็นพิเศษ ผลการเรียนของเด็ก เพื่อนสนิทของเด็ก ความสามารถในการเข้ากับกลุ่มเพื่อนได้ มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง หรือเด็กมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจากเดิมบ้าง เป็นต้น ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ปกครองในการส่งเสริม และพัฒนาเด็กให้ตรงตามความถนัดความสนใจของเขา รวมทั้งสามารถช่วยเหลือเด็กแก้ไขปัญหาบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นได้ถูกจุดและทันท่วงที เช่น ปัญหาการเรียนปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนที่โรงเรียน เป็นต้น

ผู้ปกครองเล่าสภาพของเด็กเมื่ออยู่บ้านให้ครูผู้ปกครองควรเข้าใจว่าคูรูไม่สามารถรู้จักเด็กทุกคนได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน ดังนั้นผู้ปกครองจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือครูอีกแรงหนึ่ง ในการสื่อสารให้ครูรู้จักและเข้าใจเด็กให้มากที่สุด เรื่องสำคัญต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองควรเล่าให้ครูฟัง เช่น เรื่องสุขภาพร่างกายของเด็ก เช่น มีโรคประจำตัวอะไร แพ้ยาอะไรบ้าง ลักษณะนิสัยบางประการของเด็ก เช่น คุยเก่ง มีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่าย คิดมาก มีนิสัยก้าวร้าว เกเร ไม่มีวินัย ขี้อาย ชอบคิดสร้างสรรค์จนบางครั้งอาจนอกกรอบไปบ้าง เป็นคนที่มั่นใจในตัวเองสูงจนบางครั้งชอบใช้เหตุผลในการถกเถียง ฯลฯ การที่ครูรับทราบข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเด็กมากเท่าไร ยิ่งเป็นการดีที่ครูเองจะมีความเข้าใจในตัวเด็กยิ่งขึ้น ลดปัญหาการจัดการปัญหาของเด็กที่ใช้ความรุนแรง โดยสามารถใช้วิธีการที่ถูกต้องในการช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กได้ตรงจุดและเหมาะสม

การหล่อหลอมและเสริมสร้างชีวิตของผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จ และเป็นพลเมืองที่ดี จะต้องเกิดจากความร่วมมือของทั้งครูและผู้ปกครอง ในการสอดส่องดูแลและให้ความช่วยเหลือเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะก่อปัญหาหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ยิ่งจะต้องมีการสื่อสารและร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด เพื่อนำพาเด็กให้สามารถผ่านพ้นปัญหาและได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

Teacher and student relationships

ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน

 โดย ดร.ยุภาพร เทพสุริยานนท์

ครูถือว่าเป็นบุคคลที่สำคัญสำหรับนักเรียนนอกเหนือจากผู้ปกครอง ทุกศาสนาและทุกวัฒนธรรมสอนให้นักเรียนควรที่จะเคารพครูและพยายามที่จะเรียนรู้จากครูไม่เพียงแค่ด้านวิชาการเท่านั้นแต่รวมไปถึงคุณค่าของชีวิตด้วย ครูมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างบุคลิกภาพ สร้างความสัมพันธ์ให้กับนักเรียน และพัฒนานักเรียนด้านวิชาการควบคู่ไปกับการเจริญเติบโต

ในทางบวกความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนครูควรให้กำลังใจและส่งเสริมนักเรียนในการเรียนรู้ รู้สึกอิสระในการที่จะถามเมื่อเกิดความไม่เข้าใจ นักเรียนต้องการที่จะได้คำตอบหรือวิธีการที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ดังนั้นคำตอบที่นักเรียนพูดออกมาจะไม่มีคำตอบที่ผิดเพราะจะทำให้สกัดความคิด การสื่อสารของความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน

สิ่งจำเป็น 2 ประเด็นหลักที่จะทำให้ความสำพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนเป็นไปในทางบวก ประเด็นที่หนึ่ง ระดับของนักเรียนในชั้นเรียนเป็นอุปสรรคที่สำคัญนักเรียนบางคนตั้งใจเรียนและมีสมาธิในการเรียน แต่ยังครูบางคนที่ยังกังวลเป็นห่วง ซึ่งเป็นธรรมชาติของนักเรียน และเป็นการยากที่เราจะหาวิธีการ ให้นักเรียนและดึงสมาธินักเรียนให้อยู่ในชั้นเรียน เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ครูต้องมองข้ามอุปสรรคเหล่านี้ไปให้ได้และดูแลนักเรียนเป็นพิเศษ และครูควรจะมีความเมตตา ความเข้มงวดในการดูแลนักเรียน นี่คือ 2 สาเหตุที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย นี่คือความรับผิดชอบของครูที่จะสังเกตนักเรียนเป็นรายบุคคลในชั้นเรียน เพื่อที่จะดูความก้าวหน้าและตรวจสอบติดตามนักเรียน ใสใจนักเรียนตามระดับของนักเรียนในชั้นเรียน

อีกประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับเวลา ขณะที่นักเรียนอยู่ระดับประถมศึกษาครูจะดูแลและแสดงออกกับนักเรียนเหมือนเป็นแม่ของนักเรียน ชี้แนะทุกสิ่งทุกอย่างให้กับนักเรียน และในช่วงมัธยมศึกษาครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากในการที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน สำเร็จบรรลุในการที่จะสอนให้นักเรียนให้รู้จักคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต และนี่คือสิ่งที่ครูต้องประสบในการสอน ในระดับนี้ครูจะเปลี่ยนแปลงจากครูที่เป็นผู้สอนที่รับผิดชอบสอนนักเรียนเพียงอย่างเดียวสอนนักเรียนมากกว่าสอนเนื้อหาในตำรา สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนที่เข้มแข็ง มีความจำเป็นอย่างมากที่ครูต้องเข้าใจนักเรียน เข้าใจศึกษาถึงพื้นฐานและวัฒนธรรมที่แตกต่างของนักเรียนในชั้นเรียน

สิ่งจำเป็นที่เพิ่มขึ้นของครูควรแก้ไขและส่งเสริมนักเรียน ครูควรพัฒนาระดับความเข้าใจ รับรู้ความรู้สึกของนักเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญให้นักเรียนตระหนักและเคารพตนเอง นี่เป็นผลสะท้อนที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ โดยภาพรวมขนาดของชั้นเรียนก็เป็นส่วนหนึ่ง ถ้าชั้นเรียนมีขนาดใหญ่ก็เป็นการยากที่จะศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล  ดังนั้นผู้บริหารควรจะชั้นเรียนจัดชั้นเรียนให้มีขนาดเล็ก เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนที่เด่นชัด การแข่งขันที่มีมากขึ้นในสังคมก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปรับปรุงความสัมพันธ์ของแต่ละคน ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นสูงสุดที่เหมาะสม ในการพัฒนาเยาวชนให้เจริญเติบโตและมีการศึกษา มีความรับผิดชอบ และเป็นพลเมืองที่ดีในสังคม
 

                                              ที่มาhttp://www.preservearticles.com